|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การยกเครื่องรื้อแผนมาร์เก็ตติ้งใหม่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ที่ผ่านมาของปี 2008 ส่งผลให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างปรับตัวงัดกลยุทธเจาะตลาดเพื่อมารองรับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มบริษัทนำเที่ยวไทยเตรียมปรับทัพเร่งขายช่วงไตรมาส3 และไตรมาส 4 ด้วยการงัดกลยุทธ์ชูจุดขายโปรแกรมทัวร์ที่เร้าใจพร้อมออปชั่นราคาถูกสำเร็จรูปออกมาใช้
ว่ากันว่าการรื้อยุทธศาสตร์เดิมๆของทัวร์ภายในประเทศที่บริษัททัวร์บางแห่งกำลังทำอยู่นั้นไม่ใช่เป็นการรับลูกเพื่อรองรับตลาดของททท. แต่เป็นการดิ้นหนีตายของกลุ่มผู้ประกอบการมากกว่า เพราะนโยบายที่ททท.ออกมาใช้นั้นไม่ได้ส่งผลดีให้กับผู้ประกอบการนำเที่ยวในประเทศเท่าไรนัก หากแต่ผู้ประกอบการเองจำเป็นต้องเปิดเกมรุกเพื่อความอยู่รอดในครั้งนี้
ประเดิมด้วยการชิมลางแคมเปญใหม่หันไปทำเทเลเมดผลิตโปรแกรม "ทัวร์ทางเลือก" แทนที่ "แพ็กเกจเหมาสำเร็จรูป" ซึ่งมี สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยว(สนท.)รับอาสาเจรจากับเครือข่ายพันธมิตร โรงแรม สายการบิน รถเช่า หวังทำราคาสุดประหยัดครองใจลูกค้าในยุคเศรษฐกิจฝืดที่สำคัญในทางอ้อมก็คือเพื่อสกัดแรงหนุนโลว์คอสต์ที่พยายามขนคนไทยแห่ไปเที่ยวนอก
ทักษิณ ปิลวาสน์ นายกสมาคมนำเที่ยวภายในประเทศ(สนท.) ยอมรับว่าในปี 2551 สมาชิกบริษัททัวร์ภายในประเทศจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ทันที พร้อมกับเตรียมเร่งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สายการบิน และบริษัทรถเช่า ให้เข้ามาจับมือร่วมกันรุกตลาด โดยใช้กลยุทธ์ง่ายๆคือการร่วมกันโปรโมทสินค้าจูงใจนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะการใช้ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวผสมผสานกับได้สัมผัสบรรยากาศของวัฒนธรรมประเพณีและได้ลิ้มรสอาหารพื้นเมืองในรูปแบบที่สัมผัสได้ในบรรยากาศจริงพร้อมทั้งพาชิมผลไม้ประจำจังหวัด
ขณะเดียวกันบริษัททัวร์ต้องปรับการขายในลักษณะแพ็กเกจหรือจัดทัวร์ให้เลือก (tour option) มากขึ้น รวมทั้งแต่ละบริษัทต้องสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว หาวิธีลดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆลง เพื่อมาช่วยผลิตแพ็กเกจราคาถูกสอดรับกับกำลังซื้อยุคเศรษฐกิจชะลอตัว
ความพยายามปรับตัวของทัวร์ไทยครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะสถานการณ์ในปี 2008 พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเริ่มเปลี่ยนไปหันมานิยมเดินทางด้วยตัวเองกันมากขึ้น และมีการเปรียบเทียบราคาเป็นตัวแปรหลักในการตัดสินใจ ส่งผลให้ปัจจัยสำคัญในการใช้กลยุทธ์สำหรับตลาดในประเทศ คือ ต้องทำราคาขายให้เหมาะสมเท่านั้น เนื่องจากมีทางเลือกใหม่ๆโดยเฉพาะทัวร์ไปต่างประเทศซึ่งมีราคาใกล้เคียงกันมากขึ้น
ในขณะที่ยังมีปัจจัยบวกคอยสนับสนุนจากสายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airlines) เปิดเส้นทางใหม่จำนวนมากไปยังประเทศใกล้เคียง อาทิ เมืองแถบชายแดนตอนใต้ของจีน มาเก๊า ฮ่องกง โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีราคาถูกกว่าหรือเทียบเท่ากับเส้นทางในประเทศบางแห่งเสียอีก
การตัดสินใจของลูกค้าจึงมีหลากหลายทางเลือกและที่สำคัญการไปหาประสบการณ์แปลกใหม่บวกกับราคาตั๋วเครื่องบินที่ถูกลงกลายเป็นจุดขายใหม่ที่มักจะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวคนไทยเดินทางไปต่างประเทศแทน เช่น ตั๋วเครื่องบินไปพม่า ราคาประมาณ 4,300 บาท ใกล้เคียงกับแพ็กเกจทัวร์ภาคอีสานเมื่อปลายปี 2550 ที่กลุ่มบริษัททัวร์ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประชาสัมพันธ์ขาย แคมเปญ อะเมซิ่ง อีสาน บางแพ็กเกจทัวร์รวมแล้วสูงเกือบ 10,000 บาท/คน ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวสนใจไม่ถึง 10% แน่นอนที่สุดคนไทยจึงเลือกเที่ยวหลวงพระบาง สปป.ลาว หรือเที่ยวต่อในเวียดนามแทน
ด้วยเหตุนี้เองบริษัทนำเที่ยวต้องปรับบทบาทเป็นตัวแทนในการอำนวยความสะดวก แทนที่สำหรับเป็นแค่การขายทัวร์แบบเหมาจ่ายเหมือนเดิม ประการสำคัญต้องเตรียมระบบข้อมูล โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทาง นำเสนอเป็นบริการกึ่งแพ็กเกจกึ่งทัวร์ให้ลูกค้าได้ทั้งการจองที่พัก รถเช่า หรือจัดหาร้านอาหาร โดยต้องอาศัยการใช้กลยุทธ์สื่อสารไปถึงลูกค้าว่าพร้อมบริการเพื่อให้เดินทางได้ทุกวัน ให้เข้ากับความนิยมขับรถเดินทางท่องเที่ยวกันเองสูงขึ้น
ขณะเดียวกันการตรวจสอบข้อมูลของนักท่องเที่ยวด้วยตัวเองทางเว็บไซต์ต่างๆ กลายเป็นปัจจัยสำคัญของการขายแพ็กเกจซึ่งต้องมีความชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือสูง โดยต้องปรับตัวรองรับพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวฉบับใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น ตลอดปีที่ผ่านมาบริษัททัวร์ไทยที่สามารถประคองตัวหรือทำกำไรได้ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่ปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวแทบทั้งสิ้น
จึงไม่แปลกที่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2008นี้เส้นทางท่องเที่ยวสำหรับตลาดในประเทศ จึงถูกกำหนดไปที่จุดหมายเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งยังคงเป็นทะเลภาคใต้แถบอันดามันและอ่าวไทย เช่น เกาะลันตา กระบี่ ตรัง เนื่องจากหลังจากกุมภาพันธ์เป็นต้นไป นักท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น ยุโรป ที่พักอยู่ในไทยจะเริ่มทยอยเดินทางกลับ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวพร้อมรับคนไทยซึ่งเริ่มหันมาเที่ยวทะเลช่วงฤดูร้อน
ขณะที่เป้าหมายของการท่องเที่ยวฯในปี 2008 ททท.ตั้งเป้าไว้ว่าจะดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยถึง 15.7 ล้านคน และสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 6 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันก็จะโน้มน้าวดึงคนไทยให้เที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 83 ล้านคนต่อครั้งสามารถสร้างเงินหมุนเวียนในประเทศไม่ต่ำกว่า 3.85 แสนล้านบาท...ซึ่งกลายเป็นโจทย์สำคัญที่ยากจะหาคำตอบได้ในขณะนี้เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างนโยบายของภาครัฐที่มักจะเดินสวนทางกับการปฏิบัติจริงของภาคเอกชนนั่นเอง
เส้นทางขายฝันของ ททท.
การเกิดใหม่ของรีสอร์ทหลายแห่งในไทยและมักจะดูดี มีดีไซน์เก๋ไก๋ ส่งผลให้การขยายตัวของเชนต่างประเทศหันมาสนใจเข้ามารับบริหารพร้อมลงทุนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โรงแรมไทยถูกยกระดับสู่มาตรฐานสากล และยังช่วยให้มีการโปรโมทประเทศไทยในทางอ้อม เนื่องจากเครือข่ายการตลาดของโรงแรมเชนมีอยู่ทั่วโลก
หลายปัจจัยสำคัญกลายยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวปีนี้ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)จึงหันไปเน้นเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ในตลาดลักชัวรี่หรือกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงเป็นหลัก นับเป็นกลยุทธในการทำตลาดรูปแบบใหม่ที่ททท.จะให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพื่อกระตุ้นรายได้ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและไทยเที่ยวไทย ทั้งนี้โน้มบริการด้านการท่องเที่ยวของไทย มีพัฒนาการที่มุ่งเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนท์มากขึ้น
การปรับรูปแบบของททท.สำหรับการทำตลาดครั้งนี้มีทั้งต้อง ทบทวนใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะได้รับกลับคืนมา อาทิ การปรับลดงบประมาณด้านการจัดกิจกรรมลดลงเพื่อนำงบมาใช้ทำตลาดเป็นหลัก เช่นงานบางกอก ฟิล์ม ปีนี้ททท.ก็ไม่ได้เป็นผู้จัดแต่สมาคมภาพยนตร์รับเป็นเจ้าภาพแทน โดยททท.สนับสนุนงบให้ไม่เกิน 15 ล้านบาท
ขณะที่งานเทรดโชว์เพื่อนำภาคเอกชนไปร่วมงานในต่างประเทศ ซึ่งหากงานใดมีภาคเอกชนมาร่วมไม่เกิน 8 ราย ก็จะตัดงานนั้นๆออกจากแผนส่งเสริมการขายทันที เพื่อไปขยายพื้นที่บู้ธของงานทราเวล เทรดโชว์ ที่มีกระแสตอบรับดีและขยายตัวสูงแทน รวมไปถึงการคัดเลือกงานที่จะออกไปส่งเสริมการขาย หรือทราเวล เทรด ในต่างประเทศ อาทิ ไอทีบี ,เวิล์ดทราเวลมาร์ท และงานทราเวล มาร์ทของประเทศต่างๆ โดยททท.ก็จะเน้นการไปร่วมงานเทรดโชว์ ประเภทลักชัวรี มาร์ท (การขายแพ็คเกจและบริการท่องเที่ยวให้กับกลุ่มลูกค้าไฮเอนท์โดยเฉพาะ)
จากประสบการณ์ในการไปส่งเสริมการขายของ ททท.ในงานอินเตอร์เนชั่นแนล ลักชัวรี มาร์ท ที่ปารีส และลักชัวรี ทราเวล เอ็กซ์โปร์ ที่สหรัฐอเมริกา พบว่าแม้จะมีกระแสการตอบรับดีมากขณะที่ผู้ซื้อไม่เกี่ยงเรื่องของราคา แต่จะดูที่ตัวโปรดักซ์อย่างเดียวเท่านั้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยที่นำธุรกิจไปขายต่างพอใจ เนื่องจากขายได้ราคาดี ถือว่าเป็นงานเฉพาะกลุ่ม และเป็นคนละรูปแบบกับงานเทรดโชว์ทั่วไป ที่จะเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งเชื่อได้ว่ารูปแบบของงานดังกล่าวที่ถูกททท.หยิบนำมาใช้ครั้งนี้อาจจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ไม่มากก็น้อย
|
|
|
|
|