Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
เบื้องหลังโรงกลั่นคาลเท็กซ์ขย่มอำนาจสภาพัฒน์             
โดย วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
 

   
related stories

โรงกลั่นคาลเท็กซ์จะลงเสาที่ไหน

   
search resources

น้ำมันคาลเท็กซ์ (ประเทศไทย), บจก.
Energy
Oil and gas




กรณีที่นายกชาติชายอนุมัติให้ "คาลเท็กซ์" ตั้งโรงกลั่นแห่งที่ 5 อย่างเฉียบพลัน และอาจจะตามมาด้วยโรงกลั่นที่ 6 ทั้งที่นโยบายเดิมกำหนดให้คัดเลือกผู้ตั้งโรงกลั่นใหม่คือแห่งที่ 4 เพียงแห่งเดียว จนกระทั่ง "เชลล์" ได้กลายเป็นผู้กำชัยชนะไปในที่สุดนั้นได้สร้างอาการ "มึนค้าง" แก่วงการพลังงานอย่างมโหฬาร ด้วยเหตุผลที่นายกชาติชายบอกแต่สั้น ๆ ว่า เพื่อให้สอดคล้องกับความต้อกงารใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นเครื่องมือในการจเรจาการค้ากับสหรัฐแท้จริง นี่เป็นแรงผลักดันพื้นฐาน แต่เหตุผลลึก ๆ ที่สำคัญที่สุดก็เพื่อตรวจสอบ อำนาจสภาพพัฒน์ ทีมงานหลักในการกลั่นกรองก่อนการชี้ขาดให้ตั้งโรงกลั่น

การตัดสินใจที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีใน
ฐานะประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาไม่เพียงแต่สร้างความมึนงงแก่วงการอย่างหนักหน่วงเท่านั้น แต่ยังสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีเบื้องหลังที่ไม่ชอบมาพากลอย่างแน่นอน จนทำให้พลเอกชาติชายรู้สึกไม่พอใจ และต้องออกมาแก้ข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ด้วยตัวเอง

การที่ชาติชายได้อนุมัติให้บริษัทน้ำมัน คาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด ซึ่งมี สุขวิช รังสิตพลเป็น

ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ตั้งโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่ 5 ของประเทศ และตามมาด้วยการเสนอตั้งโรงกลั่นที่ 6 เพื่อส่งออกน้ำมัน หลังจากที่อนุกรรมการนโยบายปิโตรเลียมซึ่งมีกร ทัพพะรังสีเป็นประธานได้ตัดสินให้บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัดเป็นผู้ชนะในการตั้งโรงกลั่งแห่งที่ 4 ตามประกาศที่ได้กำหนดว่าจะพิจารณาเลือกผู้ชนะตั้งโรงกลั่นใหม่ที่เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับประเทศเพียงรายเดียวนั้น ทำให้คาลเท็กซ์ต้องพลาดโรงกลั่นแห่งที่ 4 ไปอย่างช่วยไม่ได้

แล้วพลเอกชาติชายก็ได้อนุมัติให้คาลเท็กซ์ตั้งโรงกลั่นอีกแห่งหนึ่งเป็นแห่งที่ 5 ของไทย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 3 โรงคือ โรงกลั่นไทยออยล์ โรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นเอสโซ่ โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากความต้อกงารใช้น้ำมันของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็วยังต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอีกมาก เมื่อเชลล์ได้ก็จะเหลือคาลเท็กซ์เพียงแห่งเดียวที่ยังไม่มีโรงกลั่น ดังนั้นควรให้แต่ละโรงมีพื้นฐานในการทำธุรกิจที่เท่าเทียมกันอันจะส่งผลให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น

อันที่จริง รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการขยายกำลังกลั่นน้ำมันขอปงระเทศไว้อย่างชัดเจน ตามมติอนุกรรมการนโยบายปิโตรเลียม และได้อกประกาศเชิญชวนผู้สนใจยื่นเสนอคัดเลือกโรงกลั่นแห่งใหม่เป็นแห่งที่ 4 ของประเทศเพียงหนึ่งรายเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2532

โดยกำหนดเงื่อนไขการกลั่นในขนาดไม่น้อยกว่า 100,000 บาร์เรลต่อวันกำหนดให้สร้างเสร็จภายในปี 2537 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกำลังการกลั่นกับความต้องการใช้น้ำมันแล้ว ปริมาณการกลั่นทั้งหมดจะน้อยกว่าความต้องการเล็กน้อย เพื่อให้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วนเข้ามาแข่งขันในประเทศ ขณะเดียวกันทางโรงกลั่นจะได้ปรับปรุงการกลั่นใหม่ประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อแข่งกับน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาได้

การพิจารณาได้กำหนดคัดเลือกผู้เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับประเทศภายในเดือนมกราคม 2533

จากที่ยื่นขอตั้งโรงกลั่นใหม่เข้ามา 3 ราย คือบีพี ได้แก่ เชลล์ และคาลเท็กซ์ ส่วนบริษัท เอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัดนั้น เนื่องจากรู้ว่าตนมีโรงกลั่นอยู่แล้ว จึงไม่มีนโยบายที่จะตั้งโรงกลั่นใหม่อีกและแม้จะขอตั้งคงไม่ได้อย่างแน่นอนเพราะขณะนี้เอสโซ่ก็เป็นบริษัทน้ำมันขายปลีกรายเดียวที่มีโรงกลั่น ขณะที่เชลล์และคาลเท็กซ์ยังไม่มีเพียงแต่ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (เชลล์ 15.05% คาลเท็กซ์ 4.75%)

เอสโซ่จึงเสนอเข้ามาในลักษณะขอปรับปรุงโรงกลั่น เพื่อลดสารตะกั่วในน้ำมันเบนซินตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในขบวนการปรับนั้จะทำให้เพิ่มกำลังขึ้นได้อีก 220,000 บาร์เรลต่อวันจากที่กลั่นอยู่ 63,000 บาร์เรลต่อวัน

การคัดเลือกโรงกลั่นใหม่ครั้งนี้จึงเป็นการช่วงชิงกันระหว่งเชลล์กับคาลเท็กซ์โดยแท้

ข้อเสนอที่เชลล์และคาลเท็กซ์เสนอต่ออนุกรรมการนโยบายปิโตรเลียมต่งกันค่อนข้างชัดเจน

ด้านกำลังการผลิต เชลล์จะกลั่น 145,000 บาร์เรลต่อวัน โดยจะรับน้ำมันดิบจากย่านตะวันออกกลาง คาลเท็กซ์จะกลั่นเฉลี่ย 100,000 บาร์เรลต่อวัน จะรับน้ำมันดิบจากดูไบ

ระบบการกลั่น เชลล์จะใช้ระบบอินเตอร์มีเดียต อัพเกรพดิ้ง จะกลั่นน้ำมันเบาได้ในปริมาณสูงจะได้ดีเซลมากกว่าเบนซิน ส่วนคาลเท็กซ์จะใช้ระบบเรสิดิว ฟลูอิต แคตตาไลติ้ง แครกเกอร์หรือที่เรียกกันว่า "อาร์เอฟซีซี" จะกลั่นน้ำมันชนิดเบาได้สูงแต่จะได้เบนซินมากกว่า

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ของเชลล์คิดเป็นประมาณ 559 ล้านเหรียญสหรัฐ ของคาลเท็กซ์ประมาณ 392 ล้านเหรียญสหรัฐ

แง่ผลตอบแทนให้รับเชลล์จะบริจาคให้รัฐ 330.7 ล้านบาททันทีที่มีการเซ็นสัญญาตั้งโรงกลั่นได้ หรือกรณีที่ได้รับอนุญาตตั้งโรงงานจากรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว จะจ้างผลตอบแทนพิเษให้รัฐในอัตรา 2% ของมูลค่าการผลิต และหากมีกำไรสุทธิขั้นต้นเกิน 4,000 ล้านบาทขึ้นไปจะหักให้อีก 2.5% แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท และกำหนดด้วยว่าจะบริจาคให้ปตท. 150 ล้านบาทให้ใช้ในการสร้างศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาหรือศูนย์คอมพิวเตอร์

ด้านสัดส่วนผู้ถือหุ้น เชลล์ระบุไปว่า เชลล์จะถือหุ้น 36.4% ปตท. 25% รัฐ 10% ทีเหลืออีก 28.6% แบ่งเป็นธนาคารกสิกรไทย นครธนบิรษัท ผาแกงอินดัสทรีจำกัด บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พูนพิพัฒน์ จำกัด และบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด ถือบริษัทละ 6% คุณหยิงชนัตถ์ ปิยะอุยสมพจน์ ปิยะอุย บรรยงค์ ล่ำซ่ำ บัญชา ล่ำซำ ชวรัตน์ ชาญวีรกุล สมบัติ พานิชชีวะ คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ตระกูลหวั่งหลี ดำเกิง จินดาหรา ประพจน์วัชราภัย รายละ 0.5% และวิโรจน์ ภู่ตระกูล 0.1% แต่คาลเท็กซ์ไม่ระบุสัดส่วนผู้ถือหุ้นแน่ชัด เพียงแต่ระบุว่ามีธนาคาร กรุงเทพเป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน

เงินลงทุนในโครงการ เชลล์ใช้เงินทั้งสิ้น 620 ล้านเหรียญสหรัฐหรือถ้ารวมดอกเบี้ยในระหว่างการก่อสร้างจะตกประมาณ 756 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นเงินไทยประมาณ 19,000 ล้านบาท และระบุว่าบริษัทจะมีทุกจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท ส่วนคาลเท้กซ์ลงทุนประมาณ 15,000 ล้านบาท

ด้านแรงงานเชลล์ระบุไว้ทั้งสิ้น 450 คน แยกเป็นคนไทย 420 คน ต่างชาติ 30 คน แต่คาลเท็กซ์ไม่ได้ระบุรายละเอียด

สำหรับการตั้งคณะกรรมการ เชลล์กำหนดให้ตัวเองมีตัวแทน 3 คน ปตท. 2 คนผู้ถือหุ้นทั่วไป 3 คนส่วนคาลเท็กซ์ไม่ระบุจำนวน

ในการพิจารณา ทางอนุกรรมการฯได้ตั้งคณะทำงานขึ้น 3 คณะให้เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแต่ละด้าน

ทีมคณะทำงานประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการสร้างโรงกลั่นที่ดูทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินมีพิสิฎฐ ภัคเกษม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเปแนประธานและประกอบด้วยศิรินทร์ นิมมานเหมินทร์ รองผู้ว่การปตท. สมชัย ฤชุพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อรพินท์ วีระวุฒิ ผอ.กองเศรษฐกิจอุตสาหกรร กระทรวงอุตสาหกรรม ศิริการเจริญดี ผอ.ฝ่ายวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยและปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นเลขานุการ

คณะที่สองเป็นผู้ดูแลทางด้านเทคโนโบยีและสิ่งแวดล้อม มีศิววงศ์ จังคศิริ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และประกอบด้วยประกิจจิระวานิช รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน สาวิตต์ โพธิวิหค จากสภาพัฒน์ พละสุขเวช รองผู้ว่าการปตท. ปราโมทย์ ไชยเวช บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด อนันต์ ณัฎฐสมบูรณ์ผอ.กองอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นเลขานุการ

ส่วนคณะสุดท้ายเป็นผู้พิจารณาด้านกฎหมายและบริหาร มีประเสริฐ นามสกุลเป็นประธาน และประกอบด้วยปรีดี บุญยัง ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการคลัง ประทิน พัฒนาภรณ์ รองผู้ว่าการปตท.ปรีชา เพชรใสจากกระทรวงอุตสาหกรรม ประสงค์วินัยแพทย์ จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเลขานุการ

กระทั่งวันที่ 15 มกราคม 2533 ที่ประชุมอนุกรรมการฯ ได้มีมติให้เชลล์เป็นผู้ชนะในการตั้งโรงกลั่นใหม่ตามที่คณะทำงานได้เสนอขึ้นมา ซึ่งเชลล์ได้คะแนนชนะขาดลอย โดยเชลล์ได้ 96.42 คะแนน คาลเท็กซ์ได้ 83.07 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน

ด้านเศรษฐกิจและการเงินเต็ม 44 คะแนนเชลล์ได้ 40.7 คาลเท็กซ์ได้ 32.4 ด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเต็ม 37 คะแนน เชลล์ได้ 36.8 คาลเท็กซ์ได้ 33.89 และด้านกฎหมาย-บริการเต็ม 19 คะแนนเชลล์ได้ 18.92 คาลเท็กซ์ได้ 33.89

แล้วไฉนชาติชายจึงได้ตัดสินใจพลิกมติอนุกรรมการฯอย่างกะทันหัน

แหล่งข่าวจากคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกโรงกลั่นได้กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า นี่ถือเป็นการ "ตบหน้า" คณะทำงานอย่างจัง

คณะทำงานหลายคนระบายอย่างเสียความรู้สึกว่า เท่ากับเป็นการ "SISCREDIT" ทีมงานทีเดียว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.พิสิฐ ภัคเกษมเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต้อง "เสียหน้า" อย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน

การที่ชาติชายกลับมตินี้เท่ากับสวนทางนโยบายพลังงานที่ได้กำหนดว่าจะให้กำลังกลั่นน้อยกว่าความต้องการ เพื่อให้มีการแข่งขันดังกล่าวแล้วแต่พอเปลี่ยนนโยบายก็ไม่ได้มีการศึกษาว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร

จริงหรือที่ให้คาลเท็กซ์ตั้งโรงกลั่นใหม่ควบไปกับเชลล์แล้ว จะได้มีไพ่สำคัญในการต่อรองเจรจาการค้ากับสหรัฐ

มีคำถามว่าหากต้องการเช่นนี้จริง การให้คาลเท็กซ์แห่งสหรัฐตั้งโรงกลั่นใหม่อีกแห่ง น่าที่จะมีการเตรียมพร้อมมากกว่านี้

จะเห็นได้ว่าหลังจากที่อนุกรรมการฯเห็นชอบให้เชลล์เป็นผู้สร้างโรงกลั่นพร้อมกับเสนอลดหุ้นของเขลล์จากที่เสนอมา 34.6% ให้เหลือแค่ 30% ส่วนการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ยังคงไว้ที่ 25% และให้คาลเท็กซ์ถือหุ้นด้วย 15% ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อให้มีการแข่งขันกันมากขึ้นจากที่ศิ่ววงศื ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอให้คาลเท็กซ์ถือหุ้นในเชลล์ 10% เพิ่มเป็น 15% ซึ่งถือว่าเป็นการประนีประนอมให้คาลเท็กซ์มีส่วนร่วมเมื่อแพ้เชลล์

ส่วนหุ้นรายย่อย 28.6% ที่เชลล์เสนอนั้นให้ตัดออกไป และให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาถือหุ้นแทนในสัดส่วน 30% โดยในช่วงแรกจะให้ตัวแทนของรัฐ อาจจะเป็นบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (ปคช.) หรือธนาคารกรุงไทย หรือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริ์เข้าถือหุ้นส่วนนี้ไว้ก่อนเมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว จึงค่อยกระจาย ไปสู่ประชาชนรายย่อย เพื่อป้องกันไม่ให้หาประโยชน์จากมูลค่าที่จะเพิ่มสุงขึ้นเมื่อเข้าตลาดฯ ซึ่งต่อมาทางคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติหรือบอร์ดใหญ่ได้เห็นด้วยในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตามการที่อนุกรรมการฯได้ตัดสิน ให้เชลล์ได้แล้ว ขณะที่ม.ร.ว.สฤษดิคุณ กิติยากร กรรมการผู้จัดการของเชลล์และประธานกรรมการบริษัทเชลล์ในประเทศไทยจำกัด (ดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ของเชลล์ในไทยทั้งหมด) ได้เตรียมที่จะร้องเรียนเรื่องสัดส่วนผู้ถือหุ้นของเชลล์เพื่อขอเพิ่มเป็น 33% และไม่เห็นด้วยที่หุ้นของเชลล์และผู้ถือหุ้นรายย่อยถูกตัด ถึงกับพูดว่า "เราต้องรักษาเกียรติยศของเชลล์อย่างเต็มที่ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เพราะได้จัดสรรหุ้นไว้เรียบร้อยแล้ว"

ม.ร.ว.สฤษดิคุณเตรียมที่จะเสนอต่อกรประธานอนุกรรมการฯ แต่เผอิญกรไม่สบาย ขณะที่ทางสุขวิชก็เริ่มเคลื่อนไหวอย่างหนักทั้งที่ก่อนหน้านี้สุขวิชเองเคยกล่าวกับสื่อมวลชนหลายฉบับว่า ยอมรับในการจัดสรรหุ้น ที่รัฐบาลกำหนดให้ และในการทำงานกับเชลล์ก็คงไม่มีปัญหา

ทว่า ในวงการรู้กันดีว่าโดยลึก ๆ แล้วสุขวิชมั่นใจวายังไงตนก็จะต้องได้สร้างโรงกลั่นแห่งที่ 4 ขณะเดียวกันสุขวิชก็ติดต่อใครต่อใครทั้งที่รู้จักคุ้นเคยหรือสนิทสนมวายังไงช่วย ๆ ดูให้หน่อย

ครั้งหนึ่งที่สุขวิชเล่นกอล์ฟร่วมกัยศิววงศ์และพิสิฎฐ ศิววงศ์พูดกับสุขวิชว่า คาลเท็กซ์ได้แน่ ๆ อยู่แล้ว ทำให้สุขวิชตายใจ เพราะเชื่อมั่นในเครือข่ายสายสัมพันธ์ที่มีต่อทหารและรัฐบาลเป็นอย่างดี

เมื่อรู้แน่ชัดแล้วว่า "ไม่ได้" สุขวิชจึงทำหนังสือร้องเยนขอความเป็นธรรมต่อพลเอกชาติชายในฐานะประธานของบอร์ดใหญ่เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมานี้เป็นวันที่กำหนดประชุมบอร์ดใหญ่ ทำให้ต้องเลื่อนวันประชุมออกไป

ข้อความที่คาลเท็กซ์ร้องเรียนไปนั้นเป็นข้อความที่แสดงให้เห็นว่า ได้ศึกษาคะแนนสรุปการตัดสนิของคณะทำงานแต่ละชุดมาแล้วอย่างละเอียดเพราะได้เสนอร้องเรียนถึงการทำงานของคณะทำงานเป็นข้อ ๆ เลยทีเดียว

คาลเท็กซ์พูดถึงเครื่องบ่งชี้ในการให้คะแนนว่า "จะต้องถูกต้องและเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่ายแต่ที่เป็นมาได้มีการสรุปข้อมูลที่คลาดเคลื่อน"

เช่น "ที่ว่าอาร์เอฟซีซีมีข้อจำกัดด้านคุณภาพน้ำมันดิบที่ใช้ว่าจะต้องมีปริมาณโลหะหนักในน้ำมันไม่มากถ้ามากจะมีปัญหาเมื่อนำมากลั่นในขบวนการผลิตการสรุป-อย่างนี้ เมื่อให้คะแนนย่อมไม่มีทางหลีกเลี่ยงเป็นอื่นที่คณะทำงานให้คะแนนข้อเสนอของเชลล์สูงมากกว่าของคาลเท็กซ์ โดยข้อเท็จจริงอาร์เอฟซีซีอยู่ที่ว่า มีความยืดหยุ่นสูงในการเลือกใช้น้ำมันดิบและมีข้อจำกัดเกี่ยวกับชนิดของน้ำมันดิบน้อยกว่าไฮโดรแครกเกอร์" (ระบบที่เชลล์เสนอ)

อีกตัวอย่างคือ "การเสนออัตราดอกเบี้ยของเชลล์เป็นอัตราเดียว 10% ต่อปี โดยไม่ได้แจกแจงรายละเอียดของลักษณะเงินกู้ที่แท้จริงและเป็นตัวเลขที่ไม่ได้เกิดจากการคาดคะเนดอกเบี้ยในอนาคต อย่างรอบคอบ แต่อนุกรรมการฯกลับช่วยเหลือกำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่เป็นไปได้ และใกล้เคียงกับของคาลเท็กซ์ซึ่งเสนอไว้สูงกว่า 11% โดยเฉลี่ยต่อปี อันแสดงให้เห็นว่าไม่เป็นธรรม"

แม้แต่กำลังการกลั่นก็เช่นเดียวกัน "ได้กำหนดว่าโรงกลั่นใหม่จะมีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 บาร์เรลต่อวันปฏิทินและจากการคาดคะเนโดยทั่วไป ขนาดกำลังกลั่นควรจะเสนอมากกว่าหรือน้อยกว่าเพียง 20% ของการคาดการณ์ของราชการ"

คาลเท็กซ์ได้พยายามชี้ประเด็นว่าขนาดโรงกลั่นที่เชลล์เสนอนั้นไม่สมเหตุสมผลกับเงื่อนไขที่ประกาศเชิญชวน "คาลเท็กซ์ได้เสนอขนาด 100,000 - 120,000 บาร์เรลต่อวันปฏิทิน แต่อนุกรรมการฯกลับเห็นว่าการที่เชลล์เสนอ 145,000 บาร์เรลต่อวันปฏิทินเหมาะกว่านั้น ถือว่าเป็นการประเมินที่เกินความจำเป็น"

คาลเท็กซ์ได้เสนอให้พลเอกชาติชายมี "บัญชา" ให้มีการ "ตรวจสอบ" ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการให้คะแนน ก่อนที่บอร์ดใหญ่จะพิจารณาวินิจฉัยให้รายใดรายหนึ่งเป็นผู้สร้างโรงกลั่น

กรณีนี้พลเอกชาติชายได้เซ็นคำสั่งลงในหนังสือร้องเรียนด้วยตนเองในวันเดียวกันดังนี้

"ให้อนุกรรมการนโยบายฯพิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรม โดยเชิญทุกฝ่ายมาชี้แจงและให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการให้คะแนน แล้วให้รายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวของแต่ละบริษัทพร้อมคะแนนที่อนุกรรมการฯให้และเหตุผลประกอบการให้แต่ละฝ่ายให้ทราบโดยด่วน"

แหล่งข่าวจากอนุกรรมการฯรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เชื่อได้เลยว่าข้อมูลสรุปตัดสินกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เชื่อได้เลยว่าข้อมูลสรุปตัดสินการเลือกโรงกลั่นของอนุกรรมการฯที่ส่งไปยังบอร์ดใหญ่แต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีนั้นจะต้องมีคนใดคนหนึ่งป้อนช้อมูลให้คาลเท็กซ์ข้อความที่ใช้ก็มาจากที่อนุกรรมการฯใช้อยู่ เพราะได้ส่งก่อนวันประชุมประมาณ 3-4 วัน"

อย่างไรก็ตาม วันที่ 8 กุมภาพันธ์ศิววงศ์ได้ยืนยันต่ออนุกรรมการซึ่งต่างเห็นพ้องกันว่าจะไม่ทบทวนใหม่ เนื่องจากได้วางกติกาการคัดเลือกไว้แล้วซึ่งบอร์ดใหญ่ก็เห็นด้วย ทุกอย่างได้หมดหน้าที่จากอนุกรรมการฯแล้วและเตรียมเสนอต่อบอร์ดใหญ่ขณะเดียวกันคาลเท้กซ์ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมาหักล้างคำตัดสินของอนุกรรมการฯได้

ช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังถกเถียงเรื่องสัดส่วนหุ้นของคาลเท็กซ์ในเชลล์กันอย่างหนักว่าจะตกลงกันอย่างไร คาลเท็กซ์เองรู้แน่แล้วว่า การร้องเรียนคงไม่เป็นผล

ยุทธการลอบบี้จึงเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง

สุขวิชหัวเรือใหญ่ของคาลเท็กซ์นั้นจัดว่าเป็นคนที่มีข่ายความสัมพันธ์ที่ดีกับระดับสูงหลายฝ่ายอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นคนของรัฐบาลหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอำนาจฝ่ายทหารที่สุขวิชแนบแน่นอยู่นั้น เพราะสุขวิชเชื่อว่าทหารยังคงเป็นอำนาจที่มีบทบาทและอิทธิพลที่จะชี้คุณชี้โทษต่อสังคม การเมืองของประเทศ และธุรกิจจะก้าวหน้าได้ก็จะต้องไปได้ด้วยดีกับอำนาจเหล่านี้

จะเห็นว่าสุขวิชขึ้นนั่งแป้นเป็นวุฒิสมาชิกในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีโดยมีอนันต์ อนันตกูล ปลัดกระทรวงมหาดไทยในขณะนี้เป็นผู้ชักนำให้รู้จักจนเป็นที่คุ้นเคย

สุขวิชยังสนิทกับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งได้ลาออกจากราชการทหารมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองนายกรัฐมนตรี โดยแต่งตั้งพร้อมกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมานี้ พลเอกชวลิตเป็นอีกคนหนึ่งที่สุขวิชสามารถต่อ "สายตรง" ได้

สุขวิชให้ความสำคัญกับทหารมาก จะเห็นได้ว่าคาลเท็กซ์ได้ริเริ่มโครงการสมเด็จย่า 90 และมักจะดึงข้าราชการทหารที่เกษียณแล้วมาดำรงตำแหน่งในคาลเท็กซ์ เช่น พลโทสีหเดช บุฯนาค อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสารเทศ บก.สูงสุด มาเป็นที่ปรึกษาฝ่ายบริหารงานสัมพันธ์ โดยจะมีตำแหน่งครั้งละ 4 ปี แทนคนเก่าที่ครบวาระไป คือพลโทระวิ มุกดาปกรณ์

ด้านรัฐบาลสุขวิชสนิทกันดีกับประมวลสภาวสุรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแห่งพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นรุ่นพี่เลือดเหลืองแดงจากธรรมศาสตร์ ซึ่งประมวลก็ได้รับเป็นหัวหน้าในการเกริ่นนำให้มีการตั้งโรงกลั่นใหม่อีกแห่ง เป็นแห่งที่ 5 ในที่ประชุมบอร์ดใหญ่ให้ผ่านไปอย่างฉลุย ทั้งที่ไม่มีในวาระประชุมแม้แต่น้อย

จากสายสัมพันธ์นี้ ทำให้สุขวิชมั่นใจว่าคาลเท็กซ์จะเป็นผู้ชนะในการตั้งโรงกลั่นแห่งที่ 4 แน่ เพราะถ้าดูความสัมพันธ์แต่ละสายแล้ว ล้วนแล้วแต่มีบทบาทและอำนาจในการชี้เป็นชี้ตายทั้งสิ้น

แต่สุขวิชอาจจะพลาดไปในประเด็นที่กร ประธานอนุกรรมการฯ นั้นได้เป็นกุญแจสำคัญในการกลั่นกรองเรื่องก่อนที่จะเสนอเข้าบอร์ดใหญ่ และกรเป็นคนที่สำคัญสุดในการวางนโยบายพลังงานทุกเรื่องที่ผ่านมา

เมื่อถึงวันประชุมบอร์ดวันซึ่งหลายคน บอกว่าเป็นวันที่ฟ้าผ่าโรงกลั่นก็คือวันที่ 23 กุมภาพันธ์หลังจากที่บอร์ดได้อนุมัติให้เชลล์เป็นผู้สร้างโรงกลั่น แห่งที่ 4 แล้วจู่ ๆ ประมวลนำประเด็นเสนอขึ้นมาว่า ตอนนี้ความต้องการใช้น้ำมันของประเทศเพิ่มขึ้นและต้องนำเข้าอีกมาก ถ้าจะให้มีโรงกลั่น 2 แห่ง พร้อมกันจะเสียหายอะไรหรือไม่

การที่ประมวลเสนออย่างนี้หลายคน บอกว่า "คิดไม่ถึงและกลับลำไม่ทัน เพราะไม่รู้มาก่อนเลย" โดยเฉพาะบอร์ดที่มาจากสภาพัฒน์คือพิสิฎฐและปิยสวัสดิ์

โดยสุบินปิ่นขยันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้สนับสนุนข้อ เสนอของประมวลด้วยเหตุผลที่ว่า "เพราะ" "อาจ" ทำให้สหรัฐไม่กีดกันทางการค้ากับไทยอีก ซึ่งทูตของสหรัฐก็ขอมาด้วย"

ในประเด็นนี้มีข้อน่าสังเกตว่า หากสหรัฐขอมาจริงก็ย่อมเป็นเรื่องฉกาจฉกรรจ์ระดับชาติและเชื่อได้ว่าสุบินซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการค้าระหว่างประเทศโดยตรงจะต้องเป็นคนชูธงเสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุม และจะต้องมีการพูดคุยหารือกันมาก่อนหน้าที่อนุกรรมการฯจะตัดสินให้เชลล์ได้ด้วยซ้ำไป ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้อยู่แล้วที่จะมีการลอบบี้ระดับชาติกัน

ในทางตรงกันข้ามหากเป็นรายการคุณขอมาจากสหรัฐเพื่อเจรจาแลกเปลี่ยนการกีดกันการค้าจากสหรัฐจริง แล้วถ้าสุบินไม่เสนอประเด็นนี้ขึ้นมาก็แสดงว่าสุบินไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และจะสังเกตเห็นว่า ตอนหลังสุบินได้ออกตัวว่าการอนุมัติโรงกลั่นเป็นคนละประเด็นกับปัญหาการค้าไทย-สหรัฐ

รัฐมนตรีหลายคนที่เป็นบอร์ดหรือปิยสวัสดิ์หรือพิสิฎฐต่างก็รู้ดีอยู่แก่ใจว่า นี่มิใช่เหตุผลหลักที่พลเอกชาติชายอนุมัติให้คาลเท็กซ์ตั้งโรงกลั่นพร้อมกับเชลล์ "เพิ่งจะวิ่งกันให้วุ่นก่อนประชุมบอร์ดไม่กี่วัน"

แหล่งข่าวระดับสูงจากสภาพัฒน์รายหนึ่งเปิดเผยว่า "พิสิฎฐไม่รู้เรื่องนี้เลย และไม่พอใจมากตลอดเวลาที่คณะทำงานพิจารณาการตั้งโรงกลั่นแห่งที่ 4 นั้น ไม่เคยมีผู้ใหญ่ในรัฐบาลคนใดที่จะมาบอกว่าจำเป็นที่จะต้องให้คาลเท็กซ์ตั้งโรงกลั่นด้วยเพราะสหรัฐขอมา หรือสหรัฐไม่ได้ขอแต่รัฐบาลเห็นว่าควรให้คาลเท็กซ์เพราะจะได้มีไพ่ต่อรองในมืออะไรทำนองนี้เลย ถ้าผู้ใหญ่สั่งมาสักคำ พิสิฎฐหัวเรือใหญ่จากสภาพัฒน์หรือศิววงศ์ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมก็ย่อมทำให้ได้อยู่แล้ว "ขอเพียงช่วยบอกสักคำ"

รายการนี้ทำให้หลายคนต้องหน้าแตกไปตาม ๆ กัน

แน่ละ คาลเท็กซ์ก็เช่นเดียวกับเชลล์ที่อยากจะมีโรงกลั่นในประเทศ เพราะการมีโรงกลั่นที่กลั่นน้ำมันได้ในประเทศ ย่อมจะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดได้มากกว่าที่จะต้องรับซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากไทยออยล์หรือนำเข้าจากต่างประเทศ

ที่จริง การขอเพิ่มกำลังกลั่นของเอกชนนั้นเริ่มพูดกันตั้งแต่ปี 2530 โดยมีเอสโซ่เป็นรายแรกที่ชูธงขอขยายกำลังกลั่นเพิ่มอีกประมาณ 50,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งประมุข บุณยะรัตเวช รองกรรมการผู้จัดการของเอสโซ่ ในตอนนั้นได้ชูโรงตอกย้ำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

จนต่อมาม.ร.ว.สฤษดิคุณจากค่ายเชลล์ก็ออกโรงประกาศจะตั้งโรงกลั่นหใม่บ้างซึ่งระยะนั้นดูเหมือนกับว่าจะเป็นการเกทับกันเสียมากกว่าทั้งที่ โดยข้อเท็จจริงแล้วเอสโซ่ได้พยายามที่จะขอขยายกำลังกลั่นเพิ่มมาโดยตลอด แล้วต่างก็อ้างถึงข้อได้เปรียบฝ่ายตน

เอสโซ่บอกว่า จากโรงกลั่นที่มีอยู่แล้ว ถ้ารัฐบาลต้องการขยายกำลังการกลั่นของประเทส จะทำให้ลงทุนน้อยกว่า เสร็จเร็วกว่า ขณะที่เชลล์ก็ย้ำว่าจะสร้างโรงกลั่นใหม่ที่ทันสมัยที่สุดโดยเฉพาะจะกลั่นน้ำมันดีเซลให้ได้มากขึ้นตามความต้องการของประเทศ

แต่ตอนนั้น รัฐบาลเองก็ยังไม่มีนโยบายชัดเจน จึงเริ่มศึกษาแผนการขยายกำลังกลั่นของประเทศโดยมีนโยบายตั้งแต่สมัยที่ร.ท.ศุลี มหาสันทนะเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้ดูแลด้านพลังงานในยุคนายกเปรมว่า จะให้กำลังกลั่นในประเทศน้อยกวาความต้องการเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นให้มีการแข่วขันดังที่กล่าวแล้ว พอรัฐบาลตกลงใจให้เพิ่มกำลังกลั่นของประเทศด้วยการตั้งโรงกลั่นใหม่ เอสโซ่จึงถอยฉากออกไป

เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล กรในฐานะรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็สานต่อนโยบาย นี้เพราะเห็นว่าดีและเหมาะสมอยู่แล้ว อีกทั้งบอร์ดใหญ่ซึ่งมีพลเอกชาติชายเป็นประธานก็เห็นด้วยมาตลอด

แต่เมื่อเหตุการณ์ได้ผ่านมาถึงขั้นที่มุติอนุกรรมการฯ ได้ตัดสินใจให้เชลล์ ชนะแล้ว มิหนำซ้ำยังไม่ยอมทบทวนตามคำสั่งอีกด้วย พลเอกชาติชายจึงจำเป็นต้องให้อนุมัติไปทั้ง 2 โรง

จะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่เชลล์รุกตั้งในการขอตั้งโรงกลั่นใหม่ ม.ร.ว.สฤษดิคุณไปที่ไหนก็พูดถึงความพร้อมในการสร้างดรงกลั่นใหม่ตลอดเวลา พอรัฐบาลบอกวาต้องการให้คนไทยเข้ามีส่วนร่วม และจะให้เข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วย เชลล์ก็ขานรับทันที เช่น ตอนแรกจะให้นำหุ้นเข้าตลาดประมาณ 15% พอรัฐบาลให้เป็น 30% เชลล์ก็ประกาศเปลี่ยนเงื่อนไขรับอีกเหมือนกัน

ส่วนคาลเท็กซ์นั้น สุขวิชไม่ได้พูดอะไรชัดเจนนักเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในการตั้งโรงกลั่นใหม่เพียงแต่บอกว่า "สนใจ กำลังศึกษาอยู่ เมื่อรัฐบาลออกประกาศเชิญชวน เราก็คงจะเสนอด้วย" ราวกับว่าไม่มีความพร้อม ขณะที่ม.ร.ว.สฤษดิคุณจะพูดถึงรายละเอียดของโครงการออกมา เป็นระยะ

ทำให้วิเคราะห์กันไปว่า การที่คาลเท็กซ์ดูจะเงียบ ๆ ทั้งที่โดยบุคลิกของสุขวิชเมื่อเทียบกับม.ร.ว.สฤษดิคุณแล้ว "AGGRESSIVE กว่าเยอะสุขวิชเป็นคนไทยคนแรกในคาลเท็กซ์ที่ขึ้นมาเป็นประธานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2531 ทั้งที่คาลเท็กซ์เข้ามาในเมืองไทยเพียงแต่ 42 ปี เมื่อเทียบกับเชลล์แล้วสุขวิชขึ้นมาก่อนด้วยซ้ำ ขณะที่เชลล์เข้ามาในเมืองไทยแล้วถึง 97 ปีแต่เพิ่งให้คนไทยขึ้นมาในตำแหน่งประธานเมื่อกลางปีที่แล้วนี่เอง ดูเหมือนว่าสุขวิชยังไม่ได้แสดงบทบาทอะไรที่เป็นผลงานเด่นชัดในฐานะประธานกรรมการคาลเท็กซ์" แหล่งข่าวจากวงการน้ำมันตั้งข้อสังเกตกับ "ผู้จัดการ"

เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากทาง TEXAS OILCORP. (TEXACO) หรือเท็กซาโก้หนึ่งในสองหุ้นส่วนใหญ่ของคาลเท็กซ์อีกรายหนึ่งก็คือ STANDARD OIL OF CALIFORNIA (CHAVRON) หรือเชฟรอนซึ่งถือหุ้นในคาลเท็กซ์เพื่อไปดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมในต่างประเทศ ถูก "เพ็นซอย" ฟ้องในกรณีซื้อกิจการ KETTY OIL โดยเท็กซาโก้จะต้องจ่าย 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงทำให้คาลเท็กซ์บริษัทแม่ต้องใช้เวลาในการจัดการหนี้ พลอยทำให้คาลเท็กซ์ในไทยต้องชะลอตัวไปด้วย แต่สุขวิชยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่าไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นเท็กซาโก้หรือเชฟรอนเลย

การตั้งโรงกลั่นเกิดขึ้นจากสุขวิชเป็นผู้เสนอไปยังบริษัทแม่ "ผมเป็นคน CONVINCT ไป ใช้เวลานาน ปีกว่าเขาถึงจะเห็นด้วย " ซึ่งก็หมายความว่าสุขวิชเองก็-โชว์ผลงานในฐานะประธานกรรมการให้ประจักษ์นั่นเอง และขึ้นอยู่กับสถานการณ์และโอกาสมากกว่า

เมื่อเห็นว่าไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง และได้กลายเป็นศูนย์กลางในการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคนี้ไม่วาจะเป็นเอเชียอาคเนย์หรือกลุ่มประเทศอินโดจีนในอนาคตอันใกล้นี้ ไทยจึงเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาตลาดการค้าอย่างสูง ซึ่งจะเห็นได้ว่านักลงทุนต่างชาติต่างพากันให้ความสนใจปักหลักลงฐานในไทยกันอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

ทางคาลเท็กซ์จึงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะขยายตลาดการค้ามาในเมืองไทยมากขึ้นด้วยการตั้งโรงกลั่นเองเสียที หลังจากที่ได้ขยายธุรกิจน้ำมันออกไปในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกิจการซัมมิทของเจซีฮวงหรือการซื้อกิจการ MOBIL OIL OF PHILIPPINES หรือขยายโรงแยกก๊าซในออสเตรเลีย

เมื่อบอร์ดใหญ่อนุมัติแล้ว เจ.ดับเบิ้ลยู คินเนียร์ ประธานกรรมการเท็กซาโก้ซึ่งถือหุ้นในคาลเท็กซ์บริษัทแม่ 50% ได้เข้าพอแสดงความขอบคุณต่อพลเอกชาติชายเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมานี้

อีกสาเหตุหนึ่งน่าจะเป็นผลจากนโยบายการค้าของสหรัฐเริ่มแข็งกร้าวขึ้น โดยเฉพาะในปี 2533 นี้จัดว่าเป็นปีสำคัญของความสัมพันธ์การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายสำหรับแต่ละส่วนไว้ต่างกัน

ยุโรป สหรัฐตั้งเป้าว่าจะต้องเอาชนะกฎที่ให้ธนาคารสหรัฐแข่งในตลาดเดียวกันเหมือนกับสถาบันท้องถิ่น และจะหลีกเลี่ยงกฎข้อบังคับที่ยุโรปจะผลักดันให้บริษัทของสหรัฐตั้งโรงงานในยุโรปแล้วต้องใช้ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบในท้องถิ่น

ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาหรือยากจนกว่าสหรัฐเห็นว่าประเทศเหล่านี้กำลังพยายามสร้างเครื่องมือกีดขวางสินค้าสหรัฐ เพื่อป้องกันอุตสาหกรรมในประเทศ ขณะเดียวกัยสหรัฐจำเป็นที่จะต้องรักษาทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นการลอกเลียนแบบ ลักขโมยลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า เช่น การบริการซอฟแวร์หรือสื่อบันเทิงฯลฯนั้น สหรัฐจะใช้มาตรการที่เข้มแข็งขึ้นในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะในประเทศไทย เกาหลี ไต้หวัน เม็กซิโก อินเดีย

หนึ่งในตัวแทนเจรจาการค้าของประธานาธิบดีจอร์จ บุช ก็คือคาร์ลา ฮิลล์ ขุนศึกการค้าผู้ไม่ยอมผ่อนปรนในการเจรจา

ฮิลล์เคยเป็นผู้ช่วยอัยการของคณะปกครองนิกสัน เลขาธิการการเคหะและตัวเมืองของประธานาธิบดีฟอร์ด เคยทำงานในบริษัทเอกชนหลายแห่ง เช่น ไอบีเอ็ม ฯลฯ

ทำให้คิดวิตกกันไปว่า ฮิลล์คงจะเป็นบุคคลสำคัญที่จะส่งผลต่อการเจรจาการค้าของสหรัฐกับไทย เพราะการผลักดันให้บริษัทน้ำมันของสหรัฐขยายฐานมาในประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการค้าในภูมิภาคนี้ต่อไปนั้นเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เดินตามนโยาบายาการค้าของสหรัฐ ในอันที่จะช่วงชิงตลาดน้ำมันกับยุโรปในแถบนี้ นั่นก็หมายถึงการถ่วงดุลอำนาจทางการค้ากับยุโรปด้วย

ดังนั้น ถ้ารัฐบาลไทยไม่อนุมัติให้คาลเท็กซ์ตั้งโรงกลั่นแล้ว ก็เกรงกันว่าฮิลล์อาจจะใช้มาตรการรุนแรงโต้ตอบไทยก็ได้

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่มีความสำคัญ แต่ผู้ใหญ่ในวงการพลังงานกล่าวยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่านี้เป็นเพียงการจับโยงเหตุการณ์เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนเท่านั้นเอง

แล้วเบื้องหลังที่แท้จริงในการอนุมัติตั้งโรงกลั่นแห่งที่ 5 คืออะไรกันแน่

พลเอกชาติชายได้มีคำสั่งด่วนถึงทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลกหลังจากที่อนุกรรมการฯได้ระชุมกันแล้วเห็นชอบว่า สรุปการตัดสินให้เชลล์เป็นผู้ชนะอย่างแน่นอนเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์และกรเตรียมที่จะเสนอต่อพลเอกชาติชาย ประธานบอร์ดในวันรุ่งขึ้น

"คนที่มีบทบาทมากที่สุดก็คือ บวรศักดิ์ อุวรรณโน ซึ่งได้ร่วมเข้าสังเกตการณ์ในที่ประชุมบอร์ดด้วย เล่ากันว่าบวรศักดิ์เป็นคนหนึ่งที่พูดถึงการตั้งโรงกลั่นที่ 5 มาก จนทำให้พิสิฎฐและปิยสวัสดิ์รู้สึกว่าคนที่เป็นโต้โผใหญ่ก็คือบวรศักดิ์นั่นเอง" แหล่งข่าวจากรัฐบาลเปิดเผย "ผู้จัดการ"

ที่ต้องมีคำสั่งด่วนเพราะพลเอกชาติชายเห็นว่าคณะทำงานได้สรุปผลให้เชลล์ได้ขณะที่มีการร้องเรียนจาก คาลเท็กซ์มาแล้ว พอสรุปผลเสร็จก็จะให้บอร์ด ประชุมภายในวันสองวันนั้นอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการรับลูกกันเร็วมาก

การเรียกประชุมบอร์ดครั้งนี้ "นายกไม่ได้เป็นคนเรียกประชุม คนเจ้าจี้เจ้าการไม่ใช่นายก เป็นคนที่กำลังนอนอยู่ในโรงพยาบาล และเป็นคนที่ LOBBY ทุกคนได้ ก็เห็นผิดสังเกต วันนั้นนายกไปพิษณุโลก เขาบอกนายกว่าให้เข้าประชุมในวันรุ่งขึ้นอย่าเพิ่งไปไหน" ซึ่งรู้กันว่าหมายถึงกรนั่นเอง

มีเรื่องแปลกยิ่งกว่านั้นเลอสรร ธนสุกาญจน์อีกคนหนึ่งของทีมบ้านพิษณุโลก ซึ่งเป็นคนที่ดูด้านเทคโนดลยีได้ติดต่อไปยังคณะทำงานบางคนด้วยตัวเองเพราะเป็นเรื่องด่วน แต่ติดต่อไม่ได้ เนื่องจากเจาตัวให้เลขาบอกว่า "ไม่อยู่" ซึ่งเป็นเรื่องตลก ยิ่งกว่านั้นเล่ากันว่าพอเลอสรรโทรศัพท์ไปขอข้อมูลจากผู้ใหญ่บางคน ยังไม่ทันจะซักถามอะไร เขาก็บอกว่า "เชลล์หรือคาลเท็กซ์ได้ก็เหมือน ๆ กัน" แหล่งข่าวคนเดิมเล่าย้อนถึงเหตุการณ์ในวันนั้น

ด้านคาลเท็กซ์เองก็ยังยืนยันว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ขณะที่ตนเสนอตั้งโรงกลั่นได้ทำการบ้านอย่างละเอียด ป้อนข้อมูลมาเป็นกล่อง ๆ บรรทุกรถปี๊กอัพมา ขณะที่ทีมบ้านพิษณุโลกเช็กเอกสารแล้วเชลล์เสนอมาเพียงเล่มเดียว "เพราะถ้าทำมากเกรงจะส่งไม่ทันวันปิดรับซองเอกสาร" แหล่งข่าวสะท้อนถึงท่าทีของทีมบ้านพิษณุโลก

ผลปรากฎว่าทีมบ้านพิษณุโลกได้ตั้งคณะที่ปรึกษามาพิจารณาเรื่องนี้ใหม่ โดยแบ่งพิจารณาเป็น 2 ด้านหลัก ๆ ก็คือเทคโนโลยีการกลั่นและผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม

ผลสรุปว่าเรื่องเทคโนโลยีการกลั่นเมื่อดูโดย "ทฤษฎี" ในแง่ความสามารถยืดหยุ่นการใช้น้ำมันดิบและปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้ปรากฎว่า "เชลล์ชนะ"

โดยเฉพาะความยืดหยุ่นในการกลั่นน้ำมันดิบของเชลล์มีมากกว่าคาลเท็กซ์นั่นก็คือถ้าน้ำมันดิบเปลี่ยนไปมาก เชลล์จะปรับตัวได้ดีกว่า แต่ในแง่ปฏิบัติแล้วเทคโนโลยีของเชลล์กับคาลเท็กซ์ไม่ต่างกัน เมื่อลองให้คะแนน เชลล์จะชนะคาลเท็กซ์ประมาณ 0.2-0.5 คะแนน

ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ล้อมที่คณะทำงานชุดเดิมบอกว่าเชลล์ดีกว่าคาลเท็กซ์มากนั้น เมื่อมาดูใหม่ก็ยังสรุปไม่ได้

แหล่งข่าวกล่าวว่า ทีมบ้าน พิษณุโลกเห็นว่าคาลเท็กซ์ให้ข้อมูลมามาก ละเอียด เช่นเรื่องสิ่งแวดล้อมจะพูดเป็น PATTERN ให้เห็นเป็นระยะ ๆ ขณะที่เชลล์พูดถึงน้อยมาก ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าการที่คาลเท็กซ์พูดมากจึงกลายเป็นข้อจำกัดในลักษณะที่ว่ายิ่งพูดยิ่งเข้าตัว ส่วนเชลล์พูดน้อยเลยทำให้ดูมีข้อจำกัดน้อยกว่า ขณะเดียวกันได้ดูในประเด็นการลดสารตะกั่วด้วยซึ่งก็สรุปไม่ได้ว่าฝ่ายเชลล์ดีกว่ายังไง

ขณะที่หนึ่งในคณะทำงานกล่าวว่า ข้อมูลของคาลเท็กซ์พูดถึงอีสเทิร์นซีบอร์ดเสียเยอะซึ่งไม่เกี่ยวกับโรงกลั่น การที่เสนอมามากไม่ได้แสดงว่าให้รายละเอียดดีเสมอไป พูดกันตรงไปตรงมา เชลล์มืออาชีพกว่ามาก นี่คงเป็นเพราะว่าเชลล์ได้เปรียบที่บริหารโรงกลั่นไทยออยล์อยู่แล้ว

ส่วนประเด็นเศรษฐกิจและการเงิน ข้อมูลที่สรุปออกมาเบื้องต้นในวันนั้นยังไม่มากพอที่จะบอกว่าใครดีกว่าแค่ไหน ซึ่งถ้าต้องการให้เห็นภาพชัดก็ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม และควรมีเวลามากพอเพื่อศึกษาให้ละเอียด

เมื่อสรุปข้อมูลเท่าที่ได้ในบ่ายวันนั้น (วันประชุมบอร์ด) "คาลเท็กซ์ก้ไม่ถึงกับดีขาดลอยชนิดที่ว่าจะให้คาลเท็กซ์รายเดียว และถ้าให้คาลเท็กซ์ฝ่ายเชลล์ต้องโวยแน่ เพราะคะแนนเบื้องต้นที่คณะทำงาน 3 คณะสรุปออกมานั้น เชลล์ดีกว่า การที่จะให้เชลล์ "ออก" ไปเลยก็ยาก" แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกับพลเอกชาติชายเล่าถึงข้อสรุป

อีกประเด็นหนึ่งที่นำขึ้นมาชั่งน้ำหนักในการอนุมัติตั้งโรงกลั่นคาลเท็กซ์ ก็คือเรื่องเทคโนโลยีเชลล์นั้นเขาอาจจะถือว่ามีชื่อเสียง ดี เวลาวางระบบก็ทำทั้งชุด ซึ่งเขาก็ต้องรักษาชื่อเสียง อันนี้แน่นอนดีในอีกแง่หนึ่ง แต่อาจจะมีการถ่ายทอดให้น้อยเวลาจะซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ก็มีข้อจำกัดที่จะต้องซื้อจากเชลล์

ส่วนคาลเท็กซ์จะเป็นเทคโนโลยีย่อย จะพัฒนาจุดไหนก็ดึงมาใช้ได้ จะง่ายกว่า และสามารถซื้อได้ง่าย เป็นลักษณะซื้อได้ใน OPEN MARKET จะถูกกว่าของเชลล์ เพราะฉะนั้น ถ้าให้บริหารทั้ง 2 บริษัทน่าจะเป็นเรื่องที่ดี

ขณะเดียวกัน ก็คาดหมายว่า "น่าจะ " ช่วยให้บรรยากาศเจรจาการค้าผ่อนคลายลง เพราะที่ผ่านมาการค้าสิ่งทอ ท่อเหล็กของไทยมีปัญหาในการส่งออกไปสหรัฐมาก รวมถึงปัญหา TRADELAW ด้วยซึ่งมองว่าปัญหาอย่างนี้ไม่ควรจะมี และการให้คาลเท็กซ์ตั้งโรงกลั่นแล้ว "ให้เขารู้สึกว่าเราให้แล้วนะนายกเองอาจจะไม่ต้องพูดมาก ทูตของเขาก็น่าจะรู้อยู่แก่ใจ เหมือนกับแค่มองตาก็รู้กันแล้ว" แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกับพลเอกชาติชายกล่าว

เพราะสหรัฐเองเหลือสินค้าที่จะขายได้ไม่กี่อย่าง มีสินค้าไฮเทค เช่น โรงกลั่น ส่วนคอมพิวเตอร์ก็ถูกญี่ปุ่นตีไปเกือบหมดแล้วแต่ออกมาในรูปโทรคมนาคม แล้วที่สหรัฐบอกว่าขาดดุลการค้ากับไทยมากนั้น เวลาเขาพูดก็ไม่ได้รวมถึงถึงมูลค่าที่ไทยซื้อยุทธปัจจัยจากเขาเลย ซึ่งตัวนี้มีมูลค่าสูงมาก

แหล่งข่าวคนเดิมยังยกตัวอย่างการเจรจาการค้ากับสหรัฐว่า เคยคุยกับเจ้าหน้าที่จากสภาพคาองเกรส เมื่อพูดถึงธุรกิจการค้า พอเขารู้สึกว่าเขาขายสินค้าอะไรได้ บรรยากาศเจรจาจะพลิกทันที คนที่เจรจาอยู่ด้วยจะเห็นได้ชัดเลย

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวคนเดิมบอกว่า นี่เป็นผลพลอยได้ทางอ้อม เหตุผลจริง ๆ อยู่ที่เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมอนุกรรมการฯจึงเที่ยวประกาศผลตัดสินเบื้องต้นว่าเชลล์ได้ ทั้งที่ยังไม่ดไเข้าบอร์ดใหญ่และทุกอย่างก็รับช่วงกันเร็วจนรู้สึกว่า คงจะมีอะไรผิดปกติ

กรณีที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการตรวจสอบสภาพัฒน์มากกว่า

แล้วเกี่ยวข้องกับเชลล์อย่างไร ทำไมต้องตรวจสอบ ไฉนจึงพูดกันว่าเชลล์ก็คือสภาพัฒน์ก็คือเชลล์

สมัยที่เพิ่งก่อตั้งปตท.ใหม่ ยุคของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นยายกรัฐมนตรีนั้น ในการสั่งซื้อนำเข้าเข้ามาในช่วงแรก ๆ ทองฉัตร หงษ์ลดารมภ์ผู้ว่าการปตท.สมัยนั้น เลื่อน กฤษณกรี รองผู้ว่าด้านการตลาดตอนนั้นได้ศึกษาการนำเข้าน้ำมันจากคาลเท็กซ์ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี โดยเฉพาะองคมนตรีเชาวน์ ณ ศีลวันต์ ประธานบอร์ดปตท.ในช่วงนั้นกับสุขวิชเป็นที่ทราบดีกว่าคุ้นเคยและสนิทกันมาก ซึ่งถือเป็นความผูกพันกับพรรคชาติไทยมาแต่ต้น

แต่เชลล์เป็นบริษัทน้ำมันที่มีฐานความสัมพันธ์กับสภาพัฒน์มานาน มีอะไรก็เข้าทางกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งพรรคกิจสังคมมีบทบาทมาตลอดเพราะเกี่ยวข้องกับการนำเข้าและการค้าโดยตรง และด้วยเหตุที่โรงกลั่นไทยออยล์ที่เชลล์ถือหุ้นอยู่นั้นใช้เทคโนโลยีการกลั่นของเชลล์ทั้งหมด มีการติดต่อประสานงานที่ต่อเนื่องกันมา ขณะที่สภาพัฒน์ก็เข้ามาเกี่ยวขอ้งในการกำหนดนโยบายพลังงาน ทำให้เกิดความคุ้นเคยต่อเชลล์มากกว่าทั้งในเรื่องของระบบการกลั่น หรือแนวคิดต่อนโยบายพลังงานน้ำมันที่เห็นว่าควรจะปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวมาแต่แรก

พูดกันว่าแม้ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับองคมนตรีเชาวน์ก็ไม่สนิทเท่าที่สุขวิชสนิท

เชลล์ให้ความสำคัญกับสภาพัฒน์ เพราะที่ผ่านมาสภาพัฒน์จะมีบทบาทในการกำหนดแผนต่าง ๆ อย่างมาก

บังเอิญที่ปิยสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานจบจาก ประเทสอังกฤษเช่นเดียวกับ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ ทำให้พูดจาภาษาเดียวกันง่ายขึ้น

อีกประการหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นความโชคดีหรือโชคร้ายที่บังเอิญภรรยาของปิยสวัสดิ์ คืออานิก วิเชียรเจริญ เป็น BANKING & INSURANCE MANAGER ของเชลล์ด้วย ขณะที่ปิยสวัสดิ์คือกุญแจสำคัญที่จะป้อนข้อมูลไปยังระดับสูง คือพิสิฎฐ เลขาธิการสภาพัฒน์ ผู้เป้นคู่ขาทางความคิดที่ดีต่อกัน ทำให้เชื่อกันว่าข้อมูลของเชลล์กับสภาพัฒน์ ก็คือข้อมูลเดียวกันก่อนจะเสนอไปตามลำดับขึ้นตอนต่อไป

เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในวงการน้ำมันเชื่อว่า จะต้องมีส่วนร่วมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน

แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกับพลเอกชาติชายถึงกับกล่าวว่า "ยิ่งเมื่อรู้ว่าเป็นอย่างนี้ แล้วตัวเองเป็นคนสำคัญในการป้อนและกลั่นกรองข้อมูล เพื่อป้องกันเสียครหาเขา (ปิยสวัสดิ์) ควรจะถอนตัวออกจากการร่วมคณะทำงานพิจารณาโรงกลั่นด้วยซ้ำไป"

จากสายสัมพันธ์และความเชื่อมั่นต่อสภาพัฒน์ โดยเฉพาะเมื่อกรก็พูดจาภาษาเดียวกับสภาพัฒน์และไปได้ด้วยดีกับเชลล์ เชลล์จึงมั่นใจจนเกินไปว่ากรคงลอบบี้พลเอกชาติชายได้ โดยอาจจะลืมไปว่าครั้งหนึ่งพลเอกชาติชายเคยเบรกกรในเรื่องสัดส่วนหุ้น ปตท.ในโรงกลั่นแห่งที่ 4 จาก 10% เป็น 25% ตามที่บรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแว่บเสนอเข้าเป็นวาระจรจนสำเร็จในช่วงที่ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ขณะที่คาลเท็กซ์นั้นจะสร้างสายสัมพันธ์ในระดับสูง

ว่าไปแล้ว คาลเท็กซ์เองก็มีรวิช กัลยางกูรผู้จัดการเขตขายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นลูกเขจของประมวล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผนวกเข้ากับสายสัมพันธ์อื่น ๆ แล้ว คาลเท็กซ์จึงเหนือกว่า แต่ค่อนข้างห่างกับสายสภาพัฒน์ จึงทำให้เกิดภาพที่ว่า สภาพัฒน์ดูจะเป็นเชลล์ไปทุกทีขณะที่คณะทำงานและอนุกรรมการฯขานรับเป็นทอด ๆ ด้วยกันอย่างดี

ขณะเดียวกันเป็นที่รู้กันดีว่า คนที่มีบทบาทชี้นำในอนุกรรมการฯมีไม่กี่คน ก็คือ กร พิสิฎฐและปิยสวัสดิ์ ส่วนคนอื่น ๆ เป็นเพียงไม้ประดับ

อนุกรรมการฯหลายคนพูดเป็นเสียเดียวกันว่า "ไม่เคยรู้และไม่ได้เห็นเลยว่าเขาเสนออะไรมาบ้าง ทำให้วิจารณ์ข้อดีข้อเสียของเงื่อนไขที่แต่ละฝ่ายเสนอมาไม่ได้"

การตัดสินของอนุกรรมการฯทำให้พลเอกชาติชายไม่พอใจความคิดที่ว่าเมื่อเสนอโครงการ อะไรขึ้นมาแล้วสภาพัฒน์มักจะเป็นคนตัดสินว่าได้หรือไม่ได้นั้น วันนี้อาจจะไม่ใช่

จะได้รู้ว่าไม่ใช่จะเป็นคนคอยตรวจสอบคนอื่นอย่างเดียวแต่เมื่อสรุปแต่ละโครงการแล้ว ก็มีคนเช็กอีกทีได้เหมือนกัน ทำอะไรจะได้ระมัดระวังกันมากขึ้น

นี่คือเหตุผลแท้จริงที่พลเอกชาติชายอนุมัติโรงกลั่นคาลเท็กซ์ด้วยการปูฉากความสำคัญของปัญหาการค้าไทย-สหรัฐเท่านั้นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us