Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 กรกฎาคม 2546
เปลี่ยนแบงก์คิด-ทำใหม่ ปล่อยกู้ด "แนวโน้มกำไร"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
เครดิตฟองซิเอร์
กระทรวงการคลัง
ทักษิณ ชินวัตร
ธาริษา วัฒนเกส
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
Banking and Finance




ธปท. เดินหน้าผลักดันเปลี่ยนแปลงระบบพิจารณา สินเชื่อแบงก์ จากปัจจุบันใช้หลักประกันเป็นหลัก เป็นการพิจารณา ควบคู่กับความสามารถดำเนินการ และกำไรธุรกิจ รวมถึงเงินทุนหมุน เวียน ลักษณะเดียวกับปรับโครงสร้างหนี้ ขณะที่คลังเร่งปรับโครงสร้างและระบบการบริหารใหม่ เพื่อ ก้าวสู่ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อนาคต ตามนโยบายทักษิณ

นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยความคืบหน้าแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) แบงก์ชาติว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังเห็นชอบแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินแล้ว หลังจากธปท. ส่งให้พิจารณาก่อนหน้านี้

ธปท.จะนำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ผ่านการพิจารณาดังกล่าวมาปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเร็วๆ นี้ ธปท. จะเชิญผู้บริหารสถาบันการเงินประชุม เพื่อชี้แจงรายละเอียด ทำ ความเข้าใจแผนดังกล่าวอีกครั้ง

เปลี่ยนให้กู้ธุรกิจอิงแนวโน้มกำไร

ธปท.จะพยายามเปลี่ยนแปลง ระบบพิจารณาสินเชื่อ จากปัจจุบันที่ใช้หลักประกันเป็นหลัก เป็นการพิจารณาควบคู่กับความสามารถดำเนินการ และทำกำไรธุรกิจ รวมถึงพิจารณาจากเงินทุนหมุนเวียน ลักษณะเดียวกับการปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งยังจะปรับปรุงการเก็บค่าธรรมเนียมของสถาบันการเงินให้เหมาะสม และเป็นระบบมากขึ้น

ส่วนบริษัทเงินทุนและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ หลังช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา ระบบสถาบันการเงินเหล่านี้เล็กลงมาก โดยบริษัทเงินทุน ธุรกิจหลักยังเป็นสินเชื่อเช่าซื้อ แต่ละเน้นกระจายไป ภูมิภาคมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ขณะนี้ยังมีปัญหา เรื่องฐานะ และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปริมาณสูงมาก แต่อยู่ระหว่างแก้ปัญหา ซึ่งเชื่อว่าจะดำเนินการต่อไปได้

สำหรับธุรกิจวิเทศธนกิจที่ผ่านมา สินเชื่อลดลงมาก แต่ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจวิเทศธนกิจเริ่มดีขึ้น จากเงินที่เริ่มไหลเข้ามาจากต่างประเทศมากขึ้น แต่ธปท.กำหนดในมาสเตอร์แพลนแล้วว่า การเข้ามาของเงินจะต้องมีแบบแผน และวงเงินเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ซึ่งอยู่ระหว่างทำกฎเกณฑ์ และดำเนินการในทางปฏิบัติ

แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินดังกล่าว จะแบ่งการดำเนินงานเป็นทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว ซึ่งคาดว่าในไม่ช้าจะสามารถปฏิบัติ ตามแผนระยะสั้นได้เลย โดยจะเริ่มเรื่องการให้บริการการเงิน สำหรับประชาชนท้องถิ่นที่ห่างไกล หรือในชนบทได้ ขณะที่แผนระยะยาวจะพัฒนาสถาบันการเงินที่จำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควร

"คลังเพิ่งเห็นชอบมา ขณะนี้ ขอเวลาตั้งหลักก่อน คาดว่าอีกไม่นาน ก็จะมีการชี้แจงรายละเอียดของแผนทั้งหมดให้ทราบ แต่โดยหลักการแล้ว ตามแผนไม่ได้มีจุดที่ต้องเร่งดำเนินการ เพียงแต่จะทำเท่าที่ทำได้ก่อน" เธอกล่าว

ส่วนเรื่องที่กระทรวงการคลังจะทำแผนเพื่อพัฒนาสถาบันการเงินรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคาร อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นาง ธาริษากล่าวว่า เพื่อสร้างสถาบันการเงินเหล่านั้นเป็นเครื่องมือ หรือกลไก ทางการเพิ่มขึ้น ตลอด จนเพื่อขยายให้บริการประชาชน ถือว่าไม่ซ้ำซ้อน กันเชิงธุรกิจ

แหล่งข่าวธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า รายละเอียดมาสเตอร์แพลนที่ธปท.ทำ จะแบ่งบทบาทการทำงาน สถาบันการเงินแต่ละประเภท ให้ชัดเจน เป็นลักษณะสถาบันการเงินเฉพาะทางมากขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์ จะเพิ่มเติมการให้บริการสินเชื่อ ตอบสนองประชาชนมากขึ้น

คลังปรับโครงสร้างสู่อี-กัฟเวอร์นเมนต์

แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารกระทรวงการคลัง ทำโครงสร้าง และระบบบริหารกระทรวงใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยส่งเรื่องให้ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีคลัง รับทราบปลายมิ.ย. และส่งเรื่องต่อไปสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และภาครัฐ (ก.พ.ร.) ซึ่งก.พ.ร.ส่งหนังสือมากระทรวง การคลัง เพื่อชี้แจงว่า หากต้องการแก้ไขให้เสนอ เรื่องกลับ ก.พ.ร. เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.

สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารกระทรวงการคลัง เป็นไปตามนโยบาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการ เพื่อปรับองค์กรให้เข้าสู่รูปแบบบริหารการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ตอบสนองระบบบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือระบบธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อ เตรียมพร้อมที่จะก้าวสู่ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ต่อไป

แนวทางปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารกระทรวงการคลังใหม่ แบ่งเป็น 2 ทบวง 3 กลุ่มภารกิจ รวมถึงคณะกรรมการส่วนต่างๆ เพื่อให้มีระบบบริหารงานชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน และรองรับภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล

โครงสร้างใหม่ทั้ง 2 ทบวง แบ่งเป็น ทบวงรายได้ ประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และหน่วยงานใหม่ เช่น สำนักงานคณะกรรมการภาษี สำนักพัฒนารายได้ และฐานภาษี ภายใต้การกำกับการบริหารงานโดยคณะกรรมการภาษี

ทบวงทรัพย์สิน และหนี้สินสาธารณะ ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรมธนารักษ์ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ และหน่วยงานใหม่ คือสำนักงานพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ ภายใต้การกำกับการบริหารของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการนโยบายหนี้สาธารณะ และคณะกรรมการที่ราชพัสดุ

ส่วนกลุ่มภารกิจ ได้แก่ กลุ่มภารกิจด้าน นโยบายเศรษฐกิจการคลังประกอบด้วย สำนักงานพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ ภายใต้การกำกับการบริหารของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการนโยบายหนี้สาธารณะ และคณะกรรมการที่ราชพัสดุ

กลุ่มภารกิจด้านการบริหารรายรับรายจ่าย ประกอบด้วย กรมบัญชีกลาง หน่วยงานด้านงบประมาณ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ถ่ายโอนมาจากสำนักงบประมาณ และกลุ่มภารกิจด้านตรวจสอบ เป็นหน่วยงานตั้งใหม่ ประกอบด้วย สำนัก ตรวจสอบกลาง สำนักประเมินผลภาครัฐ และสำนักงานการเงินนอกระบบ

การบริหารงานโครงสร้างใหม่ จะอยู่ภายใต้ การกำกับการบริหารของคณะกรรมการนโยบาย การคลัง และสำนักงานรัฐมนตรี และสำนักปลัดกระทรวงการคลัง โดยมีสำนักงานข้อมูลสารสนเทศด้านการคลังเป็นหน่วยงานกลางของกระทรวง

กระทรวงการคลังเสนอแนวทางปรับโครงสร้างใหม่ไป ก.พ.ร. แล้ว พร้อมทั้งยังเสนอ ตัวจะเป็นหน่วยงานแรก ที่ปรับโครงสร้าง เพื่อให้ เป็นแบบอย่างกับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติจากก.พ.ร.และคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการ ได้

เนื่องจากมีบางส่วนที่ต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้รักษาการตามกฎหมาย ที่บางฉบับให้อธิบดีเป็นผู้รักษาการเป็นปลัดกระทรวงแทน ซึ่งจะดำเนินการได้หรือไม่ ต้องพิจารณาต่อไป อาจต้องยกระดับหน่วยงานบางหน่วยเป็น นิติบุคคล คาดว่า การดำเนินการต่างๆ ต้องใช้เวลา 1-2 ปีอย่างน้อย" แหล่งข่าวกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us