Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
หลังชวลิต : ใครจะนั่งเก้าอี้ผู้ว่าแบงก์ชาติ?             
โดย Rick Brandon
 

   
related stories

ชีวิตง่าย ๆ แต่ทันโลกของชวลิต

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ชวลิต ธนะชานันท์
Banking




อังคารที่ 6 มีนาคม เป็นวันที่ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน ได้บันทึกประวัติศาสตร์การเงินไว้อีกหน้าหนึ่ง เมื่อใช้มือรมต.คลังประมวล สภาวสุ ปลดกำจร สถิรกุลออกจากตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติ พร้อมประกาศแต่งตั้งชวลิต ธนะชานันท์ลูกหม้อที่ทำงานในแบงก์ชาติมานาน 30 ปีและเป็นรองผู้ว่าการมานานกว่า 6 ปีขึ้นเป็นผู้ว่าการแทน

ก่อนหน้านี้เมื่อ 6 ปีก่อน นุกูล ประจวบเหมาะก็ถูกสมหมาย ฮุนตระกูลรมต.คลังปลดออกจากผู้ว่าการแบงก์ชาติด้วยสาเหตุความขัดแย้งอย่างรุนแรงในมาตราการการเงินเรื่องการตั้งสถาบันประกันเงินฝากและความไม่ลงรอยกันในสไตน์การบริหาร

เหตุการณ์ครั้งนั้นได้นำกำจรจากผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมาสู่การเป็นผู้ว่าการแทนนุกูลแบบบุญหล่นทับ

เหตุการณ์อังคารที่ 6 มีนาคมที่เกิดกำจรมันจึงเหมือนกับกงกำกงเกวียนอย่างเหลือเชื่อ แม้กำจรจะไม่มีความขัดแย้งกับรัฐบาลคือ รมต.คลังและนายกเหมือนเช่นนุกูลและอดีตผู้ว่าการท่านอื่นๆ แต่กำจรมีปัญหากับรัฐบาลในประเด็นบุคคลิกส่วนตัวที่ประนีประนอมเกินไปจนขาดความกล้าหาญซึ่งเกี่ยวโยงกับภาพพจน์ของแบงก์ชาติในสายตาพนักงานระดับสูงและประชาชนทั่วไปตกต่ำไปด้วย

"กำจรสื่อสารโดยตรงกับประมวลน้อยไปหน่อย ตัวอย่างมาตรการแก้เงินเฟ้อเมื่อปลายปีที่แล้วแทนที่กำจรจะสื่อสารโดยตรงกับประมวลกลับไปผ่านพิสิษฐ์ ภัค เกษมเลขาธิการสภาพัฒน์ทำให้ประเด็นด้านโครงสร้างดอกเบี้ยที่แบก์ชาติผลักดันมาตลอดแต่ถูกประมวลเก็บดองไว้ด้วยเหตุผลทางการเมือง ถูกสภาพัฒน์เอาไปยำใหม่หมดก็เลยไม่ปรากฏในมาตรการแก้เงินเฟ้อขนาดนั้น"แหล่งข่าวระดับสูงในแบงก์ชาติเล่าให้"ผู้จัดการ"ฟัง

ดอกเบี้ยที่แบงก์ชาติผลักดันก็คือการขยับเพดานดอกเบี้ยเงินกู้จาก 15 เป็น 16.5 %และคงอัตราไว้ที่ 15 สำหรับวงเงินที่ไม่เกิน 500,000 บาท ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากปล่อยลอยตัว เว้นแต่เงินฝากออมทรัพย์ที่ยังคงไว้ที่ 7.25 %

นักวิเคราะห์จากบ้าานพิษณุโลกให้ข้อสังเกตถึงการเปลี่ยนตัวผู้ว่ากำจรว่าความจริงกำจรก็แสดงฝีมือไว้ไม่น้อยในปัญหาการแก้ไขความมั่นคงของสถาบันการเงิน แต่ในขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว สถาบันการเงินมีความมั่นคงขึ้นท่ามกลางการแข่งขันของตลาดการเงินในภูมิภาคนี้ ผู้ว่าแบงก์ชาติต้องเป็นคนที่มีมโนภาพการบริหารการเงินและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่กว้างไกลออกไปจากปัญหาส่วนย่อยๆ และมีมิติทางยุทธศาสตร์ที่เฉียบคมกล้าหาญและสามารถสื่อสารทำความเข้าใจให้รมต.คลังหรือแม้แต่ครม.ให้คล้อยตามได้

ตัวอยางเรื่องดอกเบี้ยเพื่อแก้เงินเฟ้อเมื่อปลายปีที่แล้วเป็นสิ่งหนึ่งที่บอกว่ากำจรไมม่สามารถเป็นผู้ว่าการได้อีกต่อไป

เป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนี้เศรษฐกิจกำลังมีภาวะ "เครื่องร้อน"เกินไปแล้ว สัญญาณนี้ได้แดงออกที่เสถียรภาพด้านราคาถูกคุกคามจากเงินเฟ้อสูงถึงกว่า 6 % ขณะที่การผลิตเริ่มมีการขาดแคลน

แบง์ชาติได้ส่งสัญญาณเตือนหลายครรั้งให้มีการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจลงโดยใช้มาตราการทางการเงินด้านดอกเบี้ย แต่ถูกประมวลเก็บดองไว้โดยกำจรก็ไมม่มีความกล้าเพียงพอที่จะไปพูดจาให้ประมวลเห็นคล้อยตามได้

ประเด็นผู้ว่าการต้องมีความสามารถโน้มน้าวให้รมต.3คลังคล้อยตามเป็นสิ่งที่มีความหมายมากต่อประวัติศาสตร์ของแบงก์ชาติ เพราะในอดีตมีผู้ว่าการหลายคนล้มเหลวตรงจุดนี้ และตรงออกจากตำแหน่งไม่ถูกกดดันให้ออกก็ถูกปลดออกจากจำนวนผู้ว่าการ 12 คน ที่มีมาตลอดเกือบ 50 ปีของแบงก์ชาติมีผู้ว่าการถึง 8 คน ที่ต้องออกจากตำแหน่งไปด้วยเหตุดังว่า

ปี 2489 หม่อมเจ้า วิวัฒนไชย ผู้ก่อตั้งแบงก์ชาติได้ลาออกจากการเป็นผู้ว่าการฯ เนื่องจากขัดแย้งกับนายกฯพลเรือตรี ถวัลย์หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ในเรื่องการขายทุนสำรองทองคำกล่าวคือ เวลานั้นแบงก์ชาติมีหนี้ตั๋วเงินฝากในรูปพันธบัตรของรัฐบาล อยู่เกือบ 200 ล้านบาทหม่อมเจ้าวิวัฒนไชยได้เสนอครม.เอาทองคำจากทุนสำรองออกขายเพื่อมาใช้หนนี้รัฐบาลโดยให้ขายเป็นแท่ง แต่นายกฯถวัลย์(มักเรียกกันว่านายกฯหลวงธำรง)เห็นว่าการขายเป็นแท่งประชาชนทั่วไปจะไม่มีกำลังเงินมาซื้อจะมีแต่พวกพ่อค้า นายกฯก็เลยเสนอให้ครม.ให้หั่นขาย ซึ่งครม.ก็เห็นชอบ แต่หมมม่อมเจ้าวิวัฒนไชยคัดค้านเพราะการหั่นทองคำออกขายจะทำให้เนื้อทองสูญเพลิงไปส่วนหนึ่งเป็นเสียมากกว่าผลดี

เมื่อเป็นเช่นนี้นายกถวัลย์ก็เลยสั่งปลดกรรมการแบงก์ชาติทุกคน(เว้นท่านเจ้าคุณสกล) แต่ไม่กล้าปลดผู้บริหารคือ แนบ พหลโยธิน ซึ่งเป็นรองผู้ว่าการ และมีศักดิ์เป็นอาของท่านเจ้าคุณพหลพลพยุหเสนา กับหม่อมเจ่าวิวัฒนไชยซึ่งเป็นผู้ว่าการเนื่องจากเกรงบารมีเจ้าคุณพหลฯและหมม่อเจ้าวิวัฒนไชยซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแบงก์ชาติมากับมือ

แต่เพื่อศักดิ์ศรีการเป็นนายธนาคารที่ถูกต้อง หม่อมเจ้าวิวัฒนไชยก็เลยลาออกจากการเป็นผู้ว่าการฯด้วยเหตุผลขัดแย้งกับรัฐบาล

หลังจากนั้นคลื่นความขัดแย้งระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลก็สงบลงชั่วขณะ จนเข้าปี 2495 สมัยหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์เป็นผู้ว่าการฯก็เกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลอย่างรุนแรงอีก

คราวนี้เป็นเรื่องค่าเงินบาทกล่าวคือหม่อมหลวงเดชและแบงก์ชาติคัดค้านจอมพลแปลก(ป.)พิบูลย์สงครามที่ให้แบงก์ชาติเพิ่มค่าเงินบาทจาก 51 บาทเป็น45 บาทต่อปอนด์โดยจอมพลป.อ้างว่าต้องการลดค่าครองชีพ(เงินเฟ้อ)ที่ขณะนั้นสูงถึง 10 กว่าเปอร์เซ็นต์

แต่ทางแบงก์ชาติและหม่อมหลวงเดชเห็นว่าเวลานั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามเกาหลีเศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟู พืชผลเกษตรเช่นยางพาราและข้าวขายได้ราคาดีมากเพื่แป้อทนตลาดโลกที่กำลังขาดแคลนฐานะทุนสำรองของประเทศมั่นคงเนื่องจากดุลการค้าเกินดุลมาตลอด ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่1950เป็นต้นมาการเพิ่มค่าเงินบาทจะมีผลทำให้การส่งออกชะลอตัวลงอาจมีผลกระทบต่อฐานะทุนสำรองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

สงครามเกาหลีที่เริ่มมาตั้งแต่2493 คงไม่ยืดเยื้ออีกต่อไปและถ้าเป็นดังคาดนี้ การเพิ่มค่าเงินบาทจะทำให้เสถียรภาพเศรษฐกิจทรุดลงอย่างรุนแรงแต่จอมพลป.กลับมีความเชื่อว่าสงครามจะดำเนินต่อไปและผลผลิตเกษตรก็จะยังคงส่งออกต่อไปได้

เมื่อขัดแย้งกัน จอมพลป. ก็ปลดหม่อมหลวงเดชออกจากการเป็นผู้ว่าการฯทันทีแล้วแต่งตั้งดร.เสริม วินิจฉัยกุลเป็นผู้ว่าการแทน

หลังจากนั้นเป็นเวลายาวนานถึง18 ปีที่ความขัดแย้งระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาล ได้สงบลงโดยผ่านยุคผู้ว่าการมาถึง2 คน คือเกษม ศรีพยัคม์ (2498-2501) และโชติ คุณะเกษม(2501-2) ซึ่งทั้งสองผู้ว่าการในสมัยรมต.คลัง พลตรีเภาเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ นายพจน์ สารสินและดร.เสริม

แม้วผู้ว่าการทั้ง 2 จะไม่มีความขัดแย้งกับรัฐบาลจนต้องออกแต่ก็มีปัญหาภายในกล่าวคือเกษม ศรีพยัคม์ มีเหตุต้องออกจาการเป็นผู้ว่าการฯเพราะเงินฝาก 10 ล้านบาทของกรมรถไฟที่ฝากไว้กับแบงก์ชาติหายไป โดยมีพนักงานแบงก์ชาติร่วมมือกับคนในกรมรถไฟทุจริต ส่วนโชติ คุณะเกษมต้องออกเนื่องจากถูกสอบสวนว่าพัวพันการมีส่วนได้เสียค่านายหน้าการให้บริษัทซีโคน เป็นผู้สร้างโรงพิมพ์ธนบัตร

"ซีโคนเข้ามาติดต่อกับจอมพลสฤษดิ์โดยเสนอว่าจะพิมพ์ธนบัตรให้ก่อน 300 ล้านใบและจ่ายเงินล่วงหน้าให้ 700,000 เหรียญ แต่ถูกคัดค้านจากกรรมการแบงก์ชาติเพราะเห็นว่าบริษัทซีโคนมีผลงานไม่น่าเชื่อถือ แต่ผู้ว่าการโชติก็ยืนยันว่าน่าจะให้ซีโคนเป็นผู้สร้างโรงพิมพ์ ก็มีการฟ้องร้องโดยแบงก์ชาติเป็นโจทย์ฟ้องแพ่ง แต่ก็แพ่เพราะทางโชติเอาหลักฐานคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติให้ว่าจ้างซีโคนมายืนยันต่อศาล" แหล่งข่าวอดีตผู้บริหารแบงก์ชาติเล่าประวัติศาสตร์แบงก์ชาติให้ฟัง

แม้โชติจะรอดตัวจากคดีแพ่งแต่ก็ถูกจอมพลสฤษดิ์ปลดออกจากการเป็นผู้ว่าการฯ

เมื่อโชติออกรัฐาบาลก็แต่งตั้งดร.ป๋วยขึ้นเป็นผู้ว่าการฯแทนดร.ป๋วยเป็นคนมีบารมีกล้าหาญในหลักการ มีความรู้ทางเศรษฐกิจที่เยี่ยมยอดจาก ลอนดอนสคูลออฟอีโคนอมิคที่นานาประเทศยกย่อง ตลอดประวัติศาสตร์ของแบงก์ชาติสมัยดร.ป๋วยจึงเป็นยุคทองที่สุดกล่าวคือแบงก์ชาติมีบทบาทในการดำเนินนโยบายการเงินอย่างอิสระ "ดร.ป๋วย ท่านมีความสามารถในการพูดโน้มน้าวรัฐาบาลให้เชื่อในสิ่งที่แบงก์ชาติเสนอสมกับเป็นนายธนาคารกลาง" อดีตพนักงานระดับบริหารแบงก์ชาติกล่าวถึงบารมีของดร.ป๋วย

ปลายปี 2514 รัฐบาลจอมพลถนอมกิตติขจรทำการปฎิวัติล้มรัฐบาลของตนเองแล้วตั้งรัฐบาลปฏิวัติมีตนเองเป็นนายกฯ พลเอกประภาส จารุเสถียรเป็นรองนายกฯและคุมกระทรวงมหาดไทย พันเอกณรงค์ กิตติขจรลูกชายจอมพลถนอมคุมก.ต.ป.

พูดอีกนัยหนึ่งรัฐบาลถนอมขณะนั้นมีภาพพจน์แย่มาก ๆ ในสายตาประชาชน ดรงป๋วยก็มีความรู้สึกเช่นกันแม้จะมีบารมีที่ดร.เสริมรมต.คลังและจอมพลถนอม นายกฯ ยอมรับในความสามารถทางการเงินและความสุจริตแต่ก็ทนไม่ได้ที่จะร่วมบริหารนโยบายกับรัฐบาลปฏิวัติ

ดร.ป๋วยได้ขอลาออกจากการเป็นผู้ว่การแบงก์ชาติในปี 2514 และไปอยู่ที่อังกฤษซึ่งต่อมาไม่นานนักดร.ป๋วยก็ได้เขียนจดหมายจาก "นายเข้มเย็นยิ่งถึงผู้ใหญ่บ้านทำนุ" ก่อกระแสปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตยต่อต้านรัฐบาลถนอม

เมื่อดร.ป๋วยลาออกรัฐบาลก็แต่งตั้งลูกหม้อแบงก์ชาติที่ทำงานมาตั้งแต่แบงก์ชาติมีฐานะเป็นแค่สำนักงานธนาคารชาติไทยคือพิสุทธิ์เหมินท์ขึ้นเป็นผู้ว่าการฯแทน

ช่วงขณะนั้นระบบการเงินของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐได้ประกาศยกเลิกการเทียบเสมอภาคของค่าดอลล่าร์สหรัฐกับทองคำที่รู้จักกันในนามว่า "ระบบเบรตตันวูดส์" เพื่อเป็นมาตรการหนึ่งในการแก้ปัญหาดุลการชำระเงินและความไม่ไว้วางใจค่าดอลล่าร์ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปล่อยให้เงินของตัว "ลอยตัว" ตามตลาดเงินที่กำลังปั่นป่วนโดยมีความเชื่อกันว่าค่าดอลล่าร์ที่สูงเกินจริงคงต้องลดค่าลง

ขณะนั้นบุญมา วงศ์สวรรค์เป็นปลัดคลัง ก็เห็นชอบกับข้อเสนอของพิสุทธิ์ที่ให้คงค่าอัตราแลกเปลี่ยนบาทกับดอลล่าร์ไว้ตามเดิมคือ 20.8 บาทต่อดอลล่าร์แต่ปรับค่าเงินบาทลง 7.89% เมื่อเทียบกับทองคำคือจาก 1 บาท ต่อ 0.0427245 กรัม เป็น 0.0393516

ตุลาคม 2516 รัฐบาล ถนอมถูกประชาชนขับไล่ มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างมากมาย มีรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ขึ้นทำหน้าที่แทนชั่วคราวจนกระทั่งมาถึงรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งหม่อม คึกฤทธิ์ปราโมชเป็นนายกฯ ในปี 2518

ยุคสมัยนี้มีเสนาะ อุนากูลเป็นผู้ว่าการแบงก์ชาติ กล่าวได้ว่าความสัมพันธ์กับคลัง (บุญชู โรจนเสถียรเป็นรมต.คลัง) ของแบงก์ชาติที่มีความราบรื่นดี จนกระทั่งปี 2522 ในสมัยเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกฯ และรมต.คลัง ก็เกิดวิกฤติการณ์ราชาเงินทุนล้มเสนาะ อุนากูล ก็ส่งสมพงษ์ ธนะโสภณ เข้าไปดำเนินการแก้ไข แต่ถูกเสรี ทรัพย์เจริญและผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งขัดขวาง เมื่อลงเอยกันไม่ได้ เสนาะก็ขอถอนตัว "เวลานั้นมีนายทหารหลายคนเป้นลูกค้าราชาเงินทุนก็ไปวิ่งเต้นเกรียงศักดิ์ ให้ช่วยแก้ปัญหา" เสนาะขอลาออกจากการเป็นผู้ว่าการฯด้วย ความอึดอัดใจ สถานการณ์การเงินขณะนั้นปั่นป่วนมาก พอราชาเงินทุนล้มบรรดา บริษัท การเงินแห่งอื่น ๆ ก็เจอผลกระทบไปด้วยเป็นลูกโซ่

นุกูล ประขวยเหมาะจากรมบัญชีกลางก็เข้ามาแทนเสนาะ ภารกิจแรกของนุกูลคือพยายามแก้ไขวิกฤติการณ์เสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจที่กำลังประสบทั้งปัญหาภายในคือราชาเงินทุนล้มและเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤติการณ์ราคาน้ำมันแพง อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกกำลังทะยานสูงขึ้นขณะที่โครงสร้างดอกเบี้ยในประเทศถูกกำหนดเพดานไว้ที่ 15% ถ้าไม่มีการปรับดอกเบี้ยในประเทศเงินทุนจะไหลอกเหตุนี้นุกูลจึงเสนอให้มีการออกกม.อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินในปี 2523 ซึ่งให้สิทธิแบงก์ชาติกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้กู้ของสถาบันการเงินเกินกว่า 15% ตามที่กำหนดไว้ในกม.แพ่งฯ

ความตึงเครียดระหว่างแบงก์ชาติกับคลังเริ่มขึ้นมาอีก เมื่อสมหมาย ฮุนตระกูลเข้ามาเป็นรมต.คลังในปลายปี 2523 ความเข้มงวดทางการเงินได้ถูกนำมาใช้ เพื่อแก้ไขเสถียรภาพค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นจากการขาดดุลการค้าและชำระเงิน

"สมัยนุกูลมีการปรับค่าเงินบาท 2 ครั้งในปี 2524 คือเดือนพฤษภาคมจาก 19.80 บาทต่อดอลล่าร์เป็น 21 และกรกฎาคมเป็น 23 บาท" กำจรสถิรกุลเขียนระบุไว้ในหนังสืองานศพพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์เมื่อ 4 ปีก่อน

นูกุลเป็นคนแข็งในหลักการ พูดจาตรงไปตรงมา เป็นคนยอมหักแต่ไม่ยอมงอ จุดหนึ่งที่นุกูลขัดแย้งกับสมหมายรุนแรงคือ การแก้สถานการณ์การล้มของสถาบันการเงินโดยการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ผู้ฝากเงินซึ่งสมหมายไม่เห็นด้วยและเก็บดองแช่เย็น

เหตุผลที่สมหมายไม่เห็นด้วยเพราะไม่เชื่อในสถาบันประกันเงินฝากที่ทำไมจะต้องไป ลงโทษสถาบันการเงินที่เขาบริหารงานกันดีขณะที่สถาบันการเงินแห่งอื่นบริหารงานกันอย่างเหลวแหลกขณะที่นุกูลเห็นว่าเป็นความจำเป้นเพื่อป้องกันการสูญเสียของประชาชน

"สมหมายมองว่านุกูลกำลังดัดหลังตัวเพราะกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลจัดตั้งสถาบัน ประกันเงินฝากขยายไปถึงกลุ่มสถาบันการเงินบางแห่งและส.ส.ในสภารวมทั้งรัฐมนตรีบางคน" ผู้จัดการ ฉบับกันยายน 2527 ได้วิเคราะห์ไว้เช่นนี้

แล้วในที่สุดสมหมายก็ปลดนุกูลออกจากการเป็นผู้ว่าการฯขณะที่นุกูลเดินทางไปประชุมไอเอ็มเอฟที่วอชิงตัน

ความขมขื่นของธนาคารกลางที่ในกฎหมายเขียนไว้ให้อยู่ภายใต้กระทรวงการคลังย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอในยามที่ผู้ว่าการฯอ่อนแอและด้อยบารมีหรือในอีกข้างหนึ่งแข็งหยิ่งยะโสเกินไป

"ในประวัติศาสตร์เกือบ 50 ปีของแบงก์ชาติมีผู้ว่าการฯมา 12 ท่าน กล่าวถึงที่สุดมีเพียง 2 ท่านเท่านั้นที่มีบารมีคือหม่อมเจ้าวิวัฒนไชยและดร.ป๋วยที่รัฐบาลไม่กล้าทำอะไร" อดีตพนักงานแบงก์ชาติเล่าถึงบทบาทผู้ว่าการฯ ที่มีมาในอดีตให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

การปลดกำจรเมื่อวันที่ 6 มีนาคม จึงเป้นเพียงฉากหนึ่งของประวัติศาสตร์แบงก์ชาติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ชวลิต ธนะชานันท์ ลูกหม้อที่ทำงานกับแบงก์ชาติมา 30 ปีขึ้นมาแทนกำจร เป็นผู้ว่าการฯคนที่ 13 เขาจบเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ ด้วยทุนของคุรุสภา หลังจากนั้นก็กลับมาทำงานใช้ทุนที่ประสานมิตร (เดิมคือวิทยาลัยวิชาการศึกษา) อยู่ 2 ปีคุณหญิงสุภาพ ยศสุนทร ก็แนะนำให้องค์การยูซ่อม ซึ่งเป็นหน่วยงานช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐ ยืมตัวไปทำงานในตำแหน่งเศรษฐกร เขาอยู่ยูซ่อมได้ 3 ปี ก็ถูกยืมตัวไปเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าการฯ โชติ คณะเกษมในปี 2502

เมื่อดร.ป๋วยเข้ามาแทนโชติ ก็ทำเรื่องขอย้ายชวลิตจากประสานมิตรมาอยู่ที่แบงก์ชาติจนสำเร็จในปี 2503 และอยู่ที่แบงก์ชาติจนถึงวันนี้

ชวลิตเป็นเศรษฐกรอยู่แผนกวิชาการมาตลอดเป็นนักคิดและนักเทคนิคการเงินที่มีประสบการณ์สูงมีความรอบรู้ในประวัติศาสตร์การเงินของโลก ที่สำคัญมีมโนภาพเชิงประวัติศาสตร์ของแบงก์ชาติมากที่สุดในบรรดาผู้บริหารระดับสูงด้วยกัน

"การปรับค่าเงินบาทในปี 2527 ยุคสมหมายเป็นรมต.คลังและกำจรเพิ่งเป็นผู้ว่าการฯ ท่านรองฯชวลิตเป็น INSTRY MENT ที่สำคัญที่สุด" เอกกมล คีรีวัฒน์ อดีต สมุหบัญชีกองทุน รักษา ระดับฯขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการฯ) เล่าย้อนบทบาทอดีต ของชวลิตให้ฟัง

ชวลิตเป็นผู้จัดการกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนมาตั้งแต่ปี 2519 และเพิ่งจะลาออกหลังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการฯแทนกำจรคงเหลือบทบาทไว้แต่เพียงเป็นกรรมการเท่านั้น

บุคคลที่คาดหมายว่าจะเป็นผู้จัดการกองทุนแทนชวลิตไม่วิจิตร สุพินิจ ก็ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์

วิจิตรเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการที่รู้เรื่องการธนาคารดีที่สุดคนหนึ่งขณะที่ชัยวัฒน์เคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนฯมาก่อน

"ผมเชื่อว่าพี่วิจิตรน่าจะได้เป็นผู้จัดการฯ" แหล่งข่าวระดับสูงทายใจชวลิตซึ่งเป็นผู้เลือกผู้จัดการฯให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

บทบาทของชวลิตต่อนี้ไปอีก 6 เดือนเป็นช่วงเวลาที่เขาจะสามารถทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการปูโครงสร้างระบบการเงินของประเทศให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในทศวรรษนี้

ซึ่งสิ่งนี้เขาต้องสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาด้วยความกล้าหาญให้รมต.คลังและนายกฯเชื่อในความเห็นของแบงก์ชาติ

เขาเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าตลาดการเงินของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีบทบาทสำคัญที่จะกลายเป็นแหล่งลงทุนทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งทุกประเทศในภูมิภาคนี้ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดนีเซียต่างกำลังแข่งขันแย่งชิงตลาดลงทุนนี้

การที่ไทยจะสู้กับประเทศต่าง ๆ ได้ต้องทำให้ตัวเรามีความแข็งแกร่งซึ่งวิธี "ปล่อยให้มีการแข่งขันอย่างเสรีในประเทศ" มากขึ้นเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้สถาบันธุรกิจไทยมีความแข็งแกร่งขึ้น

พูดอีกนัยหนึ่งใครแข่งขันสู้ไม่ได้ก็ปล่อยให้แจ้งไป รัฐไม่ควรเข้าช่วยเหลือ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในกฎการแข่งขันเสรีของชวลิตชัดเจน

การปล่อยให้ดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทยกเว้นเงินฝากออกทรัพย์ลอยตัวไม่มีเพดานเมหือนก่อน และขยับเพดานดอกเบี้ยเงินกู้เป็น 16.5% จาก 15% เมื่อกลางเดือนมีนาคมเป็นตัวอย่างที่ชี้ชัดถึงความเชื่อในการแข่งขันเสรีของเขาที่เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่สถาบันการเงินจะต้องเรียนรู้การแข่งขันด้วยตนเอง

ทันทีที่เขาเป็นผู้ว่าการฯเขาเตรียมแผนพัฒนาระบบการเงินที่มีลักษณะ "เสรี" ไว้แล้วซึ่งมี 4 แนวคือ

หนึ่ง - ผ่อนคลายการควบคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศให้มากที่สุดภายใน 2 เดือน เหตุทีเสนอแนวทางนี้ เนื่องจากฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ปัจจุบันมั่นคงมากเมื่อเทียบกับ การนำเข้ามีค่าสูงถึง 6 เดือน (ประมาณเกือบ 12 พันล้านดอลล่าร์) เทียบกับมูลค่านำเข้าประมาณ 3 เดือนของปี 2529 และอีกประการหนึ่งการที่ประเทศไทยบอกรับมาตรา 8 ของไอเอ็มเอฟต้องเปิดช่องให้เงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายเข้าออกได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามามากขึ้นและเปิดโอกาสให้ไทยมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่เป็นศูนยืกลางการเงินแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้

"เวลานี้การนำเงินออกเพื่อการท่องเที่ยวหรือการโอนไปให้บุตรหลานในต่างประเทศยังถูกควบคุมวงเงินอยู่ หรือการส่งกำไร และเงินปันผลออก แม้จะไม่จำกัดจำนวนแต่เราก็ต้องดูว่าความเรียบร้อยด้านภาษีถูกต้องหรือยัง" ซึ่งข้อเข้มงวดเหล่านี้ก็จะผ่อนคลายน้อยลงเพื่อความสะดวกมากขึ้น

นอกจากนี้ในกรณีส่งเงินออกเพื่อลงทุนในต่างประเทศก็จะใช้การพิจารณาในกรอบที่ว่าเป็นการลงทุนที่มีประโยชน์ต่อการส่งออก และเพิ่มผลิตภาพในการผลิตหรือเปล่าโดยแบงก์ชาติจะทำหมวดหมู่ประเภทธุรกิจที่แบงก์ชาติอยากให้ไปลงทุน ไว้ถ้าเข้าขายก็อนุญาตเลยอัตโนมัติ ซึ่งในเวลานี้แบงก์ชาติยังต้องดูฐานเงินของผู้ลงทุนก่อนว่ามีหรือไม่

สอง - เข้มงวดการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์มากขึ้น เหตุผลก็คือเวลานี้แบงก์ชาติยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ดีเพียงพอในการวัดสินทรัพย์เสี่ยงต่อเงินกองทุนซึ่งแม้จะกำหนดสัดส่วนไว้เท่ากับ 8% ตามมาตรฐานข้อตกลงที่บราเซิล ของบีไอเอส แต่มันก็ยังไม่ได้สะท้อน ความพอเพียงของทุนได้ดีเนื่องจาก "เรายังไม่มีการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักในสินทรัพย์เสี่ยงแต่ละประเภทบางรายการเช่นสินเชื่อเกษตรที่กำหนดให้แบงก์ปล่อยสินเชื่อไม่ต่ำกว่า 20% ของเงินฝากเราก็ไม่นับรวมเข้าเป็นสินทรัพย์เสี่ยง เนื่องจากเห็นว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกร หรือแม้แต่สินเชื่อให้กู้แก่รัฐวิสาหกิจก็ไม่นับรวมเข้าเป็นสินทรัพย์เสี่ยงเช่นกัน ทั้งที่ว่าไปแล้ว มันมีความเสี่ยงสูงไม่น้อย" ชวลิตพูดถึงจุดอ่อนจุดหนึ่งของระบบตรวจสอบและการกำกับแบงก์พาณิชย์ที่เห็นว่าจะต้องมีการปรับปรุง แม้ว่าเขาจะเห็นว่าสิ่งนี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้ความสามารถในการอธิบายให้รัฐบาล (รมต.คลัง) ยอมรับก็ตาม

ชวลิตมีความเชื่อว่าถ้ามีเป้าหมายให้สถาบันการเงินมีความเข็มแข็งขึ้นและมีกำลังขีดความสามารถเพียงพอในการแข่งขัน มาตรการทางการเงินบางประการที่สร้างภาระให้สถาบันการเงินแบกรับอยู่เช่นการดำรงพันธบัตรสำรองกฎหมายไว้ 16%ของเงินฝากซึ่งถึงแม้ว่าจะมีดอกเบี้ยก็ตามแต่ก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับอัตราตลาดนั้น ควรจะผ่อนคลาย ลงได้

สาม - การพัฒนาตลาดและตราสารการเงินเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ชวลิตเห็นว่าต้องมีการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาตลาดการเงินมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายด้านภาษีอากรให้ชัดเจนในลักษณะที่ว่าตราสารการเงินประเภทไหนควรเสียภาษีหรือไม่อย่างไร

แนวความคิดการพัฒนาตราสารการเงินเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อตลาดการเงินไทยที่แบงก์ชาติ และชวลิตรเห็นว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เส้นทางสู่การเป็นศูนย์การเงินในภูมิภาคนี้มีภาพที่ชัดเจนขึ้นและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการเงินไทย

สี่ - การปรับปรุง ระบบการชำระเงิน ชวลิตมีความเห็นว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีการสื่อสารดทรคมนาคมมีความก้าวหน้ามาก สถาบันการเงินแต่ละแห่งมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อการชำระเงินมากมายเพราะต่างเห็นว่าเป็นหัวใจของธุรกิจในการให้บริการลูกค้า

"สมัยก่อนลูกค้ารายใดเปิดบัญชีที่สาขาไหนก็จะต้องชำระเงินที่สาขานั้น แต่เดี๋ยวนี้จะชำระที่สาขาไหนก็ได้ทั่วประเทศ เพราะสถาบันการเงินได้ลงทุนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเครือข่ายสาขาทุกแห่งเข้าไว้ด้วยกัน"

แม้ระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันเอง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพือ่การหักบัญชีได้ทำให้ระบบการหักบัญชีแม่นยำรวดเร็วขึ้น

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีด้านการชำระเงินที่รวดเร็วนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่การควบคุมวางแผนและปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้านการหักบัญชีของแบงก์ชาติจะต้องมีบทบาทมากขึ้น

แนวทางปรับปรุงและพัฒนาระบบการเงิน 4 แนวนี้ มีทิศทางชัดเจนที่เปิดทางให้ระบบการเงินไทยในทศวรรษที่ 1990 มีการแข่งขันที่เสรีมากขึ้นโดยผ่อนคลายมาตรการการควบคุม (DEREGULATION) ลงซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของแกตต์ที่ให้ประเทศสมาชิกยกเลิกมาตรการทุกอย่างที่เป็นอุปสรรค ต่อการค้าเสรี

ชวลิตได้เน้นความสำคัญก่อนหลังของแนวทางการผ่อนคลายการควบคุมปริวรรตเงินตราว่าเป็นสิ่งแรกที่จะต้องรีบกระทำโดยด่วน "ผมมั่นใจแบงก์ชาติสามารถทำได้ภายในเวลาอันสั้น แต่คงต้องขอความเห็นจากรมต.คลังและครม.ก่อนแต่ไม่มีปัญหาแน่นอน"

ส่วนรมต.คลังคือประมวลจะเห็นชอบไหมคำถามนี้คงไม่ยากเมื่อดูจากการรับข้อเสนอปรับดอกเบี้ยของชวลิตที่ประมวลค้านและพยายามเตะถ่วงมาตลอดเป็นเวลาถึง 3 เดือน

ผู้บริหารระดับสูงในแบงก์ชาติพูดถึงชวลิตว่าเขาเข้ามาในจังหวะที่เหมาะเนื่องจากหนึ่ง - สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินกำลังต้องการนายธนาคารกลางที่กล้าเสนอให้รัฐบาลยอมรับ ในมาตรการส่งสัญญาณเตือนภัยเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่กำลังถูกคุกคามจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอัตราปีละ 10% สอง - ปัญหาความอ่อนแอของสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานเริ่มฟื้นตัวขึ้น NETWORTH ก็ดูดีขึ้นหลังจากทางการได้ให้การช่วยเหลือและหลักทรัพย์พวกที่ดินมีราคาสูงขึ้น ทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินต่อไปของแบงก์ชาติอยู่ที่ตัวผู้ว่าการฯจะต้องมีมโนภาพที่ยาวไกล ทั้งในภาพรวมและส่วนย่อยภายใต้บรรยากาศที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวในการแข่งขัน ซึ่งความเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ของชวลิตทำให้เขามีมโนภาพเหล่านี้ชัดเจน "ท่านเป็นคนอ่อนนอกแต่แข็งใน เชื่อว่าท่านเป็นเทคโนแคตเต็มตัวคงไม่ยอมหใมาตรการทางการเงินที่แบงก์ชาติเสนอรมต.คลังถูกพิจารณาในกรอบการเมืองง่าย ๆ เหมือนที่แล้วมา"

ชวลิตมีเวลาถึงกันยายนนี้ก็จะเกษียน นั่นหมายความว่าเขาจะมีเวลาอีกประมาณ 6 เดือนที่จะทำงานในฐานะผู้ว่าการฯ

เวลาที่เหลือ นอกจากจะต้องวางพื้นฐานนโยบายการเงินของประเทศตามแผนงานซึ่งมี 4 แนวทางดังที่เขาได้แถลงแล้วเขายังมีภาระกิจอีกอันหนึ่งที่สำคัญคือการบริหารงานภายใน

"ผมจะกระจายงานและอำนาจสู่ระดับ ล่างจะไม่รวมศูนย์เหมือนเช่นที่ผ่านมาโดยตัวผมเองจะทำเฉพาะงานด้านนโยบายเท่านั้น" ชวลิตเล่าถึงสไตล์บริหารงานของเขาให้ฟัง

ในสมัยกำจรมีการวิพากษ์วิจารณืกันมากกว่ากำจรทำงานในรายละเอียดมากเกินไป เช่น งานปรับปรุงตึกเก่าแทนที่จะปลอ่ยให้ระดับล่างทำไปก็ลงไปเล่นเสียเอง ก็ทำให้คนทำงานเอือมระอาแม้กำจรจะมีเจตนาดีก็ตาม แต่มันได้สะท้อนสไตล์การบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง

ใครจะมาเป็นรองผู้ว่าการฯและผู้ช่วยผู้ว่าการฯ สิ่งนี้เป็นงานบริหารภายในชิ้นหนึ่งที่ชวลิตจะต้องทำโดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในหมู่ผู้บริหารแบงก์ชาติ

ไพศาล กุมาลย์วิสัย เป็นนักกฎหมายมีฐานะเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการคุมสายงานด้านกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์เขาจะเกษียณพร้อมชวลิต ถ้านับความอาวุโสก็มาเป็นคนแรกที่ขึ้นรองฯ

ชวลิตเสนอไพศาลต่อประมวลให้เป็นรองผู้ว่าการฯ ด้วยเหตุผลที่ฉลาด "ท่านไม่เปลืองตัวด้วยเรื่องแบบนี้หรอกไหน ๆ ท่านก็จะเกษียนพร้อมผู้ช่วยไพศาลอยู่แล้ว ก็โยนให้รัฐบาลเลือกรองฯ เองหลังกันยาฯดีกว่า" แหล่งข่าววิเคราะห์ให้ฟังหลังทราบว่ารัฐบาลแต่งตั้งไพศาลเป็นรองฯ

แต่ตำแหน่งรองผู้ว่าการฯต้องมีการต่อเนื่องไม่เป็นผลดีที่หลังกันยาฯเก้าอี้ผู้ว่า และรองฯจะว่างลงพร้อมกัน เพราะหนึ่ง- จะทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ต้องทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับแบงก์ชาติว่าใครจะมานั่งแทน สอง-จะมีกระแสการ วิ่งเต้นและความตึงเครียดที่อาจเกิดขึ้นในหมู่ผู้บริหารระดับสูงในแบงก์ชาติและเส้นสายการเมืองภายนอกเพื่อหวังได้ตำแหน่ง สาม-ตำแหน่งรองผู้ว่าการฯและผู้ว่าการมีความหมายต่อหน้าตาของประเทศเพราะเป็นผู้มีกำหนดนโยบายและมาตรการทางการเงินของชาติถ้าปล่อยให้ว่างลงพร้อม ๆ กันจะเสียหายมาก

จึงเป็นไปได้มากกว่าแบงก์ชาติจะมีรองผู้ว่าการ 2 คน พร้อมกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในช่วง ก่อนชวลิตและไพศาล เกษียณ

"นายกชาติชายท่านเห็นด้วย 100% ในหลักการถ้าไม่มีอะไรผิดปกติจากนี้คงเข้าครม.อังคารที่ 3 เมษายนนี้ ส่วนรมต.ประมวลท่านก็ยอมรับเช่นกัน" แหล่งข่าวใกล้ชิดนายกเล่าให้ฟัง

มองในแง่นี้วิจิตร สุพินิจมีโอกาสที่สุดเพราะหนึ่ง-วิจิตรมีสไตล์และบุคลิกภาพแบบนายธนาคารกลางแท้ ๆ เป็นที่ยอมรับต่อแบงก์เกอร์เอกชนทั่วไป สอง-วิจิตรเป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติรุ่นแรกที่ดร.ป๋วยส่งไปเรียนเขาจบจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในสาขาเศรษฐศาสตร ที่เดียวกับชวลิตและต่อมาไปจบโท ที่มหาวิทยาลัยเยสหรัฐผ่านสายงานในแบงก์ ชาติทางวิชาการมา ตลอดจนเป็นผอ.ฝ่ายวิชาการ ก่อนหน้าที่จะขึ้นมาคุมสายงานการธนาคาร และวิกชาการในตำแหน่งผู้ช่วยฯมีมโนภาพทางเศรษฐศาสตร์สูงเหมือนชวลิตทุกกระเบียดนิ้วจุดที่แข็งมาก ๆ ที่ทุกคนไม่รู้ก็คือวิจิตรเป็นเทคโนแคตที่บรรดาที่ปรึกษานายกบ้านพิษณุโลกยอมรับมากที่สุด "ข้อมูลหลายชิ้นที่บ้านพิษณุโลกใช้ในการวิเคราะห์ก็ได้มาจากการเชื่อมโยงดาต้าเบสกับหน่วยงานของวิจิตร"

ถ้าวิจิตรเป็นรองผู้ว่าคู่กับไพศาลโครงสร้างระดับผู้ช่วยฯ ก็มีการรับกันครั้งใหญ่เอกกมล คีรัวัฒน์ ชัยวัฒน์วิบูลย์สวัสดิ์ เริงชัย มะระกานนท์ นิตย์ ศรียาภัย (เป็นอยู่เดิม) และปกรณ์ มาลากุลฯเป็นกลุ่มที่กินตำแหน่งผู้ช่วยฯแน่นอนเมื่อดูจากความสามารถที่ได้รับการยอมรับและความอาวุโสในตำแหน่ง

เอกกมล เป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติจบจากฮาวาร์ดสาขาบริหารธุรกิจ เคยเป็นผอ.ฝ่ายกำกับตรวจสอบแบงก์ฯมาก่อนหน้าจะเดินทางไปเป็นกรรมการบริหารสำรองไอเอ็มเอฟ พอกับมาปลายปีที่แล้วก็ขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้ว่าฯดูแลสายงานธนาคารและงานบริการบุคคล

ว่ากันว่า ชวลิตยกย่องความสามารถมากแม้เอกกมลจะมีจุดอ่อนด้านบุคลิกที่ออกจะตึงตัง ตรงไปตรงมาในการพูดจา "ผู้ใหญ่มักจะมองผมเหมือนเด็ก" เอกกมลพูดถึงตัวเขาให้ฟัง

แต่กระนั้นก็ตามเป็นไปได้สูงที่ชวลิตจะย้ายเข้ามาคุมสายงานกำกับฯ "ที่ผมเชื่อเช่นนี้เพราะทราบว่าท่าน (ชวลิต) เชื่อมือพี่เอกฯมาก ๆ จึงได้มาคุมสายนี้ซึ่งท่านเห็นว่าเป็นหัวใจของงานแบงก์ชาติแล้วอีกอย่างหนึ่งพี่เอกเคยผ่านงานกำกับธนาคารมาแล้วตอนปี 2528 คอยดูตอนเลือกผู้จัดการกองทุนรักษาระดับฯ ถ้าไม่ใช่เป็นพี่เอกก็ตามโผที่ผมวิเคราะห์เพราะเวลานี้พี่เอกคุมสายการธนาคารอยู่ตามหลักแล้วจะต้องได้เป็นผู้จัดการกองทุนฯ" แหล่งข่าววิเคราะห์

ชัยวัฒน์ เป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติอีกคนหนึ่งที่จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จากเอ็มไอทีเมื่อปี 2516 เป็นผู้อำนวยการฝ่ายหลังเอกกมล 2 ปี เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์มาก ๆ เคยช่วยสุนทร หงส์ลดารมภ์สมัยสุนท รเป็นรองนายกฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลเกรียงศักดิ์เมื่อปี 2521 ก่อนจะขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการแทนที่ไพศาล เขาเป็นผอ.ฝ่ายวิชาการและกำกับตรวจสอบธนาคารฯมาก่อน

ปกรณ์ เป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์ในเบลฟาส ไอร์แลนด์เหนือมหาวิทยาลัยเดียวกับอากร ฮุนตระกูลแห่งอิมพีเรียลกรุ๊พ เขาเป็นนักบัญชีมือดีคนหนึ่งและมีประสบการณ์ในการบริการงานแบงก์มหานครมาก่อน สมัยผู้ว่ากำจรย้ายเขาจากผอ.สาาภาคเหนือไปนั่งเป็นกรรมการรองผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการที่มหานครช่วงแบงก์ชาติเข้าควบคุมกิจการ

เขาเป็นผอ.ฝ่ายที่อาวุโสคนหนึ่งเคยคุมฝ่ายการพนักงานและการธนาคารจึงมีสิทธิ์ขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการฯ พอ ๆ กับจรุง หนูขวัญ แต่จรุงมีงานค้างที่โครงการ 4 เมษาจึงยังคงไปไหนไม่ได้ทำให้ปกรณ์เด่นขึ้นมา แทน

นิตย์ เขาเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการฯที่จะเกษียนพร้อมชวลิต ไพศาล นิตย์คุมสายงานการผลิตด้านธนบัตรอุปมาอุปมัยเหมือนสายโรงงาน คนที่ขึ้นมาแทนเขาคงไม่พ้นเจริญ บุญมงคลที่คุมฝ่ายออกบัตรและเป็นผอ.ฝ่ายที่อาวุโสที่สุดในสายนี้

เริงชัย เป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติจบเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคโอะและแอลเอสอีเคยเป็นรองกรรมกาผรู้จัดการแบงก์กรุงไทยสมัยกำจรเป็นผู้ว่าการฯ เป็นคนสู้งานมาก ว่ากันว่าสมัยอยู่แบงก์กรุงไทยได้สร้างแนวคิดการแก้ปัญหาหนี้สินของสุระ สว่างเสธ.พลได้เฉียบขาดมาก แต่โชคร้ายขาดแรงหนุนจากผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลัง จึงต้องเดินออกมาด้วยความว่างเปล่าในผลงานกลับมาอยู่แบงก์ชาติกำจรก็อ้าแขนรับให้กินตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการฯคุมสายงานแม่บ้าน(ธุรการ)

ปัจจุบันโครงสร้างสายงานบริหารในแบงก์ชาติมีทั้งหมด 5 สายงาน ที่มีความสำคัญสูงสุด มี 2 สายงานคือสายงานกำกับตรวจสอบฯที่เอกกมลคุม

เป็นไปได้ว่าการที่มีรองผู้ว่าฯ 2 คนคือไพศาลกับวิจิตรนั้น คงต้องมีการจัดสรรสายงานกันใหม่ตามความชำนาญ

เป็นไปได้ว่าชวลิตคงถ่ายเทงานด้านสายงานวิชาการและการ ปริวรรตสายงานกำกับตรวจสอบฯ สายงานการธนาคารซึ่งเป็นงานด้านเทคนิคให้วิจิตร ขณะที่ไพรศาลดูแลสายงานด้านธุรการและสายงานโรงพิมพ์โครงสร้างอำนาจในรูปนี้มีความเป็นไปได้สูงด้วยเหตุผลหนึ่ง-ชวลิตได้แสดงทัศนะออกมาอย่างชัดเจนถึงการเข้าใจอย่างลึกซึ้งในบทบาทที่แบงก์ชาติจะต้องกระทำต่อไปหลังตนเาองเกษียนแน่นอนว่าคนที่จะสืบทอดแนวทาง 4 ประการ ตามแผนงาน 3 ปีที่ได้แถลงไปต้องเป็นคนที่มีมโนภาพที่แหลมคมและสามารถรับสานต่อได้

สอง-กลุ่มที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก ล้วนเป็นนักเทคโนแคตรุ่นหนุ่มสาวที่มีมโนภาพทันสมัยเฉกเช่นผู้บริหารระดับสูงในแบงก์ชาติ ซึ่งเชื่อวกันว่าทีมบ้านพิษณุโลกจะเป็นแรงหนุนที่มีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเก่าของโครงสร้างอำนาจที่มีอยู่เดิม นัยยะของความตรองนี้แสดงออกมาแล้วในกรณีการสนับสนุนให้ชวลิตขึ้นมาเป็นผู้ว่าการฯแทนกำจรโดยผลักดันผ่านทางนายกชาติชายดังที่ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ได้รายงานมาแล้วอย่างละเอียดในฉบับวันที่ 12 ถึง 18 มีนาคมถึงเบื้องหลังการปลดกำจร

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่สำคัญที่ทุกคนสนใจก็คือ หลังกันยายนนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในแบงก์ชาติอย่างไร

มีผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้ว่าการฯขึ้นไป 3 คนครอบเกษียนพร้อมกันคือชวลิต ไพศาล และนิตย์ ศรียาภัย กล่าวสำหรับชวลิต แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตกันว่าตำแหน่งของเขาเป็นการเมือง และตัวเขาเองนับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าการฯตั้งแต่ปี 2527 ก็ไม่ใช่พนักงานของแบงก์ชาติอีกต่อไป "เงินเดือนของรองผู้ว่าและผู้ว่การฯกำหนดโดยครม.ไม่ใช่กรรมการแบงก์ชาติเหมือนผู้บริหารระดับผู้ช่วย" นักกฎหมายในแบงก์ชาติให้ข้อสังเกต

มองในแนวนี้ สมมุติว่าถ้ารัฐบาลยังต้องการให้ชวลิตอยู่ต่อไปก็ย่อมทำได้ เพราะชวลิตทำงานในแบงก์ชาติด้วยตำแหน่งทางการเมืองจึงไม่มีเกษียนอายุ ชวลิตก็ยอมรับว่า "เขาไม่อยู่ในวิสัยที่จะพูดเรื่องนี้ได้โดยส่วนตัวแล้วก็คิดอยู่เพียงว่ามีเวลาทำงานเหลืออีก 6 เดือนเท่านั้น"

ชวลิตคงไม่มีโอกาสอยู่เลยเกษียนแน่ เมื่อพิจารณาจากกรอบของ ประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยมีผู้ว่าการคนไหนเลยที่อยู่ในตำแหน่งถึงเกษียนยกเว้นพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์เพียงคนเดียวที่สามารถเป็นผู้ว่าการถึงเกษียน

ใครจะมาเป็นผู้ว่าการฯแทนชวลิต

ชวลิตพูดถึงคุณสมบัติของ "คน" ที่จะมาเป็นผู้ว่าการฯว่าหนึ่ง-ต้องเป็นคนที่บรรดาสถาบันการเงินทั่วไปยอมรับนับถือในความสามารถมีจริยธรรมของความเป็นนายธนาคารกลางแท้จริง สอง-ต้องเป็นคนที่มีบารมีประกอบด้วยความกล้าหาญและความสามารถในการพูดอธิบายจูงใจรัฐบาลให้คล้อยตาม

เอกกมล คีรีวัฒน์ เน้นความสำคัญของตำแหน่งผู้ว่าการให้ฟังว่า "มันสำคัญเกินกว่าที่จะตีกรอบลงไปว่าจะต้องมาจากคนภายในหรือภายนอกแหล่งใดแหล่งหนึ่งเท่านั้น" เขาย้ำว่าเป็นคนจากที่ไหนก็ได้แต่ขอให้มีคุณสมบัติอย่างน้อย 2 ประการดังว่า

มองออกไปนอกแบงก์ชาติ คนที่มีคุณสมบัติและโอกาสมีไม่มากนัก ดร.ไพรจิตรเอื้อทวีกุล เป็นคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติและโอกาสมากที่สุด

ไพจิตรจบเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลอนดอนและคอร์แนล ปัจจุบันเป็นประธานบริหาร (PRESIDENT) ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศหรือทีดีอาร์ไอ (TDRI) ในอดีตเขาเป็นคนที่มีบทบาทสูงในรัฐบาลชุดพลเอกเปรมสมัยที่ 1 ถึง 3 โดยในสมัยรัฐบาลเปรม 1 เขาเป็นประธานที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และเป็นรัฐมนตรีช่วย (รมช.) การคลังสมัยเปรม 2 และ 3 โดยการแต่งตั้งเคยเป็นกรรมการแบงก์ชาติและกรรมการบริหารธนาคารโลกหลังออกจากตำแหน่งรมช.การคลัง

ไพจิตรเป็นคนที่ตัดสินใจลดค่าเงินบาท เมื่อเทียบกับดอลลาร์จาก 21 บาทเป็น 23 บาทเมื่อกรกฎาคมปี 2524 โดยไม่หวั่นเกรงสถานภาพตนเองทำให้ถูกโจมตีอย่างมากจาบรรดาส.ส.และสื่อมวลชนบางฉบับ และเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เขาตัดสินใจออกจากตำแหน่งรมช.การคลัง

ปี 2523 ถึงกลางปี 2524 เป็นปีที่ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยย่ำแย่เอามาก ๆ ศักยภาพการส่งออกตกต่ำลง ขณะที่การนำเข้ายังสูง ทำให้มียอดขาดดุลการค้าสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 66 พันล้านบาทและดุลบัญชี เดินสะพัดขาดดุลถึง 56 พันล้านบาทเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือเพียงแค่ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์เทียบกับมูลค่านำเข้าแล้วตกประมาณ 2.5 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่อันตราย ต่อความมั่นคงของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเนื่องจากในตลาดการเงินและธุรกิจ ขณะนั้นเริ่มไม่แน่ใจในความมั่นคงของค่าเงินบาท

ไพจิตรต้องตัดสินใจปรับค่าเงินบาทเพื่อดันยอดส่งออกพร้อมลดการนำเข้า เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดันให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจหลุดพ้นจากความล้มละลาย ซึ่งเวลานั้นมีสัดส่วนหนี้สินต่อมูลค่าส่งออกสูงถึง 20%

จากประสบการณ์และความสามารถนี้เป็นที่ยอมรับว่าเขาเป็นคนที่แข็ง ในหลักการมากคนหนึ่งและมีความสามารถ พูดจาโน้มน้าวให้ครม.คล้อยตามได้เป็นการแสดงออกอันหนึ่งของคนที่พอมีบารมีอยู่บ้าง "คนบางคนในบ้านพิษณุโลกก็ยอมรับในจุดนี้ของไพจิตร" แหล่งข่าวใกล้ชิดนายกฯกล่าว

มิติอีกอันหนึ่งในการวิเคราะห์โอกาสของไพจิตรในมุมกว้างออกไปก็คือ สถานภาพของรัฐบาลชาติชายจะยืนยาวหลังกันยายนแค่ไหน เพราะโอกาสของไพจิตร ได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับพลังการยอมรับของบรรดาทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลกเป็นจุดสำคัญ

มีหลายความเห็นในเรื่องนี้ บ้างก็ว่าการเปิดสภาสมัยประชุมฯ รัฐบาลคงหนีไม่พ้นถูกเล่นงานเรื่องการคอรัปชั่นที่วัฒนธรรมทางการเมืองไทยสมัยใหม่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก บ้างก็ว่าสถานภาพรัฐ่บาลคงไปได้ไม่มีปัญหาเนื่องจากสถาบันรัฐสภายังไม่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพพอที่จะกดดันให้ชาติชายกล้ายุบสภาหรือลาออก

การมองภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยเงื่อนเวลาที่ยาวอาจสุ่มเสี่ยงต่อความผิดพลาดได้ง่ายดังนั้นจะเลยจุดนี้ไปโดยไปแขวนไว้ในรูปของสมมุติฐาน

สมมุติฐานที่ว่านี้ก็คือให้รัฐบาลชาติชายจะยังคงอยู่ต่อไปซึ่งก็หมายความว่าไพจิตรน่าจะได้เป็นผู้ว่าการฯต่อจากชวลิต

ถ้าไพจิตรเป็นผู้ว่าการฯ เขาคงไม่เข้าไปก้าวก่ายโครงสร้างอำนาจบริหารภายในแบงก์ชาติมากนักเพราะหนึ่ง-เขาเป็นคนนอกที่จะต้องมีภาระกิจการ้างการยอมรับและให้ความนับถือแก่ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ในแบงก์ชาติเพื่อสร้างเงื่อนไขการทำงานร่วมกันในบรรยากาศที่ดีต่อไป กรณีการตบเท้าเข้าหากำจรของบรรดาผู้บริหารระดับสูงเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นตัวอย่างที่ดีถึงความข้อนี้

สอง-เขาเป็นคนที่มีจิตสำนึกแบบนักเทคโนแครตจึงย่อมเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรเทคโนแครตอย่างแบงก์ชาติได้ดี ดังนั้นโอกาสที่จะมีการปะทะกันในด้านจิตสำนึกหรือแม้แต่สไตล์การทำงานเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยกำจรย่อมเป็นได้น้อย

ไพจิตรเป็นผู้ว่าการขณะที่วิจิตรเป็นรองฯ ซึ่งเป็นลูกหม้อแบงก์ชาติที่รู้เรื่องงานภายในดี จึงน่าจะเป็นโครงสร้างอำนาจที่มีส่วนผสมที่สมบูรณืประสานรองรับกับความคิดอ่านของนักเทคโนแคตในทีมบ้านพิษณุโลกได้

ขณะเดียวกันในระดับผู้ช่วยผู้ว่าการฯ ไม่ว่าจะเป็นเอกกมล เริงชัย ชัยวัฒน์ ปกรณ์และเจริญก็เป็นแผงข่ายงานบริหารภายในตามสายงานที่แต่ละคนล้วนมีประสบการณ์และความรู้ความสามารถที่คนในแบงก์ชาติยอมรับได้

คนเป็นผู้ว่าการฯต่อจากชวลิตดูน่าจะมีความสุขไม่น้อย เพราะอย่างน้อยตุลาคม 2534 เขาจะต้องมีบทบาทเป็นนายธนาคารกลางของชาติในฐานะประเทศเจ้าภาพที่ดูเด่นที่สุดในงานการประชุม สภาคณะผู้ว่าการฯ สมาชิกไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกซึ่งจะมีบุคคลสำคัญในธุรกิจการเงินทั่วโลกร่วม 12000 คนมาร่วมประชุม

กำจรเพิ่งจากไป ชวลิตกำลังลงจากเก้าอี้อย่างนิ่มนวลที่สุด และไพจิตรกำลังควบมาอย่างรวดเร็ว

เก้าอี้ผู้ว่าการแบงก์ชาติหลังกันยายนนี้ช่างหอมหวนนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us