Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์7 กรกฎาคม 2551
ธุรกิจแห่ปรับค่าครองชีพ สร้างแรงจูงใจการทำงาน             
 


   
search resources

Commercial and business




- วิกฤตเงินเฟ้อส่งผลองค์กรหลายแห่ง แห่ปรับเพิ่มค่าครองชีพ-ค่าน้ำมัน
- วัทสัน ไวแอท เปิดผลสำรวจอัตราการปรับขึ้นขององค์กรในไทยจาก 175 บ.
- พบธุรกิจ การเงิน-ประกันภัย-ยา จ่ายเงินสูง ดึงพนักงาน
- นายก PMAT แนะ HR จับตาขึ้นเงินรายอุตสาหกรรม

แม้ขณะนี้จะล่วงเข้ากลางปี 2551 แต่สัญญาณความถดถอยด้านเศรษฐกิจก็ยังไม่ลดลงแต่กลับทวีความรุนแรงขึ้นเห็นจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงและราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นไม่มีลดละ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตมนุษย์เงินเดือน ขณะที่ผู้ประกอบการเองก็พยายามหากลยุทธ์เพื่อตอบสนองด้านความต้องการต่างๆ ของบุคคลากร

ขณะที่ มาริสา เชาว์พฤติพงศ์ นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ได้แนะนำบทบาทการปรับตัวของ HR เพื่อเป็นแนวทางสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานภายในองค์กร

ซึ่งมาตรการขึ้นค่าครองชีพและขึ้นค่าน้ำมันเป็นอีกแนวทางของการแก้ปัญหา ซึ่งหลายองค์กรได้ปรับขึ้นให้ในช่วงกลางปี แต่หลายแห่งยังขาดเข็มทิศประเมินการให้อย่างเหมาะสมกับบุคลากรในทุกระดับ

85% องค์กรในไทยเพิ่มเงินพนักงาน

บุปผาวดี โอวรารินท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด องค์กรที่ปรึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เปิดเผยว่า ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทได้ทำการสำรวจเกณฑ์มาตรฐานการขึ้นค่าครองชีพและค่าน้ำมันใน 12 อุตสาหกรรม จาก 175 บริษัททั่วประเทศ เป็นบริษัทของคนไทยและบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่ละบริษัทมีพนักงานเฉลี่ยที่ 1,000 คน

ผลการสำรวจพบว่า การขึ้นค่าครองชีพให้พนักงานจากการสำรวจ 85% เตรียมขึ้นให้ภายในเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคมนี้ โดยเฉพาะพนักงานระดับล่างที่หน่วยงานต้องให้ความสำคัญมากขึ้นเพราะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้บริหารระดับสูง ขณะที่องค์กร 15 % ไม่ขึ้นค่าครองชีพให้กับพนักงานทุกระดับ ซึ่งเหตุผลเนื่องจากผู้ประกอบการมองว่าค่าครองชีพและเงินเดือนที่ให้เดิมสูงอยู่แล้ว

นอกจากนี้ได้สำรวจการขึ้นเงินค่าครองชีพของพนักงานในองค์กรที่มีสวัสดิการเหล่านี้อยู่เดิมพบว่า 35% พร้อมจะปรับค่าครองชีพในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมนี้ ซึ่งอัตราการเพิ่มสวัสดิการค่ากลางอยู่ที่ 2,500 บาท ต่ำสุดอยู่ที่ 120 บาท สูงสุดที่ 10,000 บาท ด้านองค์กร 65% ไม่ปรับขึ้นในปีนี้แต่จะขึ้นในต้นปี 2552

ส่วนองค์กรที่ไม่เคยให้ค่าครองชีพมาก่อนจะให้ที่ค่ากลาง 800 บาท น้อยสุดที่ 250 บาท มากสุดที่ 2,000 บาท

บุปผาวดี ขยายผลของการสำรวจการขึ้นค่าครองชีพให้กับพนักงานในแต่ละตำแหน่งตามลำดับดังนี้ 1. ผู้บริหาร (Executive) ขึ้นให้ในระดับค่ากลาง 1,000 บาท, ต่ำสุด 440 บาท, สูงสุด 1,200 บาท 2.ผู้เชี่ยวชาญ (Professional) ค่ากลางที่ 800 บาท , น้อยสุด 500 บาท , มากสุด 2,000 บาท 3. ผู้จัดการ (Manager) ค่ากลางที่ 600 บาท, ต่ำสุด 500 บาท , มากสุด 2,000 บาท 4. พนักงาน (Officer) ค่ากลาง 800 บาท ต่ำสุดที่ 500 บาท มากสุดที่ 2,000 บาท 5. พนักงานฝ่ายขาย (Sales) ค่ากลาง 800 บาท น้อยสุด 500 บาท มากสุด 2,000 บาท

หากแบ่งตามอัตราการเพิ่มค่าครองชีพรายอุตสาหกรรมตามลำดับพบว่า (ตารางประกอบ) 1. การเงิน 1,000 บาท 2. ประกันภัย 1,000 บาท 3. บริษัทยา 1,000 บาท 4. พลังงาน 600 บาท5. อื่นๆ 600 บาท โดยให้เหตุผลว่าธุรกิจการเงิน ประกันและยา มีการแข่งขันสูงการจ่ายเงินที่สูงเป็นการดึงดูดใจพนักงานและสร้างกำลังในการทำงาน ทั้งนี้ยังพบข้อสังเกตธุรกิจคอนซูเมอร์จ่ายน้อยกว่า โดยบริษัทให้เหตุผลจากฐานเงินเดือนที่จ่ายสูงอยู่แล้ว

ขณะที่การเพิ่มค่าน้ำมัน175 บริษัททั่วประเทศ พบว่า 80% พร้อมที่จะปรับขึ้นให้ในเดือนมิถุนายนนี้ ขณะที่ 20% ไม่มีการปรับขึ้นให้เนื่องจากอัตราการให้เดิมเหมาะสมอยู่แล้ว

โดยการปรับขึ้นเงินค่าน้ำมันในกลุ่มเซลส์ปรับขึ้นต่อเดือนที่ค่ากลาง 4,500 บาท , มากสุด 7,500 บาท, น้อยสุด 500 บาท ยังพบว่าเซลในกลุ่มธุรกิจยามีการขึ้นค่าน้ำมันสูงกว่าธุรกิจประเภทอื่นที่ค่ากลาง 9,100 บาท ขณะที่กลุ่มพนักงานที่ไม่ใช่เซลส์ปรับให้ที่ค่ากลาง 5,000 บาท , มากสุด 35,000 บาท , น้อยสุด 500 บาท

แนะการสื่อสารจ่ายได้ตรงใจ

บุปผาวดี เล่าถึงปัจจัยที่ทำให้หลายองค์กรในประเทศเริ่มปรับขึ้นค่าครองชีพและค่าน้ำมันให้กับพนักงานเป็นผลจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นส่งผลต่อความเป็นอยู่ของพนักงานที่เงินเดือนประจำไม่เพียงพอกับร่ายจ่าย ทำให้องค์กรต้องหันมาขึ้นเงินสวัสดิการครองชีพหรือค่าน้ำมันเพื่อแบ่งเบาภาระของคนภายใน

"ความเดือดร้อนเหล่านี้เห็นได้ชัดจากผลสำรวจความยากจนของประชากรไทยโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อเมษายนที่ผ่านมา พบว่า 40% ของครอบครัวไทยเป็นหนี้สินโดยเฉพาะครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิตของพนักงานในประเทศ"

พร้อมแนะว่าการปรับขึ้นสวัสดิการและค่าน้ำมันให้กับพนักงาน ควรปรับขึ้นให้เป็นรายเดือนเพื่อให้พนักงานบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเองซึ่งจะสร้างความรับผิดชอบให้กับบุคลากร ขณะเดียวกันต้องมีการสำรวจความต้องการของบุคลากรภายในก่อนเนื่องจากบางคนอาจไม่ต้องการเงินเพิ่มแต่ต้องการให้บริษัทจัดการสวัสดิการด้านอื่นๆ แทนเช่น พนักงานอาจไม่ต้องการเงินเพิ่มแต่ต้องการให้องค์กรจ่ายเป็นค่าอาหารแทนในแต่ละมื้อ

"ผู้บริหารเองควรมีบทบาทในการสื่อสารกับพนักงานในทุกระดับเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และพร้อมที่จะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากคนอื่นโดยไม่มีอคติ ขณะเดียวกันควรสำรวจการปรับขึ้นค่าครองชีพในอุตสาหกรรมเดียวกันและต้องประเมินศักยภาพการจ่ายค่าตอบแทนของบริษัทด้วย" บุปผาวดี กล่าวทิ้งท้าย

PMAT มองทิศทาง พร้อมรับมือวิกฤติ

มาริสา กล่าวถึงสถานการณ์ปรับขึ้นค่าตอบแทนว่า บริษัทส่วนใหญ่ให้ความช่วยเหลือพนักงานในภาพรวมเป็นเงินช่วยเหลือมากกว่าการแยกเป็นค่าครองชีพหรือค่าน้ำมันซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการหรือบางกรณีอาจเพิ่มค่าน้ำมันให้กับพนักงานบางตำแหน่งเช่น พนักงานขาย พนักงานสำรวจตลาด พนักงานส่งของ หรือส่งเอกสาร เป็นต้น

ส่วนการช่วยเหลือพนักงานด้านค่าครองชีพขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ค่าตอบแทนสูงตามลำดับดังนี้ 1. กลุ่มธนาคาร เพิ่มค่าครองชีพให้ 1,000 -2,000 บาทต่อเดือน 2. อุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มให้ 600 - 2,000 บาทต่อเดือน ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ค่อนข้างมีศักยภาพในการจ่ายค่าตอบแทนเพื่อจูงใจพนักงาน

"การเพิ่มสวัสดิการพนักงานในช่วงนี้ยังไม่ค่อยชัดเจนในการเพิ่มสวัสดิการ แต่มีบางบริษัทซึ่งไม่มากนักที่มีการเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้พนักงาน ประมาณ 20-30 บาทต่อวัน และบางบริษัทแจกคูปองรถประจำทางสำหรับพนักงานระดับปฎิบัติงานเพื่อแบ่งเบาภาระ"

ซึ่ง HR ควรติดตามผลการสำรวจค่าตอบแทนและแนวโน้มการปรับค่าตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ โดยใกล้ชิด ขณะเดียวกัน ต้องมีมาตรการช่วยองค์กรและพนักงานในการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย เช่น ในส่วนขององค์การช่วยพัฒนาพนักงานโดยปลูกฝังทัศนคติในการทำงานโดยมุ่งให้เกิดผลิตภาพ และใช้ทรัพยากรขององค์การอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

ด้านพนักงานอาจเสนอมาตรการในการลดจำนวนวันในการทำงานลงบางส่วนในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และลดการใช้พลังงานน้ำมัน โดยพิจารณางานที่ไม่เกิดผลกระทบ เช่น งานที่พนักงานสามารถทำที่บ้าน

นอกจากนี้ มาริสา ยังกล่าวถึงแนวโน้มการปรับเงินเดือนปลายปี 2551 นี้ว่าจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ทวีความรุ่นแรงขึ้นอาจส่งผลให้อัตราการปรับเงินเดือนเฉลี่ยปลายปีที่ 7.5 %

ดังนั้น แม้ปัจจัยการขึ้นค่าครองชีพหรือค่าใช้จ่ายต่างๆจะเป็นปัจจัยที่ช่วยเหลือพนักงานในองค์กร แต่ในทางกลับกัน HR เองก็ต้องพยายามสร้างจิตสำนึกด้านความพอเพียงให้กับพนักงาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us