Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2551
โจทย์ที่เปลี่ยนไปของธุรกิจประกัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
Insurance
สถาบันไอบีเอ็มสร้างมูลค่าธุรกิจ




ในปี 2563 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ไอบีเอ็มมองว่า การซื้อประกันภัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผ่านอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว เหตุเพราะพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ชีวิตคลุกคลีกับเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น สถาบันไอบีเอ็มสร้างมูลค่าธุรกิจ (IBM Institute for Business Value : IBV) ได้สำรวจอนาคตของธุรกิจประกันผ่านมุมมองผู้บริหารทั่วโลก และพบว่าในอีก 12 ปีข้างหน้า ผู้ประกอบการธุรกิจประกันจะต้องพบเจอกับโจทย์ที่เปลี่ยนไป 4 เรื่องด้วยกัน

เรื่องแรก ผู้บริโภคในกลุ่มประชากรต่างๆ มีความรู้มากขึ้น ดังนั้นผู้ใช้บริการประกันจะเลือกรับบริการที่สะดวกรวดเร็ว และเป็นบริการตอบสนองความคาดหวังได้ชัดเจน เรื่องเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทให้บริการในรูปแบบเสมือนจริง หรือขายบริการผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เพราะเป็นการลงทุนต่ำ และจากการลงทุนที่ใช้เงินทุนไม่สูงมาก จะมีผู้เล่นรายใหม่โดยเฉพาะผู้บริการรายย่อย

ส่วนผลิตภัณฑ์จะมีความยืดหยุ่น ที่ต้องปรับให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละบุคคล และเรื่องสุดท้าย กฎระเบียบและการใช้มาตรฐาน อุตสาหกรรมขยายขอบเขตครอบคลุมทั่วโลก ผู้ใช้บริการประกันภัย ต้องการบริการที่มีคุณภาพ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคจะมีความเข้มแข็ง ขึ้นและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง การขายประกันภัยในอนาคต ผู้ซื้อประกันโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ จะหันมาซื้อประกันผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น เพราะในชีวิตประจำวันจะเกี่ยวข้องกับการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมที่ต้องการความรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องซื้อบริการโดยต้องเห็นหน้าตัวแทนจำหน่าย แนวโน้มการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เริ่มเกิดขึ้นในประเทศจีน อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย ก็จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ประกันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ก็จะสอดคล้องกับการใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต เหมือนเช่นประเทศออสเตรเลียที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและสะดวก

มร.พอล โรบินสัน ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจประกัน กลุ่มธุรกิจบริการด้านการเงินของไอบีเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปรียบเทียบต้นทุนขายประกันผ่านตัวแทนจำหน่ายคอลเซ็นเตอร์และอินเทอร์เน็ตว่า ผ่านตัวแทนใช้ต้นทุน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ผ่านคอลเซ็นเตอร์ ต้นทุน 30 เซ็นต์ ในขณะที่การใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตใช้ต้นทุน 10 เซ็นต์ ธุรกิจประกันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบันมีการใช้บริการไม่มาก ในประเทศไทยใช้บริการประกัน 3.26 เปอร์เซ็นต์ อินเดีย 3.17 เปอร์เซ็นต์ ฟิลิปปินส์ 1.4 เปอร์เซ็นต์ แต่แนวโน้มการเติบโตในภูมิภาคนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว งานวิจัยของไอบีเอ็มบ่งบอกว่าแนวโน้มรูปแบบการให้บริการ ผลิตภัณฑ์รวมของผู้ประกอบการธุรกิจประกันภัย ต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะคู่แข่งหน้าใหม่จะเข้ามาสร้างความปั่นป่วนให้กับธุรกิจประกันแบบเก่าที่ขายผ่านตัวแทน และดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียว

คู่แข่งหน้าใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้และเห็นชัดมากที่สุด คือ ธนาคารที่มีธุรกิจประกันภัยเป็นหนึ่งในบริการ หรือที่เรียกว่า Bancassurance หรือการเสนอขายประกันผ่านทางธนาคาร และเห็นว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยในปัจจุบัน

สิ่งที่ไอบีเอ็มแนะนำในงานวิจัยบอกว่า ผู้นำอุตสาหกรรมจะต้องทดลองรูปแบบการดำเนินงาน ระบบงาน ผลิตภัณฑ์ และงานลูกค้าสัมพันธ์ เพราะหากไม่มีการทดลองใช้งานจริงแล้ว บริษัทประกันจะติดอยู่ในวังวนเก่าๆ ของการปรับปรุงระบบงาน แทนที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ แนวโน้มการพลิกโฉมธุรกิจประกัน ที่พึ่งพาตัวแทนจำหน่ายเป็นหลักดูเหมือนว่า ในอนาคตจะมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยยังมีวัฒนธรรมที่ชอบพบหน้า และพูดคุยเพื่อถามสารทุกข์สุกดิบกันมากกว่าที่จะหันหน้าคุยกับอินเทอร์เน็ตบนหน้าจอสี่เหลี่ยมเพียงอย่างเดียว

หรือแม้แต่ไอบีเอ็มเองก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่า ตัวแทนจำหน่ายจะหายออกไปจากตลาดหรือเปล่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us