Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533
ใครคือ โมโตโรล่า             
 

   
related stories

ความเปลี่ยนแปลงในโมโตโรล่า

   
search resources

Motorola Inc.




ความสำเร็จในทางการค้าของวิทยุติดรถยนต์นำชื่อเสียงมาสู่โมโตโรล่าเป็นอย่างมาก ประดิษฐกรรมชิ้นนี้ประกอบด้วย วิทยุ ลำโพง แบตเตอรี่ หัวควบคุม และสายอากาศที่บางครั้งใช้เวลาเป็นวันกว่าจะต่อสำเร็จ

ฮาร์รี่ มาร์คเขียนไว้ในอนุสรณ์ชีวประวัติส่วนตัวของพอล กัลวิน ผู้ก่อตั้งโมโตโรล่าว่า "หากอุปกรณ์ชิ้นว่นพวกนี้สามารถเชื่อมโยงกันได้ก็จะกลายเป็นวิทยุส่งเสียงเพลงแม้ขณะรถหยุดวิ่งและเครื่องยนต์ดับ"

พอล กัลวินลงทุนในบริษัทกัลวิน แมนูแฟคเจอริ่งเป็นเงิน 565 เหรียญปี 1928 เดี๋ยวนี้ได้งอกเงยบานเบ่งไปเป็นทรัพย์สินเกินกว่าสามพันล้านเหรียญไปรูปหุ้นสาธารณะ ปี 1987 ยอดขายประจำปีเท่ากับ 6.7 พันล้านและพนักงานกว่าแสนคน จัดตั้งโรงงานกว่า 18 ประเทศ และสำนักงานขายมากมายหลายแห่ง เฉพาะในสหรัฐฯโมโตโรล่าเป็นเจ้าของพื้นที่อุตสาหกรรมและสำนักงานบริหารประมาณ 19.1 ล้านตารางฟุต หรือ 1.77 ล้านตารางเมตร และนอกสหรัฐฯอีกหกล้านสามแสนตารางฟุต

ปัจจุบันบริษัทแบ่งส่วนบริหารออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้

1. ฝ่ายคอมมิวนิเคชั่น ทำหน้าที่ผลิตวิทยุสองทางและระบบจัดหน้าความถี่ (เพ็จจิ้งซิสเต็มส์) ประมาณยอดขาย 2.51 พันล้าน ปี 1987 หรือ 36 เปอร์เซ็นต์ ยอดขายรวมทั้งบริษัท และเริ่มประกอบวิทยุเอฟเอ็มตอนสงครามโลกครั้งที่ 2

2. ฝ่ายเซมิคอนดักเอตร์โปรดักส์ ปี 1987 ทำรายได้ 2.19 พันล้านเหรียญ หรือ 32

เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรวม จำหน่ายผลิตภัณฑ์หลายอย่าง รวมถึงไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล 68000 โปรเซสเซอร์สัญญาณดิจิตอล ดีเอสพี 56001 วงจรไอซีเฉพาะงาน และซีมอสแอร์เร่ย์ 8000- เกทไบโปล่าร์ เซคเตอร์นี้เริ่มต้นจากส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการทหารในฟินิกซ์ปี 1949 ภายใต้ควบคุมดูแลของแดเนียล อี.โนเบิลผู้เชี่ยวชาญและอัจฉริยะด้านวางแผนเทคโนโลยี อดีตศาสตราจารย์มหาลัยคอนเน็คติคัต และปี 1940 พอล กัลวินชักชวนเข้าสู่โมโตโรล่า

3. กลุ่มอินฟอร์เมชั่นซิสเต็มส์ขายได้ 528 ล้านเหรียญ ปี 1987 หรือ 8 เปอร์เซ็นต์

ของธุรกิจ เกิดจาการซื้อสองบริษัทรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่โคเด็กซ์ปี 1977 ผลิตระบบบริหารโครงข่าย มัลติเพลกเซอร์และโมเด็มและอีกบริษัทคือยูนิเวอร์ซัลดาต้าซิสเต็มส์ปี 1978 ทำเครื่องมือสื่อสารเช่นกัน รวมทั้งโมเด็มส์และหน่วยดิจิตอลเซอร์วิส

4. กลุ่มกอฟเวิร์นเม้นต์อิเล็กทรอนิกส์ 8 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจหรือ 540 ล้านเหรียญของ

ยอดขายปี 1987 ส่วนหนึ่งมากจากสัญญาสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับเป้าในเครื่องยิงจรวดสแตนดาร์ดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ และโมดุลระบบเซอร์เวลล้านซ์ฐานเรดาร์ป้องกันการโจมจีของกองทัพสหรัฐฯ ปลายปี 1940 โมโตโรล่าจัดตั้งโรงงานในฟีนิกซ์ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับกองทัพ เพื่อเป็นชิ้นส่วนสนับสนุนให้กับกองกำลังทหารระหว่างสงครามเกาหลี

5. กลุ่มอื่น ๆ เท่ากับ 16 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือของธุรกิจ เช่นกลุ่มเยนเนอรัลซิสเต็มทำ

โทรศัพท์เซลลูล่าร์ร่วมกับกลุ่มคอมพิวเตอร์คือ โฟร์-เฟสซิสเต็มส์ กลุ่มโอโตโมตีฟ แอนด์อินดัสเตรียลอิเล็กทรอนิกส์ทำอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ เซ้นเซอร์ทรานสดิวเซอร์ ทำด้วยปิโซริซิสเอตร์สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและระบบควบคุมยางบวมเป่ง และบริษัทซื้อกลุ่มใหม่ ๆ เข้ามารวมทั้งโครงการคอมพิวเตอร์เอ็กซ์สำหรับออกแบบและสร้างคอมพิวเตอร์ดิสสริบิวเต็ดรีล-ไทม์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us