Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
สัญญาณปูนขาดมีมานานแล้วแต่รัฐบาลก็พลาด             
โดย วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคลวิชัย ศรีสอ้าน

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
วิชัย ศรีสอ้าน
Cement




ปัญหาปูนซีเมนต์ไทยขาดแคลน ที่จริงมีการพูดกันมานานเป็นปีทั้งจากการสัมนาการประชุมร่วมกับทางกระทรวงพาณิชย์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไททยแต่ไม่มมีการเตรียมแก้ไขปัญหาผมแปลกใจ ทำให้คิดไปได้ว่าอาจจะมีเบื้องหลังอะไรหรือไม่

ตอนนี้พอเกิดปัญหาก็โคม่าทันทีที่โรงงานบอกว่าปูนขาดอยู่ในสภาพวิกฤติเลย ความยุ่งยากก็เกิด ทำให้เกิดตลาดมืด ส่วนหนึ่งจะต้องเอาเงินไปซื้อตั๋วปูนซีเมนต์จากคนกลาง ถ้าเป็นปูนถุงก็เป็นร้อย ปูนฉาบก็ใกล้ๆร้อย โดยเอาตั๋วนั่นไปรับปูนจากผู้ขาย หรือเขาอาจจะมาสส่งให้โดยเขาจะกำหนดเป็นโควตาในแต่ละสัปดาห์ว่าจะให้รายไหนเท่าไหร่ซึ่มักจะส่งให้ไม่ครบตามกำหนด เช่น กำหนดไว้ 3 คันรถ แต่มาส่งแค่ 2 คันรถ เป็นต้น

ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็คือต้องเอารถตระเวณตามแหล่งต่างๆที่ประกาศไว้แล้วไปเข้าคิวรอ (เหมือนที่เป็นข่าว)

เฉพาะหน้านี้ไม่ต้องพูดถึงการตั้งโรงงานปูนใหม่เพราะไม่ทัน แต่จะต้องมีวิธีแก้อย่างอื่น เช่นติดต่อประเทศผู้ผลิตปูนที่มีมาก เราก็ไม่ได้ทำมาล่วงหน้า การขาดก็เป็นแบบฉับพลัน ซึ่งทำให้เกดแรงกดดันทางการเมือง

ช่างรับเหมาก็มีปัญหา รวมไปถึงส่วนอื่นๆด้วย ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ปูนมีราคาสูง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าซื้อไม่ได้

เวลานี้ราคาขายกันอยู่ต้องกล้ำกลืนซื้อ ที่จริงเกิดวิกฤติปูนขาดมาแล้วเกือบ 2เดือน(จนถึงปลายเดือนมีนาคม) แต่เพิ่งจะมีปูนเข้ามา

ปัญหาอยู่ที่รัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูล ถ้ารัฐบาลคาดการณ์อนาคตถูกก็แก้ปัญหาได้ จะเห็นว่าคุณทวี บุตรสุนทร เคยพูดมานานแล้วว่าดีมานต์ปูนเพิ่มขึ้น 30 % เป็นตัวเลขที่เกินความคาดหมายมากและโรงงานปูนทั้งหมดก็ผลิตได้ไม่พอกับความต้องการ แม้แต่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาก็เคยพูดอย่างนี้

สำหรับการนำเข้าเราจะนำเข้าจากเกาหลีและอิรักมาก โดยผู้สั่งเข้าจะต้องมีคุณสมบัติตามที่รัฐกำหนด แต่ ทราบว่าทางราชการหรืออคส.แม้แต่คนที่เกี่ยวข้องหรือคนขายปูนสั่งซื้อเองไม่ได้กลับต้องซื้อผ่านคนอื่น

ประเด็นนี้โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าโดยทั่วไปการค้าจะเป็นระบบเครือข่ายเช่น แดวูของเกาหลีจะมีธุรกิจในเครือทั้งการผลิตรถยนต์ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย เป็นต้น ถ้าไทยติดต่อแดวูในสินค้าชนิดชนิดหนึ่งก็สามารถที่จะเกื้อหนุนกันได้

คิดว่าด้วยเหตุผลอย่างนี้ ทำให้บางบริษัทสามารถสั่งซื้อปูนจากนอกได้ ทั้งที่บริษัทที่มีคุณสมบัติในการสั่งซื้อนั้นมีมาก แต่สั่งซื้อปูนเข้ามาไม่ได้เพราะไม่มีแหล่ง ส่วนหลายรายซื้อเข้ามาได้เพราะมีความสัมพันธ์กันในสายการค้าอื่นเลย กลายเป็นว่าการซื้อปูนเข้ามาต้องผ่านคนอื่นที่ไมม่ใช่คนค้าปูนโดยตรง

จากรูปการณ์อย่างนี้ ทำให้ราคาซับซ้อนแพงขึ้น เพราะผ่านคนกลาง และเป็นเรื่องที่เขาสามารถอ้างความชอบธรรมในเรื่องราคาได้

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาว่าเมื่อผู้นำเข้าที่แท้จริงไม่ได้เป็นผู้ค้าปูนโดยตรง เราไม่รู้ว่าเขาชำนาญในการขายปูนแค่ไหน โดยเฉพาะปูนถุง ถ้าจัดการให้อยู่ในสภาพที่กันความชื้นได้ ก็จะเก็บได้หนึ่งเดือน ถ้ากันไม่ได้ก็ทำให้อายุการเก็บปูนถุงสั้นลงเรื่อยๆ

ปัญหาสำคัญก็คือ เทคนิคและวิธีการขนส่งเคลื่อนย้าย จัดเก็บนั้นถูกต้องหรือไม่ ขณะที่การขนส่งที่ผลิตในประเทศ จากโกดังขนส่งไปยังพื้นที่โครงการก่อสร้าง ปกติปูนหนึ่งคันรถจะมีแตกหนึ่งถุง

การขนส่งปูนที่ถูกต้อง เมื่อนำเข้าจะต้องนำปูนไปสู่พื้นที่ทันที แต่ถ้าผู้นำเข้าไม่มีเทคนิคการขนส่งที่ดีพอ อย่างพอปูนมาถึงท่าเรือ ขณะที่ท่าเรือเวลานี้แออัด ก็ต้องถ่ายโดยเรือเล็กเก็บกองพอขึ้นท่าก็ต้องไปเข้าโกดัง จากโกดังเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ บางทียังจะต้องขนย้ายจากพื้นที่ก่อสร้างหนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่ง จะทำให้เสียหายถึง 15-20%จากปูนหนึ่งตันมี 20 ถุงจะมีแตกถึง 3-4 ถุง สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้นำเข้าอ้างถึงค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นได้

ถ้าจัดการโดยลดขั้นตอนสต็อกได้ สมมุติจากท่าเจ้าพระยา พอขึ้นสาแหรกใหญ่ ยกขึ้นครั้งละ 13 ตัน 15 ตัน หรือ 20 ตัน แล้วเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ก่อสร้างเลยจะเสียหายน้อยกว่าการขนย้ายทีละน้อยๆ

ปัญหาต่อมา ก็คือ การที่เราซื้อปูนจากเกาหลีนั้น ทีนั้นก็มีเรือเข้าคิวซื้อ ไม่ว่าจะเป็นอินเดียหรืออินโดนีเซีย

ถ้าเราจะซื้อจากเขา เราต้องดูว่าปูนที่เขาผลิตได้กำลังจะไม่พอกับความต้องการของผู้ซื้อหรือของเขาเองที่เพิ่มมากขึ้นด้วย แล้วเขาจะมีขีดความสามารถป้อนให้ลูกค้าได้แค่ไหน และเมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ เราจะซื้อปูนจากที่ไหน ปีหน้าเขาอาจจะไม่มีปูนขายให้เราก็ได้ ขณะที่ภาวะปูนขาดแคลนจะต่อเนื่องไปอีกนาน

รัฐบาลคววรจะไปสังเกตการณ์และศึกษาให้แน่ชัดว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ตอนนี้ถ้าเราเจรจาโรงปูนบางโรงที่ไม่ผลิตแล้ว เจรจาตกลงให้เขาประกันที่จะผลิตขายให้เราจะเป็นทางออกทางหนึ่งเรื่องราคาก็ว่ากันอีกที

สำหรับเฉพาะหน้าที่สุดในขณะนี้ ดูแล้วทางออกตัน รู้สึกไม่ชัดเจนว่าทางรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ อคส.ได้ศึกษาสถาานการณ์การผลิตปูนของต่างประเทศแค่ไหนถ้าไม่รู้ลึกซึ้งแล้วเขาผลิตได้น้อยขณะที่ใช้กันมาก ก็ต้องแย่งกันซื้อ

อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กลุ่มประเทศอินโดจีน โดยเฉพาะเวียดนามเขามีโรงงานพร้อมที่จะผลิต เป็นโรงงานที่รัสเซียเคยสร้างไว้ให้ เพียงแต่ตอนนี้เขาอาจจะขาดอะไรบางอย่าง อาจจะเป็นช่างเทคนิค เงินทุนหรือเทคโนโลยีจึงผลิตได้น้อย

ถ้าเราเจรจากับเวียดนามในรูปรัฐต่อรัฐให้เขาผลิตให้เราได้ เราจะได้ประโยชน์จากนโยบายอินโดจีนได้เป็นอย่างดีเพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้เขามองไทยเป็นผู้นำในย่านนี้อยู่ และมองไทยจะเป็นศูนย์กลางในการส่งออกสินค้าต่อไปในอนาคตและเราก็จะได้สมเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นเดีนวกัน

ส่วนที่เกรงว่ามาตรฐานปูนที่ผลิตได้จะต่ำอันนี้คิดว่าไม่น่าต่ำ เพราะถ้าเป็นปอร์ตแลนด์แล้วการผลิตไม่ได้ยุ่งยาก เป็นการผลิตธรรมดา

ด้านพม่าเพื่อนบ้าานเราก็มีโรงปูนก็ต้องเข้าไปศึกษาว่าสภาพการผลิตเป็นอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยให้สิงคโปร์ติดต่อมาขายให้ไทย

สำหรับจีนนั้นเขามีโรงปูน มีขนาดใหญ่และพัฒนาไปไม่น้อย

แต่เวียดนามน่าสนใจมากกว่า สมมุติว่าจีนผลิตหมื่นตัน มีกำลังผลิตเหลือ 500 ตัน เวียดนามผลิต 3,000 ตันโดยมีกำลังการผลิตเหลือ 2,000 ตัน เราย่อมได้ประโยชน์จากเวียดนามมากกว่า

ถ้าพูดถึงการเปิดให้นำเขาเสรีในตอนนี้จะเป็นทางแก้ปัญหาได้ แต่ก็มีข้อขัดข้องจากผู้สั่งซื้ออีก

ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าจะต้องมีการนำเข้าปูนอีกเป็นปี ฉะนั้นควรหาแหล่งที่ใกล้ที่สุด ค่าขนส่งน้อยกว่า และจะทำให้ปลอดจากความเสียหายได้มากกว่าการนำเข้าปูนจากแหล่งที่อยู่ไกล แม้ปูนที่นำเข้าจะมีมาตรฐานเดียวกัน

ในด้านคุณภาพปูนที่นำเข้า เชื่อว่าไม่มีปัญหาในการใช้กับบ้านเรา แม้ว่าปูนที่ผลิตออกมาจะเหมาะกับการใช้ในท้องถิ่นนั้น เช่น การฉาบปูนของต่างประเทศใช้ปอร์ตแลนด์ ของบ้านเราใช้ปูนส่วนผสมอื่นด้วย เพื่อให้หนืดตัวช้าลง เช่น ปูนตราเสือ ตรางูเห่า เป็นต้น แต่ไม่ร้ายแรงถ้านำมาใช้ในภาวะขาดแคลน เพราะเราเพิ่มซีเมนต์ CONSTANT ให้มากขึ้นได้

คุณภาพปูนแท้จริงล้วนได้มาตรฐาน ผมเชื่ออย่างนั้น อาจจะต่างกันบ้าง แต่ขอให้เรารู้ว่าต่างและด้อยกว่าอย่างไร เราก็ปรับเปลี่ยนใช้ได้

เช่น การเทคอนกรีตหนึ่งคิว จะใช้ปูน 325 กิโล หินหนึ่งลูกบาศก์เมตร ทรายครึ่งลูกบาศก์เมตร จะได้คอนกรีตแท่งขนาดหนึ่งคิว ถ้าปูนที่สั่งเข้ามา CONTANT หรือกำลังน้อย เราก็ใช้ปูนเพิ่มเป็น 350 กิโล

การนำเข้าก็ต้องทดสอบในลอตแรก และปกติก่อนจะมาใช้จริง เขาต้องหล่อคอนกรีตพิสูจน์ในส่วนผสมที่ต่างกันอยู่แล้ว

ผมคิดว่าบางประเทศที่ว่าโรงปูนเขาล้าหลังก็ไม่เท่าโรงปูนของเราในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะโรงงานของเขาจะได้มาจากรัสเซีย หรือยุโรปซึ่งมีเทคโนโลยีการก่อสร้างที่แข็งแรง

ถ้าเราบอกว่าปูนที่โน่นก็ใช้ไม่ได้ ที่นั่นก็ใช้ไม่ได้ แล้วเราจะนำปูนที่ไหนมาใช้ เวลานี้มุงอยู่อย่างเดียวว่า ขอให้มีปูนใช้

เพราะหากไม่มีปูนใช้ ทุกอย่างจะชะงักหมด ไม่ว่าจะเป็นสภาพคล่องทางการเงินหรือคนงานที่มีอยู่ก็แตกกระจาย แต่ถ้าปูนแพงก็ยังพอหมุนเงินได้แม้ไม่ได้กำไรก็ไม่ถึงกับหยุดชะงัก เพราะงานก่อสร้างเรื่องระยะเวลาเป็นตัวสำคัญ ถ้าต้องยืดไป 5-6 เดือน ผู้รับเหมาก็เจ๊ง

ปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็นเพราะการทำงานที่ฉุกละหุก ไม่มีการวางแผนขาดความรอบครอบเลยทำให้เกิดตลาดมืด

ตอนนั้น (ปีที่แล้ว) โรงปูนบอกปูนไม่พอความต้องการ จะขยาย ก็ทำสิ แต่ทำไมไม่ทำ ถ้ารัฐบาลมองว่าการสะท้อนว่าปูนไม่พอนั้นเป็นดีมานด์เทียม รัฐบาลก็ต้องทำการบ้านและเตรียมพร้อมแล้วว่า ถ้าเกิดภาวะอย่างนั้นจริงๆ จะแก้ปัญหายังไง ถ้าไม่เกิดก็ไม่เป็นไร เราจะต้องคิดว่านั่นเป็นสัญญาณเตือนและรัฐจะต้องมองอะไรให้รอบด้าน การไม่เตรียมถือว่าไม่รับผิดชอบ

ขณะเดียวกัน ก็สะท้อนว่าระบบข้อมูลและการวิเคราะห์ของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพพอ ถ้าดีพอ ก็จะรู้ หากทุกคนรู้ว่าจะเกิดภาวะนี้แน่ ก็จะเตรียมตัวรับได้

แล้วถ้าผู้ผลิตปูน ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญ รู้ว่าปูนไม่พอจริง และไม่มีแนวคิดเฉไฉไปเป็นอย่างอื่นน่าถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการ จะออกมาในรูปไหนก็แล้วแต่

จะเห็นว่า รัฐบาลชี้แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่า อยู่ในอัตราที่สูงเป็น 10 %กว่าซึ่งเราบอกว่าดีที่สุดโลก อันนี้ เรามองได้ แต่เรืองปูนที่ต้องขยายตัวตามอยู่แล้ว เราไม่มองไม่รู้ผู้เกี่ยวข้องแต่ละส่วนรวมหัวอะไรไว้ เนืองจากการค้าปูนบ้านเราก็กึ่งผูกขาดอยู่แล้ว ราคาปูนที่ออกมาจะเท่ากัน จะต่างกันเฉพาะค่าขนส่ง

ปัญหาก็มีอีกว่า โรงปูนในต่างประเทศบางแห่งเขาไม่ต้องการให้ติดต่อลักษณะจีทูจี เพราะปูนเป็นสินค้าที่มีการแข่งขัน เป็น FREE MARKET ก็ต้องดูด้วยว่าสมเหตุสมผลหรือไม่

พอให้อคส.ติดต่อซึ่งไม่ใช่ผู้ค้าปูนโดยตรง ก็มีปัญหาการสั่งซื้อดังที่พูดมาแล้ว อีกประการหนึ่งองค์กรแบบนี้ (อคส.)เขามักจะคิดถึงประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร ได้กำไรเท่าไร

เรื่องที่ไม่ชอบมาพากล เราไม่ไปพูดถึงไม่ว่าจะเป็นส่วนใด เพราะหากเรามองในแง่ร้ายไว้ก่อนแล้วจะทำให้แก้ปัญหาไม่ได้

ทีนี้ การนำเข้าเมื่อราคาสูงกว่าราคาควบคุมก็ต้องมีการจ่ายเงินชดเชย ถ้าตรงไปตรงมาแล้วคิดว่าผู้สั่งซื้อเข้ามาควรจะเป็นผู้รับเงินชดเชยส่วนนี้ ถ้ามีหลักฐานว่าราคาสั่งเกินราคาในประเทศปัญหาตรงนี้อยู่ที่ว่าจะเชื่อได้แค่ไหน จะเป็นลักษณะ OVER VALUE หรือไม่ ราคาจากแอลซีบวกค่าขนส่งเมื่อเทียบกับในประเทศเป็นอย่างไง

หลายคนบอกว่าปูนในตลาดต่างประเทศแค่ตันละ 1,000 เหรียญ มาขายในบ้านเราก็ไม่ควรเกิน 1,500 เหรียญ ซึ่งเป็นไปได้ แต่เนื่องจากตลาดกำลังขาดแคลน ก็เลยปรับสูงขึ้น

ขณะนี้ มีไม่กี่บริษัทที่สั่งซื้อเข้าได้สำเร็จและมีบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ด้วยซึ่งถือว่าเป็นการฉวยโอกาสหรือเขาอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรงงานปูน แต่ธุรกิจเดิมของเขาไม่เอื้อในการค้าปูนเลยตั้งบริษัทใหม่ หรืออาจจะมีการตกลงกันว่า ตั้งแล้วจะต้องขายผ่านที่นี่รายเดียว และบริษัทก็ต้องมีผู้ถือหุ้นหลายส่วน ตรงนี้ไม่ทราบว่าจะมีใครเกี่ยวข้องบ้าง ขณะที่ภาวะปูนขาดจะดำรงอยู่อีกเป็นปี ถ้าเป็นอย่างนี้ ได้ประโยชน์มหาศาลทีเดียว

สถานการณ์เฉพาะหน้าวิกฤติอย่างนี้ ผู้บริโภคก็ต้องรับสภาพนี้ไปก่อน เนื่องจากการเจรจาซื้อปูนจากนอก ก็ต้องใช้เวลาเป็นเดือน เราเดือดร้อนจริงแต่จะให้แก้แบบทันใจไม่ได้แน่ และราคาควบคุมก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน ปูนที่เราซื้อยังไงก็คงราคาสูงกว่านี้ แต่ขอให้มีเหตุผลคุยกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us