Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
ยักษ์บริติช แก๊ส เปิดฉากรุกโรงไฟฟ้าไทย             
 


   
search resources

บริติชแก๊ส
Oil and gas




วันที่ 8 เดือน 8 เป็นฤกษ์เปิดตัวของยักษ์ก๊าซผู้ดีอังกฤษหลังจากเก็บตัวรอจังหวะมาพักใหญ่….!

บริติชแก๊สสำหรับอังกฤษโด่งดังมากทางธุรกิจแก๊ส พีแอลซี เรียกว่าเป็นบริษัทก๊าซที่ใหญ่ที่สุดนอกสหภาพโซเวียต

เดิมทีบริติชแก๊สเป็นรัฐวิสาหกิจ และได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเมื่อปี 2529 และเป็นสมาชิกในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ขณะนี้มีผู้ถือหุ้นร่วม 2.3 ล้านราย

ปัจจุบันเป็นผู้จัดจำหน่ายและขนส่งก๊าซธรรมชาติให้ลูกค้าทั้งภาคอุตสาหกรรมพาณิชย์รวมไปถึงครัวเรือนรวม 18 ล้านรายในอังกฤษ และยังเน้นทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับก๊าซทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจการผลิตก๊าซและน้ำมันทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก ตลอดจนธุรกิจผลิตไฟฟ้า

เมื่อบริติชแก๊สแปรรูปมาเป็นเอกชนเต็มรูปแบบแล้วก็ได้ขยายกิจการออกสู่ตลาดโลกอย่างรวดเร็ว

ตั้งแต่การจัดส่งก๊าซด้วยการเข้าไปถือหุ้นใน "คาตาลานาเดอ แก๊ส" บริษัทจัดส่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในสเปน 10% หรือเทกโอเวอร์ "คอนซูเมอร์ส แก๊ส" บริษัทส่งก๊าซรายใหญ่ที่สุดของแคนาดาในมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญ หรือไปร่วมทุนใน "แก๊สแฟซอร์กุงซาคเซน อันฮาล์ท" ในเยอรมนี 24 %

จากนั้นก็เปิดแนวรบธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าครั้งใหญ่หลังจากที่ได้ร่วมกับยูทิลิคอมโฮลดิ้งส์ ตั้งบริษัทใหม่ชื่อ "ซิติเจน" เพื่อมุ่งงานก่อสร้างและดำเนินกิจการโรงงานผลิตพลังงานความร้อนร่วมกับกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเมืองสำคัญๆ พร้อมทั้งประกาศตั้ง "แก๊ส เวนเจอร์ แอดไวเซอร์ส" ให้เป็นบริษัทที่รับผิดชอบการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 5,000 ล้านบาทโดยประมาณ

นอกจากนี้ยังขยายธุรกิจการให้คคำปรึกษาและจัดการโครงการเกี่ยวกับก๊าซตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี ตุรกี อินเดีย และอินโดนีเซีย

สำหรับอินโดนีเซีย บริติชแก๊สได้ส่งวิศวกรเข้าไปช่วยด้านการจัดการแก่บริษาทก๊าซท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2529

ขณะที่ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาและมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ดังที่จอร์จ แลงชอว์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายโกลบัล แก๊สของบริติชแก๊สกล่าวในวันงาน ซึ่งบินมาเปิดตัวบริษัทพร้อมกับโฮเวิร์ด ดาลตัน กรรมการฝ่ายสำรวจและผลิตด้วยตนเองที่โรงแรมฮิลตัน อินเตอร์เนชั่นแนล ท่ามกลางเพื่อนผู้ค้าก๊าซและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของรัฐอย่างคับคั่ง รวมไปถึงลิปปนนท์ เกตุทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย

บริติชแก๊สรุกเข้ามาในธุรกิจสำรวจและผลิตก๊าซในไทยอย่างเงียบๆ และได้สิทธิร่วมพัฒนาแปลงสัมปทานสำคัญในอ่าวไทย 2 แหล่ง คือ แปลงสำรวจ 5/27 อยู่นอกฝั่งทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแปลงสัมปทานที่ใหญ่ที่สุดแปลงหนึ่งด้วยการรวมทุนกับบริษัทปตท.สผ.ของไทยในสัดส่วน 50 ต่อ 50 เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว

แปลงสัมปทานนี้ครอบคลุมพื้นที่ 15,554 ตารางเมตร กำลังอยู่ระหว่างวิเคราะห์ข้อมูลเตรียมโครงการขุดเจาะขนาดใหญ่ต่อไป โดยคาดว่าจะเริ่มสำรวจหลุมแรกในปีหน้า

แหล่งที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งคือ แหล่งก๊าซบงกชมีปริมาณก๊าซสำรองกว่าหนึ่งล้านล้านลูกบาศก์ฟุต โดยบริติชแก๊สได้เข้าร่วมโครงการนี้ตั้งแต่เดือนมีนาคมปีก่อน ด้วยการเข้าถือหุ้น 20 % ปตท.สผ. 40 % โทเทิล 30 % และสเตทออยล์ 10 % ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตก๊าซและส่งขายป้อนโรงแยกก๊าซขนองปตท.ได้ในปี 2536

สำหรับกิจการของบริติชแก๊สในไทยมีจี.ดี.(เคลลีเป็นผู้จัดการทั่วไป รับบทรรุกธุรกิจก๊าซในไทย

เมื่อมีโอกาส บริติชแก๊สก็ไม่รอช้า เมื่อทางบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (ททีโอซี) เปิดให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการสร้างระบบไฟฟ้าสำรองที่จะป้อนให้กับทีโอซีและโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 2 ทั้งหมด บริติชแก๊สก็ร่วมวงด้วยทันที

งานนี้มีบริษัทเอนรอนเสนอตัวเข้าชิงด้วย แต่เสนอในขนาดใหญ่ขนาด 300-400 เมกะวัตต์ซึ่งสูงกว่าความต้องการของโรงงานปิโตเคมีทั้งหมดที่ต้องการเพียงประมาณ 150 เมกะวัตต์ จึงถูกบอกปัดข้อเสนอไป

ตอนหลังมีบริษัทมิสชั่นเอนเนอยีเสนอเข้ามาในขนาด 180 เมกะวัตต์ ขณะที่บริติชแก๊สเสนอขนาด 150 เมกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงความต้องการที่สุด และจะนำระบบ CO-GENERATION เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุดมาใช้เป็นแห่งแรก

โดยบริติชแก๊สเสนอจะผลิตไฟและไอน้ำให้กับทีโอซีและโรงงานปิโตรเคมีได้ตั้งแต่ปี 2537 คิดค่าไฟ2.44 บาทต่อกิโลวัตต์ ค่าไอน้ำ 444 บาทต่อตัน และจะปรับตามอัตราเงินเฟ้อ ถือเป็นระดับราคาที่จะถูกกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่น้อยกว่า 10 % สอดคล้องกันนโยบายที่ทางรัฐบาลจะให้เอกชนมาลงทุนโรงไฟฟ้าเพื่อให้มีการแข่งขันมากขึ้รในอนาคต

บริติชแก๊สจึงกลายเป็นตัวเต็งที่จะเป็นผู้ชนะในการสร้างโรงไฟฟ้าสำรองที่นี่

"เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าบริติชแก๊สจะได้ เพราะเงื่อนไขและสเปกตรงมากที่สุด" แหล่งวงการปิโตรเคมีกล่าว

ทั้งจอร์จ แลงชอร์และจี.ดี.(ดอน) เคลลี ต่างยิ้มแก้มปริและตอบด้วยเสียงเดียวกันว่า "ตอนนี้รอทางทีโอซีเรียกไปเจรจา ยังไม่มีอะไรยืนยันแน่นอน แต่ถ้าได้เรียกว่าวิเศษไปเลย"

แน่ละ…เพราะนั่นหมายความว่า บริติชแก๊สเริ่มย่างเข้ามายึดหัวหาดธุรกิจโรงไฟฟ้าเอกชน ธุรกิจที่ตัวเองถนัดได้ก่อนใครอื่น…!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us