เมื่อตลาดไมโครโปรเซสเซอร์ยุคใหม่เปลี่ยนไปตามความเร็วการทำงานของตัวไมโครโปรเซสเซอร์
ผู้นำรุ่นใหม่ของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล้กทรอนิกส์ที่มีชื่อเสียงก็จำต้องปรับตัวตามไปด้วย"
โมโตโรล่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกอุตสาหกรรมอิเล้กทรอนิกส์ที่ประกอบตั้งแต่เครื่องวิทยุกระเป๋าหิ้วไปจนถึงแผ่นชิพไมโครโปรเซสเซอร์
เริ่มส่งผ่านอำนาจบริหารระดับสูงไปสู่ชนรุ่นใหม่ นับแต่บ็อบกัลวินวางมือจากตำแหน่งประธานบริาท
และรับบุคลากรภายนอกตระกูลเข้ามาเป็นผู้บริหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 60
ปีอันยาวนานของบริษัท
โรเบิร์ต ดับบลิว กัลวินผู้สืบทอดกิจการจากบริดาเมื่อสามสิบปีก่อนยมอสละตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้บิรหาร
(ซีอีโอ) และมีแนวโน้มว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งประธานในอีกสองสามปีข้างหน้า
นับเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวหนึ่งที่คนนอกมีสิทธิ์เข้ากุมชะตากรรมบริหารโรงงาน
ผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์มูลค่า 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำนักงานใหญ่ที่ชอมเบิร์ก
รัฐอิลลินอยส์ บริาทเริ่มต้นธุรกิจกระจ้อยร่อยโดยเป็นผู้ประกอบวิทยุติดรถยนต์
และนั่นคือที่มาของคำโมโตโรล่าจากคำ "มอเตอร์" รวมกับ "-โอล่า"
หรือวิคโทรล่า ซึ่งมีความหมายว่า "เสียงในขณะกำลังเคลื่อนที่"
กัลวินอายุ 65 ปี ขณะนี้คาดกันว่าอาจยกตำแหน่งประธานให้กับจอร์จ ฟิสเชอร์
อดีตผู้จัดการเอทีแอนด์ทีเบลล์แลบส์ โฮล์มเดล รัฐนิวเจอร์ซี่ ในอีกสามสี่ปีข้างหน้าฟิสเชอร์เข้าร่วมกับโมโตโรล่าปี
1976 ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายระบบผลิตและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารชั้นสูงหลายระดับก่อนถึงตำแหน่งปัจจุบัน
คือหัวหน้าและคณะผู้บริหาร ซึ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคมปี 1988
คุณสมบัติการทำงานที่คล่องแคล่วว่องไว และเฉียบแหลมของฟิสเชอร์ทำให้บริษัทรุ่งเรืองเฟื่องฟูในธุรกิจบรรดาศักดิ์นี้และเป็นเหตุผลหนึ่งเบื้องหลังความสำเร็จพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของเขา
จุดสำคัญที่สุดของความเปลี่ยนแปลงดูเหมือนจะเป็นการเลื่อนฐานะเมื่อสองสามเดือนที่แล้วของคริสโตเฟอร์
บี. กัลวินบุตรชายอายุ 38 ปี ของบ็อบขึ้นเป็นรองประธานอาวุโส และชีฟคอร์ปอเรทสตาฟฟ์
ออฟฟิสเซอร์ ทำหน้าที่ผู้ช่วยพิเศษของฟิสเชอร์ ตำแหน่งนี้ถูกจัดวางในระดับที่จะเป็นตัวแทนรุ่นที่สามของกัลวินในโครงสร้างบริหารของโมโตโรล่าอีก
10-12 ปีข้างหน้า แต่พนักงานประชาสัมพันธ์บริษัทยืนยันว่าทายาทผู้สืบทอดมรดกผู้บริหารสูงสุดของกัลวินนั้นยังมีความไม่แน่นอนไม่อาจรับประกันได้
อย่างไรก็ดี โรเบิร์ตผู้พี่ย้ำว่าน้องชายต้องได้นั่งตำแหน่งระดับสูงให้ได้
ในบางแง่มุม บริษัทซึ่งบ็อบตั้งใจจะส่งทอดต่อไปนั้นยังคงคล้ายคลึงกับบริษัททีเขาครอบครองเมื่อปี
1959 ดังเช่นธุรกิจสื่อสารทำรายได้เป็น 36 เปอร์เซ็นต์ของรายได้อื่นทั้งหมดภายในบริษัท
แต่ในส่วนอื่นบริษัทได้แปรรูปไป ได้แก่ธุรกิจวิทยุติดรถยนต์และคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์
ปี 1972 บริษัทนำเครื่องรับโทรทัศน์คือควอซ่าร์ได้ถูกขายให้แก่มัตสุชิตะ
อีเลคตริคอินดัสเตรียล โอซาก้า ญี่ปุ่น บริษัทนี้ได้ทุ่มเทเงินทุนลงไปมากเพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ในทางตรงข้าม ปี 1984 ธุรกิจทรานซิสเตอร์ที่เมื่อ 30 ปีก่อนงอกเงยเฟื่องฟูมากปัจจุบันเงินลงทุนสูงเกินกว่าภาคสื่อสารอยู่พอควร
ปีนี้ชิพคอมพิวเตอร์ริสค์ (รีดิวซ์อินสตรัคชั่น-เซคอมพิวเตอร์) ได้รับการสั่งซื้อจากโรงงานผู้ผลิตระบบใหญ่
ๆ และไม่โครโปรเซสเซอร์ 68040 ที่มีสมรรถนะเหนือยิ่งกว่ากำลังไล่ตามิติด
32-บิท 68030 ระดับหัวแถวในปลายปีนี้แต่ไม่ว่าตัวไหนก็ตามความพยายามของโมโตโรล่าในอันที่จะให้ระบบคอมพิวเตอร์สมบูรณ์พร้อมไปหมดทุกอย่างนั้นดูยังห่างไกลความสำเร็จอยู่
สัญลักษณ์ของความสำคัญ่ทางธุรกิจสารกึ่งตัวนำต่อปฏิบัติการโดยรวมคือการเลื่อนตำแหน่งของแกรี่
แอล.ทูเกอร์จากผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอรืไปเป็นผู้อำนวจการฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท
ขณะเดียวกันห้องปฏิบัติการโมโตโรล่าได้ลดงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับกัลเลียม
อาร์เซไนด์ สารประกอบกึ่งตัวนำกลุ่มที่ III-V อื่น ๆ วงจรเลียนเสียงคำพูด
และงานที่เกี่ยวข้องกับระบบดิจิตอลวิทยุเคลื่อนที่
อิทธิพลสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงในโมโตโรล่าคือการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศญี่ปุ่น
บ็อบ กัลวิน ประธานบริษัทได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หลายครั้งหลายหน
โจมตีระบบและแนวปฏิบัตทางการค้าของคนญี่ปุ่นอย่างรุนแรงตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ
และญี่ปุ่น แต่นับเป็นศิลปะทางการค้าอย่างหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้โมโตโรล่าตัดสินใจร่วมวางแผนลงทุนกับบริาทโตชิบา
เพื่อผลิตและจำหน่าย 32-บิทไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล 68000 ชิพตัวนี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมและใช้กันมากในหลายร้อยบริษัทที่ทำเกี่ยวกับระบบ
ผลพลอยได้คือโมโตโรล่าสามารถรับเอาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตไดนามิคแรม (DRAM)
อันมีประสิทธิภาพสูงจากโตชิบาเป็นการตอบแทน อุปกรณ์ชิ้นนี้ ทำให้บริษัทผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำอื่น
ๆ ของสหรัฐฯถูกบริษัทญี่ปุ่นแย่งตลาดไปเป็นจำนวนมากเมื่อไม่นานที่ผ่านมา
การร่วมมือกับหุ้นส่วนใหม่ดังกล่าวโมโตโรล่าต้องพบกับปฏิกิริยาต่อต้านจากรัฐสภาสหรัฐฯสืบเนืองจากการขายเทคโนโลยีที่ล่อแหลมให้กับประเทศรัสเซีย
สมาชิกรัฐสภาต่างลงมติแซงค์ชั่นโตชิบา แต่โมโตโรล่ากลับไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่ารัฐสภาลงโทษโตชิบาเฉพาะการขายมิลลิ่งแมชีน
(เครื่องเซาะหรือจักโลหะ) ให้กับโซเวียตเพื่อสร้างเครื่องยนต์ขับดันเรือดำน้ำที่มีเสียงเวียบมากจนทำให้เรือดำน้ำโซเวียตสามารถหลบหลีกการตรวจจับไปได้
ทว่าการลงทุนร่วมกันทางการค้าระหว่างบริษัทกับโตชิบาเป็นการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้กับเครื่องใช้ภายในบ้าน
ดังนั้นตามกฎหมายสหรัฐฯการกระทำเช่นนี้ จึงย่อมไม่เป็นการผิดพระราชบัญญัติทางการค้าที่ประกาศใช้ในสมัยประธานาธิบดีเรแกนแต่อย่างไรกรณีนี้โตชิบาไม่ควรถูกลงโทษแซงค์ชั่น
ยุทธวิธีทั้งหลายแหล่ของโมโตโรล่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ปี 1987 ผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
59 เปอร์เซ็นต์ถึง 308 ล้านเหรียญ จากยอดขายซึ่งกระโดดขึ้นไป 14 เปอร์เซ็นต์ถึง
6.7 พันล้านเหรียญ กำไรในไตรมาสแรกปี 1988 มากกว่าสองเท่าคือ 114 ล้านเหรียญ
ขณะเดียวกันการขายพุ่งขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์ คือ 1.9 พันล้านเหรียญความสำเร็จในสายธารสารกึ่งตัวนำและธุรกิจสื่อสารได้รับแรงศรัทธาและความเชื่อถือจากสถาบันเงินทุนหลายแห่งย่ายวอรลล์สตรีท
แต่กระนั้นก็ตาม โมโตโรล่าก็เหมือนบริษัทอื่น ๆ จำนวนมากที่หวั่นเกรงภัยว่าจะตกเป็นเหยื่อของการถูกฮุบเขมือบบริษัทความจริงแล้วเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้บริษัทได้ออกจดหมายฉบับส่งถึงพนักงานทุกคน
ยืนยันว่าผลประโยชน์ของพวกเขาจะต้องได้รับการปกป้องหากเกิดกรณีบริษัทถูกซื้อกิจการไป
บรรยากาศดี-สภาพแวดล้อมน่าทำงาน
แม้โมโตโรล่าจะเป็นบริษัทมหาชนมาตั้งแต่ปี 1943 แต่บรรยากาศก็ยังคงลักษณะธุรกิจครอบครัว
ทำนองเดียวกับบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ ความพยายามในอันที่จะสร้างสรรค์บรรยากาศการทำงานที่ท้าทายแก่พนักงานมีอยู่ตลอดเวลา
อิทธิพลระบบบริหารแบบญี่ปุ่นเข้ามาครอบงำอยู่มากในปัจจุบัน แต่โมโตโรล่าก็ใช้วิธีให้ความอบอุ่นและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานไม่มีการตอกบัตรลงเวลา
ไม่มีสหภาพพนักงานที่ทำงานกับบริษัทมา 10 ปีจะไม่มีวันถูกไล่ออกโดยปราศจากความเห็นชอบจากกัลวิน
แม้ระหว่างห้วงเวลาวิกฤติผลประกอบการตกต่ำ แทนการปลดผู้คนออกบริษัททพยายามลดจำนวนเวลาการทำงานลงสัปดาห์ละหนึ่งหรือสองวัน
การฝึกฝนทบทวนซ้ำเป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่งของการบริหาร กล่าวกันว่าบริษัทใช้จ่ายเงินปี
1987 ถึง 44 ล้านเหรียญกับการฝึกฝนอบรม หรือประมาณ 2.4 เปอร์เซ้นต์ของค่าใช้จ่ายรวมวิศวกรไฟฟ้าทำงานมาจนถึงครึ่งอายุสามารถเรียนต่อปริญญาโทในสาขาที่ต้องการ
และเปลี่ยนไปเรียนบริหารธุรกิจก็ได้ บริษัทจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด คนงานในฝ่านผลิตบางคนพบว่าระดับความรู้ทางคณิตศาสตร์เพียงแค่มัธยมสี่เท่านั้นจากการทดสอบความรู้
ดังนั้นพวกนี้จะได้รับการสอนความเชี่ยวชาญพื้นฐานเพื่อเตรียมสำหรับแก้ปัยหาด้านสถิติควบคุมคุณภาพ
มีอยู่ระยะหนึ่งกัลวินทดลองบ่มเพราะทัศนคติที่กว้างและลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับการบริหารระหว่างผู้จัดการระดับสูงโดยส่งไปสัมมนาหนึ่งเดือนที่ทุ่งเลี้ยงวัวบริเวณ
2 พันเอเค่อร์ ใกล้ทัคสันขบวนการอย่างนี้เรียกเป็นการภายในว่า "การฉาบผิว"
(กัลวาไนเซชั่น)
ความอุตสาหะเหล่านี้ให้ผลดีเยี่ยมอยู่เสมอ ผู้บริหารระดับยอด 75 คนใน 87
คนจะอยูทำงานเกิน 10 ปีทั้งนั้น เฉพาะอย่างยิ่งวิศวกรที่มีความบากบั่นพากเพียรสูงอยู่นานกว่าเพื่อน
วิลเฟรด คอร์ริแกน อดีตพนักงานโมโตโรล่าปัจจุบันประธานบริษัทแอลเอสไอลอจิก
มิลพิทาศ แคลิฟอร์เนียผู้ผลิตไอซีเฉพาะงานกล่าวว่า "ผู้จัดการที่ผมรู้จักเมื่อ
20 ปีก่อนส่วนมากเป็นวิศวกรปัจจุบันเป็นผู้รับผิดชอบสายงานสำคัญ ๆ ในบริษัท
การอยู่ร่วมงานกับบริาทเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงตำแหน่งระดับสูงอย่างนี้ก่อให้เกิดความคงเส้นคงวาในแนวนโยบายการบริหาร"
อย่างไรก็ดีความพยายามในอันที่จะจัดองค์กรที่มีพนักงานเป็นจำนวนหมื่น ๆ
คนเช่นนี้จำเป็นต้องอาศัยการวางระเบียบกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดพอควร แม้วิศวกรจะสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นไปเป็นผู้บิรหารหรือเดินตามแนวทางด้านเทคนิค
แต่โมโตโรล่าหรือบริษัทใหญ่อื่น ๆ ก็ไม่อาจขยายหรือเปิดบริษัทใหญ่อื่น ๆ
ก็ไม่อาจขยายหรือเปิดบริษัทใหม่ ๆ เพื่อรองรับกับวิญญาณของนักประกอบการที่มีอยู่ในหัวใจของพนักงานได้
คนเหล่านี้หรือแม้แต่วิศซกรที่พยายามองหาความก้าวหน้าชนิดโตวันโตคืนเร็ว
ๆ ก็อาจสุ่มตัวอย่างประสบการณ์จากการทำงานกับบริษัทใหญ่แล้วก็ลาออกไป
อดีตพนกงานคนหนึ่งในฝ่ายผลิตภัณฑ์เคลื่อนที่ของโมโตโรล่ากลายเป็นคนเจ้าทุกข์ลุกลี้ลุกราน
หลังจากทำงานมาสี่ปีกับบริาทวิศวกรไฟฟ้า หนุ่มผู้นี้สมัครเข้าทำงานกับโมโตโรล่าทันทีหลังออกจากมหาวิทยาลัยสด
ๆ ร้อน ๆ เขาพูดถึงผู้บิรหารระดับกลางคนหนึ่งมุทะลุก้าวร้าวพยายามผลักดันงานออกแบบโครงการโดยไม่สนใจว่านั่นเป็นการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายใจให้กับเพื่อนร่วมงาน
งานของเขาต้องจัดการกับกองเอกสารและกระดาษปึกมโหฬารเขาตัดสินใจลากออกและทำงานกับบริษัทที่เล็กลง
แต่มีการเลื่อนชั้นเร็วและความรับผิดชอบสูงขึ้น ประสบการณ์จากโมโตโรล่าให้ข้อดีด้านบวกในแง่หนึ่งคือ
โอกาสทำงานใกล้ชิดกับโรงงานฝ่ายผลิตมองเห็นโครงการดำเนินไปจากแผ่กนระดาษจนถึงออกมาเป็นชิ้นผลิตภัณฑ์
เขากล่าวไม่นานก่อนออกจากโมโตโรล่าว่าเขาไม่เสียใจเลยที่ได้มาทงานหาประสบการณ์จากบริษัทนี้และตอนนี้เขาก็พร้อมที่จะออกไปแล้ว
วีรบุรุษของโฮแกน
"เหมือนคนที่ผละจากโมโตโรล่าและเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่เลสเตอร์
โฮแกนผู้จัดการคนแรกส่วนผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนำ เขาออกจากฟีนิกซ์ อะริโซน่าปี
1968 เข้ารับตำแหน่งสูงขึ้นที่แฟร์ไชลด์แคเมอร่า แอนด์ อินสครูเม้นต์ (เปลี่ยนชื่อเป็นแฟร์ไชลดืเซมิคอนดักเตอร
ภายหลังต่อมาถูกซื้อกิจการโดยเนชั่นนัล เซมิคอนดักเตอร์ ภายหลังต่อมาถูกซื้อกิจการโดยเนชั่นนัล
เซมิคอนดักเตอร์ ซานตาคลาร่า แคลิฟอร์เนีย) มีผู้จัดการอีกเจ็ดคนลาออกตามมาจนเลื่องลือกันว่าพวเขาเป็น
"วีรบุรุษ" ของโฮแกนขณะนั้นมองกันว่าเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำของโมโตโรล่าล้าหลังกว่าแฟร์ไชลด์
และเงินทุนก็น้อยกว่า แม้กระทั่งผู้บริหารระดับสูงก็ได้ผลตอบแทนต่ำ โฮแกนจำได้ว่าเขาเป็นหัวหน้าส่วนสารกึ่งตัวนำเป็นเวลา
10 ปีได้รับเลื่อนขั้นเพียงครั้งเดียว สำหรับครั้งอื่น ๆ ได้มาจากการขู่ว่าจะลาออก
"บ็อบกัลวิน ไม่ใช่คนใจดีมีเมตตา เขาไม่เคยยอมปล่อยหุ้นขายให้แก่คนอื่นหรือไม่ว่าสิ่งจูงใจอื่นใดก็ตาม
เราทำงานกันแทบล้มประดาตายถึงสิบปี สุดท้ายมีค่าเพียงเท่าเศษขยะมนุษย์คนหนึ่ง
ไม่มีใครสักคนซื้อบ้านได้สักหลังหนึ่งด้วยซ้ำ"
หลังจากโฮแกนและสมาชิกลูกทีมผละจากเรือลำเดียวกัน โมโตโรล่าก็เพิ่มค่าเงินเดือนให้กับผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่บริษัทระดับอื่น ๆ ก็ได้รับการส่งเข้าอบรมหลักสูตรเสริมสร้างผู้บริหารซึ่งเริ่มครั้งแรกในปี
1978 ช่วยให้ผู้จัดการสามารถวางแผนงานอาชีพภายในบริษัท นอกจากนี้ก็ยังมีโครงการที่ให้ผลตอบแทนเป็นกำลังใจอีกด้วย
บริษัทอ้างว่าเป็นสถาบันแห่งแรกที่แจกจ่างผลประโยชน์แก่ผู้ร่วมงานกันอย่างทั่วถึง
ตรงข้ามกับคำโจมตีกล่าวหาของโฮแกน โปรแกรมการบริหารได้รับความสนใจอย่างล้นหลามและทีมที่ได้รับเลือกจะได้รับแจกโบนัสกันเฉลี่ยคนละ
8 ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ของเงินรายได้หรือค่าจ้างประจำปี กลุ่มต่าง ๆ ได้รับจัดสรรเข้าอบรมโครงการหลังจากบรรลุเป้าหมายการผลิต
รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่าย คุณภาพ และการส่งของอย่างรวดเร็ว
โยงใยหลักใหญ่ของบริษัท
ธุรกิจเกินหนึ่งในสามของโมโตโรล่ามาจากภาคสื่อสารนับแต่การส่งถ่ายข้อมูลกันเป็นหน้า
ๆ ไปจนถึงการทำเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเทอร์มินัล ผลผลิตเหล่านี้สืบเนื่องจากวิทยุเคลื่อนที่สองทิศทาง
ที่ทางบริษัทเลิกผลิตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง นับแต่บริษัทกลายเป็นหนึ่งในอันดับผู้ผลิตระบบสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ในเวลาต่อมาก็เป็นผู้บุกเบิกเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเจ้าแรกเช่นวิทยุสำหรับการสื่อสารระหว่างโลกและดวงจันทร์
ตลอดจนเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็มสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์อะพอลโล่
ผลิตภัณฑ์ยังคงไหลออกมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องในลักษณะของสายธารสม่ำเสมอจากภาคสื่อสารจนบันทึกไว้ในรายงานประจำปีว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ออกผลิตภัณฑืได้มากเมื่อปีที่แล้ว
ตัวหนึ่งได้แก่วิทยุสองทางขนาดเล็กสำหรับรับใบสั่งซื้ออาหารในภัตตาคารฟาสต์ฟูด
อีกชิ้นคือวิทยุเคลื่อนที่ออกแบบเพื่อให้ทำงานที่ย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์
ย่านนี้เพิ่งได้รับจัดสรรเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
โมโตโรล่าเป็นซัพพลายเออร์ขายวิทยุเคลื่อนที่ติดล้อเลื่อนใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นต้นตำรับเจ้าของระบบทรั๊งกิ้งวิทยุโมไบล์
งานพัฒนามุ่งเน้นการขยายวงจรทรั๊งค์สำหรับวิทยุติดล้อ เช่นเทคโนโลยีวิทยุของบริษัทได้เพิ่มความจุช่องเสียงขึ้นเป็นสองเท่าโดยคลื่นแยกความถี่
12.5 กิโลกเฮิรตซ์แทน 25 กิโลเฮิรตซ์ปกติ
ผลิตภัณฑ์ชิ้นสำคัญอันหนึ่งได้แก่เทอร์มินัลข้อมูลแบบวิทยุกระเป๋าหิ้วรุ่นคดีที่
800 สมรรถนะช่วยในการส่งข่าวสารโดยทีมนักขายที่สนามการขายและช่างเทคนิคตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
เครื่องนี้ถือหิ้วไปไหนมาได้สะดวกมีจอแสดงตัวเลข-ตัวหนังสือและแป้นบอร์ด
เจย์ คูเปอร์นักวิเคราะห์เงินทุนบริษัทอีเบอร์สตัดท์ เฟลมมิ่ง รัฐนิวยอร์ก
กล่าวว่า เทอร์มินัลแบบวิทยุดังกล่าวร่นระยะเวลาการติดต่อทางโทรศัพท์ของนักขายให้สั้นลง
และทำรายได้ให้ 5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมทั้งหมดของกลุ่ม คาดว่าเครื่องมือชิ้นนี้จะเป็นตัวทำรายได้หลักในอนาคต
ผลงานอื่นในภาคสื่อสารเด่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จเห็นได้ชัดคือการรุกไล่ตลาดญี่ปุ่นด้วยวิทยุแยกหน้าความถี่คุณภาพสูง
บริษัทตั้งท่าต่อสู้ด้วยกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ตัวนี้โดยส่งเพ็จเจอร์จำนวนมากกว่า
5 แสนตัวให้กับญี่ปุ่น และเป็นผู้ขายชาวต่างชาติรายแรกที่ร่วมพันธมิตรกับห้าบริษัทคู่แข่งญี่ปุ่นเพื่อขายให้กับบริษัทโทรศัพท์แห่งชาติคือนิปปอนเทเลกราฟแอนด์เทเลโฟน
(เอ็นทีที) อีกทั้งบริษัทสาขานิปปอน โมโตโรล่าและหุ้นส่วนชาวญี่ปุ่นอีกหลายเจ้ารวมกันจัดตั้งโตเกียวเทเลเมสเซ็จในการให้บริการด้านเรดิโอเพ็จจิ้งแก่พื้นที่บริเวณโตเกียว
โมโตโรล่ายังได้ใช้วิธีการทางกฎหมายต่อต้านการบุกรุกของชาวญี่ปุ่นเข้าสู่ตลาดภายในบ้าน
คดีฟ้องร้องเมื่อปี 1984 ปิดกั้นกระแสทะลักของสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นโทรศัพท์เซลลูล่าร์โดยกล่าวหาผู้ขายแปดบริษัทฐานกดราคาลงถึงครึ่งหนึ่งของราคาจริงเพื่อแย่งตลาดในสหรัฐฯ
คณะกรรมการอินเตอร์เนชั่นนัลเทรดคอมมิสชั่น วอชิงตันดี.ซี.เห็นด้วยกับโมโตโรล่าในการประเมินพิกัดภาษี
100 เปอร์เซ็นต์ หรือสูงกว่ากับสินค้าญี่ปุ่นบางประเภท ผลก็คือบริษัทญี่ปุ่นผู้ผลิตโทรศัพท์เซลลูล่าร์หลายแห่งพากันจัดตั้งโรงงานขึ้นในสหรัฐฯเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
ในขณะเดียวกัน บริษัทได้กำหนดโปรแกรมปรับปรุงคุณภาพโทรศัพท์เซลลูล่าร์ที่บางครั้งก็เชื่อถือไม่ค่อยจะได้
บริษัทส่งสัญญาณทางเซลลูล่าร์บริษัทหนึ่งในกรีนเบลต์ แมดริดมีประสบการณ์ทีไม่ค่อยจะรื่นรมย์นักกับโทรศัพท์โมโตโรล่ารุ่นเซลลูล่าร์วัน
กล่าวคือชุดอนุกรมซีทีอขงโทรศัพท์ดังกล่าวในวงจรมือถือมีหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าไม่ดี
ก่อผลทางด้านข้างเคียงเช่นสัญญาณเสียงอ่อนลง ดิสเพลย์ทำด้วยคริสตัลเหลว (แอลซีดี)
เบลอ หรือไดโอดเปล่งแสงไม่ทำงาน ชุดซีทีรุ่นหนึ่งมีลำโพงเล็กไปจนเสียงกริ่งเบากว่าเสียงรถวิ่ง
เซลลูล่าร์วันจึงหยุดจำหน่ายไปพักหนึ่ง และกำลังคิดค้นรุ่นเคเอ็สใหม่ โมโตโรล่าแก้เกี้ยวให้กับตัวเองว่าเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์เซลลูล่าร์รายหนึ่งที่ไม่เคยถูกคืนเครื่องเลย
สารกึ่งตัวนำ : สงครามการค้าและข้อต่อรอง
โมโตโรล่าเป็นแหล่งผลิตสารกึ่งตัวนำใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกรองจากเอ็นอีซี
โตชิบา และฮิตาชิ ผลผลิตนับแต่ไมโครโปรเซสเซอรืไปจนถึงไอซีใช้เฉพาะงานและอุปกรณ์เป็นตัว
ๆ ส่วนผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนำยังป้อนระบบสำเร็จรูปด้วยไมโครโปรเซสเซอร์และชิพอื่นให้กับบริษัทธุรกิจแคบ
ๆ แบบนี้เป็นตัวรองรับทางการเงินให้กับส่วนเมื่อตลาดสารกึ่งตัวนำซบเซาซึ่งก็เป็นไปตามวงจรของมัน
ส่วนฐานที่ตั้งมั่นอยู่ในฟีนิกซ์มิได้เป็นผู้นำตลาดเสมอไป อินเทลนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าทำกำไรห่างไกลจากโมโตโรล่าไปมาก
โมโตโรล่าชี้ให้เห็นโดยไม่รีรอว่าอินเทลประสบความสำเร็จก็เพราะไอบีเอ็มเลือกไมโครโปรเซสเซอร์
8088 เป็นตัวหลักในคอมพิวเตอร์ระดับบุคลเป็นเครื่องรกและนักวิเคราะห์บางคนก็กล่าวว่าอินเทลมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์หลักเพียงอันเดียว
แต่ไม่ประกันความเป็นเจ้าตลาดเหมือนเช่นเทคโนโลยีริสค์ ในตลาดเวิร์คสเตชั่นโมโตโรล่ากลับรุดหน้าไปได้ดีกว่า
ไม่โครโปรเซสเซอร์ 68,000 เป็นตัวเลือกตัวแรกของผู้ผลิตระบบอย่างซันไมโครซิสเต็มส์
เมาน์เท่น วิว แคลิฟอร์เนีย
แจ๊ค คาร์สเต็น ผู้บริหารคนหนึ่งของอินเทลกล่าวว่าโมโตโรล่าเข้ามาในลักษณะของผู้มีส่วนขอร่วมด้วย
โดยพยายามแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของตนนั้นดีกว่าของอินเทล อินเทลยอมให้แทรกเข้าในตลาดก็เพราะมองว่าเทคโนโลยีต้องการความเชี่ยวชาญหลากหลาย
ถึงกระนั้นโมโตโรล่าก็ยังคงต้องออกแรกอีกหลายขุมกว่าที่สล็อตหมายเลข 2ในไมโครโปรเซสเซอร์จะเป็นที่ถูกใจ
คาร์สเต็นกล่าวว่า "พวกเขาไม่ใช่ผู้นำด้านเทคโนโลยี ไม่ได้เป็นหนึ่งในสายผลิตภัณฑ์ที่มีความกว้างเพียง
1-ไมครอนแต่อย่างไรก็ตามนี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวไปเสียทีเดียวเลย บริษัทญี่ปุ่นหลายบริษัทในปัจจุบันกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวก็อาศัยหลักการเดียวกันนี้แหละ"
อีกครั้งหนึ่งโมโตโรล่าพยายามฉวยตลาดริสค์กลับคืนมาใหม่ คราวนี้ร่วมมือกับลูกค้าเก่าคือซันไมโครซิสเต็มส์
ซันเป็นคู่แข่งภายหลังชักชวนโมโตโรล่าเข้าสู่ตลาดริคส์ต้นปี 1983 ซันออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์ริสค์เป็นฐานสำหรับเวิร์คสเตชั่นยุคที่สอง
แต่โมโตโรล่าปฏิเสธครั้งกระนั้นว่เทคโนโลยีดังกล่าวก้าวหน้าเกินกว่าการวางแผนผลิตภัณฑ์จะเป็นไปได้ทัน
ถึงกระนั้นซันก็ยังคงสนับสนุนผู้ผลิตใหม่ ๆ ที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ 68000
เป็นผลิตภัณฑ์โลว์เอ็นด์
การปรากฎตัวของบริษัทในตลาดสารกึ่งตัวนำ อย่างไรเสียนักวิเคราะห์ทางการเงินบางคนก็เชื่อว่าโมโตโรล่า
88000 ชุดริสค์ต้องแพร่หลายดกดื่นในไม่ช้านี้ อันที่จริงหลายบริษัทรวมทั้งด้าต้า
เย็นเนอรัลฯ นอร์เธิร์น เทเลคอม, ควอตรอน, ซิสเต็มส์, เท็คโทรนิคซ์ และสตราตัสต่างก็ได้ประกาศใช้
88000 ในผลิตภัณฑ์ของตนมาก่อนล่วงหน้านี้ ในกลุ่มนี้บางบริษัทเข้าร่วมกับสมาคมคอนซอร์เทียม
88 โอเพ่นจัดตั้งมาตรบานทัดเทียมเพื่อผู้ผลิตระบบที่ใช้ชิพโมโตโรล่าให้มีความคล้ายคลึงกันทุก
ๆ ยี่ห้อ
ชุดชิพตระกูล 88000 ที่สามารถปฏิบัติการได้ 17 ล้านถึง 50 ล้านคำสั่งต่อวินาที
ประกอบด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ 32-บิททั้งหน่วยเลขจำนวนเต็มและจุดลอยและอีกสองหน่วยจัดการหน่วยความจำแคชผู้บริหารโมโตโรล่าตั้งขอ้สังเกตว่าชิพริสค์ของซันยังคงขาดหน่วยบริหารหน่วยความจำ
ดีแรมสำหรับไมโครโปรเซสเซอร์
หลักการเข้าสู่ตลดาสารกึ่งตัวนำของโมโตโรล่าเหมือนกับบริษัทญี่ปุ่นที่เคยกระทำมาเป็นอย่างมาก
ในตอนต้อนปี 1980 โมโตโรล่าเป็นบริษัทที่ถูกกล่าวขวัญถึงอยู่ตลอดเวลาในด้านที่ไม่ค่อยดีนักจากคนญี่ปุ่นเกี่ยวกับนโยบายทางการค้า
สามปีที่แล้วบริษัทเรียกร้องให้มีการเพิ่มภาษีสินค้าขาเข้า 20 เปอร์เซ็นต์
และลงโฆษณาเป็นจำนวนเงินหลายล้านเหรียญสหรัฐในหนังสือพิมพ์สำคัญ ๆ ย้ำเตือนชาวอเมริกันถึงภัยคุกคามทางการค้าของญี่ปุ่น
ขณะเดียวกันก็แสดงให้ทั่วโลกรับรู้ว่าโมโตโรล่าพบหนทางเอาชนะญี่ปุ่นได้อย่างแน่นอน
กัลวินและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของบริษัทแจ้งประกาศโฆษณาต่อที่ประชุมการค้าและรัฐสภา
ปี 1985 เดือนเมษายน ให้สัมภาษณ์ต่อ "บิสิเนส วีค" ว่าหากรัฐบาลไม่ขัดขวาง
บริษัทของเขาตลอาดจนบริษัทอเมริกันอื่น ๆ ก็คงมีโอกาสตั้งโรงงานผลิตในต่างประเทศ
และที่เลวร้ายที่สุดดูเหมือนจะเป็นกรณีโมโตโรล่ายกเลิกการผลิตเอ็นมอส ดีแรมในปลายปี
1985 เนื่องจากแรงบีบคั้นและศักยภาพในการผลิตของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดีโมโตโรล่าเดินแผนกลยุทธ์ใหม่ในเรื่องของดีแรม โดยต้นปี 1986
ข้อตกลงกับโตชิบายอมให้โมโตโรล่าซื้อชิพชิ้นเปลือยยังไม่ประกอบตัวถัง (ไดซ์)
จากบริษัทญี่ปุ่นเพื่อมาประกอบเอง แต่ภายหลังเกิดแตกคอกัน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเคยมีข่าวว่าฝ่ายปฏิบัติการสารกึ่งตัวนำทั้งสองบริษัทอาจรวมตัวเป็นหน่วยเดียวกันด้วยซ้ำปลายปีนั้น
ความร่วมมือระหว่างบริษัททั้งสองขยายขอบข่ายออกไป เดือนธันวาคมทั้งสองตกลงใจปล่อยเงินลงทุนร่วมก้อนหนึ่งเพื่อให้โมโตโรล่าออกแบบแรม
(RAM) โดยใช้เทคโนโลยีของโตชิบา และให้โตชิบามีส่วนใช้เทคโนโลยีไมโครโปรเซสเซอร์
68000 เป็นการแลกเปลี่ยน
ข้อตกลงและความร่วมมือดังกล่าวดูจะเป็นเรื่องเข้าทีและได้ประโยชน์สำหรับโมโตโรล่า
การหวนกลับคืนสู่ตลาดดีแรมที่ใฝ่ฝัน่และเจาะเข้าตลาดญี่ปุ่นได้ลึกยิ่งขึ้นโมโตโรล่าสามารถเข้าไปแหวกม่านค้นหากระบวนเทคโนโลยีที่ดตชิบาคุยนักคุยหนาว่าเลศเยี่ยม
ความจริงโมโตโรล่าจะทำดีแรมใหม่ในความหนาแน่น 256 เค ถึง 4 เมกะบิทปลายปี
1988 โรงงานสารกึ่งตัวนำในเมซ่าอะริโซน่าและอีสต์ กิลไบรด์ สกอตแลนด์เริ่มผลิตไดซ์ตามแบบของโตชิบา
ขณะเดียวกันโรงงานที่มีหุ้นส่วนร่วมกับอิซูมิ ซิตี้แห่งญี่ปุ่นจะประดิษฐ์ทั้งหน่วยจำและไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล
68000 ตามที่นักวิเคราะห์แอนดรู เคสส์เล่อร์แห่งบริาทเพนนีเว็บเบอร์กล่าวว่าโมโตโรล่าได้ประโยชน์อย่างแท้จริงจากความร่วมมือ
เนื่องจากขณะที่โมโตโรล่าได้เทคโนโลยีดีแรมโตชิากลับได้ผลิตผลิเพียงรึ่งหนึ่งจากโรงงานอิซูมิ
ซิตี้
แสวงหาธุรกิจใหม่
โมโตโรล่ามียุทธวิธีที่น่าทึ่งมากในการเข้าสู่ธุรกิจข่าวสารข้อมูลด้วยการเข้ายึดครองบริาทโฟร์-เฟสซิส-เต็มส์ในเดือนมีนาคม
ปี 1982 ขณะนั้นเป็นแผนการขั้นต้นสำหรับการเข้าสู่ขบวนจัดการข้อมูล (ดีพี)
และตลาดสำนักงานอัตโนมัติ แต่ดูเหมือนแผนต้องอาศัยความอดทนอีกสักหน่อยกว่าจะเห็นผล
คอมพิวเตอร์ของบริษัทโฟร์-เฟสรุ่นแรก ๆ ส่วนมากเลิกผลิตกันไป ยกเว้นรุ่น
5000 มินิคอมพิวเตอร์ 24-บิท ลูกค้าเก่าที่หลงเหลืออยู่ก็จะได้รับระบบรุ่น
8000 ที่ปรับปรุงขึ้นมา ธุรกิจบางแห่งยังคงติดตั้งโดยใช้ฐานของโฟร์-เฟส คอมพิวเตอร์โมโตโรล่ามีใช้ในรัฐแคลิฟอร์เนียและมากกว่ายี่ห้ออื่นเสียอีก
แต่ถึงกระนั้นรอน ซีตส์นักเขียนโปรแกรมระบบชั้นแนวหน้าประจำศูนย์ข้อมูลโฟร์-เฟสจนถึงปี
1983 จำได้ว่าโครงงานจำนวนหนึ่งถูกยกเลิก และในท้ายสุดบริษัทก็ตัดสินใจตัดค่าใช้จ่ายฝ่ายปฏิบัติการลง
โยกย้ายเครื่องตกแต่งสำนักงานและยุบฝ่าย ๆ หนึ่งทิ้ง
ภาพลักษณ์ของโมโตโรล่าต่อสาธารณชนยังคงรักษาเอกลักษณ์ที่ดีอยู่แล้ว แม้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างล้มเหลวไปบ้างเช่นการขายมินิคอมพิวเตอร์วัตถุประสงค์ทั่วไปปรากฎขาดทุน
25 ล้านเหรียญในปี 1987 บริษัทยังคงพยายามดำเนินธุรกิจก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ
แม้การขายคอมพิวเตอร์วัตถุประสงค์ทั่วไปแข่งกับผู้ประกอบมินิคอมพิวเตอร์รายอื่นที่ประสบความสำเร็จแล้วอาจยากลำบากก็ตาม
อย่างไรก็ดี เฟรด วอล์ฟ นักวิเคราะห์เงินทุนบริษัทเมบอน นิวเจนต์ แอนด์ คอมปานี
กล่าวว่า โมโตโรล่าหากคิดแข่งกับเด็คหรือไพร์มแล้วละก็ ควรลืมเสียได้แล้ว
แผนต่อสู้ช่วงชิงลูกค้าปรากฎเป้าขึ้นใหม่ในส่วนอื่นของธุรกิจระบบสารสนเทศนั่นคือสินค้าสื่อารข้อมูล
กลุ่มไอเอส (อินฟอร์เมชั่นซิสเต็มส์) ประกอบด้วยโคเด็กซ์และยูนิเวอร์ซัล
ดาต้า ซิสเต็มส์ (ยูดีเอส) สร้างเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ นับแต่โมเด็มไปจนถึงมัลติเพลกเซอร์
โคเด็กซ์ยังทำชุดประกอบอื่น ๆ ของมัลติเพลกเซอร์ไปเรื่อย ๆ เวลาเดียวกับที่เมื่อเร็ว
ๆ นี้ยูดีเอสเปิดแพรคลุมป้ายมัลติเพลกเซอร์พร้อมหน่วยบริการดิจิตอลสร้างรวมขึ้นภายในสำหรับทำงานบนสายโทรศัพท์ดิจิตอลความเร็ว
56 กิโลบิท-ต่อ-วินาที
อุตสาหกรรมเครื่องมือทหารตกต่ำในหสรัฐฯส่งผลสะเทือนถึงเคราะห์กรรมของกลุ่มกอฟเวิร์นเม้นต์
อิเล็กทรอนิกส์ (จีอีจี) ในโมโตโรล่า กลุ่มนี้ทำตั้งแต่หลอดฟวิส์ไปจนถึงเครื่อมือสื่อสารสำหรับยานลงดวงจันหรืออะพอลดโล่และวิทยุความถี่เหนือเสียงใช้โดยนักบินอวกาศ
เครื่องบินทดลองน้ำหนักเบาบินรอบโลก
จีอีจีประสบปัญหากับสัญญาที่ทำกับกองทัพอากาศ ปลายเดือนมีนาคมกลุ่มอีจีจีถูกฟ้องร้องกล่าวหาถึงชั้นศาลในฟีนิกซ์ข้อหาตั้งราคาขายเครื่องมืออุปกรณ์แก่กองทัพสูงเกินควร
อันได้แก่เครื่องมือตรวจจับเป้าเอ็มเค - 45 ในเครื่องยิงจรวดสแตดาร์ดมิสไซล์
เครื่องตรวจหาเป้าดีเอสยู-28 ภายในเครื่องยิงจรวดฟีนิกซ์ และระบบสื่อสารดาวเทียมดีมานด์-แอสไซนด์
มัลติเปิลแอ็คเซส ศาลใช้เวลาพิจารณาสอบสวนถึงสามปีก็สรุปว่าบริษัทผิดจริง
ต้องจ่ายเงินค่าปรับ 10 ล้านเหรียญ และอีก 6 ล้านเหรียญเป็นค่าชดใช้ข้อขัดแย้งในสัญญากล่าวกันว่าคดีนี้อื้อฉาวที่สุดในการทำสัญญากับกองทัพ
นับเป็นครั้งแรกที่โมโตโรล่าโดยกล่าวหาเป็นความหลังคดีจบสิ้น บริษัทตั้งข้อสังเกตว่าขบวนการเข้มงวดกวดขันเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการยืนยันความมั่นใจว่ากฎระเบียบต่าง
ๆ และข้อบังคับได้รับการปฏิบัติถูกต้องเสมอไป
โมโตโรล่าคงทำกำไรจากเทคโนโลยีหลักสืบไป เช่น คาปาซิเตอร์และรีซิสเตอร์ที่แม้จะถูกคู่แข่งชิงตัดหน้าไปก่อนนานแล้วและยังสามารถชนะคู่แข่งขันญี่ปุ่นได้ด้วยเกือบทุกวงการตลาด
และหากโมโตโรล่าปรารถนาสร้างชื่อในฐานผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์หรือเบียดเข้าธุรกิจใหม่อื่น
ๆ ก็เห็นทีบริษัทต้องทำอะไรอีกหลายอย่างแทนตั้งหน้าตั้งตากว้านซื้อบริษัทมินิคอมพิวเตอร์เล็ก
ๆ