|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
นักลงทุนต่างชาติแห่ทิ้งหุ้นไทยอีกเกือบ 2.2 พันล้านบาท ฉุดตลาดหุ้นไทยดิ่งเหวหลุดแนวรับสำคัญ ก่อนปิดที่ 760.01 จุด ลดลง 8.58 จุด หลังกระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ มิ.ย. อยู่ที่ 8.9% สูงสุดในรอบ 10 ปี บล.ยูโอบีฯ ประเมินปัจจัยลบคงอยู่เพียบ ดัชนีมีโอกาสปรับตัวลดลงได้อีกถึง 30 จุด พร้อมเตรียมปรับลดกำไรบริษัทจดทะเบียนเหลือ 15% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้สูงกว่า 20% แนะขายทำไรหากดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือรอซื้อกลางเดือนนี้
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย (2 ก.ค.) ดัชนีปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้าตามทิศทางของตลาดหุ้นภูมิภาค และมีมูลค่าการซื้อขายเข้ามาไม่นากนัก เนื่องจากนักลงทุนต่างวิตกกังวลการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือนมิถุนายน 2551 ของกระทรวงพาณิชย์ ที่ปรับตัวขึ้นในระดับสูงถึง 8.9% และเป็นการทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเป็นแรงกดดันให้นักลงทุนทยอยขายหุ้นออกมา
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยระหว่างวันปรับตัวขึ้นไปทำราคาสูงสุดที่ 767.73 จุด ต่ำสุดที่ 755.58 จุด และปิดการซื้อขายที่ 760.01 จุด ลดลงจากวันก่อน 8.58 จุด หรือลดลง 1.12% มูลค่าการซื้อขาย 12,871.03 ล้านบาท ซึ่งนักลงทุนต่างชาติยังคงขายอย่างต่อเนื่อง คือ มียอดขายสุทธิสูงถึง 2,182.67 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 224.20 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,406.88 ล้านบาท
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBKH เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง เพราะนักลงทุนมีความกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 8.9% ซึ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 2/51 ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจากการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรบตัวเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3/51 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก โดยบล.ยูโอบี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ที่ระดับประมาณ 10-11% แต่จะเริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป
นอกจากนี้ ปัจจัยลบที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย คือ การประกาศผลการดำเนินงานของกลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่จะทยอยประกาศในช่วงกลางเดือนนี้คงออกมาไม่ดีนัก ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้อีก 20-30 จุด หรืออยู่ที่ระดับ 730 จุดในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้
ส่วนกรณีที่มูลค่าการซื้อขายลดลงวานนี้ เกิดจากนักลงทุนชะลอการลงทุน หลังจากความกังวลในเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่ใช้พลังงานในการเป็นดำเนินการผลิตสินค้า แม้ว่าจะส่งผลดีกับบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP
"บริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ น่าจะมีการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนปีนี้ลดลง หลังจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยบล.ยูโอบีฯ คาดว่าจะปรับลดลงเหลือประมาณ 15% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้กว่า 20% ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อกำไรบจ.ในช่วงไตรมาส 3/51 นี้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเป็นต้นทุนการดำเนินงาน และหุ้นกลุ่มแบงก์จากที่ดอกเบี้ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งให้ยอดหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL )เพิ่มขึ้น"
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลงต่อ เนื่องจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อตลาดหุ้นในภูมิภาค บวกกับราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนและทรงตัวในระดับที่สูง ทำให้ดัชนีในช่วง 1-2 วันนี้ปรับตัวลดลง โดยในระยะสั้นหากดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้นให้มีการขายหุ้นออกมาและเรื่องสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ยังไม่ชัดเจน มีโอกาสปรับตัวลดลงอีก 20 จุด โดยนักลงทุนควรที่จะรอซื้อคืนในช่วงกลางเดือนนี้ โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 751-753 จุด แนวต้านที่ระดับ 765-767 จุด
ลุ้นจุดต่ำสุดเดิมที่ 737 จุด
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคทีบี กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่องตามตลาดหุ้นภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงทำสถิตต่ำสุดครั้งใหม่ จากความกังวลในเรื่องเงินเฟ้อ หลังราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงที่จุดต่ำสุดเดิมที่ 737 จุด หากไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นการลงทุน
ทั้งนี้ นักลงทุนจะมีการชะลอการลงทุนรอปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นการลงทุนและรอให้ดัชนีมีการปรับตัวฐานไปก่อนและให้สามารถทรงตัวอยู่ได้ที่จุดนิวโลวได้ จากการที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นนั้น ทำให้มีหลายฝ่ายคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย และไม่น่าขึ้นดอกเบี้ย แต่ทางบล.เคทีบีคาดว่าจะมีการขึ้นตามต่างประเทศที่แนวโน้มดอกเบี้ยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 737 จุด แนวต้านที่ระดับ 767-770 จุด
นักลงทุนแห่ขายลดความเสี่ยง
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงจากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูง จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งมีผลทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นออกมาเพื่อชดเชยและลดความเสี่ยงจากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลง และจากการที่ไทยยังคงมีปัญหาในเรื่องปัจจัยทางการเมืองและนักลงทุนต่างประเทศยังคงขายสุทธิต่อเนื่อง ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่ำกว่า 770 จุด โดยบริษัทประเมินแนวรับที่ระดับ 750 แนวต้านที่ระดับ 770 จุด
|
|
 |
|
|