Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2551
Venture Capital Fund แสงสว่างของ SMEs ที่ปลายอุโมงค์?             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
โฮมเพจ บลจ. วรรณ

   
search resources

วรรณ, บลจ.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
SMEs
ไทยฟู้ด แอนด์ อินโนเวชั่น วีซีเอฟ, บจก.




หากประเมินความสำเร็จในโครงการกองทุนร่วมทุนของกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังก็ยังถือว่าสอบไม่ผ่าน เมื่อเทียบกับระยะเวลา 9 ปีผ่านไปที่สนับสนุนได้เพียงกว่า 100 บริษัท จากเอสเอ็มอีในเมืองไทย ขนาดกลางมีประมาณ 9,296 ราย และขนาดย่อม 517,375 ราย

ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลต้องการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เป็นฐานรากธุรกิจที่แข็งแกร่งให้กับประเทศ

คณะรัฐมนตรีได้ผลักดันอนุมัติโครงการ กองทุนร่วมทุนให้เกิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกอนุมัติ เมื่อ 10 สิงหาคม 2542 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนวรรณ บริษัทเอกชนเป็นผู้บริหาร ให้เงินทุนสนับสนุนจำนวน 1,000 ล้านบาท และกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังดูแลรับผิดชอบร่วมกัน

หลังจากนั้น 4 ปี คณะรัฐมนตรีอนุมัติอีกครั้งเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 และให้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในฐานะองค์กรอิสระ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ควบคุมดูแล และมี ก.ล.ต.เข้ามาดูแล เงื่อนไขรายละเอียดของการลงทุนทั้งสองหน่วยงานอนุมัติร่วมทุนบริษัทไปแล้ว 184 ราย กองทุนวรรณอนุมัติ 79 ราย โดยใช้ระยะเวลา 8 ปี ในขณะที่ สสว.อนุมัติไป 105 ราย ในระยะเวลา 4 ปี แต่เกือบครึ่งหนึ่งเป็นการร่วมทุนกับธุรกิจที่ประสบภัยสึนามิ

เหตุผลที่ทำให้โครงการกองทุนร่วมทุน ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เกิดจากปัญหาทั้ง 2 ด้าน ในด้านแรก เกิดจากรัฐบาลโดยตรง ที่สร้างกำแพงอุปสรรคตั้งแต่เริ่มต้น เรื่องภาษีที่จัดเก็บธุรกิจนิติบุคคล 30 เปอร์เซ็นต์ หรือหากต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีต้องลงทุนอย่างน้อย 7 ปี

ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติวิสาหกิจ ขนาดกลางขนาดย่อม ที่กำหนดสินทรัพย์ถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไว้เพียง 200 ล้านบาท ซึ่งมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้ลงทุนเป็นไปค่อนข้างลำบาก เพราะสถานการณ์ในปัจจุบันต้นทุนทุกอย่างปรับตัวสูงขึ้นและสินทรัพย์ที่กำหนดนั้นเป็นเงื่อนไขเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งปัญหาภาษีและกฎหมายยังไม่ได้รับการแก้ไขมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่ากรมสรรพากรที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีจะอยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม ในขณะที่กระทรวงแห่งนี้ก็เป็นหน่วยงานหลักที่ร่วมผลักดันโครงการกองทุนร่วมทุนมาตั้งแต่ต้นร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม

อีกด้านหนึ่งที่ทำให้โครงการกองทุนร่วมทุนไม่มีการพัฒนาไปได้เท่าที่ควร คือฝั่งของผู้ประกอบการที่ส่วนใหญ่ธุรกิจที่อยู่ระดับขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจของครอบครัวที่จะไม่เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้าไปถือหุ้น ด้วยความที่เป็นธุรกิจครอบครัวจึงทำให้ระบบการจัดการภายในบริษัทไม่มีระบบมาตรฐานใดๆ โดยเฉพาะระบบบัญชี จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทั้ง บลจ.วรรณ และ สสว.ใช้เวลาในการพิจารณาร่วมทุนบางบริษัทค่อนข้างนาน โดยเฉพาะ สสว.บางบริษัทใช้เวลาเป็นปี

นอกเหนือจากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ฝั่ง รัฐบาล และฝั่งของผู้ประกอบการแล้ว ในรายละเอียดหลังจากเข้าไปร่วมทุน วิธีการดำเนินงาน เป็นส่วนหนึ่งที่มีการมองข้ามไป รูปแบบการทำงานที่เป็นระบบ Passive ในฝั่งของผู้ร่วม ทุนรายใหม่ อย่างเช่นรัฐ หรือเอกชนจะปล่อย ให้ผู้บริหารดำเนินงานเอง โดยเข้าไปมีส่วนเป็นที่ปรึกษาบ้าง ในความเป็นจริงแล้ว ระบบบัญชีเป็นเรื่องสำคัญ เป็นหัวใจของการดำเนินธุรกิจที่ผู้ลงทุนรายใหม่ต้องเข้าไปร่วมดูแลอย่างใกล้ชิด

หน้าที่หลักของ สสว. และ บลจ.วรรณ จึงมีบทบาท "ใส่เงิน" เข้าไปเท่านั้น!!!

บทบาทของ สสว.ที่ทำงานในรูปแบบกึ่งรัฐและกึ่งเอกชน ที่มีวิธีการทำงานเป็นเอกชน แต่นโยบายต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล เป็นปัญหาหนึ่งด้วยเช่นกันที่ทำให้การตัดสินใจ ล่าช้า ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีประสบการณ์โครงการกองทุนร่วมทุนในยุคแรกหรือกว่า 20 ปีที่ผ่านมา และเคยร่วมเป็นคณะกรรมการ สสว.ให้มุมมอง เกี่ยวกับโครงการกองทุนร่วมทุนในส่วนของภาครัฐว่า รัฐต้องกำหนดยุทธศาสตร์ชัดเจนจะสนับสนุนกลุ่มธุรกิจประเภทใด นโยบายลดภาษี และลดอุปสรรคของกฎหมาย รวมไปถึงเอกชนต้องมีบทบาทอย่างไร

การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีเพียงอย่าง เดียวไม่ได้ช่วยให้ภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศมีการขยายตัวมากนัก เพราะขนาดของ ธุรกิจลงทุนไม่สูง เป็นเพียงหลักล้าน รัฐควรจะ สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ด้วย

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โครงการกองทุน ร่วมทุนภาพรวมของประเทศไทยไม่มีการพัฒนา ให้เติบโตอย่างเป็นรูปธรรม แม้ว่าในช่วงเริ่มต้น หรือกว่า 20 ปีที่ผ่านมา จะมีกองทุนต่างประเทศ เข้ามา หรือแม้แต่ภาคเอกชน ได้ร่วมก่อตั้ง บริษัทธนสถาปนา จำกัด ที่มีธนาคาร 6 แห่ง ร่วมก่อตั้ง อาทิ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารนครธน เป็นต้น แต่ดูเหมือนว่าโครงการกองทุนร่วมทุนที่มาจากต่างประเทศ และกองทุนที่เกิดจากภาค ธนาคารร่วมมือกัน กลับไม่ได้รับความสนใจ เพาะปัญหาหลักๆ เรื่องของภาษีและขนาดของ ธุรกิจที่เล็กเกินไป ในขณะที่การลงทุนร่วมทุนจะต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญ ทำหน้าที่ติดต่อธุรกิจ ของผู้ร่วมทุนรายใหม่กับเจ้าของธุรกิจ ต้องตรวจสอบฐานะทางการเงิน รวมไปถึงแนวโน้ม ในวันข้างหน้า

สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด โครงการกองทุนร่วมทุนเป็นโครงการที่มีความ "เสี่ยงสูง" สูงกว่าการเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นและการลงทุน ทั่วไป แต่ความท้าทายของโครงการประเภทนี้ หากธุรกิจประสบความสำเร็จก็จะได้รับผลตอบแทนกลับมาสูงเช่นเดียวกัน

หน้าที่ของเวนเจอร์ แคปิตอล ไม่ใช่เพียงแค่การใส่เงินเข้าไปเท่านั้น แต่จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญที่สามารถวิเคราะห์ธุรกิจ วิธีการขยายธุรกิจ ลดต้นทุน ย้ายการผลิต นำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาธุรกิจ และปรับปรุง ซึ่งบุคลากรเช่นนี้จำเป็นต่อธุรกิจ กองทุน ในประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากร หรือวาณิชธนากรเมื่อเทียบกับสิงคโปร์กับเกาหลี หากมองในภาพใหญ่แล้ว โครงการกองทุนร่วมทุนกับธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง ในประเทศไทยแทบจะไม่ได้เห็นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่กลับไปเติบโตในประเทศ ใกล้บ้านเรือนเคียง อย่างเช่น เวียดนาม สิงคโปร์ หรือเกาหลี

แต่ดูเหมือนว่าโครงการกองทุนร่วมทุนจะไปเกิดกับธุรกิจเอสเอ็มอีที่หน่วยงานรัฐและเอกชนบางแห่งพยายามผลักดันให้เกิด แต่มีเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา มีกองทุนร่วมทุนเกิดขึ้นใหม่อีก 1 กองทุน คือ บริษัทไทยฟู้ด แอนด์ อินโนเวชั่น วีซีเอฟ จำกัด เกิดจากความร่วมมือ 4 ฝ่าย ประกอบด้วย บริษัทเจแปน เอเชีย อินเวสเมนท์ จำกัด ถือหุ้น ใหญ่ 47.62 เปอร์เซ็นต์ ลงทุน 100 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และสำนักงานนวัตกรรม แห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือหุ้นรายละ 50 เปอร์เซ็นต์ และลงทุนรายละ 50 ล้านบาท บริษัทวีเน็ท แคป ปิทอล จำกัด ถือหุ้น 4.76 เปอร์เซ็นต์ ถือหุ้น 10 ล้านบาท หรือบริษัทแห่งนี้ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 210 ล้านบาท

บริษัทไทยฟู้ดจัดตั้งโดยอาศัยจังหวะของสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มองว่า "อาหาร" เป็นสิ่งที่ทั้งโลกต้องการพอๆ กับน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทุกวัน บริษัทจึงมีเป้าหมายที่จะเข้าไปร่วมทุนในธุรกิจเอสเอ็มอีและภายใน 6 เดือนจะเข้าไปร่วมทุนบริษัทที่ทำธุรกิจอาหารจำนวน 3 ราย

แม้ว่าธุรกิจอาหารจะเป็นธุรกิจอันดับต้นๆ ที่บริษัทแห่งนี้ให้ความสำคัญก็ตาม แต่ก็สนใจที่จะร่วมทุนกับธุรกิจนวัตกรรม และธุรกิจชีวภาพ การบริหารกองทุนบริษัทวีเน็ทจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุน ส่วนบริษัทเจแปน เอเชีย อินเวสเมนท์ จำกัด ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ด้าน สนช. สนับสนุนด้านการพัฒนานวัตกรรม ธนาคารเอสเอ็มอีสนับสนุนเงินทุน

ในเบื้องต้นบริษัทไทยฟู้ดใช้เงินลงทุน 210 ล้านบาท ส่วนเงื่อนไขการลงทุนรายละไม่เกิน 42 ล้านบาท

นอกเหนือจากการก่อตั้งบริษัทไทยฟู้ด เมื่อปีที่ผ่านมาได้มีการก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด บริษัทลูกของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทยในเครือธนาคารกสิกรไทย เป็นกองทุนที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2550 ที่ผ่านมา เพื่อเข้าร่วมทุนกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยจำนวนเงิน 200 ล้านบาท

แต่เป้าหมายหลักของ บลท.ข้าวกล้า เพื่อต้องการส่งเสริมลูกค้าของธนาคารให้มีการ ขยายธุรกิจในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี นอกเหนือ จากการให้สินเชื่อ แต่การร่วมทุนจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้าของธนาคารในปัจจุบัน รวมไปถึงลูกค้าใหม่ๆ ที่สนใจเข้าร่วม โครงการ และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทได้ร่วมถือหุ้นเป็นครั้งแรกกับ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทเนอร์วาน่าฟูดส์ แอนด์ คอมเมิช อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทฮิวแมนิก้า จำกัด และบริษัททูสปอต คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นวงเงินลงทุนรวม 43.97 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่ามิติใหม่ซึ่งเป็นแนวโน้มของ กองทุนร่วมทุน (VCF) ภาคเอกชนจะมีบทบาท มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกสิกรไทยที่ตั้งขึ้นเองโดยเอกชน 100 เปอร์เซ็นต์ หรือเอกชนร่วมทุนกับ ภาครัฐ เหมือนอย่างเช่นบริษัทไทยฟู้ด

อย่างไรก็ดี บลจ.วรรณที่รับหน้าที่บริหาร กองทุนให้กับกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม บทบาทหน้าที่จะจบลงในปี 2552 นี้ตามกำหนดระยะ 10 ปี ก็มีแผนที่จะเจรจากับสองหน่วยงาน เพื่อบริการกองทุนใหม่อยู่ระหว่างการเสนอรายละเอียดที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ส่วน สสว.นอกเหนือจากการบริการโครงการร่วมทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว หน่วยงาน กำลังเจรจากับตลาดหลักทรัพย์ MAI เพื่อจัดตั้งโครงการกองทุนร่วมทุนกองใหม่ขึ้นมา

แม้ว่าเวนเจอร์ แคปิตอล ฟันด์ ในเมืองไทยจะเติบโตอย่างเชื่องช้า และไม่ได้ตอบโจทย์เศรษฐกิจในระดับมหภาคของรัฐบาล แต่ก็ยังถือว่าเป็นโอกาสสำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการตัวช่วยในภาวะเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพงอย่างนี้ แม้จะรู้ดีว่าธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นกิจการขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงสูง และเห็นการเติบโตช้าที่สุดก็ตามที   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us