|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
โออิชิ เจรจาซื้อแฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นเพิ่มอีก 2 แบรนด์ หวังเพิ่มพอร์ตโพลิโอ ตอกย้ำผู้นำอาหารญี่ปุ่น ส่วนแบรนด์ "ไมโดะ" ต้องเลื่อนเปิดตัวเป็นปลายปี เหตุยังหาทำเลเหมาะสมไม่ได้ เผยปรับตัวรับวัตถุดิบขึ้นราคา เจรจาซื้อสต็อกยาว 3 ปี
นายไพศาล อ่าวสถาพร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจร้านอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทฯต้องเลื่อนแผนการเปิดตัวร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ "ไมโดะ โอกินิ โชกุโด"ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ที่โออิชิซื้อมาจากบริษัท เวนเจอร์ ลิ้งค์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้ว จากเดิมที่วางแผนจะเปิดบริการสาขาแรกกลางปีนี้เลื่อนไปเป็นช่วงปลายปีนี้แทน เนื่องจากยังไม่สามารถหาทำเลที่เหมาะสมในการเปิดสาขาแรกได้ซึ่งต้องใช้พื้นที่ขั้นต่ำ 120 ตารางเมตร และลงทุนเฉลี่ย 7 ล้านบาท เพราะเปิดสาขาแรกจึงต้องหาทำเลที่ดีที่สุดเพื่อเป็นการสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ที่ดีด้วย
อย่างไรก็ตามขณะนี้กำลังดูทำเลใหม่ทั้งที่เซ็นทรัลเวิลด์และสยามพารากอนไว้แล้ว ขณะที่สาขาที่สองและสามนั้นก็มีพื้นที่รองรับไว้แล้ว ทั้ง เซ็นทรัลบางนา สยามสแควร์ เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เป็นต้น และยืนยันว่าไม่มีการปรับเปลี่ยนร้านอาหารในเครือโออิชิเดิมมาเป็นร้านไมโดะแน่นอน
นอกจากนั้นทางโออิชิยังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการซึ่งเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นอีกอย่างน้อย 1-2 ราย เพื่อที่จะซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาเปิดบริการในไทย เพื่อเป็นการขยายธุรกิจและตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดอาหารญี่ปุ่นของโออิชิในประเทศไทย ซึ่งมั่นใจว่าแต่ละแบรนด์ที่ซื้อมานั้นจะไม่มีการซ้ำซ้อนกันในแง่ของตลาดกลุ่มเป้าหมาย โดยปัจจุบันโออิชิมีร้านอาหารในเครือรวม 13 แบรนด์
นายไพศาล กล่าวถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ด้วยว่า การทำตลาดในยุคนี้ค่อนข้างเหนื่อยมาก เนื่องจากว่ามีปัจจัยลบจำนวนมากทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวขึ้นด้วย หรือแม้แต่เรื่องความขัดแย้งทางการเมือง แต่ทั้งนี้บริษัทฯก็มีการปรับแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบ
โดยบริษัทฯได้ปรับแผนดำเนินงานด้วยการหันมาสั่งซื้อวัตถุดิบมาเก็บสต็อกไว้จากเดิมระยะสั้น 6 เดือนเพิ่มเป็น 1 ปี ส่วนบางอย่างก็มีการสั่งซื้อสต็อกไว้จากเดิม 1 ปีเพิ่มเป็น 3 ปี เพื่อความมั่นใจในเรื่องราคาที่ไม่มีการปรับราคาขึ้น ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าใดนัก
จากการปรับตัวนี้เอง ทำให้ผลประกอบการในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของโออิชิในกลุ่มอาหารนั้น ปรากฎว่ามียอดขายที่เพิ่มขึ้นกว่า 20% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 9 ปีก็ว่าได้ ซึ่งเหตุผลนอกจากการควบคุมต้นทุนแล้วยังเป็นผลมาจาก การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายกับเทศกาลอาหารต่างๆ ซึ่งแต่ละครั้งที่จัดนั้นจะมีเมนูอาหารใหม่ๆมากกว่า 30 เมนูไว้บริการ ซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี ล่าสุดคือ แคมเปญ การนำดอกซากุระมาทำเป็นอาหาร ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี
สำหรับผลประกอบการทางด้านธุรกิจกลุ่มอาหารของโออิชินั้น คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีรายได้ประมาณ 2,500 ล้านบาท เติบโตประมาณ 17%
"ผมคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้ สถานการณ์ต่างๆน่าจะดีขึ้นกว่าต้นปี แต่เรื่องการเมืองนี้น่าห่วงที่สุด เพราะว่าเป็นปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนต้นทุนวัตถุดิบที่ยังพอจัดการได้" นายไพศาลกล่าว
|
|
 |
|
|