Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
การฟื้นตัวไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม             
โดย ขุนทอง ลอเสรีวานิช
 


   
search resources

ไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม, บมจ.
กฤษดา กัมปนาทแสนยากร
Mining




ยี่สิบสองปีที่แล้ว ไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่มเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจของเจ้าของเหมืองแร่ยิบซั่มหญิงคนหนึ่ง ที่ต้องการพัฒนาแร่ที่ขุดขึ้นมาให้มีค่ามากกว่าการส่งไปขายเมืองนอก แต่การยกระดับจากการขุดแร่ขายขึ้นมาเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นยิบซั่มซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ยี่สิบสองปีของไทยฯ ยิบซั่มจึงเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้และต่อสู้เพื่อที่จะอยู่รอดในโลกธุรกิจ

"เรากำลังอยู่ในช่วงการขยายตัวครั้งสำคัญ" กฤษฎากัมปนาทแสนยากร กรรมการผู้ อำนวยการของบริษัทไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่มพูดถึงทิศทางของกิจการที่เขารับช่วงการเป็นผู้นำต่อจากแม่

ไทยฯ.ยิบซั่มเพิ่งจะย้ายที่ทำการใหม่จากที่ตั้งเดิมบนถนนศรีอยุธยามาอยู่บนตึกหกชั้นริมถนนวิภาวดีรังสิต เป็นการย้ายชั่วคราวในระหว่างที่กำลังก่อสร้างตึกใหม่ในที่ดินเดิมซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างไทยฯ.ยิบซั่มกับโตโยต้า มหานครตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาชื่อมหานครยิบซั่มบอร์ดเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานสูง 24 ชั้น มูลค่าลงทุน 700 ล้านบาทและจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2535

แต่การลงทุนในโครงการนี้เป็นเพียงการลงทุนใหม่ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักจากเงื่อนไขที่ทั้งไทยฯ.ยิบซั่มกับโตโยต้ามหานครเป็นเจ้าของที่ดินอยู่แล้ว เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สินเดิมที่มีอยู่ตามกระแสการลงทุนพัฒนาทีดิ่นในปัจจุบัน การขยายตัวครั้งสำคัญที่กฤษฎาพูดถึงคือการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจดั้งเดิมของไทยฯ.ยิบซั่ม

ทิศทางแรกคือการขยายตัวเข้าไปสู่การผลิตวัสดุก่อสร้างให้หลากหลายประเภทมากขึ้น จากเดิมที่มีแผ่นยิบซั่มสำหรับทำฝ้าเพดานเป็นหลักขยายไปสู่ระบบผนังกันความร้อนภายนอก ฉากกั้นและโครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสีสำหรับฝ้าและเพดาน

แนวคิดในการขยายตัวแบบนี้คือ การสร้างตลาดใหม่ทั้งในรูปแบบของการเพิ่มวัสดุก่อสร้างที่ทำจากแผ่นยิบซั่มให้มากขึ้น คือเพิ่มแผ่นผนังและฉากกั้นห้อง และการเพิ่มประเภทของวัสดุก่อสร้างจากเดิมที่เคยมีเฉพาะวัสดุที่ทำจากแผ่นยิบซัมไปสู่วัสดุที่ใช้วัตถุดิบอื่นเช่นโครงคร่าวเหล็กด้วย

"เราจะไม่ขายแต่ภายในประเทศไทยเท่านั้นแต่จะเป็นผู้ขายที่พร้อมจะแข่งขันในตลาดต่างประเทศด้วย" กฤษฎาพูดถึงทิศทางที่สองของไทยฯ.ยิบซั่มคือการบุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งวัสดุก่อสร้างที่ทำจากยิบซั่มได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากกว่าตลาดในประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว

ปัจจุบันไทยฯ.ยิบซั่มส่งออกแผ่นยิบซั่มไปที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และประเทศในกลุ่มเอเซี่ยนและตะวันออกกลาง มียอดขายในส่วนนี้ประมาณ 100 ล้านบาทจากยอดขายรวมเกือบ 500 ล้านบาทต่อปี

ปี 2535 โรงงานผลิตยิบซั่มบอร์ดแห่งที่สองของไทยฯ.ยิบซั่มที่นิคมอุตสหากรรมแหลมฉบังจะเสร็จเรียบร้อย สามารถผลิตได้ปีละ 12 ล้านแผ่นซึ่งจะส่งออกประมาณ 80% ตลาดใหญ่ยังคงเป็นประเทศในเอเชียที่ไทยฯ.ยิบซั่มเชื่อว่าตัวเองสามารถแข่งขันกับผู้ส่งออกจากชาติอื่น ๆ ได้

"เราเป็นประเทศผู้ผลิตแผ่นยิบซั่มที่ต้นทุนถูกที่สุดในแถบนี้" กฤษฎาพูดถึงจุดแข็งในการแข่งขันซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบคือมีแหล่งแร่ยิบซั่มของตัวเอง อีกประเทศหนึ่งที่มีคือจีนแต่ก็อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ซึ่งไม่สะดวกกับการขนส่ง

ผู้ผลิตแผ่นยิบซั่มจากประเทศอื่นโดยเฉพาะญี่ปุ่นจึงต้องสั่งซื้อแร่ยิบซั่มจากประเทศไทย ประมาณปีละ 4 ล้านตัน เพื่อนำไปเผาไล่น้ำออกก่อนที่จะใช้ผลิตแผ่นยิบซั่มได้ ซึ่งทำให้มีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นมาก

ในแผนประมาณการรายได้ห้าปีข้างหน้าของไทยฯ.ยิบซั่ม ในปี 2535 เมื่อสามารถส่งออกได้แล้ว จะมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 100% คือเพิ่มจาก 694.9 ล้านบาทในปี 2534 เป็น 1,280.1 ล้านบาทและมีกำไรตามประมาณการเพิ่มขึ้นจาก 63 ล้านบาทเป็น 130.6 ล้านบาท

เทียบกับเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วที่ไทยฯ.ยิบซั่มยังขาดทุนสะสมอยู่ซึ่งเกิดจากปัญหาเรื้อรังที่สะสมมานานปีนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของบริษัทแล้ว ไทยฯ.ยิบซั่มในวันนี้เรียกได้เต็มปากเต็มคำว่าแข็งแรง ยืนได้อย่างมั่นคงแล้ว

อัตราการเติบโตของความต้องการใช้แผ่นยิบซั่มระหว่างปี 2527-2532 มีอัตราเฉลี่ยสูงถึง 25% ต่อปี และการขยายตัวจะยังคงอยู่ในอัตรานี้ต่อไปในอนาคต ในขณะที่ผู้ผลิตแผ่นยิบซั่มนอกจากไทยฯ.ยิบซั่มแล้วก็มีบริษัทกระเบื้องกระดาษไทยในเครือปูนซิเมนต์ไทยอีกรายหนึ่งเท่านั้น ทั้งสองรายมีส่วนแบ่งตลาดเท่า ๆ กัน

แน่นอนว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลอย่างสำคัญต่อฐานะของไทยฯยิบซั่ม แต่แม้ว่าสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีก็ใช่ว่าใคร ๆ จะฉกฉวยโอกาสมาเป็นประโยชน์ให้กับตัวเองได้เสมอไปหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นจากภายในเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย

เส้นทางของไทยฯ.ยิบซั่มซึ่งมีอายุ 22 ปีแล้วนั้นกว่าค่อนทางก่อนจะถึงวันนี้เป็นเส้นทางที่ขรุขระเรียงรายด้วยขวากหนาม "เราต่อสู้มาตลอดฝ่ายมรสุมครั้งแล้วครั้งเล่า" กฤษฎาพูดถึงความยากลำบากที่เขาเองมีส่วนร่วมฝ่าฟันมาด้วยไม่น้อย

ตระกูลกัปนาทแสนยากรเป็นตระกูลข้าราชการเก่าแก่ พลเอกหลวงกัปนาทแสนยากร ผู้เป็นปู่ของกฤษฎานั้น เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยระหว่างพ.ศ. 2500-2501 ในรัฐบาลที่มีนายพจน์ สารสิน และพลโทถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี พ่อของกฤษฎาคือพลตำรวจโทบันเทิง กัมปนาทแสนยากร อดีตผู้บังคับการกองตำรวจทางหลวง

กฤษฎาเป็นกัมปนาทแสนยากรรุ่นที่สองที่ก้าวเข้ามาสู่วงการธุรกิจ คนแรกที่เข้ามาก่อนและปูทางไว้ให้คือบุญชู กัมปนาทแสนยากรแม่ของเขาเอง

แม่ไม่รู้ว่จะเริ่มต้นทำมาหากินตรงไหน เพราะตระกูลของเราไม่เคยค้าขายมาก่อนเลย" กฤษฎาเท้าความถึงจุดเริ่มแรกของการเข้ามาสู่สังคมธุรกิจของแม่ ว่ากันว่าบุญชูนั้นมีความฝังใจกับนวนิยายบางเรื่องที่มีเรื่องเหมืองแร่เข้ามาเกี่ยวข้องว่าคนเป็นนายเหมืองนั้นคือคนรวย ก็เลยตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจเหมืองแร่ทั้ง ๆ ที่ไม่มีพื้นฐานในด้านนี้มาก่อน

ประกอบกับความกว้างขวางของตระกูลที่อยู่ในวงราชการ การสืบเสาะหาพื้นที่แหล่งแร่ไม่ใช่เรื่องยากนัก บุญชูเริ่มต้นชีวิตนายเหมืองของตนราว ๆ ปี 2500 ที่จังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นแหล่งแร่ยิบซั่มใหญ่ของประเทศไทย และปัจจุบันไทยฯ.ยิบซั่มก็ยังใช้แร่จากเหมืองที่พิจิตรนี้เป็นวัตถุดิบในการทำแผ่นยิบซั่ม รวมกับแร่จากเหมืองที่นครสวรรค์ที่ได้ประทานบัตรมาในภายหลัง

แร่ยิบซั่มจากเหมืองพิจิตรพอขุดขึ้นมาได้ก็ส่งไปขายในรูปแร่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปอื่น ๆ เลย ผู้รับซื้อรายสำคัญคือบริษัทปูนซิเมนต์ไทยซึ่งต้องใช้แร่ยิบซั่มเป็นวัตถุดิบในการทำปูนซิเมนต์อีกส่วนหนึ่งส่งไปขายที่ญี่ปุ่น

ปัจจุบันไทยฯ.ยิบซั่มส่งแร่ไปขายญี่ปุ่นปีละหนึ่งแสนตัน โดยขายผ่านบริษัทมิตซูบิชิซึ่งเป็นบริษัทการค้ายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น มิตซุบิชิขายแร่ยิบซั่มให้กับบริษัทโอโยดะ ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนซิเมนต์หนึ่งในญี่ปุ่น

ปัจจุบันไทยฯ.ยิบซั่มส่งแร่ไปขายญี่ปุ่นปีละหนึ่งแสนตัน โดยขายผ่านบริษัทมิตซูบิชิซึ่งเป็นบริษัทการค้ายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น มิตซูบิชิขายแร่ยิบซั่มให้กับบริษัทโอโยดะซึ่งเป็นผู้ผิลตปูนซิเมนต์รายหนึ่งในญี่ปุ่น

แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ไทยฯยิบซั่มได้ทำสัญญาส่งแร่ยิบซั่มใหม่กับบริษัทชิโนดะ ผู้ผลิตแผ่นยิบซั่มใหญ่เป็นอันดับสองของญี่ปุ่น โดยจะส่งให้ในรูปปูนปลาสเตอร์ซึ่งเป็นผลิตผลจากการเผาแร่ยิบซั่มเพื่อไล่น้ำให้หมดไป เป็นการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้นก่อนจะนำไปทำแผ่นยิบซั่ม

ตามสัญญาที่ทำกับชิโนดะนี้ ไทยฯ.ยิบซั่มจะส่งปูนปลาสเตอร์ให้ปีละห้าแสนตัน เป็นเวลาสิบปีกฤษฎาเรียกการเปลี่ยนแปลงของลักษณะการส่งออกในครั้งนี้ ว่าเป็นความก้าวหน้าในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับจากแร่ขึ้นเป็นปูนปลาสเตอร์

ย้อนหลังกลับไป 22 ปี แนวคิดในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดอุตสาหกรรมแผ่นยิบซั่มในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

ตอนที่เริ่มส่งแร่ออกนอกนั้น ไทยฯ.ยิบซั่มถูกบีบในเรื่องราคาอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นผู้ครอบครองวัตถุดิบที่ผู้ผลิตปูนซิเมนต์และแผ่นยิบซั่มในต่างประเทศต้องพึ่งพา แต่ตราบใจที่ยังไม่มีวิธีอื่นที่จะใช้ประโยชน์จากแร่ยิบซั่ม ให้มากกว่าการขายออกไปในรูปแร่ความได้เปรียบในแง่ที่เป็นเจ้าของวัตถุดิบก็ไม่มีความหมายอะไรที่จะใช้เป็นอำนาจไปต่อรองกับผู้ซื้อได้

"แม่เสียดายและมีความเชื่อว่าคนไทยน่าจะทำได้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วส่งออกในรูปสินค้าสำเร็จรูป"

เดือนกุมภาพันธ์ 2511 บริาทไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่มบอร์ดจึงเกิดขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เพื่อผลิตแผ่นยิบซั่มออกขาย โดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิตจากบริาทออสเตรเลียยิบซั่ม จำกัด ซึ่งบริษัทนี้ได้เข้ามาถือหุ้นด้วย 15% มีที่ตั้งโรงงานอยู่ที่อำเภอบางปะอิน อยุธยา แต่กว่าการก่อสร้างโรงงานและการติดตั้งเครื่องจักรจะเรียบร้อยก็ต้องใช้เวลาถึงปลายปี 2514 จึงสามารถเดินเครื่องผลิตได้

สิบปีแรกของไทยฯ.ยิบซั่มคือความพยายามทำให้ตลาดยอมรับแผ่นยิบซั่มบอร์ด เนื่องจากเป็นของใหม่ในขณะนั้นที่มีราคาสูงกว่าวัสดุชนิดอื่นลักษณะที่เป็นแผ่นบาง ๆ น้ำหนักเบาถึงแม้ว่าจะมีการโฆษณาสรรพคุณว่าทนไฟ รวมทั้งการ สร้างบ้านตัวอย่างที่ใช้แผ่นยิบซั่มเป็นฝ้าเพดานให้ดูเป็นตัวอย่าง ก็ยากที่จะทำให้คนไทยที่คุ้นกับความแข็งแรงแน่นหนาของไม้และซีเมนต์ยอมรับได้ในระยะแรกของการทำตลาด จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแนวความคิดในการโฆษณา จากทนไฟมาเป็นทนความร้อนรวมทั้งการโฆษณาอย่างต่อเนื่องแผ่นยิบซั่มจึงเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นตามลำดับ

ในขณะที่ตลาดให้การยอมรับมากขึ้นยอดขาดทุนของไทยฯ.ยิบซั่มก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกทีเพราะว่าขนาดของตลาดที่ยังเล็กอยู่ทำให้ไม่อาจผลิตในระดับที่ทำให้เกิด ECONOMY OF SCALE ได้ไทยฯ.ยิบซั่มใช้กำลังการผลิตเพียงแต่ 20% ของประสิทธิภาพเครื่องจักรเท่านั้น จึงทำให้มีต้นทุนต่อหน่วยที่สูงมาก

สิ้นปี 2518 ยอดขาดทุนสะสมของไทยฯ.ยิบซั่มสูงถึง 15 ล้านบาท หักลบกับทุนจดทะเบียนแล้วเงิน 20 ล้านบาทในกระเป๋าร่อยหลอเหลือเพียง 5 ล้านบาทในชั่วเวลา 4 ปีของการผลิตแผ่นยิบซั่ม

นอกจากต้นทุนการผลิตสูงที่เป็นสาเหตุของการขาดทุนแล้ว สิ่งที่มีผลทำให้ยอดขายทุนสะสมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือดอกเบี้ยเงินกู้ การทำแผ่นยิบซั่มเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนในเรื่องเครื่องจักรสูง (CAPITAL INTENSIVE) จำเป็นต้องลงทุนในระยะแรกเป็นเงินจำนวนมาก แต่ไทยฯ.ยิบซั่มมีเงินทุนจดทะเบียนแค่ 20 ล้านบาทแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานจึงต้องพึ่งเงินกู้จำนวนมาก

ไทยฯ.ยิบซั่มในปี 2519 มีหนี้สินที่เป็นเงินกู้อยู่ 25 ล้านบาท เป็นเงินกู้จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม 20 ล้านบาทรวมกับเงินกู้จากแหล่งอื่น มีภาระดอกเบี้ยปีละ 3 ล้านบาท

เปรียบเทียบกับมูลค่าเงินกองทุนที่เหลืออยู่ 5 ล้านบาท อัตราส่วนระหว่างหนี้ต่อเงินกองทุนของไทยฯ.ยิบซั่มสูงถึง 5:1 ขณะที่ผลประกอบการแหล่งอื่น มีภาระดอกเบี้ยปีละ 3 ล้านบาท

"เราเจอปัญหาสภาพคล่องอยู่เป็นประจำ" กฤษฎาเล่าให้ฟัง บุญชูแลตัวแทนจากออสเตรเลียยิบซั่มพยายามโน้มน้าวให้ผู้ถือหุ้นยอมเพิ่มทุนขึ้นมาอีก 20 ล้านบาทเพื่อชำระคืนเงินกู้ และลดดอกเบี้ยแต่ไม่เป็นผล มีผู้ถือหุ้นเพียง 11% ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่เห็นด้วยกับการเพิ่มทุน

นอกจากนั้นแล้วยังมีปัญหาทีระบบการผลิตมีการสูญเสียระหว่างการผลิตมาก รวมทั้งระบบการปล่อยสินเชื่อก็ไม่รัดกุม ไม่มีระบบ CREDIT CONTROL ทำให้มีหนี้สูญเป็นจำนวนมาก

อีกจุดหนึ่งคือขาดการบริหารงานด้านการตลาดที่ดี ถึงแม้สินค้าจะเริ่มเป็นที่ยอมรับแต่ก็ยังไม่มีระบบการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขายที่ดีความต้องการที่จะเพิ่มทุนของบุญชูส่วนหนึ่งก็เพราะต้องการเงินมาลงุทนทางด้านการตลาด แต่เมื่อไม่สามารถเพิ่มทุนได้ จึงลงทุนตั้งบริษัทการตลาดขึ้นมาเองชื่อยิบซั่ม อินเตอร์เนชั่นแนลเมื่อปี 2519 เพื่อขายสินค้าทั้งหมดของไทยฯ.ยิบซั่ม

การเกิดขึ้นของไทยฯ.ยิบซั่มเป็นการเคลื่อนตัวจากธุรกิจเหมืองแร่ซึ่งมีกิจกรรมหลักคือขุดแร่ขายเมื่อยกระดับขึ้นเป็นผู้ผลิตและขาย แม้จะยังไม่มีคู่แข่งในตลาดแต่องค์กรและระบบการบริหารมีความซับซ้อนขึ้น ต้องใช้ความสามารถทางการบริหารธุรกิจมากขึ้น ประสิทธิภาพทางการบริหารจึงเป็นปัญหาสำคัญด้วย

กฤษฎาเข้ามาช่วยแม่และพี่ชายแก้ปัญหาของไทยฯ.ยิบซั่มในปี 2521 หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากนิด้า เขาจบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จากมหาวทิยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี 2519 แล้วทำงานเป็นผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเอเอฟพีพร้อม ๆ กับดูแลงานด้านขายแร่ของครบอครัวไปด้วยก่อนที่จะไปเรียนต่อ

ปี 2521 ไทยฯ.ยิบซั่มลดทุนเหลือ 5 ล้านบาทเพื่อตัดยอดขาดทุนสะสม ก่อนที่จะเพิ่มทุนขึ้นเป็น 35 ล้านบาทในปีเดียวกัน แต่ปัญหาสภาพคล่องก็ยังเกิดขึ้นเป็นประจำ ต้องอาศัยเงินจากการขายแร่และนำแอลซีไปแพ็คกิ้งเครดิตมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน

"สาเหตุจริง ๆ คือเรากู้มาก มีกำไรเท่าไหรพอหักดอกเบี้ยแล้วหายหมด" กฤษฎากล่าว ในช่วงปี 2527-2528 ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงถึงปีละ 30 ล้านบาทเงินกู้ส่วนใหญ่เป็นเงินระยะสั้นที่เรียกกว่า CALLLOAN แต่นำไปใช้ขยายโรงงานซึ่งเป็นการลงทุนในระยะยาว

ปี 2523 ไทยฯ.ยิบซั่มเข้าเป็นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อระดมทุนจากตลาดเพราะตลาดหลักทรัพย์ในขณะนั้ยังไได้รับความสนใจมาก ควมต้องการจริง ๆ คือต้องการลดภาษีจากปีละ 40% เหลือ 30%

"เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับโครงสร้างเงินกู้ให้ได้โดยเร็ว แต่การปรับโครงสร้างคงจะกเดไม่ได้ถ้าหากว่าเราไม่เพิ่มทุน" เดือนตุลาคม 2528 ไทยฯ.ยิบซั่มจึงเพิ่มทุนอีกครั้งหนึ่งจาก 35 ล้านบาทเป็น 70 ล้านบาท

สถานการณ์ของไทยฯ.ยิบซั่มหลังจากปี 2528 เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ เมื่อสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องเงินทุนได้ ในขณะที่ขายสินค้าได้มากขึ้น มีการปรับปรุงระบบการผลิตให้ต้นทุนต่ำลงและระบบการบริหารภายในดีขึ้น พอดีกับบริษัทกระเบื้องกระดาษไทยของค่ายปูนซิเมนต์ไทยเริ่มผลิตแผ่นยิบซั่มออกมาขายแข่งกับไทยฯ.ยิบซั่ม

กระเบื้องกระดาษไทยซื้อเหมืองยิบซั่มที่พิจิตรจากไทยฯ.ยิบซั่ม ซึ่งขายให้เพราะต้องการเงินมาหมุนเวียน

การเข้าสู่ตลาดของกระเบื้องกระดาษทไยทำให้เกิดสงครามราคา เมื่อู้มาใหม่เปิดเกมรุกแย่งส่วนแบ่งตลาดด้วยการตัดราคาจาก 138 บาทต่อแผ่นเหลือเพียง 87 บาทเท่านั้น ทำให้ไทยฯ.ยิบซั่มต้องลดราคาตามด้วย

สงครามราคาครั้งนี้กินเวลาประมาณ 2 ปีแล้วต่างฝ่ายก็เลิกราไปเพราะเจ็บตัวด้วยกันทั้งคู่ประกอบกับกระเบื้องกระดาษไทยก็ได้ตลาดไปตามที่ต้องการด้วย ไทยฯ.ยิบซั่มซึ่งเพิ่งจะฟื้นตัวได้เมื่อมาเจอกับการแข่งขันในรูปแบบนี้ต้องประสบกับการขาดทุนอีกครั้งหนึ่ง

แต่ในงบการเงินของไทยฯ. ยิบซั่มตั้งแต่ปี 2528 มานั้นไม่ปรากฎยอดขาดทุนเลย "มีการย้ายการขาดทุนไปไว้ในบัญชีของยิบซั่ม อินเตอร์เนชั่นแนล" แหล่งข่าวในวงการการเงินรายหนึ่งเปิดเผย

ในงบการเงินของยิบซั่ม อินเตอร์เนชั่นแนลในปี 2529-2530และ 2531 นั้นมียอดขาดทุนสะสมอยู่ 40,39 และ 36 ล้านบาทตามลำดับ แหล่งข่าวรายเดิมให้ความเห็นว่าการย้ายบัญชีขาดทุนก็เพื่อผลประโยชน์ ทางด้านภาษีของยิบซั่ม อินเตอร์เนชั่นแนลซึ่งมีฐานะ เป็นบริษัทส่วนตัวของบุญชูและครอบครัวกัมปนาทแสนยากร

ขณะเดียวกันยิบซั่ม อินเตอร์เนชั่นแนลก็เป็นหนี้ไทยฯ.ยิบซั่มอยู่ถึง 73 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2528 ซึ่งเป็นหนี้การค้าที่ไทยฯ.ยิบซั่มขายสินค้าให้กับยิบซั่ม อินเตอร์ฯแต่เพียงผู้เดียว

"ใคร ๆ ก็หาว่า เราดูดเงินไปใส่บริษัทส่วนตัว" กฤษฎกล่าวถึงข้อครหาในเรื่องนี้ซึ่งเขาอธิบายว่า การขาดทุนและหนี้สินนั้นเกิดขึ้นเพราะปัญหาจากสงครามราคาเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจในเรื่องนี้บุญชูยอมนำทรัพย์สินส่วนตัวมาค้ำประกันหนี้ 73 ล้านบาทนี้รวมทั้งเซ็นต้ำประกันเป็นการส่วนตัวด้วยพร้อมกับทำสัญญาชำระหนี้คืนภายในเวลา 4 ปีนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งยอดหนี้ลดลงมาเหลอสิบกว่าล้านบาทในตอนนี้

ความจำเป็นที่บุญชูต้องสะสางหนี้สินที่ยิบซั่ม อินเตอร์ฯ.มีกับไทยนิบซั่มนั้นก็เพื่อให้การจัดหาเงินกู้ระยะยาวในรูปซินดิเคตโลนแลการร่วมทุน กับบริษัท UNITERD STATES GYPSUM CORPORATION (U.S.G) สำเร็จลงได้

ช่วงปี 2530 ซึ่งบริษัทเริ่มดีขึ้นและธุรกิจวัสดุก่อสร้างขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วตามการเติบโตาของอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีกลุ่มธุรกิจทั้งในและนอกประเทศหลายกลุ่มพยายามเทคโอเวอร์ไทยฯ.ยิบซั่ม แต่บุญชูไม่ยอมขายหุ้นให้

ปลายปี 2530 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟมีหนังสือถึงไทย.ยิบซั่มให้ชำระเงินกู้ 59 ล้านบาทคืนภายใน 24 ชั่วโมงเงินกู้จำนวนนี้เป็นเงินกู้แบบ CALLLOAN

"เราไม่เคยผิดเรือ่งการจ่ายเงินคืนเลยตลอดช่วง 13 เดือน" กฤษฎาเชื่อว่าการเรียกเงินคืนครั้งนี้จีเอฟทำไปตามความต้องการของกลุ่มที่ต้องการเทคโอเวอร์รายหนึ่ง "เราปรักปรำตรง ๆ คงลำบาก แต่ความเห็นส่วนตัวเป็นอย่างนี้เพราะไม่มีเหตุผลอื่น"

ช่วงที่ถูกเรียกเงินคืน ไทย.ยิบซั่มกำลังปรับโครงสร้างสภาพเงินกู้ โดยให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติเป็นผู้จัดการระดมเงินจากสถาบันการเงินอีกหลายแห่งในรูปซินดิเคตโลนจำนวน 120 ล้านบาทเงินจำนวนนี้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาถูกเรียกเงิน 59 ล้านบาทได้ทันท่วงปี

เงิน 120 ล้านบาทนี้มีกำหนดคืนใน 6 ปี มาจากธนาคารนครหลวงไทย 20 ล้านาบาท บงล. สหธนกิจไทย 20 ล้านบาท ไทยเม็กซ์ 10 ล้านบาท ศรีมิตร 10 ล้านาบาท ภัทรธนกิจและธนชาติแห่งละ 30 ล้านบาท

การรอดพ้นจากการถูกเทคโอเวอร์เป็นเหมือนมรสุมลูกสุดท้ายที่ไทยฯ.ยิบซั่มฝ่าฟันมาได้ก่อนที่จะมาถึงจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในปี 2531 คือการร่วมทุนกับบริษัทยูเอสจีขงสหรัฐอเมริกา

"เราเป็นบริษัทเล็ก ต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่เราคงต้องพยายามหาจุดแข็งขึ้นมา มิฉะนั้นคงยากที่จะอยู่ในตลาดได้" กฤษฎาพูดถึงแนวความคิดที่ผลักดันการร่วมทุนครั้งนี้

ยูเอสจีเป็นผู้ผลิตแผ่นยิบซั่มรายใหญ่รายหนึ่งของสหรัฐ.มีโรงงานอยู่ถึง 122 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศในต่างประเทศมีโรงงานที่แคนาดาและเม็กซิโก

การเข้ามาร่วมทุนกับไทยฯ.ยิบซั่มนั้นเป็นการเข้ามาในเอเชียเป็นครั้งแรกของยูเอสจี หลังจากที่ใช้เวลาเจรจากันประมาณสองปี ยูเอสจีจะให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคการผลิต และการตลาดเป็นเวลา 10 ปีและ 3 ปีตามลำดับจากปี 2531 โดยไทยฯ.ยิบซั่มต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในช่วงห้าปีแรกเป็นเงิน 17 ล้านบาท

เงื่อนไขข้อหนึ่งของยูเอสจีในการขายเทคโนโลยีให้คือเข้ามาถือหุ้นในไทยฯ.ยิบซั่มประมาณ 10% โดยซื้อไปในราคาหุ้นละ 550 บาท ซึ่งไทยฯ.ยิบซั่มได้เพิ่มทุนจากเดิม 70 ล้านบาทเป็น 80.5 ล้านบาท

ต้นปี 2532 บุญชูเสียชีวิตลง เป็นการจากไปในขณะที่ไทยฯ.ยิบซั่มเริ่มจะดีขึ้นมาแล้วกฤษฎาเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการแทน

หลังจากที่ยูเอสจีเข้ามาแล้วได้ช่วยในเรื่อง เพิ่มกำลังการผลิตของโรงานที่บางปะอินซึ่งเดิมผลิตได้ 80 ฟุตต่อนาทีเพิ่มขึ้นเป็น 120 ฟุตต่อนาที "เราผลิตด้วยระบบ CONTINUOUS PROCESS เครื่องเดิน 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นผลผลิตที่ได้ ขึ้นอยู่กับความเร็วทำได้เร็วมาก้ช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยได้" กฤษฎาอธิบายถึงสิ่งที่ได้จากยูเอสจี

ตามแผนการเพิ่มกำลังการผลิต สิ้นปี 2533 กำลังการผลิตของโรงงานที่บางปะอินจะเพิ่มจาก 4 ล้านแผ่นเป็น 8 ล้านแผ่นต่อปี

สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือเทคโนโลยีที่ได้จากยูเสอจี จะช่วยให้ไทยฯ.ยิบซั่มขยายสินค้าวัสดุก่อสร้าง ที่ทำจากแผ่นยิบซั่มจากเดิมที่เคยมีเฉพาะฝ้าเพดานออกไปเป็นฝาผนัง และพื้นซึ่งเท่ากับเป็นการขยายตลาดไปในตัว เพราะในเมืองไทยใช้แผ่นยิบซั่มสำหรับทำฝ้าเป็นส่วนใหญ่ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียง 10% ของจำนวนวัสดุก่อสร้างที่สามารถใช้แผ่นยิบซั่มได้ ในขณะที่ในอเมริกาใช้ถึง 90%

"เราจะใช้วิธีการขายแบบ SYSTEM APPROACH" วิธีการขายแบบที่กฤษฎาพูดถึงคือการขายแผ่นยิบซั่มโดยแบ่งตลาดออกเป็นส่วน ๆ ตามจุดมุ่งหมายของการใช้ซึ่งจะมีทั้งระบบฝ้าเพดาน ระบบผนังและระบบพื้น ในแต่ละระบบนั้นจะมีสเป็คแตกต่างกันออกไปในเรื่องของการกันความร้อน ไฟและเสียง เป็นวิธีการขายที่มีรายละเอียดทางเทคนิคซับซ้อนกว่าการขายเป็นแผ่น ๆ ที่เคยทำมาซึ่งไทยฯ.ยิบซั่มจะได้เทคโนโลยีทางด้านนี้จากยูเอสจี

การเข้ามาของยูเอสจีจึงเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ที่จะทำให้ไทยฯ.ยิบซั่มเข้มแข็งขึ้นในอุตสาหกรรมนี้หลังจากที่ผ่านพ้นอุปสรรคทางด้านการตลาดและการบริหารมาได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us