Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
บทเรียนจากซาทซิกรุ๊พ : หมดสมัยสูตรสำเร็จเอเยนซีONE - STOP - SHOPPING แล้ว             
 


   
search resources

ซาทชิ แอนด์ ซาทชิ, บจก
Advertising and Public Relations




ชะตากรรมของอดีตเอเยนซีกรุ๊พอันดับ1 ของโลกอย่างซาทชิแอนด์ซาทชิ ณ ค.ศ.1989 ที่ย่ำแย่จน กลายเป็นเลวร้ายในปัจจุบันนั้น น่าจะถือเป็นกรณีศึกษา ที่อยู่ในแวดวงควรใส่ใจไม่น้อย…

ที่มาแห่งปัญหาของซาทชิก็คือภาระหนี้สินที่สูงถึง 250 ล้านปอนด์อันเกิดจากการหว่านซื้อกิจการขยายอาณาจักรของตนอย่างมโหฬาร เพียงเพื่อให้องค์กรมีลักษณะ ONE - STOP - SHOPPING หรือเป็นเอเยนซีที่ให้บริการกับลูกค้าอย่างครบวงจรตั้งแต่งานโฆษณา,ประชาสัมพันธ์,ส่งเสริมการขายให้บริการคำปรึกษาทางด้านการตลาด ฯลฯ

อินเตอร์พับลิคซึ่งเป็นเอเยนซีกรุ๊พอันดับ 4 ของโลกปัจจุบันก็เคยมีประสบการณ์ทำนองนี้มาก่อนแล้ว ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 และทางออกของอินเตอร์พับลิคก็คือ ลดต้นทุนดำเนินการ, การบริหารองค์กรอย่างสมเหตุสมผล ไปจนถึงการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ซึ่งเป็นวิธีการคล้ายคลึงกับที่ซาทชิใช้อยู่ทุกวันนี้

ปัจจุบัน อินเตอร์พับลิคฟื้นคืนสถานภาพตนเองขึ้นสู่การเป็นเอเยนซี กรุ๊พชั้นนำของโลกรองจากดับบลิวพีพี,ซาทชิแอนด์ซาทชิและออมนิคอมเท่านั้น แต่สำหรับซาทชิแล้ว ยังไม่ใครคาดเดาไดว่าผลลัพธ์จะออกหัวหรือก้อย

ความล้มเหลวของซาทชินั้น ส่วนหนึ่งมาจากเหตุผลที่คนในวงการเชื่อว่า "ทศวรรษขนองซาทชิ"นั้นหมดไปเสียแล้ว และลอนดอนก็หาใช้ศูนย์กลางของธุรกิจโฆษณาโลกอีกต่อไปแล้วด้วย การขยาอาณษจจจักรของซาทชิในช่วงทศวรรษ 1980 ดดยอาศัยจังหวะที่ตลาดหุ้นกำลังรุ่งโรจน์จึงเริ่มส่งผลลบกับอดีตเอเยนซีกรุ๊พอันดับ 1 ของโลกแห่งนี้ซึ่งเพิ่งเสียตำแหน่งแชมป์ของวงการให้กับดับบลิวพีพี กรุ๊พที่ก้าวขึ้นสวมตำแหน่งอันดับ 1 หลังจากเทคโอเวอร์โอกิลวี กรุ๊พ..เอเยนซีกรุ๊พอันดับ 3 ของโลกได้สำเร็จเมื่อปีกลาย

ยิ่งกว่านั้น ในทศวรรษ 1990 เอเยนซีสัญชาติแองโกล-อเมริกันอย่างซาทชิจะยิ่งถูกท้าทายครั้งใหญ่จากเอเยนซีในยุโรป เมื่อกระแสการรวมกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเป็นตลาดเดียวเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เอเยนซีสัญชาติฝรั่งเศสหลายแห่งที่เคยล้มเหลวกับความพยายามผลักดันตัวเองเข้าสู่วงการเอเยนซีสากล จึงเริ่มเห็นว่ามีแสงสว่างรำไรขึ้นในธุรกิจโฆษณาของยุโรป

และเหตุนี้นี่เองที่ทัพเยเยนซีทั้งจากนอกยุโรปและในยุโรปเอง จจึงพยายามที่จะผูกสามัคคีกับเอเยนซีในท้องถิ่นไว้ ไม่ว่าจะในรูปของการซื้อกิจการ หรือการร่วมทุนในลักษณะต่างๆหรือการร่วมทุนในลักษณะต่างๆตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ การที่เอเยนซีฝรั่งเศสอย่างบีดีดีพี พยายามหาทางเข้าซื้อกิจการเอเยนซีฝีมือดีของอังกฤษ "บีเอ็มพี" จนบีเอ็มพีต้องหาทางออกด้วยการยอมเข้าไปอยู่ในเครือของเอเยนซีกรุ๊พยักษ์ใหญ่อย่างออมนิคมเพื่อให้พ้นเงื้อมมือของบีดีพี ส่วนคู่ที่ประสบความสำเร็จด้วยยุทธวิธีคล้ายคลึงกันก็คือ การร่วมทุนระหว่างยูโรคอม..เอเยนซี กรุ๊พอันดับ 6 ของโลกที่มีฐานอยู่ในฝรั่งเศสกับดับบลิวซีอาร์เอส..เอเยนซี กรุ๊พ อันดับ 7 ของโลกสัญชาติสหรัฐฯผลลัพท์จากการร่วมทุนครั้งนี้ยูโรคอมจึงมีฐานเครือข่ายเอเยนซีครอบคลุมกว้างขวางขึ้นในทั่วโลก และมีความแข็งแกร่งในแง่การซื้อสื่อโฆษณาด้วย

อนาคตเอเยนซีฝรั่งเศสรายนี้ยังนับว่าไปได้อีกไกลด้วย เมือพิจารณาจากเครือข่ายการร่วมทุนแบบสามเส้า "ฮาวาส คอนซีล" ในเครือยูโรคอมกับเดนท์สึของญี่ปุ่นและ "มาร์สเทลเลอร์" ในเครือยังก์แอนด์รูบิแคม สหรัฐฯ ยังไม่นับเครือข่ายการโฆษณาแบบไม่ผ่านสื่อโฆษณาที่ยูโรคอมมีทั้งในและนอกฝรั่งเศส

ปิแอร์ เดอ พลาส์..CHIEF OPERATING OFFICER และ VICE PRESIDENT ของยูโรคอมเอง ให้คววามเห็นที่บอกถึงยุทธศาสตร์ของเอเยนซีกรุ๊พไว้ว่า "ปารีสและลอนดอนเป็นขั้วที่สำคัญมาก ปารีสเป็นฐานสำคัญสำหรับยุโรป และลอนดอนเป็นฐานสำหรับงานเอเยนซีในทั่วโลกนอกฝรั่งเศส ดังนั้นพันธมิตร ระหว่างฝรั่งเศส-อังกฤษจึงมีความสำคัญและเข้มแข็ง เสียยิ่งกว่าการผูกมิตรกับเอเยนซีจากสหรัฐฯเสียอีก"

ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษอีกแห่งหนึ่งก็คือเอเยนซีพับบลิซิสที่มีฐานอยู่ในฝรั่งเศสและมีแนวทางแตกต่างกันไปจากยูโรคอม โดยการสร้างฐานเครือข่ายระดับนานาชาติและเน้นการเป็นเอเยนซีท้องถิ่น โดยการสร้างฐานเครือข่ายระดับนานาชาติและเน้นการเป็นเอเยนซีท้องถิ่น ซึ่งพับบลิซิสเห็นว่านี่เป็นวิธีที่จะสร้างลักษณะความเป็นยุโรปขึ้นได้ ปีที่แล้วพับบลิซิสประสบความสำเร็จในการก้าวสู่เวทีงานโฆษณาระดับโลก ด้วยการร่วมเป็นพันธมิตรกับเอเยนซีกับชิคาโก "ฟูท โคนแอนด์ เบลดิ้ง" ส่งให้เอเยนซีร่วมทุนรายนี้ก้าวขึ้นเป็นเอเยนซีอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในตลาดยุโรป

แต่พับบลิซิสเองก็ย้ำว่า ขนาดของเอเยนซีนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในการดึงดูดให้เอเยนซีทั้งสองผูกเป็นพันธมิตรกัน การร่วมทุนครั้งนี้เป็นการพัฒนนาโมเดลของเอเยนซี่ ที่มีลักษณะแตกต่างหลากหลายในเชิงวัฒนธรรมองค์กร เพื่อที่จะตอบโต้กับเอเยนซีสัญชาติเองโกล-อเมริกันอย่าง เจ. วอลเตอร์ ธอมป์สันหรือ แบ็คเกอร์ สปิลโวเกิล เบทส์ที่อยู่ในเครือของซาทชิ

เจอร์ราด เพดรากลิโอ…PRESIDENT และ CHIEF OPERATING OFFICER ของพับบลิซิส ก็มีความเห็นทำนองเดียวกับเดอ พลาส์ในข้อที่ว่า ลอนดอนยังคงเป็นฐานสำคัญของวงการโฆษณาในอนาคต ทั้งในแง่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และในแง่การเงินแต่จะต้องเน้นลักษณะที่เป็นท้องถิ่นให้มากขึ้น "เราต้องการเป็นเอเยนซีที่โดดเด่นในยุโรป มันเป็นความผิดพลาดมากถ้าคุณเป็นเอเยนซีใหญ่ แต่ไม่มีฝีมือเราต้อง รักษาสถานะในการเป็นเอเยนซีอันดับ 1 ของยุโรปไว้"

แต่ที่น่ากลัวก็คือ ม้ามืดในแวดวงธุรกิจโฆษณาของโลกที่มีบทบาทเด่นในช่วงหลัง เห็นจะไม่มีใครเกินเดนส์สึซึ่งเป็นเอเยนซีญี่ปุ่น ซึ่งกำลังเร่งสร้างเครือข่ายของตนในทั่วโลก หลังจากที่วางฐานในตะวันออกไกลแล้ว อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเอเยนซีร่วมทุน "เอชดีเอ็ม" ที่ผงาดขึ้นเป็นเอเยนซีอันดับ 17 ของโลกไปแล้วด้วย

การหมุนหรือเปลี่ยนของศูนย์กลางความสำคัญของธุรกิจโฆษณาจากลอนดอนและนิวยอร์ก ไปสู่ยุโรปและอาจจะเป็นย่ายชายฝั่งแปซิฟิกต่อไปในอนาคตนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของลักษณะที่เป็นสากล(INTERNATIONALISM) ในธุรกิจโฆษณา ซึ่งทำให้เอเยนซีทั้งหลายพากันวิ่งหาเอเยนซีร่วมทุนในต่างประเทศกันขนานใหญ่ เพราะรู้ว่าตลาดงานโฆษณาภายในประเทศอาจจะไม่เติบโตมากนักและการรักษาตลาดของตนไว้ก็เป็นเรื่องที่ยากเย็นอยู่ไม่น้อยทีเดียว

ยิ่งในยุโรปแล้ว แรงกระตุ้นสำคัญจะมาจากกระแสการรวมกลุ่มประเทศประชาคมยุโรปเป็นตลาดเดียวในปี 1992 ขณะที่โลกธุรกิจในส่วนอื่นๆก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน การใช้จ่ายด้านบริการด้านการตลาดทั่วโลกที่มีมูลค่าราว600,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีจึงพุ่งสูงถึงในอัตรา 10-15 % ต่อปี

พ่อมดวงการโฆษณาอย่างมาร์ติน ซอร์เอล ผู้กุมบังเหียนเอเยนซี กรุ๊พอันดับ 1 ของโลกในปัจจุบันอย่างดับบลิวพีพี ยังพูดถึงอนาคตอันรุ่งโรจน์ของธุรกิจโฆษณาว่า "ประเทศกำลังพัฒนายังคงพัฒนาก้าวหน้าต่อไป ทำให้ดีมานด์ในด้านบริการโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากผมนั้นไม่มีความสงสัยใดๆเลยว่าเรากำลังอยู่ในภาคธุรกิจที่มีขอบข่ายมหาศาลทีเดียว"

แต่ข้อพึงสังเกตอย่างหนึ่งก็คือว่า ธุรกิจโฆษณา ในทศวรรษ 1990 จะมีลักษณะ "INTERNATIONALISM" มากกว่า "GLOBALISATION" เช่นแต่ก่อน กล่าวคือในอดีตผู้ลงโฆษณาอาจต้องการให้เอเยนซีรับผิดชอบแคมเปญโฆษณาของสินค้าตัวหนึ่งที่วางในตลาดทั่วโลก อย่างที่แม็คแคน แอริสันเป็นเอเยนซีสร้างงานโฆษณาให้กับน้ำดำค่ายโค้กในทั่วโลก อันเป็นลักษณะ "GLOBALISATION" นั้นแม้ว่าปัจจุบันจะยังเป็นแนวทางที่ใช้กันอยู่ แต่ไม่อาจถือเป็นแนวทางที่ใช้ในอนาคตได้เพราะแม้ว่าผู้ผลิตสินค้ายักษ์ใหญ่เช่น พร็อคเตอร์แอนด์แกมบิล, ยูนิลีเวอร์, บีแชมหรือมารส์ จะต้องการให้เอเยนซีสร้างงานโฆษณาให้สินค้าของตนอย่างครอบคลุมทั่วโลก แต่ผู้ลงโฆษณาบางรายก็ต้องการให้เอเยนซีปรับงานโฆษณาให้เข้ากับท้องถิ่นด้วย

นั่นก็คือ จะต้องมีงานโฆษณาที่เหมาะสมหรือมีลักษณะเป็นท้องถิ่นเป็นการเฉพาะ และจุดนี้นี่เองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของเอเยนซีในโลกนี้ คือ มีทั้งเอเยนซีที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งโลก และเอเยนซี่ที่มีความเชี่ยวชาญในงานโฆษณาระดับท้องถิ่น ยิ่งกว่านั้น แนวโน้มต่อไปก็อาจจะมีการผนวกกิจการระหว่างเอเยนซีระดับกลางด้วยกันมากขึ้น โดยไม่สนใจที่จะแข่งขันในขนาดเช่นแต่เดิม

อีกปัญหาหนึ่งที่เอเยนซีโฆษณาต้องเผชิญมากขึ้นในอนาคตก็คือปัญหาความขัดแย้งของลูกค้าในเชิงผลประโยชน์(CONFICT OF INTEREST) หรือการเอเยนซีส่วนใหญ่โดยเฉพาะตะวันตกจะถือเป็นกฎคือไม่รับงานโฆษณาของลูกค้าที่จำหน่ายสินค้าประเภทเดียวกัน แต่ปรากฎว่าเอเยนซีสัญชาติญี่ปุ่นจะรับงานโฆษณาให้กับผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน โดยไม่ถือว่าเป็นการเสียมารยาททำให้ระยะหลัง เอเยนซีตะวันตกเช่น ซาทชิเองต้องหันมาใช้แนวทางที่คล้ายคลึงกับเอเยนซีญี่ปุ่นด้วยเพื่อป้องไมม่ให้แอ๊คเคาท์ต้องไปอยู่ในมือของเอเยนซีอื่นๆ

เห็นได้ชัดจากการที่ซาทชิตั้งเอเยนซีบีเอสบีขึ้นเป็นเอเยนซีคู่ขนานกับซาทชิ เพื่อรองรับลูกค้าที่เป็นแข่งกัน แนวโน้มเช่นว่ากันนี้จะเป็นปัญหาสำหรับเอเยนซีที่ต้องการจะเติบโตในอนาคตด้วย และไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอนาคตเอเยนซีจะมีความหลากหลายมากขึ้นทั้งเอเยนซีที่มีขนาดใหญ่, กลางหรือเล็กเอเยนซีระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มที่เอเยนซียักษ์ใหญ่ของโลกจะเสนอบริการแก่ลูกค้าแบบที่เรียกกันว่า "INTEGRATED MARKETING" ที่เป้นกระแสอันโดดเด่นมากในทศวรรษ 1980 ก็?จะยังคงมีบทบาทต่อไปผู้ที่เป็นเจ้าตำรับความคิดแนวนนี้ก็มีเอเยนซี กรุ๊พยักษ์ใหญ่ 2 ค่ายคือ ซาทชิและดับบลิวพีพี

ยุทธ์ศาสตร์ของ เอเยนซีกรุ๊พทั้งสองก็คือต้องการตอบสนองลูกค้าด้วยบริการทางการตลาดทุกด้านตั้งแต่การประชาสัมพันธ์, การส่งเสริมการขายและการขายตรง, การวิจัยตลาด ไปถึงการออกแบบและการทำโฆษณานั่ก็คือ การพยายามไปสู่การเป็นบริษัทด้านการสื่สารที่ให้บริการโฆษณาทั้งแบบที่ผ่านและไม่ผ่านสื่อโฆษณา เพราะเอเยนซีเหล่านี้เล็งเห็นแล้วว่านับวันเทคนิคการโฆษณาแบบไม่ผ่านสื่อการโฆษณาจะเติบโตมากขึ้น

ยิ่งเมื่อสื่อโฆษณายุคใหม่มีความหลากหลาย การเจาะกลุ่มลูกค้าบางกลุ่มอาจจะสำเร็จด้วยดี โดยใช้วิธีการสปอนเซอร์สนับสนุนกิจการต่างๆ เช่นการกีฬา หรือการทำการตลาดแบบไดเร็ก มาร์เก็ตติ้งซึ่งได้ผลดีกว่าการโฆษณากว่าทางโทรทัศน์หรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องใช้จ่ายสูงมาก

ทุกวันนี้ แคเคาท์ของการทำตลาดแบบไม่ผ่านสื่อโฆษณาจะเป็นแอคเค้าท์ที่อยู่ในอัตรา 60 % ของแอ๊คเค้าท์โฆษณาทั้งหมด และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วด้วย

มาร์ติน ซอร์เอลแห่งดับบลิวพีพีเองก็ชี้ว่าเอเยนซี" กำลังสร้างกรอบการทำงานที่จะช่วยลูกค้าขายสินค้าผ่านแม่แบบอันสลับซับซ้อนของกลไกการทำงานและลักษณะทางภูมิศาสตร์" นั่นคือ ดับบลิวพีพี กำลังรอเวลาให้ลูกค้าเข้าใจในจุดนี้แลละมอบหมายงบประมาณทางด้านการตลาดไปจัดสรรอย่างรอบด้าน ทั้งในส่วนที่ผ่านและไม่ผ่านสื่อโฆษณา แต่ก็ใช่ว่าลูกค้าจะต้องการให้เอเยนซีเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบด้านการตลาดทั้งหมดเสมอไป ผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งเห็นว่า "INTEGRATED MARKETING" นั้นจะเหมาะสำหรับบริษัทลูกค้าที่ดำเนินธุรกิจแบบเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นองค์กรธุรกิจด้วยกันหรือบริษัทขนาดเล็กเท่านั้น

ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ภายใต้ความสลับซับซ้อนของโครงสร้างทำธุรกิจยุคใหม่ ธุรกิจโฆษณาเองก็มีความสลับซับซ้อนมากตามไปด้วย อย่างเบอร์ลัสโคนีในอิตาลีที่เดิมเคยเป็นบริษัทพัฒนาที่ดินปัจจุบันก็เป้นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ในฝรั่งเศส 1 แห่งกับในอิตาลีอีก 3 แห่งและเป็นเจ้าของบริษัทโปรดักชั่นและเจ้าของเอเยนซีที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลีนี่ ยังไมม่นับการเป้นเจ้าของเชนซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งอีกด้วย

การตัดสินใจซื้อสื่อโฆษณาในปัจจุบันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย เพราะในขณะที่อัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเทคนิคการจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่ทันสมัย ทำให้ผู้ลงโฆษณามีวิธีการเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดเมื่อเป็นเช่นนี้ เอเยนซีหลายแห่งจึงเห็นว่าการซื้อสื่อโฆษณาและการวางแผนจะเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญในอนาคต

จุดนี้เองที่เอเยนซีไม่ว่าจะในระดับยักษ์ใหญ่หรือเอเยนซีที่เชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ จะมีโอกาสแทรกช่องว่างตลาดได้พอๆกันการจะหาทางขยายกิจการให้เป็นเอเยนซียักษ์ใหญ่จึงจะไม่ใช่เรื่องที่มีความจำเป็นมากนักก็ได้ ยิ่งถ้าการขยายตัวนั้นเกิดจากความต้องการของตัวผู้ประกอบการเอเยนซีเอง หาใช่ความต้องการหรือความจำเป็นจากด้านลูกค้าแล้วที่สุดเอเยนซีขนาดใหญ่นั้นก็จะต้องแตกกระจายเป็นเอเยนซีเล็กๆอีกในที่สุด

อย่างที่คนในของซาทเองยังพูดถึงองค์กรของตนว่า "พี่น้องซาทชิ (หมายถึงมัวริสและชาร์ลส์ ซาทชิ…ผู้ก่อตั้งเอเยซีกรุ๊พ"ซาทชิ แอนด์ ซาทชิ") กำลังทบทวนทางออกต่างๆอยู่แต่อย่างน้อยที่สุดพวกเขาต้องยอมขายกิจการบางส่วนออกไปแน่ๆ"และนับตังแต่โรเบิร์ต หลุยส์ เข้ามาบริหารกิจการเอเยนซีกรุ๊ฟแห่งนี้ เขาก็มีแผนที่จะขายกิจการที่จะต้อง โละไปเป็นอันดับแรกก็คือ ธุรกิจที่ปรึกษาซึ่งแม้ว่าจะประกาศมานานแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถขายไปได้สำเร็จ และยังเป็นข่าวที่ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us