|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ที.เค.เอส. เทคโนโลยี เข็ดขาใหญ่ถือหุ้น หวังให้นักลงทุนรายย่อย-กองทุนถือแทน เหตุพอขาใหญ่ถอนการลงทุนถล่มราคาหุ้นร่วงต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน จนต้องรับซื้อหุ้นคืน เบนเข็มนำหุ้นโครงการซื้อคืนขายนักลงทุนสถาบัน ขณะต้นเดือนที่ผ่านมารายใหญ่ทิ้งอีเอ็มซี เกือบเกลี้ยงพอร์ต
แหล่งข่าวจากหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)หรือ TKS เปิดเผยว่า การที่บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี มีการจัดโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน เพื่อรับซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายใหญ่บางรายของบริษัทที่จะมีการขายหุ้นออกมา เพื่อที่จะถือเงินสดให้มากที่สุด เพราะต้องการสภาพคล่องของพอร์ตและลดความสียหายจากการลงทุนหุ้นเก็งกำไรในช่วงที่ผ่านมา และมีบางส่วนที่เข้าไปเก็งกำไรในหุ้นบริษัทอื่น
สำหรับนักลงทุนรายใหญ่ถือหุ้นของบริษัททั้งทางตรงและผ่านนอมินีประมาณ 10% โดยที่ผ่านมา นักลงทุนรายใหญ่เริ่มที่จะขายหุ้นออกแล้ว และบริษัทเข้าไปทยอยซื้อในราคาที่สมเหตุสมผลเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่ต้องการที่จะเร่งซื้อเพื่อที่จะได้ราคาที่ถูกและเหมาะสม โดยขณะนี้บริษัทได้ซื้อหุ้นคืนแล้วจำนวน 52.06 ล้านหุ้น คิดเป็น 2.1% มูลค่ารวม 18.27 ล้านบาท จากมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติวงเงินในการซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 60.77 ล้านบาท และจำนวนหุ้นไม่เกิน 7.00% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
"ก่อนหน้านี้ทางเราได้คุยกับนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งเขาอยากถอนการลงทุนเราก็ยินดีที่จะเข้าไปรับซื้อ ถ้าหากไม่เข้าไปรับซื้อ ปล่อยให้อยู่อย่างเดิมก็จะไม่มีใครได้ประโยชน์ และป้องกันไม่ให้ราคาหุ้นปรับลดลงมาก จะเห็นได้ว่าก่อนหน้านี้มีการซื้อบิ๊กล็อตTKS ก็เป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมเข้าไปรับไว้" แหล่งข่าวจากผู้ถือหุ้นใหญ่กล่าว
ทั้งนี้ เมื่อนักลงทุนรายใหญ่มีความต้องการที่จะขายหุ้นออกมา ก็จะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัททำให้ราคาหุ้นไม่เป็นไปตามความกลไกตลาด ซึ่งบริษัทต้องการที่จะกลับมาถือหุ้นของบริษัทเองให้มากที่สุดหรือให้นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันให้ถือหุ้นมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาหุ้นของบริษัทให้เคลื่อนไหวไปตามความเหมาสะสมมากกว่าการให้นักลงทุนรายใหญ่ถือหุ้น เพื่อทำราคา
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทนั้นต้องการที่จะถือหุ้นของบริษัทในสัดส่วน 60-70% จากกลุ่ม นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ถือหุ้นอยู่ที่ 50% และเมื่อบริษัทถึงกำหนดโครงการรับซื้อหุ้นคืนแล้วก็จะมีการขายหุ้นให้กับนักลงทุนสถาบันแทน ซึ่งเชื่อว่าจะหากองทุนเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทได้ไม่ลำบาก เพราะบริษัทดำเนินธุรกิจที่มีการเติบโตที่ดีและจ่ายปันผลให้กับนักลงทุน และเมื่อภาวะตลาดดีราคาหุ้นของบริษัทก็จะเข้ามาในระดับที่เหมาะสม
จากการรวบรวมข้อมูลจากแบบรายงาน พบว่า นางสีฟ้า แจ่มวุฒิปรีชา นักลงทุนรายใหญ่ได้มีการขายหุ้น บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน)หรือ EMC เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 จำนวน 258.32 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 5.10% จากก่อนหน้านี้ถือหุ้น 288.04 ล้านหุ้นหรือคิดเป็น 5.22% ทำให้ภายหลังการขายหุ้นครั้งนี้เหลือถือหุ้น 6.72 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 0.12%
ทั้งนี้พบน.ส.ฉัตร์สุดา เบ็ญจนิรัตน์ นักลงทุนรายใหญ่ได้มีการขายหุ้นEMC เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 จำนวน 460.96 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 8.35% จากก่อนหน้าที่ถือหุ้นอยู่ 689.05 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 12.49% ทำให้ภายหลังการขายหุ้นครั้งนี้เหลือถืออยู่จำนวน 228.09 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 4.13% โดยเป็นการขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯผ่านบล.นครหลวงไทย และบล.ฟาร์อีสท์
สำหรับความเคลื่อนไหวราคาหุ้นEMC ตั้งแต่ 2-10 กรกฎาคม 2551 ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมา0.60 บาท หรือลดลง 63.16% ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันราคาหุ้นปรับตัวลดลง4.05 บาท หรือปรับตัวลดลง 92.05%
|
|
|
|
|