Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 มิถุนายน 2551
ศึกชิงโมเดลการตลาดแอร์ไลน์มาเลย์เซียแอร์ปะทะแอร์เอเชีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอร์เอเชีย

   
search resources

แอร์เอเชีย - AirAsia
Aviation




ตัวเลขการขยายตัวของธุรกิจแอร์ไลน์ในปี 51เริ่มส่อแววสะดุด แถมยังเชื่อกันว่าจะขาดทุนถึง 7.5 หมื่นล้านบาททีเดียว แน่นอนการดิ้นงัดสารพัดกลยุทธ์รับมือวิกฤติดังกล่าวของแต่ละค่ายสายการบินต่างออกมาตรการเร่งด่วนกันมาอย่างต่อเนื่อง ภาระจึงตกไปที่ผู้โดยสารซึ่งมีแนวโน้มต้องจ่ายค่าโหลดกระเป๋าเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากค่าฟิวเซอร์ชาร์จ

ขณะเดียวกันการปรับตัวเพื่อหนีภาวะการขาดทุนของแต่ละสายการบินก็เริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้นเมื่อสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส หันไปใช้กลยุทธ์โมเดลเดียวกับโลว์คอสต์แอร์ไลน์อย่างแอร์เอเชียโดยขายตั๋วเริ่มต้นในราคา 0 บาท ประเดิมใน10 เส้นทางบินจากกัวลาลัมเปอร์ จำนวน 2 ล้านที่นั่ง

ขณะที่ความผันผวนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้สายการบินต่างๆจึงต้องหันใช้กลยุทธ์รับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นเช่นทยอยปรับขึ้นค่าธรรมเนียมตามความผันแปรเป็นระยะๆของราคาน้ำมัน ปรับลดและยกเลิกเที่ยวบินที่ไม่ทำกำไร การทยอยปลดระวางเครื่องบินเก่าที่ใช้เชื้อเพลิงสูง และลดต้นทุนด้านบุคลากร รวมทั้งการเพิ่มรายได้ โดยเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้โดยสารในรูปแบบใหม่ๆ เช่นค่าเช็คกระเป๋าที่โหลดใต้ท้องเครื่องบินที่สายการบินไทยแอร์เอเชีย ขอเก็บนำร่องใบละ 30-50 บาทต่อเที่ยวบิน ถ้าน้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม จะเก็บเพิ่มกิโลกรัมละ 80 บาท รวมไปถึงจัดแคมเปญส่งเสริมการขายเช่นเดียวกับโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ที่ขายตั๋วในราคา 0 บาท เพื่อหวังเติมเต็มอัตราการบรรทุกเฉลี่ยในเที่ยวบินที่มียอดการจองต่ำ

ด้านวิจายาคูมาราน อาวีลี่ ผู้จัดการประจำประเทศไทย มาเลเซีย แอร์ไลน์ ยอมรับว่าแม้จะได้ทยอยปรับขึ้นค่าธรรมเนียมหรือฟิวเซอร์ชาร์จแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก ขณะเดียวกันก็พร้อมกับอัดแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อเพิ่มรายได้โดยลอกเลียนแบบโมเดลจากสายการบินต้นทุนต่ำ ด้วยการออกแคมเปญ EVERYDAY LOW FARES บินสู่ กัวลาลัมเปอร์ ด้วยราคาเริ่มต้น 0 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม เพิ่มรายได้โดยจะนำที่นั่งที่เหลือ 30% จากทั้งหมด มาเปิดให้นักท่องเที่ยวบุ๊กกิ้งด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์ malaysiaairlines.com ซึ่งจะกันไว้ทั้งหมด 2 ล้านที่นั่ง ใน 10 เส้นทางบินเข้ากัวลาลัมเปอร์ ได้แก่ กรุงเทพฯ, ภูเก็ต,ลังกาวี ,โคตา คินาบาลู ,จาการ์ตา, สิงคโปร์, บาหลี เซี่ยงไฮ้, เพิร์ธ และบริสเบน ซึ่งสามารถบินได้ภายในเดือนกรกฎาคมไปจนถึงสิ้นปี 2551

ว่ากันว่าแคมเปญดังกล่าวจะทำให้สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์เติมเต็มที่นั่งโดยสารที่เหลือ 30% ในแต่ละเที่ยวบินให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากเดิมราคาปกติที่มียอดจองอยู่แล้วเฉลี่ย 70% หากนำมาขายในราคา 0 บาทสร้างเป็นจุดขายใหม่ โดยผู้โดยสารต้องจ่ายค่าฟิวเซอร์ชาร์จที่ปัจจุบันเรียกเก็บราว 4,800 บาท จะทำให้สายการบินมีอัตราการบรรทุกที่ดีขึ้น ผู้โดยสารก็จะให้ความสนใจที่ใช้บริการ เพราะเป็นราคาที่คุ้มค่าในการบินไปกับสายการบินระดับ 5 ดาว ที่มีบริการที่ครบครันและด้วยเส้นทางที่หลากหลายมีให้เลือกที่มากกว่า

ปัจจุบันที่ผ่านมา 6 เดือนตัวเลขนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่เดินทางเข้ากรุงกัวลาลัมเปอร์มีการเติบโตถึงร้อยละ จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้จะมีบางสายการบินต้องยกเลิกหรือลดเที่ยวบินในระยะไกลหรือบางสายการบินต้องหยุดบินเพราะต้นทุนที่สูงขึ้น แต่มาเลเซีย แอร์ไลน์ ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และยังเปิดบินเป็นปกติในทุกเส้นทางด้วยจำนวนเที่ยวบินเท่าเดิม คือเส้นทางกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ บินอยู่ 28 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เส้นทางภูเก็ต-กัวลาลัมเปอร์บินอยู่ 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และล่าสุดได้สั่งซื้อเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 737-800 อีก 35 ลำ เพื่อนำมาเสริมฝูงบินที่ปัจจุบันมีอยู่ 85 ลำ รองรับการบริการและการขยายเส้นทางบินในอนาคต ซึ่งเครื่องบินดังกล่าวจะทยอยส่งมอบในปี 2553 นี้

ขณะที่แอร์เอเชียที่เป็นเจ้าตำหรับสูตรสำเร็จของการใช้กลยุทธ์เรื่องราคามาเป็นตัวชูโรงตั้งแต่แรกของการให้บริการกลับไม่กังวลว่ามาเลย์เซียแอร์ไลน์จะเข้ามาเขย่าวงการได้มากนัก เนื่องจากแอร์เอเชียมีการปูทางสร้างตลาดขึ้นมามาก่อนและเชื่อว่าการทำตลาดของมาเลย์เซียแอร์ไลน์ครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของมาเลเซียแอร์ไลน์เองหากไม่มีการวางพื้นฐานการตลาดที่ดีพอ

ขณะเดียวกันแอร์เอเชียยังคงใช้รูปแบบการทำตลาดเดิมๆชูจุดขายด้วยตั๋วราคา 0 บาทเช่นเคยทั้งในประเทศมาเลเซียและต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างไทยแอร์เอเชีย ที่นอกจากจะคัดลอกรูปแบบการตลาดเล่นสงครามราคาแล้วการบริหารจัดการภายในองค์กรก็ให้ความสำคัญไม่น้อย ขณะที่การแข่งขันในตลาดของธุรกิจการบินก็จ่อคิวตามไปในทิศทางเดียวกัน...แต่บิดพลิ้วในเรื่องของวิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมซึ่งจะมีความแตกต่างกับคู่กัดอย่างค่ายวัน-ทู-โกโดยสิ้นเชิง

ทั้งในเรื่องของการเก็บค่าธรรมเนียมจากการฝากสัมภาระลงใต้ท้องเครื่อง (โหลด) ภายใต้สโลแกน “กระเป๋าน้อยยิ่งประหยัด” ซึ่งคิดค่าบริการโหลดกระเป๋าที่ผ่านการจองทางอินเตอร์เน็ตในราคาใบละ 30 บาท บริเวณเคาน์เตอร์สนามบินใบละ 50 บาท ผู้โดยสาร 1 คน ต้องมีสัมภาระไม่เกิน 3 ใบ ที่เปิดให้บริการแล้วทั้งเส้นทางในและต่างประเทศ

ไทยแอร์เอเชีย เชื่อว่า การจัดเก็บดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้คนไทยส่วนหนึ่งเดินทางด้วยการขนสัมภาระน้อยชิ้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง

แม้ว่าในปลายปีมีกระแสข่าวออกมา “ราคาน้ำมันจะลดลงฮวบฮาบ” ก็ตามเนื่องจากคนส่วนใหญ่หันไปใช้พลังงานทดแทน ส่งผลให้น้ำมันล้นตลาด

ซึ่งอาจจะลดหรือไม่ลด...แต่วันนี้ดัชนีของราคาเซอร์ชาร์จต่างๆของการเดินทางโดยสารด้วยเครื่องบินกลับทะยานพุ่งสูงขึ้นไม่มีทีท่าว่าจะลดลง แม้ว่าราคาตั๋วจะถูกแสนถูกก็ตามผู้โดยสารก็ยังคงแบกรับภาระเหมือนเดิม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us