Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
ผู้จัดการธุรกิจบริการท่อส่งน้ำมันคนแรก             
 


   
search resources

ท่อส่งปิโตรเลียมไทย, บจก.
สุโรจน์ จงวรนนท์
Oil and gas




เพื่อลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งและสร้างระบบการขนส่งน้ำมันอันทรงประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย (THAI PETROLEUM PIPELINE CO.,LTD) ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า "THAPPLINE" จึงเกิดขึ้นตามนโยบายองรัฐบาลเมื่อปลายปี 2533 โดยมีสุโรจน์ จงวรนนท์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการ

บริษัทนี้รับผิดชอบโครงการท่อน้ำมันขนาดใหญ่เส้นแรกของไทย เพื่อขนน้ำมันจากศรีราชากระจายไปสู่พื้นที่ภาคตะวันออกในระยะต้น และขยายออกไปสู่ทางภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคต

เส้นทางท่อจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจากดอนเมือง-ศรีราชา ระยะ 160 กิโลเมตร ซึ่งกำหนดสร้างเสร็จต้นปี 2536 ทำให้ส่งน้ำมันอากาศยานจากโรงกลั่นไทยออยล์และเอสโซ่ซึ่งอยู่ที่ศรีราชาเข้ามายังอดนเมืองได้โดยตรง ไม่ต้องวิ่งกลับไปกลับมาเหมือนตอนนี้ ซึ่งจะขนส่งทางเรือมายังช่องนนทรี แล้วขนส่งโดยรถยนต์ไปยังดอนเมืองจากดอนเมืองวิ่งกลับเข้าเมืองและจะวิ่งได้ตั้งแต่ 3 ทุ่มขึ้นไปรวมแล้วตกวันละพันกว่าเที่ยว

ส่วนช่วงที่ 2 จากศรีราชา-สระบุรี ระยะทาง 86 กิโลเมตรกำหนดสร้างเสร็จในปลายปีเดียวกัน

โดยระบบท่อจะเริ่มต้นจากศรีราชา ไปยังชลบุรี ผ่านฉะเชิงเทรา ไปถึงสถานีรถไฟคลองหลวง ซึ่งเป็นจุดพื้นที่ใกล้จะสร้างสนามบินหนองงูเห่าหากมีการสร้างก็เชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกันได้ เพราะห่างกันเพียง 11 กิโลเมตร จากนั้นก็ผ่านรามอินทราไปยังคลังลำลูกกาซึ่งจะสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณปทุมธานีเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำมันในเขตกรุงเทพตะวันออก

จากคลังลำลูกกาผ่านไปยังจุดใกล้สถานีรถไฟรังสิต จากจุดนี้จะมีท่อแยกแถวเขตหนองจอก กรุงเทพไปเชื่อมกับคลังน้ำมันที่ดอนเมือง แล้วไปบางปะอิน อยุธยา บ้านภาชี แล้วไปสุดปลายทางที่คลังน้ำมันสระบุรี

รถที่เคยรับน้ำมันในเขตกรรุงเทพไปขายทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็จะเปลี่ยนมารับจากสระบุรีแทน

ท่อเส้นนี้จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว ภายในท่อจะออกแบบให้แยกส่งน้ำมันประเภทต่างๆ ทั้งเบนซิน ดีเซล และน้ำมันอากาศยานได้ในท่อเดียวกันเรียกว่า MULTI PIPE LINE SYSTEM ซึ่งเป็นระบบที่มีชื่อเสียงในวงการท่อน้ำมัน

ดังนั้นเมื่อสร้างระบบท่อเรียบร้อยททั้งโครงการก็จะทำหน้าที่ขนส่งน้ำมัน จากศรีราชารวมไปถึงน้ำมันจากโรงกลั่นคาลเท็กซ์และของเชลล์ที่จะสร้างขึ้นที่มาบตาพุดทั้งหมด

"เราจ้าง บริษัท จอห์นบราวน์ คอนสตรัคเตอร์ เป็นวิศวกรที่ปรึกษา วงเงิน 4 แสนเหรียญสหรัฐ การออกแบบสเปกท่อจะรับความดันได้ถึง 1,500 ปอนด์ ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบท่อ พวกนี้จะต้องนำเข้าทั้งหมด" สุโรจน์เล่าถึงส่วนสำคัญของสเปกท่อที่จะทนทานและรองรับความดันได้สูงเพื่อป้องกันการระเบิด

ขณะเดียวกัน ก็จะมีระบบควบคุมที่เรียกว่า "SCADA" ระบบที่รวมศูนย์การคอนโทรลและเรียกข้อมูลที่ต้องการได้ทั้งหมด ซึ่งสุโรจน์พูดถึงระบบ "SCADA" ว่าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีชื่อเสียงในยุโรป "ทำเรารู้ข้อมูลได้ทุกส่วนในทุกเวลา และตรวจเช็คได้ทั้งหมดว่า ระบบการทำงานในขณะนั้นเป็นอย่างไร เรียกขึ้นมาดูหน้าจอได้เลยหรือหามีปัญหา สมมติว่ามีจุดรั่ว ก็จะมี LOCK VAULUE เป็นตัวปิดอัตโนมัติ เรียกว่าเป็น การเริ่มต้นระบบท่อน้ำมันของไทยตามมาตรฐานชั้นสูงของโลก"

สุโรจน์ ซึ่งเคยรักษาการนายช่างใหญ่ของ บริษัท คอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้จัดการฝ่ายวางแผน บริษัท เอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด และจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าฯ ด้านการจัดหาและกลั่นน้ำมันของปตท. ในช่วงล่าสุด ก่อนที่จะรับงานชิ้นใหม่ที่นี่ยังเล่าถึงความคืบหน้าว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบก่อสร้าง ซึ่งจะเริ่มประมูลได้ในต้นปีหน้า

สำหรับแนวท่อน้ำมัน 80 % จะยึดแนวเขตทางรถไฟ อีก 20% จะอิงแนวสถานีสายส่งแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นแนวพื้นที่ชานเมือง นอกเขสตชุมชน "จึงมั่นใจได้ว่าไม่สร้างปัญหาด้านจราจรระหว่างการก่อสร้างประชาชนก็ไม่เดือดร้อน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญมากและพยายามหลีกเลี่ยงผลกระทบนี้"ผู้จัดการ"ต่อปัญหาที่หลายพันคนกังวล

โครงการนี้ใช้เงินลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท มีบริษัทน้ำมันร่วมทุนอย่างคับคั่ง

โดยบริษัทมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นประกอบด้วย ปตท. 25.5% เชลล์และเอสโซ่รายละ 15 % คาลเท็กซ์บีพีและคูเวตออยล์รายละ 10 % โมบิล 4.5 % และบาฟส์ 5 %

ผู้ร่วมทุนเหล่านี้ก็คือลูกค้าที่จะใช้บริการขนส่งทางท่อเมื่อสร้างเสร็จ ซึ่งในปีแรกประมาณการว่าจะมีน้ำมันของลูกค้าไหลผ่านราว 30 ล้านลิตรและจะเพิ่มขึ้นเป็น 70 ล้านลิตรใน20 ปี ซึ่งเป็นตัวเลขน้ำมานไหลผ่านท่อเต็มประสิทธิภาพตามที่วางสเปกไว้

พร้อมกันนั้น บริษัทก็จะต้องเป็นผู้จัดสรรลำดับการขนส่งน้ำมันให้ลูกค้าก่อน ซึ่งเรื่องนี้สุโรจน์กล่าวว่าจะต้องจัดระบบและกติกาอีกครั้งหนึ่ง

ทางด้านราคาบริการในช่วง 4-5 ปีแรกจะคิดในอัตราที่ไม่สูงกว่าค่าขนส่งทางรถยนต์และรถไฟ และหลังจากนั้นราคาก็จะถูกกว่า ซึ่งสุโรจน์ย้ำว่าอัตราค่าบริการจะเป็นตัวเลขที่แข่งขันกับค่าขนส่งทางอื่นได้และดึงดูดลูกค้ามากที่สุด

เนื่องธุรกิจการขนส่งน้ำมันทางท่อไม่ใช่มุ่งค้ากำไร จึงมีหลักดำเนินการเพื่อให้อยู่ได้ในฐานะที่เป็นโครงการเพื่อส่วนรวม โดยจะเน้นให้อยู่ในฐานะทัดเทียมกับบริษัทน้ำมันระหว่างประเทศ เนื่องจากผู้ร่วมทุนแต่ละรายล้วนแต่เป็นบริษัทรายใหญ่ในตลาดโลกทั้งสิ้น มาตรฐานความต้องการเชิงบริหารก็ย่อมสูงขึ้นด้วย

การบริหารท่อโครงการนี้จึงใช้หลักว่าจะใช้คนให้น้อยที่สุดแต่เน้นประสิทธิภาพและปริมาณความรับผิดชอบของแต่ละคนสูง รวมไปถึงการนำเครื่องมืออุปกรณ์สมัยเข้ามาใช้

จากบุคลากร 15 คน ในขณะนี้ เมื่อเริ่มก่อสร้างจะเพิ่มเป็น 48 คน และเมื่อเปิดบริการแล้ว ได้กำหนดกำลังคนไว้ไม่เกิน 100 คน ซึ่งพูดได้ว่าเป็นอิทธิพลที่เข้าได้รับจากเอสโซ่ "เราจะใช้คนน้อย เพราะจะใช้ระบบการควบคุมอัตโนมัติเป็น UNAMNSTATION ระบบควบคุมจะรวมศูนย์อยู่ที่นี่ (สำนักงานในกรุงเทพ-ตึกแปซิฟิกทาวเวอร์) ส่วนวิศวกรก็เพียง 6-7 คน ซึ่งจะต้องสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในระบบขนส่งท่อจริงๆ"

งานนี้จึงเป็นการท้าทายฝีมือการบริหารขนองสุโรจน์ว่า จะเป็นผู้ถือหุ้นยอมรับและชื่นชมได้แค่ไหน…!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us