Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2551
บ้านที่สูงขึ้นของเอพี             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 

   
related stories

My home is in the sky
Condominium company

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

   
search resources

เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์, บมจ.
อนุพงษ์ อัศวโภคิน
Real Estate




บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอพี 1 ใน 8 ยักษ์ใหญ่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ของไทย ไม่เคยมีโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างอาคารชุดที่อยู่อาศัย หรือคอนโดมิเนียมเป็นของตนเองเลย จนกระทั่งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

โครงการคอนโดมิเนียมโครงการแรกของเอพีในวันที่บริษัทมีอายุครบ 12 ปี อยู่บนพื้นที่ขนาด 4.7 ไร่ เปิดขายทั้งสิ้น 580 ห้องใช้ชื่อ "บ้านกลางกรุง สยาม-ปทุมวัน" โดยเอพีใช้เงินลงทุนมากถึง 2,900 ล้านบาท อีกหนึ่งปีให้หลัง เอพีได้เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม ซับแบรนด์ที่ชื่อ Life เพิ่มอีก 4 โครงการ ก่อนจะพบว่าคอนโดมิเนียมจะไม่ใช่เพียงตัวทำเงินให้กับบริษัทเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่กำลังเข้ามาแทนที่สิบปีก่อนหน้ามีเพียงโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์เพียงสองอย่างเท่านั้น

ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีเศษๆ ที่ผ่านมา เอพีตัดสินใจ มองหาความถนัดและเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจใหม่และสรุปว่านับจากนี้เป็นต้นไปความเชี่ยว ชาญของเอพีจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หลักสองอย่างคือ ทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียม จากเดิมที่เป็นบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮาส์เหมือนก่อนหน้า แม้เอพีจะยังเปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยวอยู่บ้างก็ตามที

ในทันทีเอพีก็ตัดสินใจเร่งเครื่อง เดินหน้าเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม มากถึง 7 โครงการภายในปี 2550 และจนถึงสิ้นปีนี้เอพีจะเปิดโครงการตัวใหม่อีก 6 โครงการ เบ็ดเสร็จรวมระยะเวลาเพียง 4 ปี เอพีเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ เพียงอย่างเดียวมากถึง 21 โครงการ นี่คือความเปลี่ยนแปลงของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทย ซึ่งสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์ด้านที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ได้เป็นอย่างดี อย่างน้อยก็คือการหันหลังให้บ้านเดี่ยวและมุ่งสู่ถนนสายคอนโดมิเนียม

นี่คือความเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำเนินธุรกิจในยุคที่คอนโดมิเนียมกำลังบุกตลาดกรุงเทพฯ และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์กำลังมองว่าอยู่ในช่วงเวลาของการ "ขุดทอง" การเดินไปบน ถนนที่มุ่งหน้าไปทางเดียวกันคือ "คอนโดมิเนียม" คือสิ่งที่สะท้อนภาพสถานการณ์ของธุรกิจคอนโดมิเนียม ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

อนุพงศ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอพี นั่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของโต๊ะกระจกขนาด 6 คนนั่งก็แทบจะเต็มพื้นที่บนอาคารสำนักงานให้เช่าย่านอโศก

ชายวัยกลางคนผู้นี้รับช่วงต่อกิจการของครอบครัวซึ่งคร่ำหวอดในวงการอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่รุ่นแม่ (อ่าน "เพียงใจ หาญพานิชย์ ในวัย 80 ปี ที่น่าอิจฉา" ตีพิมพ์เมื่อกรกฎาคม 2546) แต่ยอมรับว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมาโฉมหน้า ของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์กำลังเปลี่ยนไป โดยเฉพาะ กับบริษัทที่เขากุมบังเหียนอยู่

เมื่อสองปีที่แล้วเอพีมีสัดส่วนการสร้างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ ซึ่งเหมารวมเรียกใหม่ว่า "บ้านแนวราบ" มากถึง 70% ขณะที่อีก 30% เป็นคอนโดมิเนียม แต่ปัจจุบัน สัดส่วนการสร้างบ้านแนวราบกับคอนโดมิเนียมของเอพีกลับเปลี่ยนเป็นครึ่งต่อครึ่ง

ขณะที่รายได้ที่รับรู้จากธุรกิจการสร้างคอนโดมิเนียมของบริษัทจากที่เคยมีเพียง 10% จากสัดส่วนรายได้ทั้งหมด กลับเพิ่มขึ้นเป็น 35% เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา และภายในปีหน้าสัดส่วนรายได้ของคอนโดมิเนียมจะเพิ่มขึ้นกว่า 40% จากผล ของการทยอยเปิดตัวโครงการอย่างหนักในช่วงสองปีมานี้ เอพีรู้ข้อมูลในการเลือกที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ อยู่เสมอ โดยเฉพาะข้อมูลที่ระบุว่า ปัจจุบันมีการจดทะเบียนที่อยู่อาศัยแล้วทั้งสิ้นประมาณ 3.6 ล้านยูนิตในกรุงเทพฯ จากจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น 8 ล้านราย (ตัวเลขจากสำนักวิจัยตลาดบางรายระบุว่ามีผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ 12-15 ล้านราย)

เมื่อผนวกกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ที่เคยระบุเอาไว้ว่า อัตราความต้องการบ้านหรือที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ อยู่ที่ประมาณ 1.2 แสนในทุกๆ ปี ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุตัวเลขคาดการณ์ความต้องการที่อยู่อาศัยของคนในกรุงเทพฯ ราว 9 หมื่นยูนิต ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลังระบุตัวเลข อยู่ราวๆ 1 แสนยูนิต ดังนั้น คนกรุงเทพฯ จึงต้องการบ้านใหม่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยแล้ว 1 แสนหลังต่อปีเลยทีเดียว

"สมัยก่อนผมเคยได้ยินว่าคนจะโก้ต้องมีรถขับ หลายคนยังไม่เลือกซื้อบ้านแต่เลือกซื้อรถมาขับก่อน แต่ทุกวันนี้ผมได้ยินมาว่าคนจะดูโก้ต้องซื้อคอนโดมิเนียมอยู่ในเมือง นี่คือเทรนด์ที่ผมเรียกว่าแฟชั่น" อนุพงศ์บอก

นี่คือสาเหตุการเดินบนเส้นทางของคอนโดมิเนียมของ เอพี นับตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว

แม้เขาจะออกตัวอย่างชัดเจนว่า ไม่สามารถคาดเดาความต้องการของตลาดได้เกิน 6 เดือน ซึ่งเป็นความเปลี่ยน แปลงอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในยุคที่คนมองว่าบ้านหรือที่อาศัยเหมือนกับแฟชั่น และเข้าใกล้สินค้า consumer product เข้าไปทุกวัน แต่ถึงอย่างนั้น เขาก็สามารถคิดสูตรการสร้างคอนโด มิเนียมเฉพาะของเอพีได้ หัวใจสำคัญคือการทำงานภายใต้ฐานข้อมูลที่แม่นยำ เอพีใช้ฐานข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาในแต่ละไซต์โครงการคอนโดมิเนียมเพื่อสอบถามความต้องการช่วงวัย และลักษณะของการเลือกที่อยู่อาศัย พร้อมกับการรักษาระดับของกระแสเงินสด เพื่อหมุนเวียนให้สามารถซื้อที่ดินได้ทุกไตรมาส เพื่อใช้ที่ดินในทำเลสำคัญในการก่อสร้างและเปิดตัวโครงการให้ทันกับความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อ ณ เวลานั้นๆ เป็นเวลาเกือบสองชั่วโมงของการสนทนากับซีอีโอของเอพี เขาไม่ยอม ตอบคำถามประโยคที่ว่า

"มีโอกาสที่เอพีจะสามารถรับรู้รายได้จากธุรกิจคอนโด มิเนียมมากกว่าบ้านแนวราบไหม?" เขายิ้มที่มุมปากและตอบคำถามด้วยท่าทางซึ่งแทบจะไม่บ่งบอกถึงความเมื่อยล้าจากการทำงานมาตลอดทั้งวันเลยแม้แต่น้อย

"ผมเพิ่งจะเริ่มต้นกับธุรกิจนี้"

หาก 4 ปีที่ผ่านมาเป็นการเริ่มต้นธุรกิจคอนโดมิเนียม ของทั้งอนุพงศ์และเอพี คนกรุงเทพฯ ก็คงจะมีโอกาสได้เห็น คอนโดมิเนียมแบรนด์เอพีนับไม่ถ้วนนับจากนี้เป็นต้นไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us