Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533
ยูยีน ลี กับบุคลิกที่ปรึกษาทางการเงิน             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

   
related stories

เอกธนกิจ "เจาะเวลาหาอนาคต"

   
search resources

เอกธนกิจ
ยูยีน ลี
Financing




หนุ่มใหญ่วัยกลางคน รูปร่างผอมสูง ท่าทางใจเย็น ยิ้มแย้มพูดจาสุภาพเรียบร้อย สายตาหลักแหลม สุขุม เมื่อเจรจาด้วยสักพักจะพบว่าบุรุษผู้นี้ผ่านงานการต่อรองทางธุรกิจมาอย่าโชกโชน

เขาชื่อยูยีน ลี เป็นผู้ชำนาญงานด้าน INVESTMENTBANKING และ CORPORATE FINANCE ในย่านเอเชีย เป็นชาวจีนเกิดในสหรัฐฯ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐฯ ปริญญาตรีด้านวิศวะเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และปริญญาโทบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ชีวิตของลีอาจจะไปเป็นนักเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใกสัดแห่งหากเขาหยุดการศึกษาเพียงปริญญาตรี แต่เมื่อเขาเรียนบริหารธุรกิจ เขาก็คงมาทำงานเทคนิค แต่เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองทางธุรกิจที่ความรู้ส่วนมากเกิดจากประสบการณ์ ซึ่งคร่ำหวอดมากกว่าสิบปีในงานที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อการลงทุน การซื้อขายกิจการ (MERGR & ACQUISITION)

ลีนั่งคุยกับ "ผู้จัดการ" ด้วยอัธยาศัยอันดีในเช้าวันหนึ่ง เล่าถึงประสบการณ์และทัศนะทางธุรกิจ อันทำให้ "ผู้จัดการ" มองเห็นคุณลักษณะที่สำคัญซึ่งผู้ที่ทำงานด้านวาณิชยธนกิจจำเป็นต้องมี

ลีเริ่มงานที่ธนาคารเชสแมนฮัตตันในลอนดอน แล้วย้ายมาที่ฮ่องกงจนถึงปี 2528 ย้ายไปทำกับ WARDEY (HK.) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธราคารฮ่องกงและเชี่ยงไฮ้ ตลอดเวลาที่ทำงานในสถาบันการเงิน เขารับผิดชอบด้านวาณิชยะนกิจและคอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ เชี่ยวชาญด้านการซื้อขาย หรือรวมกิจการซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในตลาดการเงินสำคัญ ๆ ของโลก จาก WARDLEY (HK.) เขาก้าวมาสู่เอกธนกิจในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริการระดับสูงขึ้น SEVP รับผิดชอบงารคอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ที่เอกธนกิจจะเริ่มบุกเบิกอย่างเต็มที่ ลีบอกกับ "ผู้จัการ" ว่ามันไม่มีอะไรมากไปกว่าโอกาสที่เขาจะได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่กับตลาดเมืองไทยซึ่งมีช่องว่างมากมายให้ธุรกิจแขนงนี้ได้เติบโต

เขาจึงเป็นศิษย์เก่าเชสฯแบงก์คนล่าสุดที่เข้ามาสู่เอกธนกิจ ชั่วเวลา 3 เดือน เขามีผลงานออกมาแล้ว ชิ้นแรกเป็นการติดต่อนำบริษัท RJPELECTRONICS ในฮ่องกงเข้ามาตั้งโรงงานในนิคมอุตสหกรรม THAI ELECTRONIC CITY (TEC) ที่ตั้งอยู่บางขุนเทียนของ สงคราม ชีวะประวัติดำรงค์ โดยเขาทำหน้าที่ดูแลโครงสร้างการร่วมทุนและการเข้ามาลงทุนของบริษัทนี้

ชิ้นต่อมาเป็นเรื่องการเจรจาซื้อ FIRST PACIFIC SECURITY (HK.) ในราคา 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ความสำเร็จของผลงานเหล่านี้เกิดจากความสามารถของเขา และเครือข่ายความสัมพันธ์กับนักธุรกิจในย่านเอเชียซึ่งเขาติดต่อคุ้นเคยมาเป็นเวลานาน

ลีเล่าว่ากรณีของโรงงานฮ่องกงที่ต้องการกระจายฐานการผลิตอย่างบริษัท RJP ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้บริษัทฮ่องกงจำนวนมากได้เข้าไปตั้งโรงงานในจีน และสามารถสร้างรายได้และกำไรได้เป็นจำนวนมาก ทั้งในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์นองเลือดที่เทียนอันเหมอนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2532 เพราะต้นทุนการประกอบการในจีนถูกมาก โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานที่ต่ำอย่างมาก ๆ

อย่างไรก็ดี บรรดาลูกค้าของโรงงานเหล่านี้เริ่มเกิดความวิตกว่าการมีฐานการผลิตเพียงแห่งเดียว อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนัก พวกเขาคิดว่าควรมีการตั้งโรงงานในที่อื่น ๆ บ้าง โดยเฉพาะในที่ซึ่งมีหลักประกันว่าจะไม่มีการแทรกแซงในกระบวนการผลิต และไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นจึงเริ่งมีการมองหาสถานที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่อยู่ในภูมิภาคนี้ มีลักษณะแวดล้อมคล้ายคลึงกับในจีน มีความเหมาะสมในการตั้งโรงงานอย่างเดียวกัน ค่าแรงต่ำสามารถสร้างโรงงานขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีกระบวนการผลิตหลายอย่างอยู่ร่วมกันได้ และจุคนงานจำนวนมากได้ด้วย ซึ่งจากจุดนี้ กรุงเทพฯเป็นเมืองที่เหมาะมาก เพราะมีเสถียรภาพทั้งในแง่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมือง

ลีคิดว่จะมีนักลงทุนจำนวนมากจากฮ่องกงเข้ามาลงุทนในไทย คนที่ลีเคยติดต่อด้วย เคยเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมอิเล้กทรอนิกส์ คนเหล่านี้คิดถึงการเคลื่อนย้ายโรงงานมาตั้งในไทย

นอกจากงานติดต่อนำนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว ลีสามารถติดต่อเรื่องการซื้อขายบริษัทได้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องที่บริษัทไทยต้องการออกไปซื้อกิจการในต่างประเทศไม่วาจะเป็นการซื้อช่องทางการจัดจำหน่าย ซื้อโรงงานหรือซื้อใบอนุญาตต่าง ๆ "ผมมีประสบการณ์เรื่องเหล่านี้ในต่างประเทศ คงจะทำด้านนี้ได้มาก"

แม้ว่าจะคร่ำหวอดอยู่กับธุรกิจอินเวสเม้นท์และคอร์ปอเรทไฟแนนซ์มาสิบกว่าปี ลีไม่เคยรู้สึกเบื่องานเหล่านี้เลย เขากล่าวว่า "มันคงเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่เราจะเบื่องานอะไรสักอย่างซึ่งเราต้องอาศัยเวลาพากเพียรทำอยู่นาน กว่าที่จะเป็นผู้ชำนาญได้ ผมคิดว่าการทำ M&A เป็นเรื่องที่ทำให้เราให้ได้รู้จักพบเห็นผู้คนในด้านที่เป็นส่วนตัวอย่างมาก ๆ ของเขา"

มันไม่เหมือนการซื้อขายหุ้น หรือพันธบัตรที่เป็นเพียงเศษกระดาษเท่านั้น แต่เรื่องที่ลีทำเป็นเรื่องที่เราต้องสัมพันธ์กับคนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนเกี่ยวกับทัศนะของคนที่มีต่อธุรกิจ และพยายามช่วยให้ได้รับความสำเร็จในจุดที่ต้องการ

ลีมีความรู้สึกว่าการทำธุรกิจนี้เป็นสิ่งที่พิเศษจริง ๆ "แต่ละกรณีมีลักษณะเฉพาะอย่างมาก ๆ บางคนต้องการเงิน บางคนต้องการเกียรติยศ หน้าตาชื่อเสียง ความมั่นคง การที่แต่ละกรณีแตกต่างกันก็เพราะคนเราไม่เหมือนกันวัฒนธรรมต่างกัน แต่ผมรู้จักและเข้าใจวิถีทางและสิ่งที่พวกเขาปรารถนามาแล้วจากประสบการณ์ของผม"

สิ่งที่ยากที่สุดในการทำธุรกิจนี้ในทัศนะของลีคือ "เราต้องใช้ความชำนาญบางอย่างเพื่อทำให้คนตกลงกันได้ในเรื่องที่ยากจะตกลง ถ้าคุณเคยผ่านมาแล้ว คุณจะรู้ว่าข้อเสนอหรือการต่อรองอย่างนี้ คนจะไม่ยอมตกลงด้วยแน่คนจะเศร้าใจมาก หรือคนจะอนุโลมผ่อนปรนได้นี่เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ต้องสั่งสมขึ้นมาจากการลงมือกระทำจริง ๆ "

บุคลิกของความยืดหยุ่น การพยายามเข้าใจความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขาย ความสามารถที่จะเจรจาให้คนตกลงกันได้ในสิ่งที่ยากจะตกลงเหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติของที่ปรึกษาทีดี ซึ่งยูยีน ลีมีอยู่ครบถ้วย

เอกธนกิจวันนี้นับว่าได้มือดีมาบุกเบิกงานที่ต้องอาศัยความสามารถอย่างแท้จริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us