วันจันทร์ที่ 22 มกราคมที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นวันที่กิตติ ดำเนินชาญวนิชย์
ถ้าแก่พืชไร่ผู้ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนี้ และกำลังแผ้วถางทางไปสู่ยักษ์อินเตอร์บนฐายใหม่ในโครงการเยื่อกระดาษครบวงจร
จะต้องจดจำไปอีกนานแสนนาน
เนื่องจากสวนป่ายูคาลิปตัส โครงการในฝันได้กลายเป็นที่ดินแปลงฉาวโฉ่ลือลั่นไปแล้ว
เมื่อหน่วยงานปลูกป่าของบริษัท สวนกิตติ จำกัด ในเขต ต.ท่ากระดาน อ.สนามสันติประภพ
เข้าจับกุมในข้อหาบุกรุกป่าสงวน และพนักงาน 156 คนถูกนำตัวไปกักขัง
ประทินให้สัมภาษณ์อย่างแข็งกร้าวว่ามีหลักฐานพร้อมมูลที่เชื่อถือได้ว่า
พื้นที่กว่า 40,000 ไร่นั้นมีที่ผ่านการอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้เข้าใช้ประโยชน์ได้เพียง
1,800 ไร่เท่านั้นและยืนยันจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างไม่ไว้หน้า
"วุฒิสมาชิกบุกรุกป่าสงวน" ข่าวพาดหัวตัวไม้หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่
ทำให้กิตติต้องออกโรงแถลงข่าวในวันถัดมา เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมกันนิกร
วัฒนพนมกุนซือคนสำคัญ ว่าพื้นที่ดังกล่าวได้รับอนุมัติจากพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่ากการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้วเพียงแต่ยังไม่ครบทุกขั้นตอนเท่านั้น
กิตติยืนยันถึงขั้นที่ว่าพร้อมจะไปสาบานที่ไหนก็ได้ว่าคนไม่ได้โค่นป่า
เพราะพื้นที่แถบนั้นเป็นที่ปลูกมันสำปะหลังของชาวบ้านมาก่อนจนไม่เหลือความอุดมสมบูรณ์แล้ว
ตนจึงเข้าไปซื้อสิทธิทำประโยชน์ด้วยการปลูกยูคาลิปตัส
ขณะที่บางคนถึงกับวิจารณ์ไปว่า ไม่รู้ว่าที่ดินแปลงใหญ่ขนาดเกือบ 200,000
ไร่ที่มีอยู่นั้น จะเป็นพื้นที่จากการบุกป่าสักเท่าไหร่
คำกล่าวอ้างของกิตตินั้นพอฟังขึ้นในแง่เศรษฐกิจและความจริง เนื่องจากกิตตินั้นไม่มีธุรกิจอะไรที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้เลยแม้แต่น้อยไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบัน
ดูเหมือนว่ากิตติจะภูมิใจกับโครงการนี้เป็นพิเศษ จึงเชิญใครต่อใครไปเยี่ยมโครงการของเขาที่อ.พนมสารคามในวันหยุดบ่อยครั้ง
ใครต่อใครนี้รวมถึงอธิบดีกรมป่าไม้หลายรุ่น รัฐมนตรีเกษตรฯหลายคน นักการเมืองหลายกลุ่ม
รวมทั้งสื่อมวลชนมากแขนง และมั่นใจถึงฝันอันสวยหรูที่จะเกิดจากความสำเร็จจากโครงการ
ว่ากันว่าในระยะหลังกิจการค้าข้าว ข้าวโพดและมันสำปะหลังทีกลุ่มสุ่นหั่นเซ้งครองความยิ่งใหญ่อยู่นั้นได้รับความสนใจจากกิตติน้อยครั้งมากเมื่อเทียบกับโครงการปลูกป่า
โครงการสวนป่าได้รับการสนับสนุนจากกรมป่าไม้มาแต่ต้น ได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาจากซีดีซี
ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอและการเงินจากแบงก์ทหารไทย กรุงเทพ และกสิกรไทย
อีกทั้งอยู่ระหว่างการเจรจาร่วมทุนกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) พร้อมทั้งจะขอเช่าพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจากกรมป่าไม้
ซึ่งมีโครงการที่จะให้เช่าทำประโยชน์เป็นป่ายูคาอีกหลายแสนไร่ ขณะที่บริษัท
สวนกิตติยังขาดพื้นที่อีก 200,000 ไร่ และการที่จะซื้อจากชาวบ้านก็ลำบากกว่าเก่า
เนื่องจากเจอปัญหาที่ดินแพงอีกขั้นหลายสิบเท่าตัว
ทว่า วันนี้ กิตติได้ตกลึกอยู่ในข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ตัดไม้ทำลายป่าไปแล้ว
ส่วนจะสรุปข้อเท็จจริง "จริงแท้" ออกมาอย่างนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาดให้ถึงที่สุดต่อไป
แต่เราจะมาดูถึงวิธีการและขั้นตอนในการจัดหาที่ดินของบริษัท สวนกิตติว่า
พื้นที่แต่ละไร่เขาได้กันอย่างไร
สุรางค์ ภรรยาของกิตติเริ่มซื้อที่ดินเมื่อปี 2526 จนมาถึงปี 2528 ก็รวบรวมได้ทั้งหมด
7,000 ไร่ แล้วสุรางค์ก็ป่วยเป็นอัมพาต กิตติจึงรับช่วงต่อ
เจ้าหน้าที่ที่ร่วมงานกับบริษัท สวนกิตติมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก ได้เล่าถึงระบบการจัดซื้อที่ดินว่าจะเริ่มจากการบอกกล่าวให้รู้กันต่อ
ๆ ว่า สวนกิตติต้องการที่ดินในการปลูกยูคา ซึ่งจะมีนายหน้าเป็นคนกลางในการติดต่อซื้อขายกับเจ้าหน้าที่ของบรษัทที่สำนักงานอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่
50 บนถนนสายกบินทร์บุรีพอดี
ที่นี่ได้กลายเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายที่ดินที่คึกคักที่สุดของฉะเชิงเทรา
บรรดานายหน้ามีตั้งแต่ที่เป็นเจ้าของที่ดินเอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คนซึ่งชาวบ้านเชื่อถือที่สุดในชุมชนนั้น
หรือกระทั่งข้าราชการระดับอำเภอของจังหวัด
นายหน้าเหล่านี้จะเป็นคนติดต่อเจ้าของที่ดินเพื่อรวบรวมมาขายพร้อมกันเป็นแปลงใหญ่
เนื่องจากบางคนมีที่ดินเพียง 20-30 ไร่ บางคนมีเป็นร้อยไร่ปริมาณที่นายหน้านำมาเสนอขายแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง
500-1,000 ไร่
บริษัท สวนกิตติจะรับซื้อที่ดินทุกแปลงที่อยู่ในทำเลน้ำไม่ท่วม พร้อมทั้งดูหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน
"ถ้ามีโฉนดหรือนส.3 ส่วนนี้ไม่มีปัญหาต่อมาก็ต้องดูว่าเจ้าของที่อยากขายหรือไม่
ถ้าไม่อยากขาย เราก็ไม่ซื้อ เพราะถ้าบังคับขายมีปัญหาแน่ ขณะที่เรายังต้องการแรงงานอีกมาก
และอยากให้เขามาทำงานกับเราในระยะยาว ไม่เพียงแต่จะให้เป็นแค่คนงานแต่จะจัดโครงการอบรมพัฒนาแรงงานฝีมือขึ้นมาเป็นพนักงานของเราด้วย
บางแปลงแม้เราคิดว่าจำเป็นและอยากซื้อ จะไปถามก่อนเหมือนกันว่า ขายได้หรือไม่
ถ้าไม่ เราก็ไม่เอา "แหล่งข่าวจากสวนกิตติกล่าว
เมื่อเจ้าของที่ตกลงขายให้ ก็จะนัดวันเวลาไปดูและวัดพื้นที่ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัท
สวนกิตติที่รับผิดชอบด้านนี้โดยเฉพาะและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ช่ายตรวจสอบทุกครั้งว่าที่ดินส่วนนั้น
สามารถซื้อสิทธิไปทำประโยชน์ได้หรือไม่ ถ้า "อนุญาต" ให้ทำได้
เราจึงจะเอา ถ้าเป็นป่าสมบูรณ์
หมายความว่าพื้นที่นั้นต้องเป็นป่าเสื่อมโทรม ซึ่งก็คือป่าสงวนที่เสื่อมโทรมแล้ว
มีชาวบ้านไปปลูกพืชปลูกมันสำปะหลังมาก่อน เราจะซื้อสิทธิ์จากชาวบ้าน จะดูจากใบเสียภาษีที่ดิน
คือ "ใบบท.5" ที่แสดงให้รู้ว่าเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมที่ชาวบ้านเขาไปทำประโยชน์
และเสียภาษีให้กับกรมที่ดิน ถ้าไม่มีใบบท.5 เราจะไม่ซื้ออีกเหมือนกัน
เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยจะไปทำเครื่องหมายให้รู้ว่า นี่เป็นทางเข้าแนวพื้นทีที่บริษัท
สวนกิตติซื้อ โดยปั๊มคำว่า "SK" ด้วยสีแดงที่ต้นไม้เป็นระยะ หรือเอาเสาเขตไปปัก
"ไม่ได้หมายความว่า จะยึดเป็นของเาแต่คนไม่เคยไปใหม่ ๆ จะจำทางไม่ได้
และกฎหมายก็ไม่ได้บังคับห้ามทำทีนี้บางทีแปลงข้าง ๆ ของแปลงที่เราซื้อ อาจจะเป็นป่าสงวนที่ยังเป็นป่าดี
ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเราบุกรุกโค่นป่า" แหล่งข่าวจากบริษัทสวนกิตติเล่าถึงวิธาการโดยรายละเอียด
หลังจากวางแนวเขตไว้แล้ว "ก็จะปรับพื้นที่ ต้องใช้แทรกเตอร์ไก เพราะที่เป็นดินดาน
ต้องใช้ลิปเปอร์ใหญ่คุ้ยดินให้แตก " กิตติเคยเล่าถึงปัญหาคนเดิมเล่าว่า
จะมีตอไม้ เศษไม้ ต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ บางทีก็ต้องขุดหลุมฝัง "ทำให้ดูเหมือนว่ากำลังโค่นป่า"
การไถพื้นที่แต่ละครั้งจะรอจนซื้อรวมได้เป็นผืนใหญ่ เพราถ้าใช้เครื่องจักรลงพื้นที่อย่างน้อยต้องขนาด
500 ไร่จึงจะคุ้มทุน
เมื่อตกลงซื้อขายและตรวจสอบหลักฐานเรียบร้อยแล้วจะจายเงินให้เจ้าของที่
ซึ่ง "ผู้จัดการ" ได้รับคำตอบถึงสาเหตุที่ชาวบ้านนำที่ดินมาขายให้บริษัท
สวนกิตติ ว่าต้องการปลอดเปลื้องภาระหนี้สินที่มีอยู่บ้าง แปลงใหญ่เกินใหญ่
ดูแลไม่ไหวบ้างและที่สำคัญ" ที่นี่จ่ายเงินเร็วดี 2-3 วันก็ได้ อย่างช้าจะไม่เกินหนึ่งอาทิตย์
การจ่ายเงินจะให้เจ้าของที่ดินแต่ละรายมารับเช็คเอง จะไม่จ่ายผ่านนายหน้าเด็ดขาด
ส่วนนายหน้าจะได้ค่าคอมมิชชั่น 5 เปอร์เซ็นต์
"เราไม่เคยบังคับซื้อจากชาวบ้านเลย มีหลายครั้งด้วยซ้ำไปที่นายหน้ามาติดต่อเสนอขาย
แล้วชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของที่มาร้องเรียนว่า ไม่ขาย เราก็ไม่ซื้อ "แหล่งข่าวพูดถึงวิธีการที่มั่นใจว่าจะไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
ส่วน "นายหน้า" ที่มาขายที่ดินให้นั้น จะมีที่เป็นเจ้าของที่เองในแปลงใหญ่
ๆ ที่เป็นหมื่นไร่มีเพียงรายเดียว ซึ่งเขาจับจองมาที่ดินมานาน ส่วนนายหน้าที่ขายเป็นพันไร่เคยมีสูงสุด
4,000 ไร่ นอกจากนั้นก็เป็นขนาดหนึ่งพันหรือสองพันไร่เป็นอย่างมาก แต่มีไม่กี่ราย
แปลงสวนป่ายูคาของสวนกิตติจึงไม่เป็นลักษณะผืนดินใหญ่ติดต่อกัน จะมีเว้นช่วงเป็นหย่อม
ๆ จากการที่ "ผู้จัดการ" ไปสัมผัสสวนป่ายูคาใน อ.พนมสารคามต่อแนวเขตจังหวัดปราจีนบุรี
พบว่าจะมีที่ดินของชาวบ้านคั่นเป็นช่วง บางแปลงยังเป็นไร่มันสำปะหลัง บางแปลงว่างเปล่า
บางแปลงปลูกต้นยูคา "เข้าใจว่าไว้ขายแก่โรงงานผลิตไม้ชิพที่ดำเนินการแล้วหนึ่งราย
คือ บริษัทวี.พี. ยูคาลิปตัส ชิพวู้ด จำกัด" แหล่งข่าวจากบริษัท สวนกิตติตั้งข้อสังเกต
"เราจะปรับพื้นที่ที่ซื้อไว้หลังจากที่ได้รับอนุมัติ (ด้วยวาจา) จากเจ้าหน้าที่ป่าไม้
แล้วจึงจะเอาเครื่องจักรไปปรับพื้นที่ เรายอมรับว่าตามกฎหมาย เราอาจผิดบ้าง
แต่เราไม่เคยคิดและไม่มีเจตนาโค่นป่า ถ้ารอใบอนุญาต กว่าจะมาถึงมือก็ต้องรอ
4-5 เดือน ซึ่งเข้าหน้าฝนก็ทำงานไม่ได้และทำให้โครงการช้าออกไปอีก"
แหล่งข่าวกล่าวถึงปัญหาการได้" ในอนุญาต" ล่าช้า" จะเห็นว่าจนวันนี้เชลล์ก็ยังปลูก
ป่ายูคาไม่ได้ เพราะต้องการที่ดินแปลงใหญ่เป็นแสนไร่
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวคนเดิมยอมรับว่า "คงเป็นไปได้เหมือนกันว่าอาจจะมีนายหน้าบางคนไปบังคับซื้อที่จากชาวบานมาขายต่อ
ซึ่งเราอาจจะไม่รู้ ถ้าชาวบ้านรายนั้นไม่ร้องเรียนให้ทราบ และอาจจะสร้างความไม่พอใจหรือเกิดแรงต่อต้านอยู่เงียบ
ๆ เพราะช่วงหลังมีการพูดกันว่าเราโค่นป่า แต่อย่างที่ช่วงหลังมีการพูดกันว่าเราโค่นป่า
แต่อย่างที่พนมสารคาม พื้นที่ส่วนแรกที่เราบุกเบิก จะเห็นว่าไม่มีปัญหา เลย"
แหล่งข่าวกล่าว เพราะกลุ่มธุรกิจปลูกยูคาตอนหลังมีหลายราย อาจจะมีปัญหาขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์
เป็นคู่แข่ง ทางการค้า ขณะบริษัทของญี่ปุ่นไต้หวันติดต่อซื้อยูคากันมาก และกลุ่มการเมืองก็มีหลายกลุ่ม
จะเห็นว่าช่วงหลังมีบริษัทหลายรายเลือกปลูกป่ายูคาแถบฉะเชิงเทรา เช่น บริษัทเสริมสมบัติวนา
บริษัทสวนป่านานาภัณฑ์ บริษัทสวนป่าสยามภัณฑ์ บริษัทสวนป่าหยวนเฮงลี่ บริษัทสยามวนา
บริษัทสวนป่าไทย-สวีเดิน เป็นต้น
กรณีเกิดขึ้นที่สนามไชยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ถือเป็นเรื่องท้าทายครั้งสำคัญของโครงการนี้
เพราะความเชื่อเก่า ๆ ที่ว่า เมื่อมีเจตนาที่ดีน่าจะได้รับการยกเว้นโทษสำหรับความผิดที่เขาเห็นว่าเล็กน้อย
ดังที่นิกร วัฒนพนมพูดว่าน่าจะดูที่เจตนามากกว่า
โดยไพโรจน์ สุวรรณกร อธิบดีกรมป่าไม่ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาลแะลได้ยืนยันว่า
บริษัทสวนกิตติเป็นบริษัทปลูกป่า ไม่ใช่ทำลายป่า ที่เขาเข้าไปทำนั้นสนใจเพียงปลูกป่าเศรษฐกิจ
ที่ดินได้จากการซื้อที่ดินเสื่อมโทรมที่ชาวบ้านปลูกมัน ต้นไม้ก็เป็นต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้
ไพโรจน์ยังพูดด้วยว่า เขาไมเคยรู้จักกิตติ แต่การปลูกป่าควรต้องดูที่เจตนา
ถ้าผิดจริงก็ต้องรับโทษติดคุก 5 เดือนถึง 10 ปี ถ้าจะผิดก็ผิด 2 ประเด็น
คือ บุกรุกป่าก่อนได้ "ใบอนุญาต" และถากถางเกินกว่าที่ได้รับ "ใบอนุญาต"
ขณะเดียวกัน เมื่อคืนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้พลตรีสนั่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯกับไพโรจน์อธิบดีกรมป่าไม้ได้ออกทีวีชี้แจงถึงเรื่องนี้
ว่านโยบายปลูกป่าเป็นนโยาบตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้วอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิตและสังคมแห่งชาติฉบับที่
6 เนื่องจากพื้นที่ป่าเหลืองเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ หากกรมป่าไม้เป็นคนปลูกป่าเอง
จะต้องใช้เวลาถึง 200 ปี จึงต้องให้เอกชนเข้ามาร่วมและบริษัท สวนกิตติเป็นรายหนึ่งในหลายรายที่ขอเช่าพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
และทุกอย่างทำตามขั้นตอนกฎหมาย
กิตติ "คง" คิดไปว่า เมื่อได้รับอนุญาตด้วยวาจาและตรวจสอบพื้นที่แล้วรอหนังสืออนุญาตเดินทางมาเท่านั้น
ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร เมื่อทางราชการอนุมัติเพราะหลงเชื่อมั่นว่า การมีอดีตข้าราชการระดับสูง
เช่น พลตำรวจเอกณรงค์ มหานนท์เป็นรองประธานบริษัท และการทีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเออออเห็นด้วยนั้นจะเป็นเกราะกำบังที่ดี"
ขณะเดียวกัน ถ้ามองในมุมกลับ กรณีลัดขั้นตอนลักษณะนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปในสังคมธุรกิจเมืองไทย
"เชื่อว่า ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากก็มักมีกรณีอย่างนี้จนองค์กรบางองค์กรที่คยทำอะไรตามขั้นตอนอย่างตรงไปตรงมาทุกระเบียดนิ้ว
ต้องมาเริ่มทบทวนใหม่ว่า เห็นทีจะต้องมีธรรมเนียมปฏิบัติเหมือนคนอื่นบ้างคงจะทำให้ธุรกิจไปได้เร็วกว่า"
นักเศรษฐศาสตร์ชั้นแนวหน้ารายหนึ่งวิเคราะห์ "นี่พูดถึงกรณีที่เขาไม่ได้โค่นป่า
แต่เป็นผู้เข้าไปใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจริง"
แต่สิ่งที่กิตติคาดไม่ถึงหรือดูเบามาตลอด ก็คือความรู้สึกรักธรรมชาติในระยะหลังที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นกระแสการเมืองขึ้นมาแล้ว
และมีคนพร้อมที่จะผลักดันให้กลายเป็นประเด้นการเมืองได้เสมอ และถ้าแม้จะไม่มีการปลุกเร่งกระแสความหวงแหนในธรรมชาติขณะที่แทบจะไม่มีป่าให้หวงแหนได้แล้วในขณะนี้ก็ตาม
ใช่ว่าจะเป็นหลักประกันที่มั่นคงว่าจะไม่เกิดปัญหาด้วนมวลชน ดังทีแหล่งข่าวรายหนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาต่อต้านแฝงเร้นที่อาจจะไม่ได้ระวังตามที่กล่าวข้างต้น
ยิ่งฐานะทางการเมืองของกิตติที่สร้างพันธมิตรกับกลุ่มการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็นพิชัย รัตตกุล ณรงค์ วงศ์วรรณ สุบิน ปิ่นขยัน หรือแม้กระทั่งพลเอกชาติชาย
ชุณหะวัณ (วุฒิสมาชิกและที่ปรึกษานายก) ย่อมมีโอกาสที่จะเป็นเป้าการเมืองได้ง่ายยิ่งขึ้น
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแอคติวิสท์ที่กลายมาเป็นนักการเมืองที่เชี่ยวเวทีแทนอนันต์ผู้พ่อหยิบฉวยโอกาสเก็บคะแนนตามระเบียบ
โดยโยงร้อยเข้ากับกรณีการขับไล่ชาวบ้านเชื้อสายภูไทแห่งทุ่งกระทิงในเขตอำเภอเดียวกันอย่างได้จังหวะด้วยเหุตว่ากิตติบังเอิญไปยืนอยู่ข้าง
"กำนันไกรสร" หัวคะแนนคนดังของอาทิตย์ อุไรรัตน์
ไม่เพียงแต่เท่านั้น บาดแผลเก่าที่เหวอะหวะของพลตรีสนั่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกาตรฯในเรื่องประมูลปุ๋ยอตก.
300,000 ตันเมื่อต้นปี 2532 ที่กลุ่มสุ่นหั่วเซ้งเฉือนคมกลุ่มศรีกรุงวัฒนาเจ้าพ่อวงการไปได้นั้น
ทั้งฝ่ายค้ายและฝ่ายแค้นทั้งหลายยังจดจำได้ตรึงใจอีกทั้งข้าราชการทหารบางกลุ่มบางรายกำลังเสาะโอกาสเพื่อกรุยทางเข้าสู่เวทีการเมือง
สถานะของกิตติจึงหมิ่นเหม่นัก โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังใกล้เปิดเข้าสภาพมาทุกขณะ
ด้านกลุ่มหัวเซ้งเองได้ปิดตัวมาตลอดตามลักษณะของเถ้าแก่พืชไร่ ภายในกลุ่มพากันตกตะลึก
ถึงกับช็อกความรู้สึกทีเดียวที่เจตนาในการเร่งปลูกป่าของกลุ่มถูกเบี่ยงเบนจากความตั้งใจที่แท้จริงไปตามกระแสลมการเมือง
หลายคนในบริษัทต่างบ่นเสียดายชื่อเสียงของบริษัทที่อุตส่าห์ทุ่มเทในการลงทุน
แต่ผลตอบแทนกลับตรงกันข้ามบางคนบ่นว่า "รู้อย่างนี้เก็บเงินไว้เฉย ๆ
คงไม่ถูกด่าและเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูลขนาดนี้" บางคนพลอยโทษหนังสือพิมพ์ว่าไม่เข้าข้างตน
ทั้งที่ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน และมุ่งทำประโยชน์ต่อสังคม "น่าจะเห็นใจกันบ้าง"
แต่ในโลกปัจจุบันที่มีกลไกทางสังคมซับซ้อนมากขึ้นการที่คิดจะทำดีและประโยชน์โดยไม่แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสังคม
บางทีกลับจะเป็นผลลบมากกว่าผลดี
ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนปัญหาชัดเจนของกลุ่มนี้ว่า มีจุดอ่อนในการสร้างความเข้าใจและเปิดใจกว้างให้สังคมรอบข้างมากขึ้น
ในอดีตที่ผ่านมา ธุรกิจส่งออกพืชไร่เก็บตัวเงียบต่อข่าวลือต่าง ๆ ได้ เพราะมีกันชนคือกระทรวงพาณิชย์รับหน้าแทนอยู่แล้ว
แต่โครงการอุตสาหกรรมเกษตรหนึ่งล้านที่เกี่ยวข้อกงับมวลชนโดยตรง การรวมศูนย์ที่ตัว
"กิตติ" จึงใช้ไม่ได้ ทุกคนรอการตัดสินใจที่กิตติเพียงคนเดียวในฐานะที่ศักดิ์สิทธิ์ขององค์กร
ที่ผ่านมา กิตติมักจะใช้วิธีการสร้างความสัมพันธ์รายวันหลายฉบับ โดยหวังว่าการอธิบายให้คนกลุ่มนี้เข้าใจจะช่วยแก้ปัญหาถูกโจมตีได้
งบประมาณของกลุ่มเกษตรรุ่งเรืองในการสร้างภาพพจน์นั้นไม่มีเลย "ดูเหมือนจะไม่มีสำหรับการให้ฟรีโดยไม่มีผลตอบแทน"
มักจะมีคนพูดเช่นนี้ถึงกับยกตัวอย่างว่าในการบริจาคช่วยน้ำท่วมภาคใต้ปลายปี
2531 กลุ่มนี้ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศบริจาคเงินแค่
20,000 บาท" เหมือนกับให้อย่างเสียไม่ได้" ในขณะที่บริษัทเล็ก
ๆ บางรายให้ถึงแสนบาท
แม้บริษัท สวนกิตติจะเอื้อเฟื้อต้นกล้ายูคาแก่โรงเรียนแก่วัดอย่างไม่จำกัดจำนวน
และให้เงินช่วยเหลือชุมชนบางแห่งในอ.พนมสารคาม และเตรียมทีาประชาสัมพันธ์ขึ้นมารับงานด้านนี้โดยตรง
กับการเริ่มโครงการสวนป่ามาแล้วตั้งแต่ปี 2529 นั้น ดูจะเป็นการปรับตัวที่ช้าเกินไปเสียแล้ว
การออกมาชี้แจงตอบโต้ทันควัน เพราะคิดว่าการพูดความจริงให้ฟังน่จะทำให้ปัญหาคลี่คลายลงแต่ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
กลับเลวร้ายหนักยิ่งกว่าเก่า เพราะการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อกฎหมาย แม้จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ฟังไม่ขึ้นโดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การเมืองและธุรกิจที่ขมวดเกลียวอยู่เช่นนี้
จะเห็นว่ากรณีเดียวกับที่สนามไชยเขตตอนหลังไปโดยที่วังน้ำเย็น จ.ปราจีนบุรี
และล่าสุดที่จ.ชลบุรีด้วย
เหตุการณ์ได้บานปลายออกไป และแน่นอนว่าย่อมกระทบต่ออนาคตของกลุ่มธุรกิจนี้อย่างหนักในอนาคต
เช่นเดียวกับที่ 3 ปีก่อน "สว่าง เลาหทัย" แห่งกลุ่มศรีกรุงวัฒนาคู่แข่งทางการค้าของเขาเจอมาแล้ว
แต่กิตติจะตกในสภาพที่ฉกรรจ์กว่าอย่างหาที่เทียบไม่ได้
บางคนพูดว่า "กิตติอาจจะเล่นกับอำนาจมากไป" เพราะกิตติรู้ว่าการผูกกับขั้วอำนาจเดียวเมื่อขั้วอำนาจนั้นตกต่ำ
ก็ต้องพลอยแย่ไปด้วยการสร้างพันธมิตรทั่วไปจึงน่าที่จะยืดหยุ่นได้มากกว่แต่เมื่อถึงสถานการณ์คับขัน
พันธมิตรที่เป็นศัตรูก็เท่าทวีด้วย เพราะโลกธุรกิจและการเมืองไม่เคยมีมิตรและศัตรูที่ถาวร
ตอนนี้ทุกคนก็ดูจะหวงแหนป่าเป็นพิเศษแน่ละ ป่าธรรมชาติย่อมต้องเป็นป่าที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษยชาติที่สุด
แต่ถ้าป่านั้น เสื่อมทรุดแล้ว การสร้างป่าใหม่ขึ้น ถ้าหากได้ทำอย่างมีระบบ
ที่ดีป้องกันไม่ให้นิเวศน์วิทยาเสียไปกว่าที่เป็นอยู่ และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบคนด้อยโอกาสกว่าแล้ว
ก็ย่อมดีกว่า
ไม่ว่าสวนป่ายูคาแปลงนี้จะได้มาจากที่ไหน อย่างไร
แต่ตอนนี้ คงพูดได้แต่เพียงว่า สวัสดีความเศร้า