|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นักวิเคราะห์ แนะเพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงาน ประสานเสียงเชียร์ "ปตท.สผ.-บ้านปู" ที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันพุ่ง พร้อมให้หลีกเลี่ยงลงทุน "ปตท." เหตุได้รับผลกระทบจากการแทรกแซงของรัฐบาลให้อุดหนุนราคาก๊าซ-น้ำมัน ขณะหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาลง ระบุวัฏจักรฟื้นตัวต้องใช้เวลานานถึง 11 ปี
วานนี้ (7 ก.ค.) สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเรื่อง "แนวโน้มและทิศทางอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี" ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายพัชร ธนวัฒโน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กลุ่มพลังงาน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า หุ้นกลุ่มพลังงานให้ผลตอบแทนที่ดีและสูงกว่าตลาด เพราะได้รับผลประโยชน์จากราคาน้ำมันและถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยหุ้นที่ได้รับประโยชน์ คือ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลดีต่อธุรกิจโรงกลั่น แม้ว่าจะไม่มากนัก เพราะไม่สามารถปรับเพิ่มค่าการกลั่นได้ทันกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าอนาคตจะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมัน โดยไตรมาส 2/51 คาดค่าการกลั่นเฉลี่ยที่ 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงกว่าไตรมาส 1/51 และคาดว่าทั้งปี 51 ค่าการกลั่นจะอยู่ที่ระดับ 7-8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
สำหรับหุ้นในกลุ่มโรงกลั่นที่น่าสนใจลงทุน คือ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)หรือ TOP จากที่บริษัทได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตและธุรกิจด้านปิโตรเคมีพร้อมที่จะเปิดดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้งบการเงินดีขึ้น และยังให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลถึง 10%
การเมืองแทรกเลี่ยงลงทุนPTT
นางสาวธนพร วิศรุตพงษ์ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์กลุ่มพลังงาน บล. กสิกรไทย กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐบาลให้บมจ. ปตท. (PTT) อุดหนุนก๊าซจากการที่ความต้องการใช้มากขึ้น ทำให้ปตท.จะต้องนำเข้าแก๊สLPG จากต่างประเทศเริ่มตั้งแต่เมษายนที่ผ่านมา และคาดว่าปีนี้ต้องนำเข้าจำนวน 2 แสนตัน และเพิ่มเป็น 8 แสนตันในปี 52 ซึ่งจะต้องใช้เงินจำนวน 1.7 หมื่นล้านบาท แต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐจะมีการชดเชยคืนให้เมื่อไร ทำให้หุ้นปตท.ไม่น่าสนใจเข้าไปลงทุน หากรัฐบาลมีความชัดเจนว่าจะแทรกแซงยังไง และจะมีการชดเชยคืนให้เมื่อไรนั้น ทำให้หุ้นปตท.น่าสนใจมากขึ้น
ขณะเดียวกัน จากการที่แนวโน้มค่าไฟมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้น เชื่อว่า PTTEP จะเป็นรายต่อไปที่รัฐจะให้เข้ามาช่วยอุดหนุนค่า FT จากราคาก๊าซที่เพิ่มขึ้นและการผลิตไฟฟ้าใช้ก๊าซถึง 70% ซึ่งคาดว่าจะชดเชยประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นก็จะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าFTใหม่ ซึ่งจะไม่ค่อยประทบกับผลประกอบการของบริษัทมากนักแต่จะกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุน
สำหรับหุ้นที่บริษัทแนะนำลงทุน คือ PTTEP ที่คาดว่าจะมียอดขายปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นเท่าตัว รวมถึงการเข้าลงทุนซื้อหุ้นยากูน่า แหล่งปิโตรเลียมที่กัมพูชา โดยประเมินราคาหุ้นเหมาะสม PTTEP ปีนี้ไว้ที่ 236 บาท และ BANPU จะได้ประโยชน์จากราคาถ่านหินที่สูงจนถึงปี 53 ประเมินราคาหุ้นเหมาะสมที่ 590 บาท
จี้รัฐเลิกแทรกแซงราคาน้ำมัน
นายธีรภัทร เมธานุเคราะห์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่เข้ามาแทรกแทรกแซงราคาน้ำมัน ควรจะปล่อยเสรีมากกว่า เพราะทำให้ราคาน้ำมันบิดเบือนไป ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าราคาน้ำมันถูกทำให้มีปริมาณการใช้ที่มากขึ้น จนทำให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกสูงกว่าปกติส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ บริษัทได้ให้น้ำหนัการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานจากที่เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) สูง และหุ้นกลุ่มพลังงานได้ปรับตัวลงมามากแล้ว โดยแนะนำลงทุนใน PTTEP ที่จะได้ประโยชน์จากราคาก๊าสที่สูงขึ้น และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ BCP ที่ได้ประโยชน์ทางโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ส่วนหุ้นโรงกลั่นนั้นบริษัทแนะนำให้มีการเก็งกำไร
คาดราคาน้ำมันครึ่งหลังลดลง
นางสาววิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นนั้นมีผลกระทบต่อหุ้นเคมีภัณฑ์ปรับตัวลดลงมาก จากการที่ราคานาฟทาซึ่งเป็นต้นทุนหลักของปิโตรเคมีมีราคาสูงขึ้นเป็น 1,000 เหรียญสหรัฐต่อ ตัน จากเดิมที่อยู่ 500 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงจากที่จะมีปริมาณการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นจากประเทศต่างรวม 9 แสนบาร์เรลต่อวัน เช่น จากโอเปกเพิ่มกำลังการผลิต 2 แสนบาร์เรลต่อวัน รัสเซียเพิ่มกำลังผลิตอีก 2.5 แสนบาร์เรลต่อวัน และจากโออีซีดี จำนวน 5 แสนบาร์เรลต่อวัน
วัฎจักรปิโตรเคมีขาลง
นายกิติชาญ สิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า วัฏจักรของธุรกิจปิโตรเคมีขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มีราคาที่ผันผวน และจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ความต้องการใช้ลดลง โดยเชื่อว่าธุรกิจปิโตรเคมี รวมถึงการที่จะมีปริมาณกำลังการผลิตใหม่ที่เพิ่มขึ้นในแถบตะวันออกกลางและเอเชีย จะปรับตัวดีขึ้นในอีก 11 ปีข้างหน้า ซึ่งบริษัทที่จะมีผลประกอบการที่ดีจะเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจปิโตรเคมีปลายน้ำ จากราคาส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบมีสูง
|
|
|
|
|