Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กรกฎาคม 2551
ศูนย์กสิกรชี้เงินเฟ้อยังพุ่งต่อสูงสุดแตะสองหลักเดือนส.ค.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Commercial and business
Economics




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไป จากแรงกดดันของต้นทุนผู้ผลิตที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชี้เงินเฟ้อเป็นตัวเลขสองหลักในเดือนสิงหาคมนี้ เป็นช่วงที่เงินเฟ้อขึ้นไปสูงสุด ส่วนทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4-8.0%

จากรายงานตัวเลขดัชนีราคาสินค้า ในเดือนมิถุนายน 2551 โดยกระทรวงพาณิชย์ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 7.6 ในเดือนพฤษภาคม สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ (ค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 8.5) และเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนที่เทียบกับเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของเดือนมิถุนายนสูงขึ้นมาที่ร้อยละ 3.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2542 และเป็นครั้งแรกที่เงินเฟ้อพื้นฐานสูงเกินกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ที่ร้อยละ 0.0-3.5) หลังจากที่ธปท. กำหนดกรอบดังกล่าวในปี 2543 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า มีแนวโน้มที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะขึ้นไปเกินร้อยละ 4.0 ในเดือนสิงหาคม และในช่วงปลายปีอาจเคลื่อนเข้าหาระดับร้อยละ 4.5-5.0 ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีนัยอย่างยิ่งต่อการพิจารณากำหนดนโยบายการเงิน ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ และในครั้งต่อๆ ไป

ในด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 15.6 ในเดือนพฤษภาคม และสูงสุดในรอบ 10 ปีเช่นเดียวกัน ขณะที่หากมองไปข้างหน้า ราคาสินค้าวัตถุดิบยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงาน ซึ่งนอกเหนือจากที่มีการคาดหมายว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นไปถึงระดับ 150-170 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล ในช่วงฤดูร้อนของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นช่วงที่ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ราคาก๊าซในประเทศก็อาจจะมีการปรับเพิ่มขึ้น เพื่อลดภาระการอุดหนุนของทางการ รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภท ก็ยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น เช่น เหล็กและยางพารา ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนกรกฎาคม จะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 และอาจกล่าวได้ว่าต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมอาจเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 หรือเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 2

แรงกดดันด้านต้นทุนของผู้ประกอบการดังกล่าว เป็นสัญญาณว่าราคาสินค้าผู้บริโภคอาจจะมีการทยอยปรับเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงเกินร้อยละ 9 ในเดือนกรกฎาคม และอาจขึ้นไปเป็นตัวเลขสองหลักในเดือนสิงหาคม ซึ่งน่าเป็นช่วงที่เงินเฟ้อขึ้นไปสูงสุด แต่อาจจะยังคงอยู่เหนือระดับร้อยละ 9 ไปจนถึงเดือนตุลาคม ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของปี 2551 อาจอยู่ที่ร้อยละ 7.4-8.0

โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไป จากแรงกดดันของต้นทุนผู้ผลิตที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังที่สะท้อนจากตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร่งตัวมากกว่าอัตราเงินเฟ้อมาโดยตลอดระยะ 10 เดือนที่ผ่านมา และเป็นที่สังเกตว่าช่วงห่างระหว่างการเพิ่มขึ้นของต้นทุนของผู้ประกอบการกับอัตราเงินเฟ้อยิ่งกว้างมากขึ้น (อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนมิถุนายน ห่างกันถึงเกือบร้อยละ 10) เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าผู้ประกอบการได้แบกรับภาระต้นทุนไว้มากขึ้นเรื่อยๆ

ในที่สุด ต้นทุนที่ผู้ประกอบการแบกรับไว้ดังกล่าวก็จะต้องถูกส่งผ่านไปสู่การปรับขึ้นราคาสินค้าผู้บริโภคในระยะข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อีกต่อไป ขณะเดียวกัน แนวโน้มการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะมีนัยต่อการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ในช่วงที่จะถึงนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us