Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
Value-Driven Intellectual Capital             
 





มีคำถามเกิดขึ้นว่าทำไมบริษัทต่างๆ เช่น Hewlett-Packard, Du Pont, Dow Chemical, IBM และ Texas Instruments สามารถแปลงทรัพยากรความคิดของพนักงานในองค์กรไปสู่ผลกำไร ที่สามารถหล่อเลี้ยงองค์กรให้อยู่รอดได้อย่างไร? ด้วยวิธีการใด ที่ผู้ซื้อ และผู้ขายจะสามารถคำนวณมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท ที่จะเข้าควบกิจการ (Merger & Acquisi-tion : M&A) ได้?

องค์กรต่างๆ จะสามารถใช้การเพิ่มสินทรัพย์ทางปัญญา (intellectual assets-the proprietary knowledge) เพื่อก่อให้เกิดผลกระทบต่อมูลค่าหุ้น ได้อย่างไร?

การระบุทรัพย์สินขององค์กรโดยเฉพาะทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สูตรอาหาร สูตรนม ความลับทางการค้า และโปรแกรมการประดิษฐ์ ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อวิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ในอนาคต และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในกรณี ที่มีการขายหุ้นเพิ่มทุนหรือมีการควบกิจการ

ในยุคที่ความโดดเด่นของบริษัทหนึ่งบริษัทใด และอนาคตของบริษัทนั้น ขึ้นอยู่กับทรัพยากรความคิดขององค์กรทักษะความชำนาญ ที่รวบรวมสะสมในองค์กรนั้น จะกลายเป็นสิ่งที่สามารถวัดเป็นมูลค่าได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินอื่น ที่ได้นำมาลงทุน อาทิ เงินสด อาคาร หรือ เครื่องจักรอุปกรณ์

ดังนั้น การวัดมูลค่า ที่แท้จริงของทรัพยากรความรู้ในองค์กรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นต่อการรับทราบถึงสถานภาพความเสี่ยงในการอยู่รอดขององค์กรในยุคแห่งข่าวสารข้อมูล ยุคที่ทรัพยากรความคิดมีค่ามากเทียบเท่ากับทอง

Value-Driven Intellectual Capital เขียนโดย Dr.Patrick H. Sullivan เปรียบได้กับคู่มือเกี่ยวกับความหมายของทรัพย์สินความรู้ และวิธีการที่จะประเมินเป็นมูลค่าในรูปตัวเงิน หรือสถานภาพทางธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารองค์กร และผู้บริหารการเงิน

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะอธิบายถึงขอบข่ายของทรัพย์สินทางปัญญา โดย Sullivan กล่าวว่าการแปลงทรัพยากรความคิดให้อยู่ในรูปของผลกำไรนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีวิธีการที่ชัดเจน และแน่นอน ซึ่งสามารถเปลี่ยนขุมทรัพย์ทางปัญญา ทักษะ และทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทให้เป็นอาวุธ ที่ช่วยสร้างความมีชื่อเสียงเช่นเดียวกับช่วยสร้างส่วนแบ่งการตลาดให้กับองค์กร เรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ถูก Sullivan หยิบยกนำมากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้

- หลักพื้นฐานเกี่ยวกับทุนทรัพยากรความคิด และการสร้างมูลค่าขององค์กร

- ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทรัพยากรความคิด กลยุทธ์ทางธุรกิจ และผลกำไร

- ประโยชน์ต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ที่องค์กรได้ จากทุนทรัพยากรทางปัญญา

- วิธีการในการที่องค์กรจะสามารถสร้างประโยชน์แบบ ที่องค์กรต้องการ

- วิธีการคำนวณมูลค่าของบริษัทในกรณีการเพิ่มทุนหรือการควบกิจการ

- แบบแผนทางเศรษฐกิจของบริษัท ที่มี ทุนทรัพยากรทางปัญญา

อีกทั้ง Sullivan ยังได้สรุปหลักการพื้นฐาน และความหมายของทุนทรัพยากรทางปัญญา หลักการสร้างมูลค่า และการคิดมูลค่า กลยุทธ์ของบริษัทต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ ประโยชน์ขององค์กร ที่มีทรัพยากรปัญญา และ สิ่งที่ใช้แปลงประโยชน์จากทรัพยากรนั้น ให้เป็นผลกำไร

ในยุคที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญอย่างมากแก่ผู้ถือหุ้น และยุคความสำเร็จต่างๆ นั้น ถูกวัดจากมูลค่าหุ้นเช่นนี้ การเรียนรู้ ที่จะวัด และคำนวณมูลค่าสินทรัพย์ทางปัญญาได้กลายเป็นทักษะ ที่สำคัญ และจำเป็นต่อผู้บริหารองค์กร

หนังสือ Value-Driven Intel-lectual Capital น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริหารการเงิน คู่ค้าทางธุรกิจขององค์กรใดๆ หรือนักลงทุน ที่ตระหนักได้ว่า ความอยู่รอดขององค์กร และความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณทรัพยากรความคิด ที่มีอยู่ในองค์กร และความพยายาม ที่จะแปลงทรัพยากรนั้น ให้ เป็นมูลค่าได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us