|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์รับทราบผลคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุปผลสอบสวนพบเจ้าหน้าที่ 4 ราย “อาทิตย์-อวิลาส-จิรพร-จงเจตน์” ทำแบงก์เสียหาย 3 พันล้าน "ผิดวินัยร้ายแรง" เจอทั้งวินัยและอาญา ชี้มีความผิดตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการคัดเลือก SCBT ไม่เป็นไปตามข้อบังคับและมติบอร์ด รวมทั้งการทำ IRS ส่อไปในทางทุจริตและเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลเพียงรายเดียว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีที่ธนาคารได้รับความเสียหายจากการตกลงทำสัญญาในโครงการออกตราสารบัตรเงินฝากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FRCD) เมื่อเดือนเมษายนและกรกฎาคม 2548 จำนวน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีธนาคารบาร์คเลย์เป็นผู้ดำเนินการ และในครั้งที่สองจำนวน 300 ล้านเหรียญโดยมีธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) SCBT เป็นผู้ดำเนินการ
ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้สรุปผลการสอบสวนพบว่ามีเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับสูงของธนาคารมีความผิดสมควรพิจารณาให้มีการกล่าวโทษทางวินัยและทางอาญากับเจ้าหน้าที่ธนาคารจำนวน 4 ราย เนื่องจากมีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ประกอบไปด้วย 1.นายอาทิตย์ ดั่นธนสาร 2.นายอวิลาส ชุณหกสิการ 3.นางจิรพร สุเมธีประสิทธิ์ และ 4.นายจงเจตน์ บุญเกิด
โดยความผิดที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานมานั้น ประเด็นแรกคือเรื่องจ้าง SCBT ออกตราสารในครั้งนี้ ถูกต้องตามระเบียบของธนาคารหรือไม่ ปรากฎว่ากระบวนการดำเนินการคัดเลือกผู้ออกตราสารดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อบังคับและไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการบริหาร ธพว. จึงมีความผิดตามข้อบังคับของธนาคารว่าด้วยการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของธนาคาร
ซึ่งในกรณีนี้พบผู้กระทำความผิด 2 รายคือนางจิรพรและนายอวิลาส คณะกรรมการสอบสวนจึงเห็นสมควรให้รับการลงโทษขั้นสูงในความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ลดเงินเดือน 10% เป็นระยะเวลา 1 ปี เฉพาะกรณีนี้ แต่นายอวิลาสได้พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแล้วจึงให้บันทึกไว้ในประวัติแทน ขณะที่นายจงเจตน์ ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดมิได้เป็นผู้ก่อเหตุโดยตรงแต่ในฐานะผู้บังคับบัญชาสมควรให้ตักเตือนด้วยวาจาแต่ขณะนี้พ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้วจึงให้บันทึกความผิดไว้ในประวัติ
ส่วนประเด็นการทำ Interest Rate Swap (IRS) โดยกำหนด Range Accrual และเบี้ยปรับนั้น คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานกรณีนี้ว่า จากการสอบสวนอย่างละเอียดแล้วพบว่าการที่นางจิรพรดำเนินการเรื่องดังกล่าวมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่อย่างชัดเจน ถือว่านางจิรพรและนายอาทิตย์ ไม่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามข้อบังคับของธพว.ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบซึ่งเป็นความผิดทางอาญาด้วย และเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงของธนาคาร จึงเห็นสมควรลงโทษนางจิรพรให้ออกจากการเป็นพนักงานของธนาคาร นายอาทิตย์ปัจจุบันพ้นจากการเป็นพนักงานแล้วเห็นสมควรให้บันทึกไว้ในประวัติแทน
ขณะที่นายอวิลาส ทั้งที่รับทราบว่าจะเกิดความเสียหายจากการทำธุรกรรมดังกล่าวแต่กลับนิ่งเฉยถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นความผิดทางวินัยตามข้อบังคับของธนาคาร สมความให้มีการลงโทษภาคทัณฑ์เป็นเวลา 1 ปี แต่ในปัจจุบันได้พ้นสภาพการเป็นพนักงานของ ธพว.แล้วจึงสมควรให้บันทึกไว้ในประวัติแทน
ทั้งนี้ ในการทำ IRS ของธนาคารกับ SCBT แต่เพียงรายเดียวในครั้งนี้โดยไม่มีการพิจารณาเงื่อนไขเพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานของสถาบันการเงินแห่งอื่นและไม่มีรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบแต่อย่างใด ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่อไปในทางทุจริต เป็นฯการมุ่งหวังที่จะให้ประโยชน์กับกุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งพฤติการนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการดำเนินการทำ IRS ไม่ชอบตามข้อบังคับของธนาคาร และในการดำเนินธุรกรรม IRS นั้นในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากเงื่อนไขทำให้ธนาคารต้องมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 8.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าปกติ คิดเป็นเงินค่าเสียหายวันละ 2.5 ล้านบาท และหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปจะทำให้ธนาคารต้องเสียเงินค่าปรับเพิ่มทั้งสิ้น 3 พันล้านบาท
“การกระทำของกลุ่มบุคคลทั้ง 4 ที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานมานั้นเป็นเหตุทำให้ธนาคารเกิดความเสียหายตามข้อมูลหลักฐานที่ปรากฎจริงมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมของธพว.อย่างร้ายแรง การกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้องคือ นายอาทิตย์ นายอวิลาสและนางจิรพร ในฐานะผู้ดำเนินการโดยตรงและนายจงเจตน์ ในฐานะซีเอฟโอที่เป็นผู้กำกับดูแลจึงควรรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวตามฐานความผิดที่ได้กระทำไว้” แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ ธพว.ระบุ
|
|
|
|
|