Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 กรกฎาคม 2551
TSDเร่งปรับตัวรองรับเปิดเสรี             
 


   
search resources

ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย), บจก.
Stock Exchange




ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ เตรียมปรับตัวรองรับก.ล.ต.เปิดเสรีอนาคต เล็งรับชำระราคากองทุนรวม-นายทะเบียนบริษัทนอกตลาด บริษัทย่อยของบจ.สร้างรายได้เพิ่ม พร้อมตั้งเป็นองค์กรอิสระแยกออกจากลุ่มบริษัทตลาดหลักทรัพย์ ด้าน "ภัทรียา" ลั่นไม่แยกศูนย์รับฝาก เหตุเพื่อทำหน้าที่บริการได้ครบวงจร "โสภาวดี"แย้มเตรียมหารายได้เพิ่ม เล็งรับเคลียริ่งให้กองทุนรวม คาดรายได้ปีนี้ 900 ล้านบาท คิดเป็น 40% ของรายได้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งหมด

แหล่งข่าวจากวงการตลาดทุน กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดที่จะมีการเปิดเสรีใบอนุญาตบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) หรือ TSD ในการดำเนินธุรกิจรับฝากหลักทรัพย์ สำนักหักบัญชี รวมทั้งการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ เพื่อเป็นการเปิดให้มีการแข่งขันกันมากขึ้นทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีและเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงค่าบริการที่ต่ำ

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แยกตัวออกมาจากการเป็นบริษัทในเครือของบริษัทหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นองค์กรอิสระที่มีการกับดูแลของก.ล.ต. ตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ เพื่อที่อนาคตเมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯมีการแปรรูปขายหุ้นไปแล้วจะจะมีการเปิดให้มีตลาดหลักทรัพย์ฯแห่งใหม่เกิดขึ้นนั้น ทางศูนย์รับฝากฯ จะสามารถให้บริการแก่ผู้ที่จะเข้ามาเป็นตลาดหลักทรัพย์ฯ แห่งใหม่

"หลังจากเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์แล้ว ในอนาคตน่าจะมีการเตรียมการรองรับเปิดเสรีธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ (Exchange) รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และสำนักหักบัญชีเป็นต้น ซึ่งเป็นทิศทางที่เกิดขึ้นแล้วในตลาดหุ้นต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาก.ล.ต.ได้มีการบอกให้ทาง TSD ปรับตัวรองรับอนาคตเปิดเสรี" แหล่งข่าวกล่าวว่า

สำหรับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ส่วนใหญ่ จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่มีบางประเทศที่มีการแยกออกจากตลาดลักทรัพย์ฯ เช่น ประเทศฝรั่งเศส หรือ แคนาดา และในประเทศเหล่านี้ ยังมีบริษัทรับฝากหลักทรัพย์ และสำนักหักบัญชี เปิดให้บริการหลายบริษัทด้วยกัน โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นธนาคาร หรือสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ที่มีสภาพคล่องทางการเงินที่สูง

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่แยก TSD ออกจากกลุ่มบริษัทตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะต้องการรวมเรื่องการให้บริการที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ ดีกว่าแยกออกไป ซึ่งประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียนั้นยังมีการรวม TSD เป็นบริษัทในเครือของตลาดหลักทรัพย์เป็นกลุ่มเดียวกัน แม้ว่าในประเทศยุโรปบางประเทศได้มีการแยก TSD ออกมาจากกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ในอนาคตนั้นไม่ทราบ

"ขั้นต้นนี้มองว่าควรที่จะรวม TSD อยู่ในกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อที่รวมการให้บริการที่ดีแก่กับผู้ใช้บริการดีกว่าแยกออกจากตลาดหลักทรัพย์ แต่อนาคตยังไม่ทราบแน่ชัน เพราะต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของการบริหาร"นางภัทรียา กล่าวว่า

ด้านนางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เปิดเผยว่า ทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ จะต้องมีการปรับตัวรองรับกับอนาคตหากจะมีการเปิดเสรีผู้ให้บริการด้านการรับฝากหลักทรัพย์ ที่จะมีคู่แข่งมากขึ้นในอนาคต ซึ่งทาง TSD จะมีการหารายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้น เช่น การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์แก่บริษัทที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน

ทั้งนี้ปัจจุบันให้บริการอยู่แล้วประมาณ 20 ราย โดยมีการคิดค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 430 บาท ต่อทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ในขณะที่ได้ผ่อนปรนสำหรับบริษัทจดทะเบียนโดยมีการคิดค่าธรรมเนียมสูงสุดที่ 5 ล้านบาท และมีแนวคิดที่จะรับทำหน้าที่ในการชำระราคาและส่งมอบ (เคลียริ่ง) แก่กองทุนรวมจากที่กองทุนดังกล่าวมีอยู่จำนวนมาก

สำหรับในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ 900 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 40% ของโครงสร้างรายได้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้วมีรายได้ 800 ล้านบาท เพราะโดยปกติการเติบโตรายได้ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะเป็นไปอย่างช้า

โดยรายได้หลักของบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ คือการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์และกองทุน โดยให้บริการงานนายทะเบียนหลักทรัพย์ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การฝากหลักทรัพย์โดยระบบไร้ใบหลักทรัพย์ (scripless) ทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ การเป็นสำนักหักบัญชี ซึ่ง เป็นศูนย์กลางในการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดอนุพันธ์ ตลาตราสารหนี้ และที่ซื้อขายนอกตลาด (OTC) นอกจากนี้ ยังให้บริการเป็นศูนย์ปฏิบัติการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งตราสารทุน ตราสารหนี้ และตราสารอนุพันธ์ แก่บริษัทหลักทรัพย์อีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us