Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
สร้างเฉลิมกรุงให้เหมือนบอร์ดเวย์             
 


   
search resources

ศาลาเฉลิมกรุง
มานิต รัตนสุวรรณ
Theatre




โรงหนังเฉลิมกรุงมีอายุครบ 60 ปีในเดือนตุลาคมนี้ ความเก่าแก่ของมันคงจะเป็นที่มักคุ้นของคนรุ่นเก่าๆแต่ก็เป็นที่น่าเสีนดาย เมื่อโรงหนังเฉลิมกรุงจำเป็นต้องปลดเกษียณอายุราชการตนเองเมื่อวาระอันควรมาถึง

การปิดฉากของโรงหนังเฉลิมกรุงคราวนี้ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม เหมือนเช่นเฉลิมไทยที่จำเป็นต้องรื้อถอนหักโค่นทิ้ง เพราะการบดบังรัศมีความสวยงามของวัดราชนัดดาที่นักผังเมืองมองว่าการเปิดที่ว่าง เพื่อให้เห็นบริเวณความสวยงามอันอยู่บริเวณที่มีาชื่อว่าเกาะรัตนโกสินทร์นั้น การที่ต้องสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไปเพื่อแลกกับการที่ได้มาในสิ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของบ้านเมืองมันคุ้มยิ่งกว่าคุ้มเสียอีก

นั่นคือที่มาของการปิดฉากโรงหนังเฉลิมไทยหรือศาลาเฉลิมไทย ที่คนกรุงเทพรู้จักกันเป็นอย่างดี!

ในทำนองเดียวกันการปิดฉากอำลาโรงของโรงหนังเฉลิมกรุงก็เข้าทำนองเดียวกันกับศาลาเฉลิมไทย จะผิดเพี้ยนกันอยู่ตรงที่ว่าเฉลิมกรุงในวันนี้ ยังคงมีสภาพเช่นเดิมเหมือนที่เคยเป็นมาแต่จะสิ้นสภาพของการเป็นโรงมหรสพที่ใช้ในการฉายโรงภาพยนตร์ โดยจะเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของตนเองใหม่ให้ดูโอ่อ่าและโอ่โถงมากขึ้นกว่าเดิม กลายเป็นโรงละครที่ทันสมัยที่สุดเป็นแห่งแรกของเมืองไทยและเป็นแห่งที่สองของโรงละคร

ศาลาเฉลิมกรุงเป็นอาคารที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชการที่7 เป็นการสร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เมื่อปี พ.ศ.2476 ด้วยพระประสงค์ต้องการให้เป็นโรงมหรสพสำหรับประชาชนทั่วไปไว้พักผ่อนหย่อนใจ

ปัจจุบัน มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในศาลาเฉลิมกรุงเต็มที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้นทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็เห็นด้วยกับการปรับปรุงรูปโฉมใหม่ของโรงหนังให้สดใสกว่าเดิม ถึงขนาดร่วมลงทุนกับกลุ่มนักลงทุนที่มีชื่อเสียงมักคุ้นกันดี ไม่ว่าจะเป็นบริษัท สยามพานิชพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด (แลนด์แอนด์เฮาส์) ซึ่งจับคู่ร่วมกับธนาคารไทยพานิชย์และมณีทัศน์โดยมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นร่วมอยู่ด้วย ในนามของบริษัทสหศินีมามีสัดส่วนใในการถือหุ้น 45% ,45%และ 10 %ตามลำดับ ภายใต้การบริหารงานของบริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ จำกัด

ถึงแม้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาถือหุ้นร่วมในโครงการ"เฉลิมกรุงมณีทัศน์" โดยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในรูปของเงินปันผลแล้วยังได้รับค่าเช่าอีกประมาณ 106 ล้านบาทจากากรให้สัมปทานมมีอายุ 30ปีจากบริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ด้วยโดยได้รับค่าเช่าเป็นงวดๆ

จุดเปลี่ยนของโรงหนังเฉลิมกรุงที่จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในราวเดือนกันยายน ปี 35 นี้คือ โรงมหรสพที่ใช้แสดงโขนสด ที่มีพร้อมทั้ง แสง สี เสียง ซึ่งเทคนิคดังกล่าวจะเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น

"แหล่งที่มาของเทคโนโลยีตามคาดหมายคืออเมริกาและอิตาลี ทั้ง 2 ประเทศนี้ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งของความเจริญทางด้านเทคนิคที่หาตัวจับได้ยาก ซึ่งเราจะนำเข้ามาจากที่นี่" มานิต รัตนสุวรรณ ประธานกรรมการบริษัทมณีทัศน์ จำกัด ผู้จัดประกายความคิดโครงการเฉลิมกรุงมณีทัศน์ ให้เป็นโรงละครที่ทันสมัยของเมืองไทยตามความฝันที่กำลังเป็นจริงขึ้นมาให้ได้กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

มานิต รัตนสุวรรณ กับวัย 48 ปีของเขาในวันนี้มีชื่อเสียงโด่งดังในวงการตลาดอย่างมากมาย เคยเป็นนักบัญชี นักโฆษณา นักขาย นายกสมาคมการตลาดแม้กระทั่งนักกลอนก็เคยเป็นมาแล้ว ล่าสุดก่อนออกมาดำเนินกิจการส่วนตัวเคยบริหารให้กับบริษัทพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัดในเครือโอสถสภาในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ว่ากันว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม รายได้ที่เริ่มจากหลักศูนย์พุ่งทะยานสู่ 500 ล้านบาทภายในเวลา 5 ปี

ปัจจุบันมีกิจการส่วนตัวคือบริษัทเอ็มจีเอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทการตลาดจัดจำหน่ายสินค้ามากมาย ประเด็นที่น่าสนใจคือทำไมถึงหันมาลงทุนทำธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนท์โดยเฉพาะโครงการเฉลิมกรุงมณีทัศน์ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องโขน เรื่องละครเช่นนี้

มานิตบอกว่า มันเป็นความฝันของเขาที่ต้องการสานฝันให้เป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัวในการดูโขนรวมทั้งเฝ้าศึกษาเรื่องนี้มาเป็นเวลานานพอสมควร นอกจากนี้เขาเฝ้ามองมานานแล้วว่าในเมืองไทยยังไม่มีสถานที่ที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้สึกเคารพและให้เกียรติในสถานที่นั้นๆ ถึงขนาดแต่งตัวดีๆ เช่นใส่สูทหรือแต่งตัวเต็มยศเข้าในสถานที่นั้นๆสักแห่งเดียว

ดังนั้น โครงการเฉลิมกรุงมณีทัศน์นี้ จะเป็นสถานที่แห่งแรกที่ชาวต่างชาติจะต้องเข้ามาในลักษณะของคนที่เคารพสถานที่เหมือนอย่างที่เวลาเราเข้าชมบอร์เวย์ยังไงยังงั้น

การปรับปรุงเฉลิมกรุงฯให้เป็นโรงละครที่สมบูรย์แบบนี้ต้องใช้งบประมาณในการปรับโครงสร้างภายในใหม่ 40 ล้านบาท เพื่อปรับระบบเครื่องปรับอากาศ ตกแต่งภายใน น้ำไฟ ที่นั่ง ฯลฯ

ทางด้านเป้าหมายการตลาดหรือกลุ่มเป้าหมาย มานิตกล่าวว่าได้วางกลุ่มเป้าหมายไว้ 2 ประเภทคือ คนไทยที่มีความสนใจในการแสดงโขนกับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวยุโรป

มานิตมองว่านักท่องเที่ยชาวยุโรปจะมีความเป็นอิสระในการทัวร์มากกว่านักท่องเที่ยวที่มาจากเอเชีย ซึ่งต้องซื้อเป็นแบบแพกเกจทัวร์เข้ามาการตลาดเช่นนี้ต้องทำให้เราต้องไปผูกสัมพันธ์กับบริษัทททัวร์เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายนี้ ถ้าเราต้องการกลุ่มเป้าหมายเพิ่ม

"แต่ในขณะนี้รายการแสดงที่วางไว้ก็เป็นที่น่าสนใจของบริษัททัวร์อยู่ไม่น้อยเช่นกัน"

มานิตกล่าวถึงกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

ปีหนึ่ง ๆ มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าเมืองไทยอย่างน้อยประมาณ 120,000 คน (เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวยุโรป) หรือ 4-5 ล้านคนต่อปีจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด จำนวนที่นั่งของโรงละครแห่งนี้จุได้ประมาณ 700 ที่นั่งซึ่งยังไม่ถึง 10 % ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเมืองไทยจึงเป็นตัวเลขเป้าหมายที่มานิตหวังไว้เท่านั้นว่าเพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทางการตลาดดังกล่าวมานิตไม่ได้หวังเพียงความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเท่านั้น แต่เขาหวังที่จะได้รับควาสนใจจากคนไทยด้วยกันเองอีกด้วยจึงได้แบ่งรอบของการจัดการแสดงไว้เป็น 2 รอบด้วยกันคือรอบการแสดงของคนไทยและรอบของคนต่างชาติ ซึ่งรอบนี้จะมีการแปรภาษาเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สื่อความหมายของการแสดงโขนนี้อย่างเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

การลงทุนปรับปรุงศาลาเฉลิมกรุงเพื่อสร้างโครงการเฉลิมกรุงมณีทัศน์ขึ้นมานี้ต้องใช้งบประมาณลงทุนเป็นจำนวนร่วม 80 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเช่า)มานิตโต้โผใหญ่คาดว่าจะต้องใช้เวลา 5 ปี ในการคืนทุน ซึ่งจะเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ขึ้นกับตัวแปรที่สำคัญคือการแสดง!

ทั้งนี้เพราะการแสดงโขนที่ได้รับความช่วยเหลือจากวิทยาลัยนาฏศิลปนี้ เป็นศิลปชั้นสูงที่นับวันจะหาดูได้ยาก และกลุ่มคนที่อนุรักษ์การแสดงโขนก็เหลือน้อยเต็มทีสำหรับคนไทย แต่เชื่อว่า นอกจากธรรมชาติและศิลปะอย่างอื่นที่ต่างชาติต้องการหาดูได้จากเมืองไทยแล้ว โขนก็น่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรมตัวหนึ่งที่จะขายนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อีกแหล่งหนึ่งด้วย

นอกจากนี้บริเวณรอบๆศาลาเฉลิมกรุงเดิมเคยเป็น ร้านค้า ร้านกาแฟ ฯลฯ ในอนาคตคาดว่ารูปแบบของการค้าขายย่านนี้จะเปลี่ยนแปลงเพื่อรับกับสถานะของโครงการใหม่ เช่น จะมีร้านขายของที่ระลึกเกิดขึ้น นอกจากนี้ในตัวโครงการจะมีพิพิธภัณฑ์ตัวละครเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโขนมาตั้งโชว์ให้กลุ่มผู้สนใจได้ชมกันอีกด้วย

ส่วนผู้ที่ให้การสนับสนุนโครงการเพื่อให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ตามที่ต้องกา คือครบเครื่องเรื่องเทคนิคแสงสี เสียงนี้ มานิตเล่าว่า ได้คณะผู้มีความชำนาญการจากสถาบันต่างๆอาทิ อาจารย์สุไลมานจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไชโย จากถ่ายไชโย ด้านเทคนิค แจ๊คซาวน์ด้านเสียง ไลท์ ซอส ด้านแสงเป็นต้น

มานิตโด่งดังมาจาการทำตลาดสินค้ามากมาให้รุ่งพุ่งแรงสุดขีดมาแล้วหลายยี่ห้อเมื่อฉีกแนวของอาชีพออกมาเช่นนี้ งานนี้ก็น่าจะเป็นบทพิสูจน์กลายๆได้ว่าเขาจะทำให้โครงการนี้รุ่งได้เหมือนอย่างที่เคยทำสินค้าที่เคยดับให้ฟื้นคืนชีพมาแล้ว หรือมีอันต้องอำลาจากวางมือเหมือนที่เคยคิดจะทำโครงการนารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยนมาแล้วครั้งหนึ่ง เพราะต่อจากโครงการนี้มานิตตั้งเป้าสู่การผลิตสินค้าไทยส่งออกหากโครงการเฉลิมกรุงมณีทัศน์สัมฤทธิ์ผล

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us