|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เครือสหวิริยาเซ็นสัญญาแต่งตั้ง Sino-HIT จากจีน เป็นผู้จัดหาและติดตั้งเครื่องจักรโครงการโรงถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้าครบวงจร เฟสแรก 5 ล้านตัน มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท พร้อมจัดหาเงินกู้ให้ด้วย มั่นใจโครงการนี้ผ่านความเห็นชอบจากสผ.-บีโอไอ มั่นใจลุยก่อสร้างเสร็จได้ไตรมาส 4 นี้ หลังเซ็นสัญญาเงินกู้และสั่งซื้อแร่เหล็กในไตรมาส 3 /51 ชี้ครึ่งปีหลังราคาเหล็กไม่พุ่งสูงเหมือนต้นปี แต่ราคายังแกว่งตัวขึ้นลงตามราคาน้ำมัน ลุ้นยอดขายSSI ปีนี้แตะ 5 หมื่นล้านบาท หลังผลิตเพิ่ม 20%และราคาเหล็กแผ่นฯพุ่ง
นายวิน วิริยประไพกิจ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงถลุงเหล็กสหวิริยา จำกัด เปิดเผยความคืบหน้าโครงการโรงถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้าครบวงจรว่า เครือสหวิริยาได้ลงนามสัญญาในการแต่งตั้งผู้จัดการจัดหาและติดตั้งเครื่องจักร (Lead Consortium) โครงการโรงถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้าครบวงจรกับบริษัท SinoInternation Heavy Industry Technology (Sino-HIT) สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยาน มูลค่าสัญญาครั้งนี้ 1 หมื่นล้านหยวน
" กรอบความตกลงเบื้องต้น Sino-HIT จะรับผิดชอบเป็นผู้จัดการจัดหาและติดตั้งเครื่องจักรซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสูงเท่ากับผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลก พร้อมจัดหาเงินกู้ ช่วยดูแลงานด้านวิศวกรรมทั้งการออกแบบ เทคนิค รวมถึงการอบรมบุคลากร ทำให้เราลดความเสี่ยงด้านการก่อสร้างและการผลิตไปได้มาก นับเป็นก้าวย่างสำคัญของเครือสหวิริยา ซึ่งหลังจากก่อสร้างโครงการนี้เสร็จจะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตเหล้กและเหล็กกล้าที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน"
การลงนามสัญญาครั้งนี้มีมูลค่ารวม 1 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 มีกำลังการผลิต 5 ล้านตัน/ปี และภายใต้กรอบสัญญาดังกล่าวบริษัทฯมีเงื่อนไขให้ Sino-HIT เป็นผู้จัดหาและเครื่องจักรในเฟสอื่นๆจนครบกำลังการผลิต 33 ล้านตันในอีก 15ปีข้างหน้า คิดเป็นมูลค่ารวม 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.3 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการนี้ได้ภายในไตรมาส 4 /2551 หลังจากมั่นใจว่าจะได้รับใบอนุญาตการส่งเสริมการลงทุนจาากบีโอไอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และผ่านรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากสผ.ในไตรมาส 3 ปีนี้ โครงการดังกล่าวในเฟสแรกจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี
"สาเหตุที่ตัดสินใจเซ็นสัญญากับSino-HIT เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้เหล็กสูงมากคิดเป็น 35%ของโลก โดยมีกำลังการผลิตเหล็กรวมทั้งสิ้น 500 ล้านตัน/ปี ทำให้เทคโนโลยีการผลิตเหล็กไหลเข้าสู่จีน ทำให้ยกระดับเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรของจีนทัดเทียมผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก โดยจีนจะไม่ได้เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมทุนในโครงการโรงถลุงเหล็ก แต่Sino-HITจะเป็นผู้จัดหาเครื่องจักรและสินเชื่อแบบซินดิเคทโลนในวงเงินใกล้เคียงกับค่าเครื่องจักร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือก2 แนวทางการปล่อยสินเชื่อ คือ ธนาคารพาณิชย์จีนปล่อยกู้ทั้งหมด หรือธนาคารพาณิชย์จีน ร่วมปล่อยกู้กับไชน่า เอ็กซิมแบงก์ และเครดิต อินชัวรัน โดยจะเลือกแนวทางที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำสุด คาดว่าจะสรุปได้ภายในไตรมาส 3นี้เช่นเดียวกับการลงนามสัญญาซื้อขายแร่เหล็ก "
นายวิน กล่าวว่า การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนบีโอไอในโครงการโรงถลุงเหล็กฯครั้งใหม่นี้ จะยื่นเฉพาะเฟสแรก 5 ล้านตัน เงินลงทุนรวม 9 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่เคยยื่นขอส่งเสริมทั้งโครงการ 33 ล้านตัน โดยบีโอไออนุมัติให้ส่งเสริมเฉพาะเฟสแรก ส่วนเฟส 2-5 อนุมัติในหลักการ ซึ่งการขอรับบีโอไอโครงการนี้จะต่างจาก 4 โครงการผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกที่แสดงความสนใจลงทุนโครงการโรงถลุงเหล็ก เพราะทั้ง 4 โครงการยังไม่ได้ไปถึงขั้นการลงทุน อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกันภาครัฐโดยเรื่องยังอยู่ที่สภาพัฒน์ ยังไม่มีข้อสรุปออกมา ขณะที่โครงการโรงถลุงในเครือสหวิริยามีความชัดเจนทั้งที่ตั้งโรงงาน และตลาดรองรับสินค้า
"โครงการโรงถลุงเหล็กดังกล่าวนี้เลื่อนมานานถึง 1ปีครึ่ง ทำให้ประเทศสูญเสียโอกาส เพราะไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าเหล็กสูงถึงปีละ 4 แสนล้านบาท ขณะที่บริษัทฯก็มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากเงินลงทุนค่าที่ดินและค่าอบรมพนักงานไปส่วนหนึ่ง ทั้งนี้บริษัทฯมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะได้รับการยอมรับจากชุมชนในพื้นที่ หลังจากได้ทำความเข้าใจให้กลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านโครงการนี้ "
โครงการโรงถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้าครบวงจรขนาด 33 ล้านตัน จะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนด้านเครื่องจักรประมาณ 3.3 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นการลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภค ท่าเทียบเรือ ที่ดิน การอบรบบุคลากร โดยเฟสแรก จะดำเนินการผลิต 5 ล้านตัน ใช้เงินลงทุนรวม 9 หมื่นล้านบาท โครงการนี้จะมีอัตราหนี้สินต่อทุน 2:1 เท่า จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนี้ ทำให้มูลค่าเงินลงทุนโครงการนี้ลดลง โดยก่อหน้านี้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 39 บาท แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 33 บาท ซึ่งขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการสรุปตัวเลขเงินลงทุนที่แน่นอนได้เมื่อยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
สำหรับแร่เหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตนั้น บริษัทจะเซ็นบันทึกช่วยจำ(เอ็มโอยู) กับเหมืองผู้ผู้ผลิตแร่เหล็กรายใหญ่ของโลก 3 รายทั้งบราซิลและออสเตรเลีย ซึ่งรายละเอียดของสัญญาได้จัดทำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ผลิตแร่เหล็กพร้อมที่จะสนับสนุนด้านปริมาณที่ต้องการใช้โดยเฟสแรกใช้แร่เหล็กจำนวน 8 ล้านตัน แบ่งเป็นการนำเข้าจากออสเตรเลีย 70% ที่เหลือนำเข้าจากบราซิล ซึ่งโครงการนี้ได้เปรียบด้านค่าขนส่งเมื่อเทียบโรงงานผลิตเหล็กในภูมิภาคนี้ เมื่อโครงการโรงถลุงเหล็กเฟสแรกแล้วเสร็จ จะลดต้นทุนได้ถึง 35% ของมูลค่าการนำเข้า 4 แสนล้านบาท หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ทั้งนี้เครือสหวิริยา มีแผนนำบริษัท โรงถลุงเหล็กสหวิริยา เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯภายใน 5ปีข้างหน้าด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯมีนโยบายที่จะลงทุนโครงการโรงถลุงเหล็กเพียงรายเดียว โดยไม่จำเป็นต้องหาพันธมิตร ส่วนโครงการเหล็กปลายน้ำนั้นจะมีการดึงพันธมิตรใหม่เข้ามาร่วมทุน เนื่องจากต้องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลาย โดยกำลังการผลิตโรงถลุงเหล็กเฟสแรก 5 ล้านตันจะป้อนให้โรงเหล็กในเครือสหวิริยา ฯที่มีกำลังการผลิตอยู่ 7.6 ล้านตัน หลังจากมีการลงทุนเฟส 2 จึงจะมีการขยายกำลังการผลิตเหล็กขั้นปลายน้ำต่อไป
เหล็กครึ่งปีหลังนี้ราคาแกว่งตัว
นายวิน กล่าวทิศทางราคาเหล็กในครึ่งปีหลังว่า ราคาเหล็กได้ปรับตัวขึ้นมาเท่าตัวในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากไทยไม่มีโรงถลุงเหล็กเอง เชื่อว่าครึ่งปีหลังราคาไม่น่าจะปรับขึ้นรุนแรง แต่อาจจะมีการแกว่งตัวขึ้นลงเล็กน้อย โดยทิศทางราคายังทรงตัวในระดับสูงเนื่องจากต้นทุนแร่เหล็ก เศษเหล็กที่ปรับขึ้นสอดคล้องตามราคาน้ำมัน โดยปัจจุบันเพดานราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนอยู่ที่กก.ละ 37.50 บาท และเหล็กเส้น 40 บาท/กก. ขณะที่ราคาสแลปตันละ 1 พันกว่าเหรียญสหรัฐ และเศษเหล็ก 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ผลการดำเนินงานของบมจ.สหวิริยาสตีล อินดัสตรีในปี 2551 บริษัทฯตั้งเป้ายอดขายไว้ 5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มียอดขายเกือบ 3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากปีนี้บริษัทเดินเครื่องจักรผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้น 20%มาอยู่ที่ 2 ล้านตัน คิดเป็น 50%กำลังการผลิตรวม โดยปีนี้ความต้องการใช้เหล็กทุกชนิดจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนมาอยู่ที่ 13 ล้านตัน/ปี ทำให้บริษัทฯลดการส่งออกลงเหลือไม่เกิน 10% ของกำลังการผลิต
|
|
 |
|
|