Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
โรเบิร์ต เดวิส มือรุกตลาด TRADE FINANCE             
 


   
search resources

ธนาคารซีเคียวริตี้ แปซิฟิค เอเชี่ยน
โรเบิร์ต เดวิส
Banking




หนุ่มใหญ่วัยต้น 40 ปีรูปร่างสันทัดถ้าเทียบกับโครงร่างของชาวเอเชียทั่วไป นัยน์ตาสีฟ้าบ่งบอกได้ชัดเจนว่าเขาไม่ใช่คนเอเชีย เพียงแต่ว่า 1 ใน 3เสี้ยวเวลาของชีวิต เขาใช้มันย่ำท่องไปในตลาดการเงินแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นจาร์กาตาร์ มะนิลา สิงคโปร์ และปัจจุบันคือกรุงเทพ ฯ

เดวิสเขาเป็นชาวอเมริกันเขาถือกำเนิดที่เมืองซีแอตเติลสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐ ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์และการเงินระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเมื่อปี 2514 และปริญญาโทจาก FLETCHER SCHOOL OF LAW & DIPLOMACY ในปี 2516

ชีวิตการทำงานภายหลังจากจบการศึกษาของเขาคลุกคลีอยู่กับงานธนาคารโดยตลอด และเป็นงานธนาคารระหว่างประเทศ ในยุโรปและเอเชีย ทั้งสิ้น เดวิสกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมชอบทำงานในต่างประเทศมาก ผมทำงานในต่างประเทศมีความน่าดึงดูดใจอย่างหนึ่ง ไม่เฉพาะแต่ในตำแหน่งที่ผมนั่งอยู่นี่เท่านั้นแต่รวมถึงในบริษัทใหญ่อื่น ๆ ด้วย คือคุณจะมีอำนาจของคุณเองในขอบเขตหนึ่ง ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโส คุณสามารถทำราวกับคุณเป็นเจ้าของกิจการเอง วางแผน จ้างงาน ดำเนินตามแผน อาจจะสำเร็จหรือไม่ก็ตามแต่ มันเป็นโอกาสของคุณซึ่งโอกาสเหล่านี้ไม่มีทางที่เพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกับคุณที่ทำงานที่สำนักงานใหญ่ในสหรัฐจะมีได้"

ก่อนที่เดวิสจะมารับตำแหน่งรองประธานกรรมการอาวุโสและผู้จัดการธนาคาร ซีเคียวริตี้ แปซิฟิค เอเชี่ยน จำกัด (SPAB) เมื่อกันยายน 2532 นั้นเขาเคยเป็นผู้แทนของธนาคาร WELLS FARGO ที่จาร์กาตาร์ , อินโดนีเซีย (2523-2526) เป้น TRADE FINANCE MANAGER. ที่สิงคโปร์ (2526-2527) ครั้นปี 2528 ย้ายไปทำงานกับธนาคาร RAINIER ที่มะนิลา ปี 2530 เป็นผู้จัดการภูมิภาคที่สิงคโปร์

เดวิสอยู่สิงคโปร์ได้ไม่นานนัก ธนาคารซีเคียวริตี้ แปซิฟิค คอร์ปอเรชั่น (SPC) ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดที่เป็นอันดับ 5 ของสหรัฐ ด้วยขนาดของสินทรัพย์มากกว่า 85 พันล้านดอลลาร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอสแองเจลิส , แคลิฟอร์เนีย ก็ซื้อธนาคาร RAINIER และธนาคารสาขาในต่างประเทศของ RAINIER ได้ทั้งหมด

ปลายปี 2530 เดวิสทำหน้าที่รับผิดชอบการรวมสาขาของธนาคาร RAINIER เข้าไว้กับ SPC ปี 2531 เขาเดินทางไปทำหน้าที่เดียวกันนี้ที่มะนิลา และประจำอยู่ที่นั่นจนกันยายน 2532 จึงเดินทางมารับตำแหน่งที่กรุงเทพ ฯ

เดวิสเล่าประสบการณ์ธนาคารในมะนิลาให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "การทำงานธนาคารที่มะนิลากับที่กรุงเทพ ฯแตกต่างกันมาก เพราะฟิลิปปินส์มีปัญหาเรื่องหนี้มาก เป็น LOANDEBT COUNTRY สาขาที่มะนิลาถูกจำกัดวงให้ทำธุรกิจแคบกว่าที่กรุงเทพ ฯ มีเพียงการปล่อยกู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์ ทำเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ การขายหนี้ที่มีปัญหา ทำ SWAP หนี้ที่มีปัญหาเหล่านี้ไปเป็นสินทรัพย์แบบอื่น ๆ และอำนวยความสะดวกในการทำข้อตกลงทางการค้า "

ส่วนกรุงเทพ ฯ นั้น ใบอนุญาตการทำธนาคารที่นี่เปิดโอกาสให้ทำธุรกิจได้กว้างกว่าที่มะนิลามาก เดวิสเล่าว่า "เราสามารถปล่อยกู้เป็นสกุลเงินบาทได้ รับฝากเงินได้มีข้อจำกัดการทำธุรกิจน้อยมากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจการเมืองก็ดีกว่ามาก มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมาหลายปี มีโอกาสทางเศรษฐกิจมากซึ่งหมายความว่าโอกาสในการปล่อยกู้ก็สูงมากด้วยสาขาที่นี่เน้นในเรื่องของการสร้างความเติบโต การสร้างธุรกิจใหม่ ๆ แต่การดำเนินงานที่นี่ก็ยังเป็นเรื่องของการเงินเพื่อการค้า (TRADE FINANCE)"

ทั้งนี้ เป้าหมายของ SPAB บรรลุผลเร็วทันตาเห็นโดยเมื่อสิ้นปี 2532 มียอดสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นเป็น 1,906.76 ล้านบาทเทียบกับเมื่อสิ้นปี 2531 ที่มีสินทรัพย์เพียง 908.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 110 % ส่วนในด้านของเงินฝากก็ระดมเพิ่มขึ้นเป็น 1,210.86 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 226.6 % ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในบรรดาสาขาของธนาคารต่างประเทศในไทยรวม 14 แห่ง (ดูตารางตัวเลขทางการเงินของ SPAB)

เดวิสเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "จริง ๆ แล้วการเติบโตของธนาคารมาจากการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือในช่วงปลายปี 2532 เราได้สร้างบริการขึ้นมาอันหนึ่งเรียกว่า SECURITY CLEARING & CUSTODY SERVICE BUSINESS คือบริการที่เราเสนอให้กับธนาคารต่างประเทศและธนาคารในประเทศหลายแห่งมันไม่ใช่งานง่าย ๆ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานเอกสารจำนวนมากการติดต่อสื่อสารตลอดเวลาเราทำบริการนี้ในฐานะ THAILAND CUSTODAIN CLEARIG AGENT สำหรับบริษัทโบรกเกอร์ต่างชาติชั้นนำจำนวนมากที่ต้องการซื้อและขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย ธุรกิจนี้เพิ่มยอดเงินฝากให้ธนาคารมาก"

นอกจากนี้บริการที่เพิ่มพูนรายได้ให้ SPAB อีกอันหนึ่งคือบริการหลักด้าน TRADE FINANCE และการทำ CORPORATE ACCOUNT RELATIONSHIP ส่วนธุรกิจที่ผ่านมาทาง HOARE GOVETT INVESMENT RESEARCH LTD. เป็นธุรกิจที่ผ่านมาโดยทางอ้อม เมื่อมีกองทุนต่างประเทศโดยเฉพาะจากลอนดอนซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ HOARE GOVETT เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย กองทุนเหล่านี้ก็จะใช้บริการ COSTODIAN CLEARING AGENT ของ SPAB

แต่แม้ว่าบริการเหล่านี้จะสร้างรายได้ให้กับ SPAB พอควร ทว่ารายได้หลักก็ยังมาจากที่เกิดจากดอกเบี้ยคือ 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมดหรือคิดเป็น 67 % ส่วนรายได้ที่ไม่ได้มาจากดอกเบี้ยคือบรรดาค่าธรรมเนียมต่าง ๆ นั้นคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3

อย่างไรก็ดีธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ในแคลิฟอร์เนียรายนี้ยังจัดว่าเป็นธนาคารขนาดเล็กในประเทศไทย แม้จะมีอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดในปีที่ผ่านมา แต่อัตราความเร็วนี้ก็เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีให้หลังนี่เอง

SPC เพิ่งจะซื้อกิจการธนาคารกวางตุ้งได้ 100 % เมื่อปี 2527 ครั้นปี 2530 จึงเพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคาร ซีเคียวริตี้ แปซิฟิค เอเชี่ยน (SPAB) มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขนานใหญ่โดยการรวมสาขาทั้งที่เป็นธนาคารของกวางตุ้งเดิมและธนาคารซีเคียวริตี้ แปซิฟิค คอร์ป เข้าไว้ใต้การควบคุมดูแลของ SPAB และจะมีการพบปะแลกเปลี่ยนกันปีละ 2 ครั้ง

บรรดาสาขาของธนาคารที่อยู่ภายใต้การดูแลของ SPAB ไม่ใช่เฉพาะสาขาในย่านเอเชียเท่านั้น แต่ยังมีสาขาที่ลอสแองเจลิส ซานฟาน ฯ พอร์ตแลนด์ ซีแอตเติล และแวนคูเวอร์ โตรอนโต ในแคนาดารวมอยู่ด้วย (ดูตารางสาขาที่อยู่ในความดูแลของ SPAB )

โครงสร้างการบริหารของ SPAB มีลักษณะเฉพาะตัวเดวิสกล่าวว่า "เรามีโครงสร้างการบริหารที่พิเศษไม่เหมือนใคร โครงสร้างนี้อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่มีธุรกิจอยู่บนสองฟากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคหรือที่เรียกกันว่า PACIFIC RIM เป็นอย่างดี"

ข้อเด่นประการนี้ช่วยให้ SPAB ก้าวขึ้นมาเป็นธนาคารชั้นนำในย่านเอเชียได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะกลยุทธ์ที่เกาะติดกับบริการด้าน TRADE FINANCE ซึ่งอิงอยู่กับการค้าระหว่างประเทศในดินแดนชายฝั่งทะเลแปซิฟิค

เดวิสเล่าว่า "SPAB มี TRADE FINANCE CORDINATOR ที่ฮ่องกงซึ่งจะคอยดูงานด้านนี้ทั้งหมดในย่านแปซิฟิคริม เขาคอยจะดูว่ารายการทำ TRADE FINANCE ระหว่างสาขาแต่ละแห่งแต่ละประเภทดำเนินไปด้วยความราบรื่นดีหรือไม่คอยดูเรื่องการค้าภายในระหว่างประเทศเอเชียด้วยกัน"

เดวิสชี้จุดแข็งของ SPAB ในการที่จะแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศว่า "เราให้บริการเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศ บวกกับเครือข่ายบนแปซิฟิค ริม ซึ่งไม่มีธนาคารแห่งใดที่มีเครือข่ายนี้เหมือนเรา ขณะที่ธนาคารไทยอาจต้องติดต่อผ่าน CORESPONDENT BANK แต่เราสามารถติดต่อกับสาขาของเราได้โดยตรง"

กลยุทธ์ต่าง ๆ ถูกระดมมาใช้อย่างเต็มที่เพื่อการขยายตัวให้เติบใหญ่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อได้เปรียบของความเป็นยักษ์ใหญ่ในบริการ TRADE FINANCE แถบแปซิฟิค ริม การบริการด้าน SECURITY CLEARING & CUSTUDY การจัดหาเงินกู้สกุลดอลลาร์ในตลาด OFF-SHORE ฯลฯ

เดวิสกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงเหตุผลบางประการที่เขานถูกส่งมาดูแลสาขาที่กรุงเทพ ฯ ว่า "นอกเหนือจากเรื่องประสบการณ์ในการบริหารงานในภูมิภาคนี้มาเป็นเวลายาวนานแล้วผมคิดว่าเป็นเรื่องธุรกิจ TRADE FINANCE ด้วย ผมดูแลด้านนี้มาตลอด และธุรกิจนี้ก็เป็นแกนหลักของการขยายงานที่นี่ด้วย อีกอย่างหนึ่งคือการคาดหวังว่าผมจะสามารถทำงานในขอบข่ายงานอื่น ๆ ของแบงก์ได้ด้วย เช่น เรื่อง MERCHANT BANKING เป็นต้น "

ภาระหนักอึ้งของเดวิสวันนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะบรรลุได้โดยง่าย เขายอมรับว่าการแข่งขันในธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีสูงมาก เขาให้ทัศนะว่าตลาดทุนในเมืองไทยพัฒนาเติบโตยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ การเติบโตอย่างสลับซับซ้อนมากเท่าใดของตลาดทุนไทย ก็ยิ่งจะต้องมีการปล่อยให้เศรษฐกิจดำเนินไปอย่างมีเสรีมากเท่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องของธนาคารและสถาบันการเงิน ควรจะให้มีการไหลเข้า-ออกของเงินทุนได้สะดวกมากขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

วันนี้ของ SPAB และเดวิสกำลังเริ่มต้นธุรกิจในไทยได้อย่างสวยงาม แต่การแข่งขันในตลาดเงินที่รุนแรงขึ้นทุกวันประกอบกับคู่แข่งที่อยู่ในแถวหน้าของตลาดเงินในภูมิภาคนี้มาก่อนคือ STANDARD CHARTER BANK , DEUTSCHE BANK ก็มีเครือข่ายกว้างขวางไม่แพ้ SPAB ดังนั้นก้าวกระโดดในวันพรุ่งของ SPAB จะโจนทะยานเหมือนในปีที่ผ่านมาหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องคอยดูแลต่อไป !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us