Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มิถุนายน 2551
ครึ่งปีแรกตลาดหุ้นทรุด มาร์เกตแคปวูบ4.2แสนล.             
 


   
search resources

Stock Exchange




ปัจจัยลบกระหน่ำหุ้นไทยนับแต่ต้นปีดัชนีปรับลดลงแล้ว 82.37 จุด หรือ 9.60% ทำมาร์เกตแคปหาย 4.20 แสนล้านบาท ขณะที่ฝรั่งขายสุทธิ 4.88 หมื่นล้านบาท ด้านบล.บีฟิท ประเมินเป้าดัชนีสิ้นปีจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ 855 จุด ระบุเงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยขึ้น ฉุดกำไรบจ.โตเพียง 19% ส่วนภาวะสัปดาห์นี้โบรกฯ เชื่อดัชนีแกว่งตัวในกรอบแคบ ลุ้นต่างชาติซื้อสุทธิ แนะติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. ราคาน้ำมันดิบ และการปรับคณะรัฐมนตรี

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (27 มิ.ย.) ดัชนีปิดที่ 775.73 จุด ซึ่งเมื่อพิจาณาตั้งแต่ต้นปีพบว่าดัชนีปรับลดลงถึง 82.37 จุด หรือ 9.60% จาก 858.10 จุด ส่งผลให้มาร์เกตแคปตลาดลดลง 420,364.88 ล้านบาท อยู่ที่ 6,115,953.63 ล้านบาท จาก 6,536,318.51 ล้านบาท โดยดัชนีปิดสูงสุดที่ 884.19 จุด เมื่อวันที่ 21 พ.ค. และปิดต่ำสุดที่ 728.58 จุด เมื่อวันที่ 24 ม.ค.

ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 19,411.50 ล้านบาท สูงสุดที่ 42,227.99 ล้านบาท และต่ำสุดที่ 7,464.38 ล้านบาท อย่างไรก็ดีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 48,799.36 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2,818.57 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 45,980.79 ล้านบาท

นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเริ่มปรับตัวลงแรงในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น และราคาน้ำมันดิบที่แกว่งตัวขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การเมืองในประเทศที่กลับมาร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับแนวโน้มช่วงครึ่งปีหลังหากสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และค่าเงินบาทไม่อ่อนค่ามากไปกว่านี้ ตลาดหุ้นไทยก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในครึ่งปีหลัง ได้แก่ สถานการณ์การเมืองในประเทศ รวมทั้งทิศทางราคาน้ำมันดิบ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลเกี่ยวเนื่องกัน โดยประเมินว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยครึ่งปีหลังจะอยู่ในระดับสูงกว่า 6% และอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับ 4-4.5% ทำให้มองว่า GDP จะโตที่ระดับ 4.5-5% จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 4.5-5.5% เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่ชัดเจน และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น

ขณะที่กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะเติบโตที่ระดับ 19-20% จากเดิมประเมินไว้ที่ 24% เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ประกอบกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นกดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง อีกทั้งแต่ละบริษัทมีความสามารถในการปรับราคาที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทแตกต่างกันไปด้วย

ทั้งนี้ เมื่อประเมินจากสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจปัจจุบัน ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีฐานอยู่ที่ 720 จุด หมายความว่าหากดัชนีปรับลดลงมากกว่าจุดดังกล่าวแสดงว่าราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐาน และหากปัจจัยต่างๆ ไม่ดีขึ้นมากนัก ดัชนีจะมีเป้าหมายสิ้นปีที่ 855 จุด แต่หากสถานการณ์การเมืองดีขึ้นมีโอกาสที่ดัชนีจะปรับขึ้นไปถึง 920-930 จุด โดยกลุ่มที่น่าสนใจครึ่งปีหลัง คือ กลุ่มส่งออก เนื่องจากจะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท

ลุ้นต่างชาติซื้อสุทธิ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึง แนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ว่าปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งกดดันภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาล การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ การประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.ของกระทรวงพาณิชย์ ที่คาดว่าจะสูงกว่าเดือนพ.ค.ที่ 7.6% จากราคาาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น และการอ่อนค่าของเงินบาท ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกนง.ในการประชุมเดือนนี้ และการเริ่มใช้เกณฑ์เทรินโอเวอร์ลิตส์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้หุ้นขนาดเล็กที่มีงบขาดทุนและมีพีอีสูง มีโอกาสเจอแรงเทขายออกมา

ขณะที่ แนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้คาดว่าดัชนีจะแกว่งผันผันผวนในกรอบแคบ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ยังไม่มีความชัดเจน อาทิ การเมืองในประเทศ ทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ และราคาน้ำมันดิบ รวมถึงหมดการทำ Window Dressing ปิดงบไตรมาส 2/51 ไปแล้ว โดยประเมินแนวรับที่ 750 จุด แนวต้าน 785-787 จุด และมีแนวต้านหลักที่ 795-800 จุด

ส่วนกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนระยะกลางถือลงทุนหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี นักลงทุนระยะสั้น ใช้กลยุทธ์ขึ้นขาย ลงซื้อ โดยกลุ่มที่น่าสนใจ คือ กลุ่มพลังงาน

นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นกระเตื่องขึ้นเล็กน้อย แต่นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้เชื่อว่าดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบแคบ ไม่ปรับลงแรง แต่โอกาสปรับขึ้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่แกว่งตัวขึ้น สร้างความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้ออีกระลอก เห็นได้จากดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวลงในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ด้านประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ประการแรก การรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าจะมากกว่า 8% เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น

อย่างมาก ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ประการที่สอง ราคาน้ำมันดิบที่แกว่งตัวขึ้น โดยที่สหรัฐฯ มีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบจะขึ้นไปถึง 150 เหรียญต่อบาร์เรล ในวันชาติสหรัฐฯ บวกกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ เมื่อเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประการที่สาม ความกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอของสถาบันการเงินสหรัฐฯ และประการสุดท้าย สถานการณ์การเมืองในประเทศ ติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และการปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาล

โดยประเมินแนวรับที่ 763-770 จุด แนวต้านที่ 780-788 จุด ซึ่งมองว่าน้ำหนักปัจจัยการเมืองในประเทศจะลดลง โดยประเด็นหลักๆ จะอยู่ที่อัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันดิบ รวมถึงน่าจะเริ่มมีการเก็งกำไรหุ้นกลุ่มแบงก์จากผลประกอบการไตรมาส 2/51 ที่คาดว่าจะออกมาดี ขณะเดียวกันให้ติดตามทิศทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะขายสุทธิน้อยลง สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำเล่นระยะสั้นไปก่อน โดยกลุ่มที่น่าสนใจ คือ กลุ่มแบงก์ กลุ่มพลังงาน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

นายกมลชัย พลอินทวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า แนวโน้มสัปดาห์นี้คาดว่าดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากกราฟเทคนิคบ่งชี้ว่าดัชนีกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังสามารถต้านทานแรงขายและยืนเหนือแนวรับสำคัญที่บริเวณ 771 จุด นอกจากนี้เชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะมีแรงซื้อเข้ามาในสัปดาห์นี้ หลังจากได้ขายสุทธิออกมาต่อเนื่องกว่า 4 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเข้าซื้อหุ้นคืน โดยประเมินแนวรับที่ 765 จุด และแนวต้านที่ 790-800 จุด

อย่างไรก็ตามต้องจับตาความเสี่ยงทางการเมืองที่กลุมพันธมิตรฯ จะเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำทยอยซื้อสะสมหุ้นมาร์เกตแคปขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มพลังงาน

ด้าน ทีมวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า กล่าวว่า หากประเด็นการเมืองในประเทศทรงตัวและปัจจัยต่างประเทศไม่เลวร้ายมาก เดือนหน้าดัชนีอาจแกว่งตัวไปด้านข้างในกรอบ 737-810 จุด สำหรับสัปดาห์นี้เมื่อสิ้นสุดการทำ Window Dressing แล้ว หากดัชนีไม่สามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ SMA-10 วัน ที่ 770 จุด ได้ก็จะอ่อนตัวลงมาที่แนวรับ 754 จุด อย่างไรก็ดีนักลงทุนต่างชาติเริ่มซื้อกลับสุทธิเล็กน้อย 138 ล้านบาทในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ก่อนที่วันสุดท้ายของสัปดาห์กลับมาขายสุทธิต่อ 1,802 ล้านบาท แต่ยังไม่สามารถบอกอะไรได้มากจนกว่าจะเห็นแรงซื้อกลับของนักลงทุนต่างชาติปรับเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจึงจะถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี ดังนั้นกลยุทธ์ช่วงนี้ หากดัชนีเคลื่อนตัวออกด้านข้างให้เข้าซื้อขายตามกรอบดังกล่าวจนกว่าจะเปลี่ยนแนวโน้ม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายก็มีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง แต่มูลค่าการลงทุนยังคงขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักของนักลงทุนต่างชาติต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ โดยแม้ตลาดหุ้นไทยจะมีปัจจัยบวกจากการที่ดัชนีปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีราคาถูก (ค่า P/E ต่ำ) ในขณะที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่ราคาหุ้นในหลายตลาดในภูมิภาคปรับลดลงมากกว่า ประกอบกับแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติอาจจะถูกจำกัดด้วยความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้คาดว่านักลงทุนต่างชาติยังคงต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจเหล่านี้ต่อไป นอกเหนือจากประเด็นทางด้านการเมืองในประเทศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us