Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
พินิจ กฤติยรังสรรค์ฝัน ตั้งบริษัทประหยัดพลังงาน             
 


   
search resources

ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย
พินิจ กฤติยรังสรรค์
Energy




ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อนด้วยการผลักดันของกรอ.และแรงสนับสนุนจากรัฐบาลให้เป็นผู้ดูแลการปฏิบัติ เพื่อถนอมพลังงานที่มีอยู่ให้ใช้ได้อย่างทรงประสิทธิภาพและยาวนานที่สุด เนื่องจากพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันนั้นเป็นพลังงานที่มีวันหมด

โดยมีพินิจ กฤติยรังสรรค์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ในการรณรงค์และส่งเสริมการประหยัดพลังงานทุกรูปแบบ

การใช้น้ำมันของไทยในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวสูงมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าการขยายตัวถึง 1.5 เท่าของอัตราเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะอยู่ในระดับไม่เกินหนึ่งเท่า ยิ่งถ้าเป็นประเทศอุตสาหกรรมแถบยุโรปจะอยู่ในระดับเพียง 0.2-0.3 เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้น้ำมีนที่สูงกว่าของไทยอย่างชัดเจน

ความต้องการน้ำมันพลังงานหลักที่สูงเป็นเท่าทวีเกิดขึ้นเพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งก็เนื่องจากการใช้น้ำมันที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ร.ท.ศุลี มหาสันทนะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับผิกชอบด้านพลังงานของประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการประหยัดพลังงานอย่างมากและอยู่เยื้องหลังการเกิดขึ้นของศูนย์

โดยบทบาทของศูนย์ฯก็คือให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนการฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน แก่ทั้งโรงงานและอาคารบ้านเรือนแต่จะเน้นหนักส่วนโรงงานส่วนอุตสาหกรรมใในช่วงแรก

ทั้งนี้ ศูนย์ฯจะดำเนินการภายใต้พ.ร.บ.อนุรักษ์พลังงานที่เพิ่งจะผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองด้านเศรษฐกิจเมื่อปลายเดือนสิงหาคมศกนี้

สาระสำคัญของพ.ร.บ.ก็คือ กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารที่ทใช้น้ำมันหรือถ่านหินเททียบเท่ามากกว่าหนึ่งล้านลิตรหรือไฟฟ้าตั้งแต่ 500 กิโลวัตต์ ต้องส่งข้อมูลการใช้เชื้อเพลิงและการผลิตให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯทราบต้องทำ ENERGY AUDIT หรือส่งรายงานการใช้เชื้อเพลิงทุกปีและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านอนุรักษ์พลังงานประจำโรงงาน

รวมโรงงานและอาคารในข่ายนี้ประมาณ 2,000 ราย ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย"เป็นลักษณะขอความร่วมมือมากกว่า" พินิจกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯที่จะต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพ.ร.บ. "จะเห็นว่ามีโทษน้อยโรงงานเหล่านี้จะเป็นโรงงานขนาดกลางขึ้นไปถ้าไม่ส่งรายงานจะถูกให้ปรับค่า AUDIT แห่งละ 2 หมื่นบาท"
ด้วยประสบการณ์ที่พินิจเคยเป็นวิศวกรฝ่ายขายของบริษัท เดลต้า เทรดดิ้งผู้ค้าเครื่องออโตเมติก คอนโทรลและผู้จัดการฝ่ายวางแผนในโรงงานโซดาไฟของบริษัท ไทยอาซาฮี กระทั่งออกมาทำธุรกิจส่วนตัวได้ตั้งบริษัท ออโตโมชั่น เซอร์วิส จำกัด ซึ่งจำหน่ายอุปกรณ์ควบคุมการใช้เชื้อเพลิงในโรงงานโดยตรงพินิจจึงเข้าใจภาพการทำงานในโรงงานทั่วไปได้ดี

พินิจเห็นว่า ทั้งโรงงานขนาดใหญ่และเล็กมีส่วนที่จะประหยัดพลังงานได้อีก โดยเฉพาะในส่วนอุปกรณ์ การเดินเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพตลอดจนการซ่อมบำรุงที่ยังปรับปรุงได้

โรงงานใหญ่บางแห่ง แม้จะใหญ่จริง ซึ่งส่วนมากจะมีการใช้เชื้อเพลิงอย่างประหยัดแล้วก็ตาม แต่บางแห่งเครื่องจักรล้าสมัย หรือดูแลไม่ทั่วถึงเนื่องจากคนมักไปสนใจกับเครื่องจักรใหม่แต่พอทำ ENERGY AUDIT จะเห็นข้อบกพร่องนี่จุดที่หลายโรงงานมักจะละเลย

พินิจยังชี้ถึงผลดีการทำ ENERGY AUDIT ว่าถ้าโรงงานทำได้ในปีแรกแค่ 3-4 % ก็คุ้มค่าซึ่งถ้าทำทั้งหมดจะลดปริมาณการใช้พลังงานในภาพรวมได้ถึง 20-30 % ไม่รวมถึงโรงงานบางแห่งที่ใช้มาตรการหลายอย่างพร้อมกันจะช่วยประหยัดได้สูงกว่า 3-4 % หลายเท่า

ข้อกำหนดสำหรับโรงงานนั้น พินิจย้ำว่าที่สำคัญศูนย์ฯต้องข้อมูลการใช้ข้อมูลการใช้เชื้อเพลิงเพื่อช่วยประหยัดมากกว่า "เราจะชี้ให้เห็นว่า การทำงานในโรงงานมีจุดอ่อนตรงไหนจะเสริมการประหยัดเชื้อเพลิงในส่วนใดได้บ้าง"

ไม่ว่าจะเป็นการช่วยแนะนำการทำงานในโรงงานหรือการจัดอบรมความรู้ในการประหยัดพลังงานให้คนของโรงงาน ซึ่งในขณะนี้ศูนย์กำลังจัดโครงการอบรมผู้อนุรักษ์พลังงานแก่โรงงาน 1,000 คน โดยการพลังงานแห่งชาติในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯผู้วางแผนดูแลนโยบายเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย 1,000 บาทต่อราย

นับเป็นตัวอย่างที่ทางรัฐบาลพยามส่งเสริมให้โรงงานเห็นความสำคัญและร่วมมือในการประหยัดพลังงาน เพื่อมิให้โรงงานรู้สึกว่าการที่ศูนย์ฯเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะต้องการจับผิด "ที่จัดบริการฟรี โรงงานจะได้ไม่เห็นว่าเป็นภาระในการประหยัดพลังงาน และต่อไปโรงงานจะได้ให้ความร่วมมือในโครงการต่างๆต่อไปอีก"พินิจกล่าว

ทางด้านอาคาร ศูนย์ฯเริ่มเข้าไปเก็บข้อมูลเมื่อปีก่อนโดยเริ่มจากอาคารราชการทั้งที่เป็นสำนักงานทั่วไป โรงพยาบาลและสถานศึสกษาพบว่าการใช้ไฟไม่ค่อยมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะแอร์ ส่วนใหญ่เก่ามากมีอายุ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว ถ้าถ้ายังไม่ อยู่ในสถานที่จะเปลี่ยนได้ ก็ต้องใช้เครื่องเก่าให้ดีที่สุดไปก่อน

ส่วนใหญ่หน่วยราชการจะขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ไฟใช้แอร์ ตัดสินใจไม่ถูกรวมถึงการจัดซื้อ แม้จะให้ซื้อได้กรณีมีราคาแพง แต่เวลาปฏิบัติก็ต้องซื้อราคาถูก ขณะนี้ทางสำนักงบประมาณกำลังเสนอขอเปลี่ยนการจัดซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า

โดยจะเริ่มจากแอร์ก่อนซึ่งมีการทำอิเลกทรอนิก เทอร์โมสแตท เป็นการควบคุมแบบเรียบจะช่วยปรับอุณหภูมิให้คงที่ในระดับ 25 องศาเซลเซียสเมื่อปรับใช้กับเครื่องแอร์ จะประหยัดพลังงานได้ 40 %

เวลานี้ การพลังงานฯกำลังขอโอนงบเหลือใช้ของปี 2534 จำนวน 130 ล้านบาทเพื่อติดตั้งเทอร์โมสแตทจำนวน 25,000 เครื่อง เครื่องละ 3,000 บาท ซึ่งศูนย์ฯจะเป็นผู้รับมาปฏิบัติ

เท่ากับเป็นการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน เพราะการที่ใช้อุปกรณ์เก่าเกินอายุ แม้จะดูเหมือนเป็นการประหยัดในสายตาคนทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้วจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้เครื่องใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่า

นอกจากการให้คำแนะนำปรึกษาแล้ว ศูนย์ฯ ยังบริการออกแบบและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดพลังงาน แก่โรงงานและอาคาร ซึ่งเป็นส่วนที่ทำรายได้แก่ศูนย์ฯ

ขณะเดียวกัน ศูนย์ฯมีโชว์รูมตรวจอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ใครไม่แน่ใจว่าดีจริงตามคำโฆษณา หรือก็เอามาทดสอบที่นี่ได้

ด้านรายได้ของศูนย์นั้น ที่ผ่านจะได้รับงบ 40 ล้านบาทจากกระทรวงการคลังเพื่อใช้จ่ายในระยะ 5 ปี ซึ่งผ่านมาแล้ว 4 ปี เมื่อครบ 5 ปีแล้วศูนย์ฯจะต้องยืนด้วยขาตัวเองให้ได้

พินิจกล่าวว่ารายได้ของศูนย์ฯจะมาจากค่าบริการสมาชิก ค่าศึกษาในโครงการประหยัดพลังงานเป็นหลัก ไม่รวมถึงความช่วยเหลือจากองค์การต่างประเทศ โดยเฉพาะจากฝั่งยุโรป ซึ่งมีมาตรฐานการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ร่วมส่งเสริมงานด้านนี้

ทั้งมีแนวโน้มว่า ศูนย์ฯจะเตรียมปรับโครงสร้างการบริหารมาเป็นบริษัทจำกัดเพื่อความคล่องตัวใในการดำเนินงานยิ่งขึ้นในระยะยาวด้วย

นี่เป็นฝันที่พินิจอยากให้เป็นจริง…!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us