Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 มิถุนายน 2551
ลูกหนี้อ่วม!!! ดอกเบี้ยจ่อคิวขึ้น 0.5-1%คลัง‘จ้องปลด’ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ             
 


   
search resources

Interest Rate




รัฐบาลเดือดแบงก์ชาติแข็งข้อ สวนทางนโยบายบริหารประเทศด้วยดอกเบี้ยต่ำ ต้องเร่งหาทางบีบ-เปลี่ยนตัวผู้ว่าแบงก์ชาติ หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่อเค้าแท้ง หากปล่อยดอกเบี้ยสูงอีกกระทบจัดเก็บภาษี นักเศรษฐศาสตร์คาดปีนี้ได้เห็นดอกเบี้ยขึ้น 0.5-1% แนะคนมีภาระกู้ทำใจ

หลังจากทราบตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจะทะยานขึ้นมาถึง 7.6% ท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มออกมาส่งสัญญาณถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ครั้งต่อไปในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้

หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขยับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ขึ้นมาใกล้เคียงกัน โดยตลอดช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาแบงก์ชาติไม่ได้ส่งสัญญาณใด ๆ ถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศว่าจะไปในทางใด เห็นได้จากการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.25% มาโดยตลอด

นับว่าเป็นปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ก่อนที่แบงก์ชาติจะส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ย ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยปกตินักสำหรับตลาดการเงินของไทย

“เรามองว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ชาตินับจากนี้ไปคงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะจะเหลือการประชุม กนง.อีก 4 ครั้ง อาจจะขึ้นครั้งละ 0.25% หรือขึ้นครั้งหนึ่งเว้นครั้งหนึ่ง โดยคาดว่าดอกเบี้ยในปีนี้น่าจะปรับขึ้นระหว่าง 0.5%-1%”นักการเงินรายหนึ่งประเมิน

การที่ต้องค่อย ๆ ทยอยขึ้นนั้นเพื่อต้องการให้ตลาดได้ปรับตัว อีกทั้งต้องประเมินสถานการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แม้กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะเพิ่มกำลังการผลิตแต่ราคายังไม่ลดลง แต่เชื่อว่าในช่วง 3-4 เดือนนี้เงินเฟ้อจะค่อย ๆ ลดลง

ที่สำคัญคือแบงก์ชาติคงไม่ต้องการเห็นกำลังซื้อในประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการส่งสัญญาณดังกล่าวนั้นอาจจะดูช้าไปบ้าง หรืออัตราที่ขึ้นนั้นอาจจะไม่สูงเท่าหรือเหนือกว่าอัตราเงินเฟ้อ แต่ก็ต้องทำเพื่อแสดงให้เห็นว่าแบงก์ชาติต้องการดูแลเรื่องนี้

การส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อนั้นจะส่งผลให้ตลาดการเงินพอจะประมาณอัตราเงินเฟ้อได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ เห็นได้จากพันธบัตรรัฐบาล อายุ 3 ปี เดือนมิถุนายนที่เสนอขายผ่านธนาคารกรุงเทพ กำหนดดอกเบี้ยไว้ที่ 4.9% สูงกว่าเดือนก่อนถึง 0.9%

เพราะถ้าตลาดยังมองไม่เห็นเพดานเงินเฟ้อก็จะทำให้ต้องกำหนดผลตอบแทนให้สูงเพื่อดึงดูดใจนักลงทุน เนื่องจากก่อนหน้านี้พันธบัตรชุดดังกล่าวที่กำหนดผลตอบแทนที่ 3% เศษในบางเดือนจะขายไม่หมด

คนกู้เหนื่อย

เขากล่าวต่อไปว่า เมื่อแบงก์ชาติส่งสัญญาณมาอย่างนี้แล้ว อัตราดอกเบี้ยในตลาดย่อมต้องปรับขึ้นในระดับหนึ่ง ธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งที่ปรับดอกเบี้ยขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้นส่วนหนึ่งเป็นการปรับเพื่อให้เท่ากับธนาคารอื่นและป้องกันลูกค้าเงินฝากหนีไป

ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเงินฝากก้าวกระโดดของธนาคารไทยพาณิชย์ ระยะเวลา 15 เดือนที่ปรับดอกเบี้ยเพิ่มทุก 3 เดือน เริ่มที่ 2.75% จนถึง 4% เฉลี่ยแล้วจะได้ผลตอบแทนราว 3.3% นับว่าเป็นอัตราที่น่าสนใจไม่น้อย

เมื่อแบงก์กล้าล่อใจลูกค้าด้วยดอกเบี้ยสูง ก็ย่อมต้องมีช่องทางการในการปล่อยสินเชื่อ จะเห็นได้ว่าระยะเวลาในการฝากที่ประมาณ 12-15 เดือนนั้น จะตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในกิจการ ที่ต้องการเงินมากขึ้นกว่าเดิมจากผลของราคาต้นทุนการผลิตทุกประเภทที่เพิ่มขึ้น

ดอกเบี้ยเงินฝากจากนี้ไปมีโอกาสขยับขึ้นได้อีก ส่วนจะเพิ่มเท่าไหร่นั้นคงต้องขึ้นกับความต้องการสินเชื่อ และภาระการแข่งขันอื่น เช่น พันธบัตรรัฐบาล(3ปี)ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ดังนั้นเราจะได้เห็นธนาคารเริ่มที่จะออกโปรโมชั่นเงินฝากด้วยดอกเบี้ยที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อล็อกเงินฝากของผู้มีเงินออมไว้ก่อนที่จะถูกเจ้าอื่นมาแย่งไป

ในทางกลับกันเมื่อด้านเงินฝากขึ้น ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ต้องปรับขึ้นตาม ดังนั้นผู้ที่มีภาระผ่อนชำระกับธนาคารที่อิงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคงต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้บ้าง หากในปีนี้ขึ้นไป 0.5% ผู้ที่ผ่อนบ้าน 1 ล้านบาทก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มอีกราว 5 พันบาท แต่ส่วนใหญ่แล้วหากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1% ธนาคารมักจะไม่ขอเพิ่มวงเงินผ่อนชำระ แต่จะใช้วิธีการตัดเงินต้นให้น้อยลง เท่ากับเป็นการยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระออกไปนั่นเอง

สำหรับภาคธุรกิจที่ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นนั้น ย่อมทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้นนอกเหนือจากราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมัน ดังนั้นกำไรที่ได้อาจจะน้อยลงหรืออาจจำเป็นต้องปรับราคาขายให้สูงขึ้น หากเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เมื่อราคาสูงขึ้นก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไปเร่งเงินเฟ้อได้

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้คือ กำลังซื้อของประชาชนจะลดลง รายได้จากการขายสินค้าของผู้ประกอบการก็จะลดลงตาม สิ่งที่ตามมานั่นคือการเก็บภาษีของภาครัฐที่อาจจะมีปัญหาตามมาได้ ดังนั้นแบงก์ชาติจึงต้องขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแท้ง

นี่คือสถานการณ์ที่ค่อนข้างลำบากทั้งในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ แบงก์ชาติและรัฐบาล เพราะดอกเบี้ยเงินกู้ที่ขึ้นนั้นไม่เกิดผลดีกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคประชาชนตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม

เริ่มจากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเดิมที่กำหนดไว้จาก 1 แสนบาทเป็น 1.5 แสนบาท ทำให้คนที่มีเงินเดือนไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือนไม่ต้องเสียภาษีเลยนั้น เมื่อเทียบที่ฐานรายได้ที่ 2 หมื่นบาทระหว่างเกณฑ์เก่ากับเกณฑ์ใหม่กรณีคนโสด เมื่อหักค่าลดหย่อนและประกันสังคมแล้ว เท่ากับรัฐคืนเงินให้พวกเขาราว 341 บาทต่อเดือนหรือ 1.7% ของรายได้ ขณะที่เงินเฟ้อเฉลี่ย 5 เดือนอยู่ที่ 5.8% ย่อมไม่พอต่อค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

ที่เห็นชัดที่สุดคงเป็นมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้รัฐบาลจะยอมลดค่าธรรมเนียมในการโอนและจดจำนองลงมาเหลือที่ 0.01% หรือลดภาษีธุรกิจเฉพาะลงมาอยู่ที่ 0.1% แต่จากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้นในอีกไม่ช้า ย่อมเป็นอุปสรรคสำคัญของมาตรการดังกล่าว

“คนที่จะซื้อบ้านใหม่ก็ต้องคิดหน้าคิดหลังอยู่พอสมควร หากเลี่ยงได้พวกเขาก็เลือกที่จะรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่านี้”

นอกจากนี้แล้วมาตรการของกระทรวงการคลังนั้นในทางปฏิบัติยังขัดแย้งกันไม่น้อยเห็นได้จากการส่งเสริมให้คนทำประกันชีวิตด้วยการเพิ่มรายการหักค่าลดหย่อนจาก 5 หมื่นเป็น 1 แสนบาท แต่ที่ผ่านมาประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างกรมธรรม์แบบออมทรัพย์กลับมีปัญหาจากกรมสรรพากรที่มองว่าเข้าข่ายเลี่ยงภาษี ทำให้ประกันประเภทนี้ต้องชะลอการขายออกไปเพื่อรอความชัดเจนจากกรมสรรพากร

หรือแม้แต่การเพิ่มรายการหักลดหย่อนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF)จาก 3 แสนบาทเป็น 5 แสนบาท ซึ่งคนในวงการนี้ได้ออกมาเสนอแนะว่า ไม่ได้ช่วยเพิ่มผู้ซื้อหน่วยลงทุนได้หรือส่งเสริมให้คนออมมากนัก เนื่องจากรัฐเพิ่มให้เฉพาะรายการหักลดหย่อนแต่ไม่ได้เพิ่มในเรื่องของเพดานในการซื้อหน่วยลงทุนที่ยังจำกัดอยู่ที่ 15% ตามเดิม

เมื่อภาคประชาชนที่เป็นผู้ซื้อหลัก ไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาล นั่นหมายถึงภาคธุรกิจแม้รัฐจะมอบสิทธิประโยชน์ให้ก็คงได้อะไรไม่มาก เพราะตราบใดที่อำนาจซื้อของผู้ซื้อตัวจริงไม่เพิ่มขึ้น สินค้าที่ผลิตมานั้นก็ยากที่จะได้รับความสนใจจากประชาชน

เดินเกมบีบ-ปลด

เมื่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศเริ่มขยับขึ้นภายใต้อำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังที่ใช้นโยบายภาษีทุกอย่างมากระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศแล้วยังไม่เห็นผลนั้น ก็ยังอยากเห็นดอกเบี้ยในประเทศต่ำเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ที่จะหมายถึงประโยชน์ขั้นสุดท้ายที่จะคืนกลับมานั่นคือการเก็บภาษีจากภาคประชาชนและธุรกิจ

ดังนั้นความพยายามที่จะจูงใจให้ธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นองค์กรอิสระ เห็นด้วยกับการคงดอกเบี้ยต่ำ จึงส่งเสียงดังขึ้นทุกขณะ ดูเหมือนที่ผ่านมา 2 หน่วยงานนี้มีความเห็นที่แตกต่างกันไม่น้อย เริ่มตั้งแต่การบีบให้แบงก์ชาติยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ที่ออกไว้ตั้งแต่ปลายปี 2549 เมื่อรัฐบาลพลังประชาชนเข้ามารับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ก็เดินเครื่องจนแบงก์ชาติยอมยกเลิกเมื่อ 3 มีนาคม 2551

ด้วยความบังเอิญที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2551 สูงขึ้นถึง 7.6% หลังจากนั้นข่าวความไม่ชอบมาพากลในการขายหุ้นธนาคารไทยธนาคารที่พุ่งเป้าไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ว่าได้สร้างความเสียหาย จุดหมายหลักพุ่งเป้าไปที่ตัวผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อม ๆ กับการออกมาส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารแห่งประเทศไทย

การออกแรงกดดันอย่างหนักของนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งในเรื่องการขาดทุนจากการขายหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคารให้กับนักลงทุนต่างชาติ ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ว่า ทำไปโดยผิดหลักการที่ไม่ลดทุนก่อนที่เพิ่มทุน ทำให้เกิดความเสียหาย พร้อมด้วยร่องรอยความขัดแย้งในเรื่องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้านบุคคลที่จะเข้ามานั่งในบอร์ดของธนาคารนครหลวงไทยที่กระทรวงการคลังส่งเข้ามา

รวมถึงการเดิมเกมของกระทรวงการคลังที่จะแต่งตั้งบอร์ดสรรหา ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ เนื่องด้วยบอร์ดชุดดังกล่าวมีผลต่อการพิจารณาการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังยังต้องการฟื้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายดอกเบี้ยต่ำ สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากผลของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้นจากแรงเก็งกำไรของนักลงทุน

ช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาแบงก์ชาติยังคงตรึงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25% มาโดยตลอด ดังนั้นการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนกรกฎาคมนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจะมีการเปลี่ยนตัวหรือไม่ เพราะฝ่ายของรัฐบาลนั้นได้วางตัวธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) จ่อคิวนั่งเก้าอี้นี้ไว้พร้อม ที่แม้เจ้าตัวจะออกมาปฏิเสธแล้วก็ตาม

หากทุกอย่างลงตัว ประเทศไทยก็จะเน้นไปที่นโยบายดอกเบี้ยต่ำตามความต้องการของกระทรวงการคลัง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงก็ตาม

แต่การเปลี่ยนตัวผู้ว่าฯ ตามพ.ร.บ.ฉบับใหม่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน แม้กระทรวงการคลังจะเดินเกมด้วยการส่งคนของตัวเองเข้าไปในบอร์ดที่มีผลต่อการทำงานของตัวผู้ว่าฯ เพราะเงื่อนไขในการให้ออกนั้นจะต้องเป็นความผิดร้ายแรง

อย่างไรก็ดีแรงกดดันในเรื่องเพิ่มทุนไทยธนาคาร อาจเป็นอีกทางหนึ่งที่ใช้บีบตัวผู้ว่าฯ หรือแม้ไม่ต้องเปลี่ยนตัวผู้ว่าฯ แต่อาจส่งผลให้แบงก์ชาติจำใจที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมด้วยความไม่เต็มใจ หากเป็นเช่นนั้นการฟื้นเศรษฐกิจภายใต้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ ท่ามกลางเงินเฟ้อสูง ถือเป็นการวัดดวงว่าท่ามกลางราคาสินค้าแพง ค่าครองชีพสูงนั้น กำลังซื้อของประชาชนที่มีอยู่จะมีพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้หรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us