Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
วิชัย อริยะนันทกะ หัวหน้าสำนักงานอนุญาโตตุลาการคนแรก             
 


   
search resources

วิชัย อริยะนันทกะ




ในปีหนึ่ง ๆ มีคดีแพ่งที่ศาลจะต้องชี้ขาดเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงมีมกกว่า 40,000 คดี และในแต่ละปีมีคดีค้างพิจารณามากกว่า 10,000 คดี เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะขั้นตอนของกฎหมายในการพิจารณาคดีนั้นมีความซับซ้อนมากมาย เหตุต่อมาจำนวนผู้พิพากษามีไม่เพียงพอและสุดท้ายเกิดจากเจตนาประวิงคดีของคู่ความเอง

การพิจารณาคดีในศาลแพ่งแต่ละคดีตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนถึงขั้นอุทธรณ์ฎีกานั้นจะต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 ปีเป็นอย่างน้อยระยะเวลาขนาดนี้ ถือเป็นความสูญเสียอย่างประมาณค่าไม่ได้เลยสำหรับพ่อค้านักอุตสาหกรรมที่จะต้องทำงานแข่งกับดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นเป็นชั่วโมง

แต่ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ความรวดเร็วในการชี้ขาดข้อพิพาทใช้เวลาเพียง 2-3 เดือนก็สามารถทำได้ โดยเลือกวิธีอนุญาโตตุลาการ แต่บอกเสียก่อนว่ามันเหมาะสำหรับคนที่ไม่สนใจค้าความ มากกว่าเจตนาอันบริสุทธิที่จะมีการชี้ขาดข้อพิพาทด้วยความสุจริตใจเพื่อความยุติธรรมของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย

เมื่อต้นปีที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมโดยมติรัฐมนตรีได้จัดตั้งสำนักงานอนุญาโตตุลาการขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้มีการประนอมข้อพิพาททางแพ่งโดยวิธีอนุญาโตตุลาการกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสำนักงานนี้จะประกอบด้วยคณะกรรมการ 17 คน ทั้งจากภาครัฐบาลและเอกชน

ทางภาครัฐบาลนั้นประกอบด้วยปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานและกรรมการอื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนจากกรมบังคับคดี กรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ส่วนทางภาคเอกชนก็มาจากสภาหอการค้า สภาทนายความ สภาอุตสาหกรรม และสมาคมธนาคารไทยเป็นต้น

คณะกรรมการเหล่านี้ไม่ใช่ผู้ที่จะมาชี้ขาดข้อพิพาทหากแต่จะทำหน้าที่เพียงเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา (ADVISORY BOARD) ส่วนผู้ที่จะทำการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาท คืออดีตผู้พิพากษาอดีตพนักงานอัยการผู้ทรงคุณวุฒิทนายความผู้ทรงคุณวุฒิหรือผูเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ที่ตัวแทนแต่ละสถาบันส่งชื่อเข้ามาขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

ในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทคู่กณรีที่ส่งเรื่องให้สำนักงานอนุญาโตตุลาการจะเป็นผู้เลือกคณะอนุญาโตตุลาการด้วยตัวเองฝ่ายละไม่น้อยกว่า 3 คน ซึ่งก็เหมือนกับคู่กรณีมีสิทธิที่จะเลือกผู้พิพากษาเป็นของตนเองนั่นเอง แต่ถ้าหากคู่กรณีแต่ละฝ่ายไม่ชอบใจผู้พิพากษาที่อีกฝ่ายหนึ่งเลือกขึ้นมานั้น ก็สามารถจะคัดค้านขอให้มีการเลือกใหม่ได้จนกว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายยอมรับด้วยกัน

เมื่อเลือกคณะอนุญาโตตุลาการได้แล้วก็เริ่มพิจารณาคดีต่อไป ซึ่งจะแตกต่างจากการพิจารณาคดีในศาลโดยทั่วไปเพราะลักษณะและบรรยากาศในการพิจารณานั้นจะเหมือนกับการประชุม ทั้งนี้เพราะสำนักงานอนุญาโตตุลาการมีข้อบังคับเป็นของตนเองแบบ CONCILIATION ARBITRATION RULES โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมในสังกัดสำนักงานอนุญาโตตุลาการเป็นเลขานุการที่ประชุมให้

"ไม่มีการใส่เสื้อครุย ไม่มีการคอกพยาน ไม่มีการซักไซ้ไร่เรียงเพื่อแสดงคารมคมคายหรือเอาชนะ กระแนะกระแหนกัน แต่จะเป็นบรรยากาศที่ต่างก็หันหน้าเข้าหากันเพื่อหารข้อสรุปที่ดี และก็ไม่ห้ามที่จะแต่งทนายเข้าช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย" วิชัย อริยะนันทกะผู้อำนวยการสำนักงานอนุญาโตตุลาการคนแรกกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

วิชัย อริยะนันทกะได้รับมอบหมายให้ดูแลงานาทงด้านนี้โดยเฉพาะนับตั้งแต่มีพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการขึ้นมาเมื่อปี 2530 เพื่อหาวิธีการและส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้านักธุรกิจหันมาให้ความสนใจใช้วิธีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทให้มากขึ้น เขาจบปริญญาตรีกฎหมายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งสอนนักกฎหมายธุรกิจโดยเฉพาะเมื่อปี 2522

จบเนติบัญฑิตไทยในปีต่อมาก่อนที่จะเดินทางไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีทางกฎหมายที่อังกฤษ (ตามระเบียบการศึกษากฎหมายของอังกฤษนั้นคนที่จะเข้าไปต่อปริญญาโทในประเทศจะต้องเรียนปริญญษตรีเสียก่อน) เขาเรียนปริญญาโททางด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎที่ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการมากที่สุด ปัจจุบันเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวง ประจำฝ่ายวิชาการและสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการกระทรวงยุติธรรม

วิชัย อริยะนันทกะผู้พิพากษาประจำกระทรวงได้เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอนุญาโตตุลาการคนแรกกล่าวว่า กฎเกณฑ์และบรรยากาศในการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดจะใช้วิธีการของเอกชนมากที่สุด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากที่สุด แต่สามารถให้ความมั่นใจแก่คู่กรณีมากที่สุดในด้านความยุติธรรมและที่สำคัญจะต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วและเป็นความลับ รู้กันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้นซึ่งการพิจารณาคดีในศาลโดยทั่วไปจะต้องพิจารณาโดยเปิดเผย

"ขณะนี้สำนักงานอนุญาโตตุลาการพร้อมแล้วที่จะรับพิจารณาข้อพิพาท โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่ขึ้นทะเบียนไว้ก็มีมากพอสมควรแล้ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ขึ้นทะเบียนไว้นี้เราจัดแบ่งออกอย่างไม่เป็นทางการก็ประมาณ 12 สาขา เพื่อความสะดวกในการส่งให้คู่กรณีเลือกให้ใกล้กับสาขาที่เขาพิพาทกันมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อความเป็นธรรมจะได้ถูกพิจารณาโดยคนที่รู้เรื่องนั้น ๆ จริง ๆ " ผู้อำนวยการสำนักงานอนุญาโตตุลาการกล่าว

นอกจากความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแล้ว วิธีการอนุญาโตตุลาการยังเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าการนำคดีขึ้นสู่ศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดโดยทั่วไป กล่าวคือค่าธรรมเนียมขึ้นศาลแพ่งเรียกกับ 2.50 % แต่ไม่เกิน 200,000 บาท แม้ขณะนี้ทางสำนักงานอนุญาโตตุลาการยังไม่ได้กำหนดแน่นอน แต่ก็มีนโยบายว่าจะไม่มากกว่าค่าธรรมเนียมในคดีแพ่งทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจจะอยู่ในระดับประมาณครึ่งหนึ่งของศาลแพ่ง ฉะนั้นในค่าธรรมเนียมสูงสุดน่าจะอยู่ในระดับไม่เกิน 100,000 บาท

ฉะนั้นถ้าไม่ใช่เป็นคนที่ชอบค้าความกันในโรงในศาล วิธีการนี้เป็นวิธีที่น่าสนใจทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us