คลังเปิดให้เจ้าหนี้ทีพีไอทั้งหมดพบ 5 ตัวแทนกระทรวงการคลังวานนี้ (3 ก.ค.) ที่จะเป็นบอร์ดบริหาร
แผนฟื้นฟูกิจการบริษัท ก่อนจะตัดสินใจว่าจะโหวตรับคณะกรรมการชุดนี้หรือไม่ ด้าน
"บิ๊กหมง" ระบุบอร์ดบริหารแผนฟื้นฟูฯทีพีไอ จะใช้เวลาแก้ไขแผนฟื้นฟูฯให้เสร็จภายใน
90 วัน นับจากที่ได้รับแต่งตั้งทำหน้าที่บริหารแผนฯ ขณะที่เจ้าหนี้ท่าทีรับบอร์ด
5 คนของคลัง ที่จะให้พละเป็นซีอีโอ และปกรณ์เป็นซีเอฟโอบริษัท
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีคลัง กล่าวว่ากระทรวงการคลังเชิญเจ้าหน้าที่บริษัท
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (ทีพีไอ) พบกับผู้แทนคลัง 5 คน วานนี้ (3 ก.ค.) ประกอบด้วย
พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ประธานกรรมการธนาคารกรุงไทย ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย นายปกรณ์
มาลากุล ณ อยุธยา อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) นายพละ สุขเวช อดีตผู้ว่าการ
ปตท. นายอารีย์ วงศ์อารยะ ประธานกรรมการธนาคารอิสลาม นายทนง พิทยะ ประธานกรรมการบริษัท
การบินไทย
ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ตามที่ศาลล้มละลายกลางสั่ง พร้อมชี้แจงเหตุผลและนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับกรณีทีพีไอ
การตั้งตัวแทน 5 คน เพื่อต้องการบริหารกิจการนี้ให้ดี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และน้ำมัน
จะได้อยู่ได้ เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้ทีพีไอและพนักงานบริษัท 7,000 คน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องถึงล้านคน
ฝ่ายเจ้าหนี้สอบถามทุกเรื่องที่สนใจ ซึ่งชี้แจงทุกอย่าง
ประโยชน์ของเจ้าหนี้จะได้รับหนี้คืน ฝ่ายลูกหนี้ก็ได้รับความเป็นธรรม แรงงาน
7,000 กว่าคน ก็ไม่ต้องถูก Lay off (ออกจากงาน) ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
และทีพีไอจะกลับมาเป็นผู้นำทางด้านอุตสหกรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง
"วันนี้ (3 ก.ค.) ดูจากสีหน้าเจ้าหนี้ทุกคนพอใจ แต่ผลการโหวตในวันที่ 7
ก.ค. นั้นผมไม่สามารถคาดเดาได้ เชื่อว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหนี้ไม่พอใจ
จนเกิดการถอนตัวจากการสนับสนุนทางด้านการเงิน" ร.อ.สุชาติกล่าว
ทางด้าน พล.อ.มงคลกล่าวว่าบอร์ด 5 คน ชี้แจงโครงสร้างกรรมการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอให้ทราบว่า
คณะกรรมการมี 2 คน ที่เคยทำงานด้านบริหารมาแล้ว คือนายอารีย์ เคยเป็นอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
ดูแลการปกครองประเทศมาแล้ว และเขาที่เคยควบคุมกองทัพ ขณะที่นายทนง ก็ทำงานด้านการเงินการคลังมาแล้ว
ด้านนายปกรณ์ ก็เคยทำงานตำแหน่งสุดท้ายคือ รองผู้ว่าการธปท. และนายพละ อดีตผู้ว่าการปตท.
ที่จะเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ทีพีไอ
นอกจากนี้ ยังแจ้งให้ทราบถึงนโยบายนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และรัฐมนตรีคลัง
ที่สั่งการให้คณะกรรมการตัวแทนทั้ง 5 คน ดำเนินการ ซึ่งมีนโยบายว่า ทีพีไอต้องดำเนินกิจการต่อไป
เพราะจะเป็นผลดี กล่าวคือ เจ้าหนี้ได้หนี้คืน ด้านลูกหนี้ ก็ได้รับการปฏิบัติเป็นธรรม
พนักงาน 7,000 คน ก็ไม่ต้องออกจากงาน เศรษฐกิจไทยก็จะดี อุตสาหกรรมนี้ ซึ่งเคยใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก็ยังอยู่ในประเทศไทย
คณะกรรมการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทั้ง 5 คน จะเป็นผู้แทนคลัง ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการเดิมไปก่อน
จะทบทวนแผนเดิมให้เหมาะสม และเสนอที่ประชุมเจ้าหนี้ เพื่อดำเนินการต่อไป ด้านทีมงานบริหาร
ชั้นต้น นายพละจะเป็นซีอีโอ ซึ่งมีลูกน้องหลายคน ยังคงทำงานอยู่ในทีพีไอ จึงสามารถจะบริหารงานต่อไป
โดยการดำเนินการจะไม่หยุดชะงัก
ขณะที่นายปกรณ์จะเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) ดูแลด้านกิจการการเงิน
บริษัท หลังจากนี้จะจ้างบริษัทที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป ทำหน้าที่ทำสำรวจสินทรัพย์และหนี้สิน
(ดิวดิลิเจนท์) บริษัทชัดเจนว่า สถานภาพการเงินบริษัทเป็นอย่างไร จากนั้น คณะกรรมการจะสรรหาซีอีโอและซีเอฟโอ
ที่เหมาะสมต่อไป
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ หลังจากศาลมีคำสั่ง ตั้งกรรมการตัวแทนกระทรวงการคลังทั้ง
5 คนบริหารแผนฟื้นฟูฯทีพีไอแล้ว จะรีบดำเนินการ ในรายละเอียด และปรึกษาเจ้าหนี้ต่อไป
พล.อ.มงคลคาดว่า คณะกรรมการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ จะใช้เวลาแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ให้เสร็จภายใน
90 วัน นับจากที่ได้รับแต่งตั้งเข้าไปทำหน้าที่บริหารแผนฯ
ด้านนายแอนเตรียส์ คลอค (Andreas Klocke) ประธานสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เคเอฟดับบลิว ธนาคารพัฒนาจากเยอรมนี 1 ใน เจ้าหนี้ใหญ่ทีพีไอ กล่าวว่าในฐานะของเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท
จะปรึกษากับสำนักงานใหญ่ก่อนว่า จะโหวตให้คณะกรรมการตัวแทน 5 คนของกระทรวงการคลังหรือไม่
จึงจะทราบว่า จะลงมติอย่างไร 7 ก.ค. นี้
แต่จากการที่ได้พบกับตัวแทนทั้ง 5 คน ของคลัง รู้สึกชื่นชมและวางใจ ยินดีที่กระทรวง
การคลังช่วยดูแลเรื่องนี้
ด้านนายฮิวโก้ วาสซิงห์ ตัวแทนบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) เจ้าหนี้อันดับ
2 กล่าวว่าจะพยายามทำงานร่วมกับคณะกรรมการ ทั้ง 5 คนอย่างดี
นายเดชา ตุลานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ตัวแทนฝ่าย เจ้าหนี้ใหญ่
กล่าวว่าการร่วมประชุมครั้งนี้ เป็นเพียงทำความรู้จักกับคณะกรรมการผู้บริหารแผนฯ
เท่านั้น ส่วนข่าวจะถอนตัวของเจ้าหนี้ เท่าที่ทราบยังไม่มีเจ้าหนี้รายใดแสดงท่าทีเช่นนั้น
ทุกฝ่ายเห็นด้วย เพราะเรื่องนี้จะได้จบเสียที
ด้านนายอารีย์เปิดเผยความรู้สึกการเป็น 1 ใน 5 คณะกรรมการผู้บริหารแผนที่กระทรวง
การคลังตั้งว่า รู้สึกหนักใจการทำงาน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ส่วนแนวทางการทำงานของเขา
นจะถือความถูกต้องเป็นสำคัญ และมองความประสงค์ของรัฐบาล ที่ต้องการจะฟื้นฟูให้บริษัทอยู่รอดได้
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่าธนาคารกรุงเทพ
ในฐานะเจ้าหนี้ใหญ่สุดของบริษัท เข้าใจและเห็นด้วยว่ากระทรวงการคลังเหมาะสมที่จะดูแล
ในฐานะคนกลาง ส่วน ข้อเสนอลูกหนี้ที่ขอลดภาระหนี้ เชื่อว่า คณะกรรมการของคลัง จะต้องพิจารณาและวินิจฉัย
ถ้าคลังเห็นด้วย จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการเจ้าหนี้ และเป็นเรื่องเจ้าหนี้ ที่จะสามารถแสดงสิทธิ์ได้
ส่วนเรื่องแผนฟื้นฟูกิจการฯ เชื่อว่าคงต้องแก้ไข และดำเนินการตามแนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอ