Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 กรกฎาคม 2546
อนาคต AEONTS สดใสตามภาวะเศรษฐกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ อิออน ธนสินทรัพย์

   
search resources

จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย), บจก.
ธนาคารซิตี้แบงก์
อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์), บมจ.
มาซาโอะ มิซูโน
อภิชาต นันทเทิม




แนวโน้มธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเติบโตขยายตัวได้ดีมาก ผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้ของ AEONTS สะท้อนอนาคตที่สดใส มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจได้อย่างดี เห็นได้จาก นโยบายส่งเสริมการใช้จ่ายของผู้บริโภค ผ่านอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ใน เวลานี้ นักวิเคราะห์มอง AEONTS มีโอกาส เติบโตจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา คาดกำไรสูงถึง 550-590 ล้านบาทในปีนี้

11 ปีที่แล้ว ชื่ออิออนอาจจะไม่ค่อยเป็น ที่คุ้นหูคนไทยมากนัก แต่จากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้คนที่มี รายได้ในระดับพื้นๆ ทุกวันนี้ประชาชนไม่ต่ำ กว่าล้านคนเป็นลูกค้าของบริษัทนี้ไปเรียบ ร้อยแล้ว

บมจ.อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) (AEONTS) เริ่มต้นดำเนินธุรกิจเช่าซื้อในปี 2535 จากนั้นขยายธุรกิจในส่วนของการให้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และแฟกตอริ่ง เป็นบริษัทที่ให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้ารายย่อยเป็นรายแรกๆ ในประเทศไทย

ธุรกิจของ AEONTS คือ สินเชื่อเพื่อการบริโภค (Retail Finance) ถือเป็นเรื่อง ใหม่สำหรับตลาดเมืองไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจประเภทนี้มีการให้บริการและขอบข่ายของงานแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์และไฟแนนซ์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้า รายได้ หรือกลยุทธ์ทางการตลาด

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดังกล่าวไม่ใช่เรื่อง ใหม่สำหรับตลาดโลกในปัจจุบันที่เริ่มต้นมา เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วจากจีอี แคปปิตอล และซิตี้แบงก์ โดยทั้งสองบริษัทหันมาหา กลุ่มลูกค้ารายย่อยหลังจากเจ็บตัวจากลูกค้า รายใหญ่ ปัจจุบัน Retail Finance เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ 1 ใน 3 เทียบเคียงกับอุตสาหกรรม พลังงาน และยานยนต์

"ช่วง 3-6 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจสินเชื่อเพื่อการบริโภคทั่วโลกเติบโตเฉลี่ย 30% ทุกตลาด ขณะที่แบงก์กับไฟแนนซ์ ขาดทุนมโหฬาร" อภิชาติ นันทเทิม กรรมการ AEONTS ประเทศไทยบอกว่า

ความแตกต่างระหว่างธุรกิจ AEONTS กับธนาคารพาณิชย์และไฟแนนซ์ อยู่ที่การกระจายความเสี่ยง แม้ว่าบริษัทจะปล่อยสินเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่อัตราส่วนหนี้สูญยังอยู่ในระดับที่ต่ำจาก การกระจายความเสี่ยงผ่านลูกค้าจำนวนมาก และจำนวนเงินสินเชื่อต่อรายที่ไม่มากนัก

นอกจากนี้เสน่ห์ของธุรกิจสินเชื่อเพื่อการบริโภค คือ รายได้มีหลากหลายรูปแบบ โดยค่าธรรมเนียมที่ AEONTS จะได้รับเกิด ขึ้นทั้งในส่วนของลูกค้าเองและไม่ใช่ลูกค้า เช่น ค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเครดิตที่บริษัทคิด 100 บาท แม้ว่าจะเป็นตัวเลขไม่มาก แต่ปัจจุบันมีสมาชิกถือบัตรประมาณ 8.5 แสนราย

เติบโตน่าสนใจ

หลังจาก AEONTS ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกของปี (สิ้นสุด 20 พฤษภาคม 2546) ออกมาสร้างความประทับใจให้กับนักลงทุนพอสมควร ด้วยกำไรสุทธิ 114.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.13% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 100.36 ล้านบาท

โดยมีรายได้จากการให้สินเชื่อเช่าซื้อ 427.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.53% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากบริษัทเพิ่ม จำนวนคู่ค้าจาก 5,544 แห่ง ในปีที่ผ่านมา เป็น 5,936 แห่ง ซึ่งรายได้ดังกล่าวคิดเป็น 46% ของยอดการให้สินเชื่อรวม

ด้านรายได้จากบัตรเครดิต 220.08 ล้าน บาท ลดลง 3.67% จากไตรมาสแรกปีที่แล้ว เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตถูกกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่เกิน 18% ต่อปี ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

"อย่างไรก็ดี บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากเดิมเริ่มคิดในหนี้ค้างชำระจากวันที่สรุปยอดรายการ โดยเปลี่ยนเป็นเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่บริษัทได้ทดรองจ่ายเงินให้กับผู้ถือบัตร ซึ่งทำให้เพิ่ม จำนวนวันในการคำนวณดอกเบี้ย และสามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกำหนดอัตราเพดานดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตในบางส่วน" มาซาโอะ มิซูโน กรรมการผู้จัดการ AEONTS อธิบาย

สำหรับรายได้จากการให้เงินกู้ยืม AEONTS สามารถขยายการให้บริการมากขึ้น โดยอนุมัติสินเชื่อคิดเป็น 11% ของยอด การให้สินเชื่อรวม ทำให้มีรายได้ระดับ 197.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.08% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบผลกำไร ไตรมาส 1 ปีนี้ กับไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาลดลง 15% เนื่องจากรายได้ทุกประเภทปรับตัวลดลง โดยสุภาวดี สุทธะพินทุ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บล.กรุงศรีอยุธยา อธิบายว่าเกิดจากผลกระทบของฤดูกาลเพราะไตรมาสแรกของทุกปีเป็นช่วงที่รายได้ต่ำที่สุด

"นอกจากนี้บริษัทยังได้รับความเสียหายจากปัญหาโรคซาร์ส และข้อจำกัดในธุรกิจบัตรเครดิตตามเกณฑ์แบงก์ชาติ"

อีกทั้ง อัตรากำไรส่วนต่างดอกเบี้ย (Net Interest Margin) ลดลงอยู่ที่ระดับ 23.32% จากไตรมาสก่อนหน้าที่มี 27.15% และไตรมาสแรกปีที่แล้วซึ่งอยู่ระดับ 24% เนื่องเพราะผลตอบแทนในแต่ละธุรกิจลดลงจากภาวะการแข่งขัน

NPLs ลดลงตามพอร์ต

แม้ว่าหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) หมายถึง ลูกหนี้ค้างชำระมากกว่า 3 เดือน จะลดลงจาก 287.26 ล้านบาทในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็น 284.90 ล้านบาทในไตรมาสแรกปีนี้ แต่ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เพิ่มขึ้นจาก 319.79 ล้านบาท เป็น 332.43 ล้านบาท สะท้อนถึงความเสี่ยงลดลงของสิน ทรัพย์ของ AEONTS

"หาก NPLs สามารถ Recover กลับมาได้จะเป็นรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้นทันที เช่น ไตรมาสแรกนี้มีกำไรจากการขายสิน ทรัพย์สูงถึง 54 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าเป็น การขาย NPLs" สุภาวดี กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us