Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
ซีพีเลี้ยงจระเข้             
 


   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร, บมจ.
ประสิทธิ์ รุ่งโรจน์
Agriculture




เป็นเวลากว่าปีครึ่งที่บริษัทกรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของซีพี (เจริญโภคภัณฑ์) ซุ่มเงียบกับการทดลองเลี้ยงจรเข้ที่ฟาร์มนครหลวง จังหวัดชลบุรี ณ ฟาร์มแห่งนี้เลี้ยงไก่ไข่นับแสน ๆ ตัวและในฤดูร้อนเฉกเช่นในเดือนมีนาคมและเมษายนเหล่านี้ ไก่จำนวนหนึ่งจะล้มตายมากซากของสัตว์ปีกเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารอันโอชะของเหล่าจระเข้นับพันตัวที่ซีพีเลี้ยงไว้

สัญชัย ชวนชัยรัตน์ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านไก่ไข่และไก่กระทง บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ได้เล่าให้ฟังถึงโครงการทดลองเลี้ยงจระเข้ว่าขณะนี้อยู่ในช่วงการศึกษาข้อมูลด้านวงจรชีวิตของจระเข้ เพราะเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีชีวิตรอดมาได้จากยุคไดโนเสาร์ และเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ทั้งเนื้อหนังและเลือดโดยเนื้อนั้นสามารถส่งออกตลาดฮ่องกงได้ หนังก็นำไปทำรองเท้า กระเป๋าราคาแพงและเลือดก็อยู่ระหว่างวิจัยที่สามารถนำเอาตากแห้ง และนำสารไปใช้ประกอบในการทำยายับยั้งการลุกลามเติบโตของมะเร็งร้ายได้

"เราเน้นทำการเลี้ยงจระเข้ให้เป็นแบบกึ่งเกษตรอุตสาหกรรม เพราะอวัยวะทุกส่วนผลิตได้ 100 ก็สามารถขายได้เต็มร้อย ระหว่างนี้อยู่ในขั้นทดลอง ขณะนี้เรามีจระเข้ในโครงการกว่า 1,000 ตัวและกระจายอยู่ในทุกช่วงอายุของมัน เราซื้อมาตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนทีละหลายร้อยตัวซึ่งราคาตามท้องตลาดจะตกประมาณนิ้วละ 150-200 บาท"

ปัจจุบันที่ฟาร์มนครหลวงจะจัดจระเข้พันธุ์น้ำจืดและน้ำเค็มขนาดความยาวต่าง ๆ ไว้เป็นบ่อ ๆ ประมาณ 10 บ่อบนเนื้อที่ว่างเปล่าของฟาร์มไก่ไข่ประมาณ 10 ไร่ และคอยดูแลความสะอาดของน้ำในบ่อรวมทั้งให้อาหารเป็นซากไก่ที่นำไปเผาแล้วโยนให้กินวันละมื้อโดยเจ้าหน้าที่ฟาร์ม 2-3 คนที่ชำนาญและคุ้นเคยกับจระเข้นอกจากนี้ยังมีบ่ออนุบาลสำหรับเลี้ยงลูกจระเข้ (ลักษณะคล้ายตุ๊กแก) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ซื้อมาจากต่างประเทศอีกจำนวนนับพันตัว เพื่อศึกษาวงจรชีวิตที่จะนำไปสู่การเลี้ยงจระเข้ที่ประสบความสำเร็จและนำรายได้มหาศาลเข้าสู่บริษัทอีกด้วย

"โครงการนี้เราลงทุนไปขั้นต่ำไม่กี่ล้านบาทเพราะมีที่ดินอยู่แล้ว เพียงแต่สร้างบ่อเลี้ยงและเราซื้อตัวอ่อนมาจำนวนมากโดยมีพ่อพันธุ์แม่พันฑุ์ประมาณแค่ 300 ตัวเท่านั้น ซึ่งขณะนี้เรากำลังศึกษาการเติบโตทุกขั้นตอนของมันในภาวะกินอยู่และอากาศ น้ำที่มันปรับตัวโตอย่างช้า ๆ กว่าจะได้ผสมพันธ์ก็คงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6-7 ปี" ประสิทธิ์ รุ่งโรจน์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตไก่ไข่และไก่กระทงบริษัทกรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งดูแลฟาร์มนี้เล่าถึงความรู้สึกให้ฟังว่า "ผมคิดว่าเป็นงานใหม่ที่ท้าทายดีสำหรับโครงการเลี้ยงจระเข้นี้ แต่ขณะนี้เรายังศึกษาอยู่ ยังเปิดเผยอะไรไม่ได้"

ความนิยมเลี้ยงจระเข้ได้ระบาดไปทั่วในปีที่แล้วบรรดาเจ้าของฟาร์มใหญ่น้อยเริ่มเสาะหาลูกจระเข้มาเลี้ยงนับร้อยนับพันตัว เมื่อความต้องการมีสูง ซัพพลายก็ขาดแคลนลงและราคาจระเข้ได้แพงขึ้นตามไปด้วย โดยราคาซื้อขายวัดกันเป็นนิ้ว ปัจจุบันราคาลูกจระเข้ขนาดหนึ่งฟูตจะซื้อขายกันตัวละประมาณ 6,000 บาทแหล่งซัพพลายที่ใหญ่ ๆ มักจะมาจากภาคกลาง เช่น พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท และสมุทรปราการ

และที่สมุทรปราการนี้มีฟาร์มเลี้ยงจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยถึง 30,000 ตัวชื่อบริษัทฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ โดยเฉลี่ยจระเข้ตัวหนึ่งจะราคาตกประมาณ 6,0000 บาทต่อความยาวเมตรครึ่ง เล่ากันว่าถ้าเอาจำนวนจระเข้ 3 หมื่นตัวคูณด้วยราคาเฉลี่ยตัวละ 6 หมื่นบาทเจ้าของกิจการฟาร์มแห่งนี้จะมีสินทรัพย์ที่มีมูลค่าถึง 180 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการส่งออกหนังจระเข้พันธ์พื้นเมือง (SAIMENSIS) ไปยังประเทศญี่ปุ่น ปีหนึ่ง ๆ มูลค่านับล้าน ๆ บาทนับว่ากิจการฟาร์มจระเข้ไปได้ดีและในปีนี้จะลงทุนขยายเพิ่มอีกแห่งที่แปดริ้วนี่เอง

เมื่อเห็นอนาคตของการเพาะเลี้ยงจระเข้ที่มีตลาดต่างประเทศรองรับเช่นนี้ก็ทำให้เจ้าของฟาร์มจระเข้อย่างศรีราชาฟาร์ม ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสุกรรายใหญ่ของไทยก็เริ่มหันมาลงทุนเพาะเลี้ยงจระเข้ควบคู่ไปกับการเลี้ยงหมูด้วย ขณะที่ซีพีเองก็ลงทุนด้านนี้เช่นกัน แต่ผูเพาะเลี้ยงเหล่านี้จะส่งออกเนื้อหนังจระเข้ได้ต้องได้รับใบรับรองจากเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธ์ (CITES) ซึ่งจะใช้เวลานานถึง 10 ปีเพื่อตรวจสอบการเพาะเลี้ยงที่ทำให้อัตราการรอดของจระเข้รุ่นลูกรุ่นหลานมีมาก จึงจะให้อนุมัติใบรับรองนี้ได้

อีกนานนับ 6-7 ปี กว่าจะได้ผลิตผลจากจระเข้ตัวหนึ่ง ๆ ที่ต้องลงทุนนับแสนเพื่อตักตวงผลกำไรจากมันเต็มที่นับว่าเป็นการลงทุนที่ต้องอดทนรอคอยกันนานเกือบสิบปีทีเดียว แต่การทดลองเพาะเลี้ยงของซีพีน่าจะบ่งบอกถึงอนาคตของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงจระเข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อนั้นคงได้เห็น INTEGRATION CONCEPT การเลี้ยงจระเข้ครบวงจรได้อีกแขนงหนึ่งตามปรัชญาการทำธุรกิจแบบซีพี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us