Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กรกฎาคม 2551
ตลาดอสังหาฯไทยติดโผประเทศโปร่งใสปานกลาง             
 


   
search resources

Real Estate




รายงานที่มีชื่อว่า Global Real Estate Transparency Index ซึ่งได้รับการจัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างโจนส์ แลง ลาซาลล์ บริษัทผู้เชี่ยวชาญบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ และลาซาลล์ อินเวสต์เม้นท์ แมนเนจเม้นท์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ดำเนินธุรกิจด้านการบริหารการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ในบรรดาตลาดอสังหาฯ 82 แห่งใน 75 ประเทศทั่วโลก ตลาดอสังหาฯของไทยมีดัชนีความโปร่งใสเป็นอันดับที่ 45 รองจากตลาดเกาหลีใต้ โดยไทยยังคงอยู่ในกลุ่มที่ 3 ของประเทศที่ตลาดอสังหาฯมีดัชนีความโปร่งใสปานกลาง

เมื่อเทียบกับปี 2549 ตลาดอสังหาฯของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก มีค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้น แต่ไม่มากนัก โดยประเทศที่มีค่าดัชนีความโปร่งใสปรับตัวดีขึ้นมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ได้แก่ จีน อินเดีย และเวียดนาม ทั้งนี้ จีนเป็นตลาดที่มีดัชนีปรับตัวดีขึ้นมากที่สุด โดยได้ขยับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มตลาดที่มีความโปร่งใสปานกลาง และมีค่าดัชนีที่ดีกว่าอินเดียเล็กน้อย

"เราสังเกตพบว่า ตลาดที่มีความค่าดัชนีความโปร่งใสปรับตัวดีขึ้น มีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญประการหนึ่งคือ การมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานในตลาด โดยเฉพาะในตลาดอาคารสำนักงาน การเติบโตของกองทุนรวม อสังหาฯประเภทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้ช่วยให้มีการเปิดเผยขอมูลเกี่ยวกับธุรกรรมการซื้อขายโครงการอสังหาฯในประเทศต่างๆ มากขึ้น แต่ถึงกระนั้น ก็พบว่า กฎระเบียบในบางประเทศยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ตลาดอสังหาฯไม่มีพัฒนาการด้านความโปร่งใส เช่น ระบบภาษีที่ไม่มั่นคงต่อเนื่อง กฎหมายควบคุมการก่อสร้าง และกฎหมายว่าด้วยการบังคับสัญญา " นางเจน เมอร์เรย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของโจนส์ แลง ลาซาลล์ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกกล่าว

ในรายงานฉบับดังกล่าว โจนส์ แลง ลาซาลล์ ชี้ด้วยว่า ตลาดอสังหาฯที่มีระดับความโปร่งใสสูง ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเสี่ยงหรือเป็นเครื่องรับประกับผลตอบแทนการลงทุนสูง เนื่องจากการมีความโปร่งใสสูงไม่ได้เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันการแกว่งตัวของตลาด ตามภาวะอุปสงค์และอุปทาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us