Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
แจ็กเจียกรุ๊ปขายผ้าไหม ดีซายน์ไทย             
 


   
search resources

ดีซายน์ไทย
ชาตรี เจียระพฤฒ
Silk




"ดีซายน์-ไทย" ผู้ผลิตและค้าผ้าไหมและสิ่งทอมานาน นับตั้งแต่ปี 2503 ในนามของบริษัท BITEC THAILAND ซึ่งต่อมาแจ๊กเจียหรือเจตน์ เจียรพฤฒได้เข้ามาซื้อกิจการในปี 2517 และให้ลูกชายชื่อคลีเม้นท์ แซ่เจีย ขณะนั้นอายุ 29 ปีเป็นผู้บริหารกิจการนี้โดยเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็นบริษัท CEBI THAILAND ได้ไม่นานก็เปลี่ยนเป็นชื่อ"บริษัทดีซายน์ไทย" ในปี 2519

อาณาจักรแจ๊กเจียกรุ๊ปในยุคพ.ศ. 2513-2519 รุงเรือฝด้วยฐานความมั่นคงที่มาจากบริษัทแจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) เดิมชื่อ "บริษัทโอ้วปา บราเดอร์ส (ไทย) " ผู้ผลิตยาหม่องตราเสือที่คนไทยนิยมใช้กันมานานโดยสองพี่น้องตระกูลโอ้วบุนปา (AW BOON PAR,) โอ้วบุนโฮ้(AW BOON PAR) และลูกชายโอ้วบุนปาคือ ดร.โอ้วเชงไฉ่ได้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตยาในเมืองไทย โดยมีลี สันติ พงศ์ไชย ซึ่งได้โอนสัญชาติจากพม่าโดยมีชื่อเดิมว่า"อูคิน หม่องเซ็น" หรือ "ลี เอี๊ยก ซิม" พี่เขยร่วมบริหารด้วยจนกระทั่งปี 2514 ดร.โอ้วเชงไฉ่ซึ่งเป็นคนอ้วนมากเสียชีวิตด้วยเส้นเลือดในสมองแตกที่ประเทศชิลี

การสูญเสียครั้งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่เปิดช่องว่างให้ตระกูล "เจียระพฤฒ" เข้ามาถือหุ้นได้มากขึ้นจากการเพิ่มทุนในปี 2513 และปี 2514 ลี สันติพงศ์ไชยและภรรยาได้ขอลาออก "ท่านคงจำได้ว่าข้าพเจ้าได้เคยพูดกับท่าน (มร.เดรค กรรมการบริหารขณะนั้น) เกินกว่าหนึ่งครั้งถึงความต้องการและความตั้งใจของข้าพเจ้าที่จะลาออกจากบริษัทโอ้วปา บราเดอร์ส (ไทย) จำกัดในโอกาสที่เร็วที่สุดนอกจากเหตุผลหลาย ๆ อย่างแล้วบัดนี้ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะให้ข้าพเจ้าดำเนินการเกี่ยวข้องกับกิจการที่ค่อนข้างไม่อยู่ในวิสัยของธุรกิจที่จะดำเนินการโดยบริษัทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2515 เป็นต้นไป" ลีได้เขียนจดหมายทิ้งไว้

ในที่สุดในปี 2516 บริษัทโอ้วปา ฯ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัทแจ๊กเจียอุตสาหกรรม" และผลิตยาหม่องตราเสือภายใต้ LICENCE จากบริษัท โอ้วปา บราเดอร์ส อินดัสทรี ต่อจากนั้นได้มีการขยายกิจการไปสู่อุตสาหกรรมหลากหลายอย่างเช่นบริษัทแจ๊กเจียผู้ผลิตและค้าเครื่องอุปโภคบริโภคเช่น น้ำมันกวางลุ้งตราสิงห์โตคู่ แป้งและน้ำหอมตาบู และได้ทำกิจการสิ่งทอคือ "ดีซายน์-ไทย" รวมทั้งขยายกิจการไปสู่บริษัทใหม่ร้อยเอ็ด, บริษัทกรุงเทพอุตสาหกรรม 1961 ล่าสุดในปีนี้แจ๊กเจียได้ลงทุนสร้างโรงทอผ้าของตัวเองขึ้นมาจนครบวงจร

สายสัมพันธ์ของคหบดีชาวจีนโพ้นทะเลอย่างตระกูล "เจียระพฤฒ" หรือ "แซ่เจีย" ในสองชั่วอายุ คนได้ทำให้เกิดเส้นทางการค้าระหว่างไทย-สิงคโปรื-ฮ่องกง เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มั่นคง

"ดีซายน์-ไทย" ได้อธิบายรูปลักษณะการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมนี้ได้ดี นับตั้งแต่การซื้อกิจการในปี 2517 แล้วให้คลีเม้นท์ หรือชาตรี เจยระพฤฒ บริหารจนกระทั่งบัดนี้ดีซายน์-ไทยได้มีสาขาต่างประเทศที่สิงคโปร์ TANGLING SHOPPING CENTRE, และที่ฮ่องกงสองแห่งคือที่โรงแรม PENINSULA HOTEL, HYATT REGENCY HOTEL ที่เกาลูน สำนักงานใหญ่ของแจ๊กเจียอยู่ที่สิงคโปร์และฮ่องกง พี่ชายของชาตรีคือแดแนล เจียได้มีกิจการแดแนลซันอินเวสท์เม้นท์ที่โอ้ชเฮ้าส์ฮ่องกงเป็นหลักด้วย

พี่น้องของชาตรีมีทั้งหมดมี 4 คนคือดแแนล เจีย , แซมมวล เจีย . คลีเม้นท์ เจีย (ชาตรี) , และแอนนา เจีย (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นไทยว่า "นันทนา") คุณแม่ของชาตรีชื่อ "จันทร์เพ็ญ" ซึ่งแปลงสัญชาติและชื่อจีนมาจาก "จางยู" ครอบครัวนี้ก่อนจะมาใช้นามสกุล "เจียระพฤฒ" ในปี 2503 เคยเปลี่ยนนามสกุลเป็นไทยครั้งแรกว่า "เจตน์สัมฤทธิ์ผล"

ณ วันนี้ผู้ก่อตั้งคือแจ๊กเจียหรือเจตน์ เจียระพฤฒ อายุเกือบ 70 ปีได้วางมือปล่อยให้ลูกชายทั้งสามซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกันตั้งแต่แดแนล 46 ปี แซมมวล 45 ปีและ ชาตรี 44 ปีบริหารกิจการแจ๊กเจียกรุ๊ปซึ่งมีสินทรัพย์มหาศาล

ในปีนี้บริษัทแจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 31.5 ล้านบาทได้ยื่นเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น ภาพพจน์นี้สะท้อนถึงการระดมทุนแบบใหม่เพราะเดิมแจ๊กเจียจะมีแหล่งเงินกู้ระยะสั้นจากตั๋วสัญญาเงินกู้สถาบันการเงินในปี 31 จำนวน 11.5 ล้านบาทโดยเสียดอกเบี้ย 12.5-15 % ต่อปี ส่วนเงินกู้ระยะยาวก็ได้จากแบงก์พาณิชย์ไทยวงเงิน 15 ล้านบาทโดยเสียดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 4 % และระยะคืนเงินกู้ 60 เดือน จ่ายทุกงวด 3 เดือน งวดละ 750,000 บาทกว่าจะหมดในปี 2535

อย่างไรก็ตามบริษัท ดีซายน์-ไทยได้หยุดดำเนินงานตั้งแต่ปี 2520 ด้วยเหตุผลของการรวมศูนย์กำไรที่แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) แต่ชาตรีและฝ่ายบริหารก็ยังไม่ยุบเลิกชื่อบริษัทนี้ ปัจจุบันดีซายน์-ไทยที่สีลมทำรายได้จากการค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายนี้ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท และมีลูกค้าญี่ปุ่น ฝรั่ง เป็นหลัก โดยมีการโฆษณาที่ญี่ปุ่นและมีการส่งออกผ้าไหมให้ตัวแทนจำหน่ายที่ญี่ปุ่นด้วย

แต่ปีนี้นักท่องเที่ยวมาน้อยลงเพราะอัตราค่าห้องพักโรงแรมแพงขึ้น 20-30 % ค่าอาหารก็แพงขึ้น 20 % ด้วยก็อาจทำให้ยอดขายของ ดีซายน์-ไทยกระทบกระเทือน เพราะการค้านี้ต้องพึ่งพิงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างมาก ส่วนใหญ่จะมีกรุ๊ปทัวร์มาลงค่าและจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ผู้มาเดือนละหมื่น ๆ บาท

การบริหารงานของดีซายน์-ไทย ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของวีระ อรุณวัฒนาพร ลูกหม้อเก่าแก่และกรรมการบริหารของแจ๊กเจียกรุ๊ปวีระมีบิดาชื่อ"ลิ่มจันโต" และมารดาชื่อ "กิมอิน แซ่ซี" วีระเติบโตมากับแจ๊กเจียกรุ๊ปและเมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อย ๆ งานในบริษัทในเครือบางแห่งก็ให้วีระเป็นผู้บริหารแทน

และที่ดีซายน์-ไทยซึ่งมีพนักงานเกือบร้อยคนและมีโรงงานเย็บเสือผ้าสำเร็จรูปที่ซอยเย็นอากาศทุ่งมหาเมฆ วีระได้หมอบหมายให้ลูกหม้อเก่าอย่างศิริวรรณหรือที่เรียกว่า "พี่หยก" เป็นผู้จัดการดูแลร้านดีซายน์-ไทยที่สีลม ซึ่งตั้งมาได้ 6-7 ปีโดยก่อนหน้านี้ได้ย้ายมาจากเพลินจิตต์อาเขตและมีสาขาที่ถนนสุริวงศ์แต่ก็ยุบทั้งสองแห่งนี้มาสร้างสำนักงานที่สีลมเอง

ดีซายน์-ไทยยังเป็นขุมทรัพย์แห่งหนึ่งที่แจ๊กเจียกรุ๊ปทำกำไรได้มากและเป็นภาพพจน์ความเป็นเลิศด้านคุณภาพไหมไทยที่แพงระยับในสายตาคนไทย และที่น่าจับตามองต่อไปคือการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอเต็มตัวเมื่อแจ๊กเจียได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ ฯ เพราะอนาคตผลิตภัณฆ์ผ้าไหมไทยจะกลายเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามหาศาลนั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us