Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2551
Condominium company             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 

   
related stories

My home is in the sky
บ้านที่สูงขึ้นของเอพี

   
www resources

โฮมเพจ แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์

   
search resources

แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.
Real Estate




เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมา บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ฉลองอายุครบ 19 ปีเต็ม และย่างเข้าปีที่ 20 ของตน ด้วยการเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียม "ลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา" โครงการคอนโดมิเนียมล่าสุด ไม่เพียงใช้เวลาการก่อสร้างยาวนานถึง 4 ปี แต่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความยาวนานในการเป็นผู้คลุกคลีในธุรกิจคอนโดมิเนียมมาตลอด

แอล.พี.เอ็น. เป็นอีกหนึ่งบริษัทผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยที่ตัดสินใจชัดเจนว่าจะให้คำจำกัดความในการดำเนินธุรกิจของตนเองอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้สร้าง "คอนโดมิเนียม" เพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่เคยเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยได้แทบทุกแบบเมื่อแรกเริ่มธุรกิจ แต่หลังผ่านพ้นช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ หรือในช่วงสิบปีให้หลัง แอล.พี.เอ็น. หันหัวเรือมาสู่ธุรกิจคอนโดมิเนียมอย่างจริงจังนับแต่นั้นเป็นต้นมา อาคารสำนักงานกึ่งที่พักอาศัยบนถนนพระราม 4 หรืออาคาร Lumpini Tower ถือว่าโครงการคอนโดมิเนียมของ แอล.พี. เอ็น. ที่มีการสร้างขึ้นมา ภายใต้เงื่อนไขของการจับกลุ่มลูกค้า ระดับกลาง และเน้นใกล้แหล่งคมนาคมสะดวก

จนถึงปัจจุบันบริษัทมีโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวขายแล้วทั้งสิ้น 150 โครงการ และเปิดเผยว่าทุกโครงการ ที่เปิดตัวสามารถปิดการขายได้อย่างสมบูรณ์ แม้บางโครงการ อาจจะไม่ได้ใช้ระยะเวลาอันสั้นแต่ก็ไม่มีเหลือที่ว่างบนตึกสูงเหล่านั้น แต่ความเปลี่ยนแปลงของการเลือกที่พักอาศัยของคน ในกรุงเทพฯ มีเงื่อนไขของราคาน้ำมันเข้ามาใช้อ้างอิงในการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านในรูปแบบที่แตกต่างออกไป

ในยุคสิบปีแรกในการรุกตลาดคอนโดมิเนียม แอล.พี.เอ็น. ทำการสำรวจตลาดและพบว่ากลุ่มลูกค้าที่จะเลือกซื้อ คอนโดมิเนียมมีอายุตั้ง 30-40 ปี โดยมีรายได้ตั้งแต่ 3-5 หมื่นบาท แต่สองสามปีที่ผ่านมานี้ เมื่อ แอล.พี.เอ็น.กลับมาดูข้อมูล เปรียบเทียบอีกครั้ง ก็พบว่าไม่เพียงแต่ตัวเลขอายุโดยเฉลี่ยของผู้ที่เลือกซื้อคอนโดมิเนียมจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ผู้ซื้อยังมีพฤติกรรมของการเลือกซื้อที่เปลี่ยนไป หลายคนพูดถึงรถไฟฟ้ามากขึ้นพอๆ กับการเลือกคอนโดมิเนียมเป็นบ้านหลังที่สองที่ต้องเดินทางสะดวกกว่าบ้านหลังแรก หรือแม้แต่การเลือกบ้านในแหล่งทำเลที่ใกล้กับครอบครัวเดิม เพื่อให้สะดวกในการเดินทางกลับไปเยี่ยมเยือน เมื่อลูกหลานบางรายตัดสินใจแยกมาสร้าง ครอบครัวของตนเอง โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี. เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ลูกหม้อของแอล.พี.เอ็น. ซึ่งไต่เต้ามาจากการเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยของบริษัทบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ซีอีโอของบริษัทเคยให้วิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทในยุคปัจจุบันไว้อย่างชัดเจน

"ที่ไหนที่มีเทสโก้ โลตัส, คาร์ฟูร์หรือบิ๊กซี ต้องมี LPN ที่นั่น"

แม้วิสัยทัศน์ของผู้นำขององค์กรจะเป็นเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว พื้นที่ที่ติดกับเทสโก้ โลตัส, คาร์ฟูร์หรือบิ๊กซี สามารถอนุมานได้เบื้องต้นว่าเป็นพื้นที่หรือทำเลที่มีความหนาแน่นในการอยู่อาศัยประมาณหนึ่ง หรือแม้แต่หนาแน่นในแง่ของการใช้สอยพื้นที่ ในระยะหลัง แอล.พี.เอ็น. จึงหันมาจับจองพื้นที่ที่อยู่ห่างกับ facility สำคัญๆ หรือแม้แต่กับรถไฟฟ้าทั้งบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน ในระดับที่ลูกค้ายอมรับได้ และมองหาระบบขนส่งสาธารณะแบบอื่นที่เอื้อให้ผู้พักอาศัยเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงการจัดหาร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกบางส่วนเข้ามาจัดรวมอยู่ในพื้นที่ของโครงการคอนโดมิเนียม เสียเอง เพื่อลดภาระของการเดินทางของลูกบ้านในโครงการ ของตน

แต่สิ่งสำคัญที่สุดของกลยุทธ์ทั้งหมดของ แอล.พี.เอ็น. ก็เพราะต้องการลดราคาของคอนโดมิเนียมให้ต่ำลง เพื่อให้ผู้คนในระดับกลาง สามารถเข้าถึงโครงการคอนโดมิเนียมของตนได้ง่ายยิ่งขึ้น

ปีที่แล้วโครงการคอนโดมิเนียมทั้ง 6 โครงการของ แอล.พี.เอ็น. แทบจะไม่ติดกับรถไฟฟ้าเลยแม้แต่สักโครงการ ทั้งรามคำแหง-บดินเดชา รามอินทรา ประชาชื่น รัตนาธิเบศร์ ปิ่นเกล้า และแอล.พี.เอ็น.หลีกหนีข้อจำกัดด้วยการจัดบริการ ขนคนไปลงจุดสำคัญๆ เพื่อเดินทางเข้าเมือง ทั้งรถตู้ หรือรถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้แต่การขนคนไปยังสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ห่างออกไปเกิน 1 กิโลเมตร แอล.พี.เอ็น.มักจะเลือกสร้างคอนโดมิเนียมในพื้นที่ที่มีชุมชนอยู่แต่เดิมแล้ว และมีความหนาแน่นในการพักอาศัย โดยคำนวณว่า หลายคนมักมีที่อยู่อาศัยหรือบ้านในบริเวณเดิมที่ แอล.พี.เอ็น. ทำการสร้างคอนโดมิเนียม

หลายคนเลือกใช้บ้านเป็นร้านค้า และเลือกคอนโด มิเนียมที่เกิดขึ้นใหม่ใกล้บ้านเป็นบ้านหลังใหม่ ขณะที่ generation ใหม่ของครอบครัวที่เริ่มเติบโตขึ้น และต้องการ แยกครอบครัวแต่ไม่อยากห่างบ้านเกินรัศมี 5 กิโลเมตร และมักจะเลือกคอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้กับบ้านครอบครัวของตนเป็นอันดับต้นๆ โดยเรียกกลุ่มคนที่มีความต้องการเหล่านี้ว่า local demand

ข้อดีของการทำธุรกิจของคอนโดมิเนียมที่ แอล.พี. เอ็น.ทราบเป็นอย่างดีก็คือ ขอแค่เพียงมีพื้นที่ในจุดสำคัญเพียง 2 ไร่ขึ้นไป แอล.พี.เอ็น.ก็สามารถเปิดตัวโครงการก่อสร้างได้ทันที

แต่เป็นเพราะตลอดสิบปีที่ผ่านมา การเลือกใช้ผู้รับเหมาก่อสร้างเพียงรายเดียว เพื่อต้องการควบคุมต้นทุนในการก่อสร้าง ทำให้ แอล.พี.เอ็น.ต้องเติบโตไปพร้อมกับผู้รับเหมาและสามารถเปิดตัวโครงการได้เพียง 6-7 โครงการต่อปี เพราะเกินกำลังการก่อสร้างของผู้รับเหมา

อย่างไรก็ตาม ขนาดโครงการคอนโดมิเนียมของ แอล.พี.เอ็น. ในปัจจุบันก็แตกต่างจากหลายปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน แอล.พี.เอ็น.เคยต้องใช้พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ในการสร้างคอนโดมิเนียม ซึ่งมีมูลค่าโครงการประมาณ 200 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมูลค่าโครงการคอนโดมิเนียมของ แอล.พี.เอ็น.มักจะไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท และมีพื้นที่ใจกลางเมืองเพิ่มเป็น 4-5 ไร่ และชานเมืองอาจจะมากถึง 20 ไร่

ขณะที่โครงการซึ่งเปิดตัวในแต่ละปีก็มีจำนวนยูนิตในโครงการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โครงการลุมพินี เพลส หรือแม้แต่ลุมพินี คอนโดทาวน์ เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการก้าวข้ามข้อจำกัดของ แอล.พี.เอ็น.ในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่

"ผมว่าการทำงานบนพื้นฐานการวิจัยถือเป็นสิ่งสำคัญ อันดับต้นๆ ผมเองเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยของบริษัทมาก่อนด้วยซ้ำ การวิจัยพบว่าประเด็นใหญ่ๆ ที่คนจะเลือกซื้อบ้านมีสองอย่าง คือ พื้นที่ที่เขาต้องการ และราคาที่เขาซื้อมาเป็นเจ้าของได้หรือไม่ ต่อให้ใครจะพูดว่าเป็นไลฟ‡สไตล์ อย่างไรก็ตาม แต่ผมก็มักจะพบว่าทำเลและราคามักจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเลือกซื้อบ้านเสมอ" โอภาสบอก ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา แอล.พี.เอ็น.มีกำไรสุทธิ จากการดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่อง ในปี 2548 ทำกำไรได้ 588.38 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 765.23 ล้านบาท ในปี 2549 ส่วนปี 2550 แอล.พี.เอ็น.สามารถทำกำไรในการสร้างคอนโด มิเนียมแล้วออกขายได้ถึง 927.74 ล้านบาท สวนทางกับกระแสน้ำมันและการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หลายคนที่ออกมาวิพากษ์ว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว

เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม แอล.พี.เอ็น.ประกาศรายได้จาก การประกอบกิจการต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่าสามารถทำรายได้รวมในไตรมาสแรกของปี 1,399.29 ล้านบาท และทำกำไรเพียงไตรมาสเดียวอยู่ที่ 204.33 ล้านบาท นี่คือตัวเลขที่ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของบริษัทที่สร้างคอนโดมิเนียมขายเพียงอย่างเดียว แต่สะท้อนให้เห็นภาพด้วยว่า ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ กำลังเติบโตไปในทิศทางใดด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us