Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533
ที เอช เอช ร่วมทุนปีเตอร์ เครเมอร์ ค้ายุโรป             
 


   
search resources

ทีเอชเอช กรุ๊ป
เสรี เด่นวรลักษณ์




ในวงการค้าพืชไร่มันสำปะหลัง บริษัทข้ามชาติอย่างปีเตอร์เครเมอร์สัญชาติเนเธอร์แลนด์เข้ามาฝังตัวเงียบ ๆ เช่าโกดังมาบุญครองอบพืชและไซโลที่ศรีราชามานานนับ 20 ปีเศษแล้ว และขยายโรงงานเพิ่มที่โคราชอีกแห่งหนึ่ง เพื่อบุกเบิกการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังประชาคมยุโรป แต่มาระยะหลังค่อนข้างเงียบไปสักหน่อย เพราะปรับตัวเข้ากับนโยบายผีเข้าผีออกของราชการไทย สู้ผู้ส่งออกไทยสายเลือดจีนไม่ไหว

ขณะเดียวกัน บริษัทส่งออกไทยที่เป็นดาวรุ่งมาแรงที่สุดในวงการก็เห็นจะไม่พ้นทีเอช เอช กรุ๊ป ของตระกูล ตันติพงศ์กุล จากชลบุรี ซึ่งในระยะ 3 ปีมานี้สร้างความฮือฮาให้กับวงการมาก กิจการเติบโตจากบริษัทผลิตแป้งมันเล็ก มาเป็นกลุ่มเจ้าของโกดังขนาดใหญ่ที่อยุธยามียอดขายปีละกว่า 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้มีคนหนุ่มไฟแรง 2 คนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จคือวันชัย ตันติพงศ์กุล กรรมการจัดการ และเสรี เด่นวรลักษณ์รองผู้จัดการกลุ่ม

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทั้ง 2 ฝ่ายต่างบรรลุข้อตกลงอย่างเงียบ ๆ หลังจากการเจรจานานหลายเดือนเพื่อร่วมมือกันเปิดโฉมหน้าใหม่ของการค้าพืชไร่ไทย-อีซี. เพื่อตั้งบริษัทร่วมทุนพร้อมกันทีเดียว 2 บริษัทเพื่อที่จะทำการค้าพืชไร่ในขอบข่ายที่ใหญ่โตกว่าเดิมอีกหลายเท่า และอุดรอยโหว่ต่าง ๆ ที่เป็นจุดอ่อนของการค้าแต่ละฝ่าย

บุคคลที่อยู่เบื้องหลังรายการร่วมทุนคราวนี้คือ เสรี เด่นวรลักษณ์ ซึ่งเป็นอดีตพนักงานระดับบริหารของปีเตอร์ เครเมอร์ในไทยมาหลายปีก่อนจะย้ายไปอยู่กับกลุ่มทีเอชเอช. ซึ่งทำให้ทุกอย่างว่ากันง่ายขึ้น

บริษัทร่วมทุนแห่งแรกชื่อทีเอช. อะโกร-อินดัสตรี้ (THAGRO-INDUSTRY CO.) มีสัญชาติดัทช์ ตั้งสำนักงานอยู่ที่ร็อตเตอร์ดัม โดยมีทุนจดทะเบียนฝ่ายละครึ่ง สำหรับทุนจดทะเบียนแรกตั้ง 5 ล้านกิลเดอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นหัวหอกของกลุ่มทีเอชเอช. ในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรในอีซี.ซึ่งกลุ่มไม่มีความชำนาญมาก่อน

เสรีกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าการลงทุนในบริษัทการค้านี้ ไม่ได้หมายความต่อไปนี้สินค้ามันสำปะหลังของทีเอชเอช.ที่มีอยู่หลายแสนตันจะต้องผูกพันติดแน่นกับปีเตอร์ เครเมอร์ซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ทางด้านอาหารสัตว์ของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตกเสมอไป "แต่เราก็จะเน้นความสำคัญมาให้บริษัทนี้มากขึ้นเว้นเสียแต่ว่ามีคนอื่นเสนอราคาซื้อแพงกว่าที่เราค้ากันเอง"

บริษัทที่สองนับได้ว่าทันสถานการณ์ที่สุด เพราะเป็นการต้อนรับนโยบายใหม่ของรัฐบาลชาติชาย ที่เปิดให้มีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์โลกเสรีมากขึ้นเพื่อสนับสนุนอุตสหกรรมเลี้ยงสัตว์ที่กำลังโตวันโตคืนปีละกว่า 30% เพราะบริษัท BEST FEED PC CO. นั้นจะทำหน้าที่เป็นนำเข้า และจำหน่ายสำหรับกากถั่วเหลือง กากถั่วต่าง ๆ ซึ่งเดิมปีเตอร์ เครเมอร์เป็นผู้ค้าเองอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่กระฉับกระเฉงเท่าที่ควร

บริษัทนี้จดทะเบียนเริ่มต้นแค่ 10 ล้านบาท ในอัตราส่วนหุ้นไทย 51% ตามกฎหมาย ซึ่งทุนจดทะเบียนเล็กน้อยขนาดนี้เป็นธรรมดาสำหรับบริษัทการค้าแต่สิ่งที่จะมองเห็นภาพให้ชัดก็คือนับตั้งแต่นี้ไป การผูกขาดนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ในกลุ่มชลบุรีหรือพวกค้ากากถั่วจีนก็จะมีคู่แข่งที่เพิ่มความเข้มแข็งไม่แพ้กันมาแทน ประโยชน์ที่น่าจะได้คือกลุ่มอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์นั่นเอง

เสรีบอกว่า น่าเสียดายที่การตกลงตั้งบริษัทนี้ทำขึ้นก่อนที่รัฐบาลจะปรับนโยบายในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ไม่อย่างนั้นแผนงานจะใหญ่โตกว่านี้ แต่ตอนนี้ก็มีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งก็คงต้องเร่งมือปรับแผนงานค้าให้มากขึ้นรับสถานการณ์ เพราะมีความพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องซัพพลายนั้นไม่มีปัญหา เพราะระดับยักษ์ใหญ่อาหารสัตว์ยุโรปอย่างปีเตอร์เครเมอร์นั้นประกันเรื่องนี้ดีแล้ว

แต่เดิมจุดอ่อนของปีเตอร์เครเมอร์นั้นอยู่ที่ตลาดภายในประเทศไทยเอง เพราะในฐานะที่เป็นบริษัทข้ามชาติ การทำอะไรต่อมิอะไรในประเทศอื่นย่อมต้องระมัดระวังมากกว่าคนในประเทศ ความคล่องตัวจะ "ซิกแซ็ก" ก็สู้ไม่ได้ แม้ว่าจุดแข็งในระดับระหว่างประเทศจะมีมากแค่ไหนก็ตาม

ในขณะที่กลุ่มทีเอชเอช. นั้นความที่เกิดขึ้นที่หลังใครเขา การจะเติบโตไปในตลาดต่างประเทศเป็นเรื่องยาก เพราะวงการค้าพืชไร่นั้นเจ้าเก่าเจ้ายุทธจักรคนไทยอย่างกลุ่มยูเรเซียน ศรีกรุงวัฒนา แสงไทยบางปะกง หรือเอเชีย คอร์ป นั้นไปไกลลิบลับและยึดครองตลาดได้มากพอสมควร หากไม่มีบริษัทร่วมทุนมาเกื้อหนุนมีหวังอนาคตไม่ไกลแน่

การจับมือกันอย่างพอเหมาะพอดี นอกจากจะปิดจุดอ่อนที่เคยมีแล้ว ยังเพิ่มขีดความสามารถ ซึ่งคู่แข่งขันต่างก็เฝ้าจับตาดูอย่างใจจดใจจ่อพอสมควร เพราะนี่นับเป็นปรากฎการณ์ใหญ่ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยครั้งนักในวงการค้าพืชไร่ นับตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งศรีกรุงวัฒนาไปดึงเอามิตซุยเข้ามาร่วมทุนบุกเบิกวงการค้ามันสำปะหลังหวังยึดครอง ซึ่งบังเอิญเหลือเกินที่ไม่ประสบความสำเร็จ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us