ท่ามกลางความทันสมัยของเทคโนโลยี ที่ธนาคารพาณิชย์ต่างพยายามนำมาอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
การบริการในยุคของการแข่งขันที่ดุเดือด จึงเป็นเสมือนกุญแจสำคัญ ที่จะไขไปสู่ความสำเร็จของบรรดาธนาคารพาณิชย์ทั้งหลาย
เช่นเดียวกับธนาคารฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น (HSBC) สาขาประเทศไทย
ที่ในปีนี้ได้ประกาศสู้ศึก ในสนามตลาดเงิน และตลาดทุน ด้วยการแต่งตั้งแม่ทัพใหม่
เพื่อบริการลูกค้า
กลางปี 2538 HSBC รุกเข้าสู่ธุรกิจ Personal Banking และออกบัตรเครดิตเข้าเจาะตลาดลูกค้ารายย่อยเป็นครั้งแรก
ซึ่งทำให้สัดส่วนรายได้จากธุรกิจ Personal Banking เพิ่มขึ้นเป็น 50% จากเดิม
ที่รายได้ประมาณ 90% มาจากธุรกิจ Trade Service, Corporate Banking, Treasury,
Capital Market และ Custodian
การปรับตัวอย่างเป็นรูปธรรมของ HSBC เพื่อรองรับกับธุรกิจตลาดเงิน และตลาดทุน
ที่เริ่มฟื้นตัวในขณะนี้อยู่ ที่ การแต่งตั้งมาร์ค บอยน์เป็น Treasurer ประจำประเทศไทย
ทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติงานฝ่ายบริหารเงิน และ ตลาดทุนแทนพอล แฮนด์ ซึ่งย้ายไปประจำ
ที่เครือข่าย HSBC ในญี่ปุ่น รวม ทั้งได้แต่งตั้งมาการิตา บอยน์ เป็นที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายบริหารเงิน
และตลาดทุน
มาร์ค บอยน์กล่าวว่าหลังจากนี้ HSBC จะมุ่งให้บริการในการจัดการความเสี่ยงแก่ลูกค้า
เพื่อให้สามารถบริหาร ความเสี่ยงทางด้านอัตราแลก เปลี่ยนเงินตราต่างประเ
ทศ และอัตราดอกเบี้ยได้ดีขึ้น
การจัดตั้งส่วนงานตลาดทุนของ HSBC มีผลงานบ้างแล้วในการออกตราสารหนี้ และประกันการจัดจำหน่าย
เช่นในดีลของ บง.สินอุตสาหกรรม และธนาคาร เพื่อการนำเข้า และส่งออก
"เราเสนอสินค้า และบริการที่สามารถ เพื่อตอบสนองความต้องการ โดยเฉพาะเจาะจงของลูกค้า"
มาร์ค บอยน์บอก โดยจะใช้เครือข่ายโกบอล เน็ตเวิร์ค และเพิ่มปริมาณการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตในการกระจายสินค้า
มาร์ค บอยน์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมตัน อังกฤษ เริ่มทำงานกับ HSBC
ในกรุงลอนดอน เมื่อปี 2530 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาสา สมัครฝ่ายบริหารเงิน ต่อมาในตำแหน่งผู้ฝึกงานฝ่ายตลาดทุน
ดีลเลอร์ และ Treasurer ในฮ่องกง และฟิลิปปินส์ ระหว่างปฏิบัติงานในฟิลิปปินส์เขาได้
ช่วยขยายขอบเขตการให้บริการของธนาคารให้กว้างมากขึ้น
ด้านมาการิตา บอยน์จบการศึกษา ปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ ด้านการตลาด จาก
วิทยาลัยซามูเอล เจ ซิลเบอร์แมน มหาวิทยาลัยดิคคินสัน สหรัฐฯ และ ระดับปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจจาก
ที่เดียวกัน
เธอเริ่มทำงานกับ HSBC เมื่อปี 2537 ในตำแหน่งผู้ช่วยรองประธานบริหาร Corporate
Desk Head ฝ่ายบริหารเงิน และตลาดทุนในฟิลิปปินส์ จากนั้น ปี 2539 ขึ้นเป็นรองประธานบริหารฝ่ายธุรกิจ
และสถาบันการเงิน ด้านฝ่ายขาย ปัจจุบันเธอมีหน้าที่ดูแล และบริหารทีมงานขายฝ่ายธุรกิจ
และ สถาบันการเงิน โดยเน้นด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และตราสารอนุพันธ์
รวมทั้งการจัดหาข้อมูลด้านเศรษฐกิจตามความต้องการของลูกค้า
การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของ HSBC หลังจากเก็บตัวเงียบมานานในครั้งนี้ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนให้แบงก์อื่นๆ
ต้องหันมาทบทวนศักยภาพใน การแข่งขันของตนเองบ้าง ก่อน ที่ความเหนือชั้นจะทิ้งห่างจนไล่ไม่ทัน