Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2551
Kibo part 2: 1J (STS-124) Assembly Mission             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





เมื่อ 23 ปีที่แล้วอาจจะเป็นเพียงความฝัน แต่นับจากนี้ Kibo จะกลายเป็น "ความหวัง" ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่ความหวังของคนญี่ปุ่นเท่านั้น หากเป็นความหวังสำหรับมนุษยชาติทั้งมวลที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดในเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังจะให้คำตอบว่ามนุษย์สามารถดำรงชีวิตในอวกาศได้หรือไม่ และหากคำตอบคือ "ได้" แล้วเราจะดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศได้อย่างไร ต่อเนื่องจาก 1J/A (STS-123) Assembly Mission คราวที่แล้วซึ่งเสร็จสิ้นภารกิจการติดตั้ง ELM-PS เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา* Mission นี้ใช้อักษรย่อ 1J บ่งบอกถึง Assembly Mission ครั้งที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Module ของญี่ปุ่นโดยตรงในการลำเลียงส่วนสำคัญที่ถือว่าเป็นหัวใจของ Kibo ขึ้นไปประกอบยังสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station : ISS) และมีอีกชื่อหนึ่งว่า STS-124 (Space Transportation System-124) ซึ่งเป็น Mission ครั้งที่ 26 ในโครงการ ISS

เช้าตรู่เวลา 6.02 ของวันที่ 2 มิถุนายน 2008 ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่นกระสวยอวกาศ Discovery ได้ออกเดินทางจากฐานปล่อยที่ Kennedy Space Center (KSC) เพื่อขนส่ง Pressurized Module (PM) และ Remote Mani-pulator System (RMS) พร้อมด้วยลูกเรือ 7 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีนักบินอวกาศ Akihiko Hoshide จาก JAXA ร่วมเดินทางไปด้วย Akihiko Hoshide เกิดเมื่อปี 1968 ที่โตเกียว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา Mechanical Engineering จาก Keio University, Japan และปริญญาโทสาขา Aerospace Engineering จาก University of Houston, USA เป็นนักบินอวกาศญี่ปุ่นคนที่ 6 ที่เดินทางสู่อวกาศครั้งนี้เป็นครั้งแรกในฐานะ Mission Specialist รับผิดชอบการติดตั้ง PM และ RMS ซึ่ง Hoshide จะเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้เข้าไปใน Kibo ห้องทดลองอวกาศแห่งนี้ หลังจากที่กระสวยอวกาศ Discovery เข้าสู่วงโคจรเรียบร้อยแล้วในวันที่ 4 ของ Mission ปฏิบัติการ Space Walk ครั้งที่ 1 ได้เริ่มต้นขึ้นโดยใช้ Robot Arm ของ ISS ช่วยขนย้าย PM จากกระสวยอวกาศเพื่อต่อเข้ากับ port side ทางด้านซ้ายของ Harmony Module (Node 2) ของสหรัฐอเมริกา

ในวันถัดไปนักบินอวกาศ Hoshide ได้ทำการ activate PM สำหรับเตรียมความพร้อมของระบบจากนั้นได้เคลื่อนย้าย ELM (Experiment Logistic Module) จากส่วนบนของ Harmony Module ซึ่งติดตั้งไว้ตั้งแต่ Mission ที่แล้วมาประกอบในตำแหน่งที่ถูกต้องคืออยู่ที่ส่วนบนของ PM โดยปฏิบัติการ Space Walk ครั้งที่ 2 ในวันที่ 6 ของ Mission (ดูภาพประกอบ)

ขั้นต่อไปนั้นอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ในการทดลองที่เก็บไว้ใน ELM ได้ถูก ลำเลียงสู่ PM รวมทั้งติดตั้งระบบสื่อสารที่สามารถติดต่อกับศูนย์ควบคุมที่ Tsukuba Space Center ในญี่ปุ่นได้สำเร็จเป็นครั้งแรก และในวันที่ 8 ของ Mission ได้ทดลองสื่อสารจาก Kibo ไปยัง Mirai Kan หรือ National Museum of Emerging Science and Innovation ที่โอไดบะในกรุงโตเกียวเพื่อทักทายและพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

หนึ่งวันหลังจากปฏิบัติการ Space Walk ครั้งที่ 3 เสร็จสิ้นลง RMS ซึ่งเป็น Robot Arm ของ Kibo ถูกประกอบเข้ากับ PM เพื่ออำนวยความสะดวกในงานวิจัยด้านอวกาศ ซึ่งจะทำการทดลองภายนอก Kibo

PM หรือ Pressurized Module คือ ห้องทดลองทรงกระบอกยาว 11.2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.4 เมตร น้ำหนัก 15,400 กิโลกรัม ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่กระสวยอวกาศจะสามารถขนส่ง ชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักกว่า 15 ตัน ขึ้นไปในอวกาศได้หากปราศจากระบบ H-II Transfer Vehicle ซึ่งเป็นระบบขนส่งที่ JAXA ได้คิดค้นขึ้นเพื่อช่วยให้กระสวยอวกาศมีศักยภาพในการลำเลียงสัมภาระน้ำหนักมากขึ้นไปประกอบยัง ISS ได้

ความโดดเด่นภายใน PM อยู่ที่การรักษาสัดส่วนของปริมาณก๊าซที่ใช้หายใจและปรับความดันให้เหมือนกับสภาพแวดล้อมบนพื้นโลก นอกจากนี้ยังควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่พอเหมาะซึ่งจะช่วยให้นักบินอวกาศสามารถสวมเสื้อผ้าตามปกติและทำการทดลองภายใต้สภาพไร้น้ำหนักได้

อุปกรณ์ที่ติดตั้งภายใน Kibo มี 2 ส่วน ได้แก่ System Device ที่จำเป็นสำหรับควบคุมการทำงานของ Kibo ทั้งระบบเช่นการจ่ายพลังงาน อุปกรณ์สื่อสาร การควบคุมอากาศและความดัน เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งคือ Experiment Device ที่ประกอบด้วย Experiment Rack จำนวน 10 แห่งสำหรับใช้ในการทดลองสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาขาวัสดุศาสตร์

ในขณะนี้ Kibo พร้อมที่จะเริ่มการทดลองบางส่วนแล้ว ซึ่งในช่วงแรกระหว่างปี 2008-2010 มีหัวข้อวิจัยกว่า 100 เรื่องที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดสำหรับอนาคตที่คัดเลือกมาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยชั้นนำทั่วญี่ปุ่น

ตัวอย่างโครงการวิจัยที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป เช่น งานวิจัยของศาสตราจารย์ Shunichi Takeda จากภาควิชา Radiation Genetics คณะแพทยศาสตร์ Kyoto University ในหัวข้อ "การวิเคราะห์ระบบไหลเวียนโลหิตเมื่ออยู่ในอวกาศ" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอุบัติการของโรคที่เกิดจากการอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเวลานานๆ เช่น การเสื่อมสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ โรคของระบบหลอดเลือดและหัวใจ เป็นต้น ในระยะแรกจะทำการวิเคราะห์ระบบไหลเวียนโลหิตของปลา Medaka สายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นพิเศษให้ทนกับสภาวะในอวกาศได้ซึ่งสามารถติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ผนังหลอดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดได้โดยง่ายเนื่องจากปลา Medaka มีช่วงอายุสั้นซึ่งโตเต็มวัยภายในเวลา 5 วันและมีลำตัวใส นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยน แปลงความดันโลหิตของปลาได้ โดยการเปลี่ยนแปลงความดันของน้ำ

อีกตัวอย่างงานวิจัยที่น่าจะเป็นประโยชน์ในอนาคตหากสามารถปลูกพืชในอวกาศได้โดยหัวข้อวิจัย "กลไกการต้านแรงโน้มถ่วงในพืช" ของศาสตราจารย์ Takayuki Hoson บัณฑิตวิทยาลัยคณะวิทยาศาสตร์ Osaka City University การอยู่อาศัยในอวกาศนั้นอาหารและอากาศเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพึ่งพาจากพืช ซึ่งจากข้อมูลก่อนหน้านี้พบว่าต้นข้าวที่อยู่ในกระสวยอวกาศมีแนวโน้มที่มีผนังเซลล์บางกว่าต้นข้าวบนพื้นโลกจึงทำให้ลำต้นผอมยาวซึ่งมีผลต่อการออกรวงของข้าว

กลไกหนึ่งที่อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับปริมาณ Auxin ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาอย่างผิดปกติเมื่ออยู่ในอวกาศ ผลจากการวิจัยโดยละเอียดจะทำให้ทราบถึงกลไกที่แท้จริงของการต้านแรงโน้มถ่วงในพืชที่จะช่วยพัฒนาไปสู่การปลูกพืชในอวกาศต่อไป

เมื่อชิ้นส่วนสุดท้ายที่จะส่งขึ้นไปในเดือนเมษายนปีหน้าถูกประกอบเข้าเป็น Kibo สมบูรณ์แบบแล้วการประมวลผลวิจัยที่ได้จากการทดลองในสหสาขาอาจนำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ก็เป็นได้

หมายเหตุ
* อ่านเพิ่มเติม : นิตยสารผู้จัดการ คอลัมน์ Japan Walker ฉบับมิถุนายน 2551   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us