Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 มิถุนายน 2551
ศึกมิวสิก และสปอร์ตมาร์เกตติ้ง เกมรบใหม่ เบียร์ช้าง vs เบียร์สิงห์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไทยเบฟเวอร์เรจส์ จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ สิงห์ คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

ไทยเบฟเวอเรจ, บมจ.
Marketing
Alcohol
สิงห์ คอร์ปอเรชั่น, บจก.




เกมรบในสมรภูมิฟองเบียร์มูลค่า 1 แสนล้านบาท ในปัจจุบันที่มีการต่อกรกันระหว่าง สิงห์ คอร์เปอร์เรชั่น ของตระกูลภิรมย์ภักดี กับไทยเบฟเวอเรจ ตระกูลสิริวัฒนภักดี นับว่าการตลาดภายใต้กลยุทธ์มิวสิค มาร์เก็ติ้ง และสปอตมาร์เกตติ้ง เป็นกลไกสำคัญของการตลาดการสร้างแบรนด์ยุคใหม่ และเป้าหมายต่อไป ในการโกอินเตอร์

การแข่งขันในความเป็นไทยเบียร์ในสายตาคนต่างชาติ และยกระดับเป็นโกลบอลเบียร์ ที่ต้องต่อสู้กัน ในเกมการตลาด ภายใต้กลยุทธ์มิวสิค มาร์เกตติ้ง และกลยุทธ์สปอตมาร์เกตติ้ง ของทั้ง 2 ค่ายปะทุขึ้นอย่างชัดเจนแล้วในวันนี้ โดยเริ่มขึ้นหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการทำตลาดในเมืองไทยมาแล้ว สมรภูมิต่อไปคือ การทำตลาดเพื่อที่จะแจ้งเกิดในเวทีตลาดโลก ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวมากกว่ามุ่งหวังยอดขาย ผ่านกลยุทธ์การปั้นตราสินค้าของเบียร์ไทย เพื่อสร้างให้เบียร์ไทยมีความเป็นสากลเทียบเท่าต่างชาติ โดยเฉพาะการเปิดตลาดเบียร์ในยุโรป ด้วยการเป็นผู้สนับสนุนหรือซื้อลิขสิทธิ์เพื่อติดตรายี่ห้อของเบียร์บนหน้าอกเสื้อของทีมฟุตบอลชั้นนำในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษและยุโรป ซึ่งเป็นประเทศที่กีฬาฟุตบอลเป็นที่นิยมของคนจำนวนมาก รวมถึงเป็นตลาดที่มีการบริโภคเบียร์ในอัตราที่สูงด้วยเช่นกัน

เหตุผลนี่เองที่ทำให้การแข่งขันในตลาดเบียร์ช่วง 3- 4 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนไป ทั้ง ค่ายเบียร์ช้างและค่ายเบียร์สิงห์ ต้องออกมาสู้ศึกในเกมนี้กันอย่างเต็มกำลัง โดยที่ผ่านมา ค่ายเบียร์ช้าง เริ่มเปิดเกมการตลาดทางด้านกลยุทธ์สปอร์มาร์เกตติ้งก่อน แต่มาถึงวันนี้ทางค่ายสิงห์ ก็ได้ออกมาแก้เกมโดยเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ให้กับทีมแมนเชสเตอร์ซิตี้ ซึ่งเป็นทีมฟุตบอลที่มีชื่อเสียงในระดับต้นๆ ของการแข่งขันพรีเมียร์ลีกประเทศอังกฤษเช่นเดียวกับ ทีมเอฟเวอร์ตันของเบียร์ช้าง

ในขณะที่เบียร์ช้าง ยกระดับแบรนด์สำหรับการแข่งขันในตลาดโลก โดยเข้าไปเป็นสปอนเซอร์สโมสรฟุตบอลอังกฤษชื่อดัง ทีมเอฟเวอร์ตัน นำโลโก้ช้างเข้าไปติดบนอกเสื้อของนักฟุตบอลของทีมเอฟเวอร์ตัน ความพยายามทางฟากเบียร์สิงห์ ที่ผ่านมาแม้จะอกหักจากการเป็นสปอนเซอร์นำแบรนด์สิงห์ไปติดอกเสื้อแมนเชสเตอร์ซิตี้ก็ตาม แต่เดินหน้าสร้างแบรนด์เบียร์สิงห์ในตลาดต่างประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ด้วยการเป็นเอ็กซ์คูลซีฟเบียร์ที่จำหน่ายเพียงยี่ห้อเดียวในสนามฟุตบอลสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี้ต่อไป รวมทั้งสร้างการรับรู้แบรนด์สิงห์ ผ่านสื่อโฆษณาการทำป้ายโฆษณาในรอบสนามแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ ลีก ซึ่งมีการถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมในประเทศต่างๆทั่วโลกที่เบียร์สิงห์ทำมาต่อเนื่อง 7-8 ปี อีกทั้งโฆษณาผ่านสื่อบนรถโดยสาร และหน้าร้านอาหารไทยในต่างประเทศด้วยเช่นกัน

การพลิกเกมมาเน้นหนักสปอร์ตมาร์เกตติ้งครั้งนี้ของเบียร์สิงห เพื่อแลกหมัดกับเบียร์ช้าง เมื่อช้างเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมฟุตบอลเอเวอร์ตัน ทางเบียร์สิงห์ก็เป็นผู้จัดจำหน่ายเบียร์ในสนามของสโมสร แมนเชสเตอร์ ชิตี้ ถือว่าเป็นหัวรบใหม่ของการทำตลาดเบียร์สิงห์ เพราะที่ผ่านมาการทำตลาดในต่างประเทศ ในตลาดแถบยุโรปและอเมริกา รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว เขมร เวียดนาม ที่มีวางจำหน่ายอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 40 ประเทศทั่วโลก เรียกว่า เบียร์สิงห์ มีจุดแข็งจากจุดเริ่มต้นจากร้านอาหารไทยที่ 99% มีเบียร์สิงห์จำหน่าย ซึ่งทำตลาดควบคู่ไปกับการโฆษณาสร้างแบรนด์ของเบียร์สิงห์ ผ่านแคมเปญการตลาดที่เบียร์สิงห์ทำมาตั้งแต่เมื่อกลางปี 2548 นับตั้งแต่การเป็นสปอน์เซอร์หลักของการประกวดนางงามจักรวาล และการเป็นสปอนเซอร์ผ่านพรีเซนเตอร์กีฬาต่างๆ เช่น วีเจย์ ซิงค์ รวมถึงการแข่งขันรถฟอร์มูล่า วัน อย่างไรก็ตามสำหรับแนวรุกใหม่ของการสร้างแบรนด์สิงห์ผ่านสปอร์ตมาร์เกตติ้งในประเทศยุโรปตะวันออกนั้น ทำให้ต้องมีการขยายด้านช่องทางจำหน่ายผ่านทางโมเดิร์นเทรด และสถานบันเทิงมากขึ้นเพื่อรองรับการตอบรับของลูกค้ากลุ่มใหม่

เมื่อเปรียบเทียบกัน หมัดต่อหมัด ในเชิงกลยุทธ์สปอร์มาร์เกตติ้งวันนี้ อาจไม่มีความชัดเจน ค่ายไหนได้เปรียบ เสียเปรียบกันมากนัก ทว่าการที่เบียร์ช้างเริ่มเดินเกมมาก่อน นับว่าเป็นแต้มต่อที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ เบียร์ช้างที่สามารถตักตวงภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอลได้เป็นอย่างมาก โดยนับตั้งแต่ปี 2545 ทุ่มเงินกว่า 500 ล้านบาท เพื่อเป็นผู้สนับสนุนการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกโดยไม่มีโฆษณาคั่นระหว่างเกม อีกทั้งทุ่มเงินกว่า 300 ล้านบาท เพื่อทำให้เบียร์ช้างเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

อีกทั้งการสร้างแบรนด์ สู่ตลาดยุโรปผ่านกีฬาฟุตบอลซึ่งเป็นที่นิยมของคนในประเทศอังกฤษและยุโรปจำนวนมาก โดยเข้าไปเป็นสปอนเซอร์สโมสรฟุตบอลอังกฤษชื่อดัง ทีม "ทอฟฟี่สีน้ำเงิน..เอฟเวอร์ตัน" นำโลโก้ช้างเข้าไปติดบนอกเสื้อของนักฟุตบอลของทีมเอฟเวอร์ตัน ต่อเนื่องด้วยการร่วมมือของสโมสรเอฟเวอร์ตันและเบียร์ช้างยัง ในโครงการสานฝันบอลไทยไปบอลโลก อาทิเช่น โครงการช้าง-เอฟเวอร์ตัน สานฝันหานักเตะดาวรุ่ง หรือจัดฝึกอบรมโค้ชจากสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ซึ่งมีการออกภาพยนตร์โฆษณาเบียร์ช้างชุด "ช้างไทย สู่เอฟเวอร์ตัน" เข้ามาสนับสนุนโดยมีแอ๊ด คาราบาว เช่นกัน

ทว่าสำหรับการทำตลาดที่มีแอ๊ด คาราบาว มาเป็นพรีเซนเตอร์ของเบียร์ช้างอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นแต้มต่อที่น่าสนใจ และทำให้มาต่อกรกับเบียร์สิงห์ในเกมมิวสิกมาร์เกตติ้งได้ดี ซึ่งเป็นศึกอีกด้านของทั้ง 2 ค่าย เพราะนอกจากละเลงศึกกันภายใต้กลยุทธ์ สปอร์ตมาร์เกตติ้ง เมื่อเร็วๆนี้การเปิดศึกต่อสู้กันด้วยกลยุทธ์มิวสิคมาร์เกตติ้ง ของเบียร์สิงห์กับเบียร์ช้าง ก็ได้เริ่มขึ้น และเรียกได้ว่า จะเป็นศึกเบียร์ข้ามเซกเมนต์ และต่างแนวเพลง แต่มีเป้าหมายเดียวกัน

การแข่งขันที่ดุเดือดของเกมการตลาดภายใต้กลยุทธ์มิวสิกมาร์เกตติ้งเริ่มต้น เมื่อค่ายเบียร์สิงห์ ถือฤกษ์ในโอกาสของการฉลองครบรอบ 75 ปี บุญรอดบริวเวอรี่ ทุ่มงบกว่า 80 ล้านบาท เปิดตัวแบรนด์แอมบาสเดอร์คู่ใหม่ ศิลปินสองพี่น้อง อัสนีและวสันต์ โชติกุล จัดคอนเสิร์ตเวิลด์ทัวร์"คนหัวใจสิงห์ อัสนี-วสันต์ เวิลด์ทัวร์" พร้อมเพลง "คนหัวใจสิงห์" ซึ่งเพลงมีเนื้อหาพูดถึงการดำเนินชีวิตของคนเรา ต้องต่อสู้ ต้องไม่ยอมแพ้ คือการที่เราจะชนะได้ก็ต้องรู้จักแพ้เสียก่อน ซึ่งมาจากช่วงหนึ่งของสถานการณ์ในปี 41-42 ของเบียร์สิงห์ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้ง เศรษฐกิจในช่วงฟองสบู่แตก และการบุกหนักของคู่แข่งอย่างเบียร์ช้าง โดยตระเวนฟรีคอนเสิร์ตให้คนไทยทุกคนทั้งในประเทศทั่วทุกภาค 7 ครั้ง และต่างประเทศ จะตระเวนไปที่ ออสเตรเลีย อเมริกา อังกฤษ และประเทศลาว เป้าหมายเพื่อรักษาฐานลูกค้าชาวไทยทั่วโลก ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายวัย 30 ปีขึ้นไป ซึ่งเติบโตเป็นนักธุรกิจเจ้าของกิจการในต่างแดน

เมื่อเบียร์สิงห์เดินเกมรุกกลยุทธ์สปอตมาร์เกตติ้ง หลังจากนั้นไม่นาน ทางค่ายเบียร์ช้างก็ออกมาเดินเกมรุกกลยุทธ์มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง จัดคอนเสิร์ตคาราบาว ที่ออกมาในเวลาไล่เลี่ยกับ คอนเสิร์ต อัสนี และวสันต์ สิงห์เวิลด์ทัวร์ โดยหลังจากคอนเสิร์ตคาราบาว The Diary of Carabao Concert ณ โบนันซ่า เขาใหญ่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ล่าสุดปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เบียร์ช้างสร้างความต่อเนื่องกลยุทธ์มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง โดยให้การสนับสนุนวง "คาราบาว" ตำนานแห่งบทเพลงเพื่อชีวิตอย่างต่อเนื่อง ในทัวร์คอนเสิร์ตยุโรป หรือการเดินทางผ่านบทเพลง Carabao Live in Europe ซึ่งเป็นจะทัวร์คอนเสิร์ตครั้งตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม - 16 มิถุนายน 2551 โดยเดินทางไปในห้า ประเทศ ในทวีปยุโรปคือ นอร์เวย์ เยอรมันนี สวิตเซอร์แลนด์ ผรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์

การจัดคอนเสิร์ตคาราบาว นับว่าเป็นต่อยอดการตลาดจากยุคแรกๆ ที่เป็นหมัดฮุคออกมาอย่างต่อเนื่อง จากโฆษณาของเบียร์ช้างที่มี "แอ๊ด คาราบาว" เป็นพรีเซนเตอร์ ซึ่งมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างการรับรู้ให้คอเบียร์ไทยรู้จักเบียร์ช้าง ผ่านเพลงโฆษณา"ช้าง...กินแล้วภาคภูมิใจ เบียร์คนไทยทำเอง" ต่อเนื่องมาจนถึงเพลงโฆษณา "คนไทยให้กันได้" และกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในสโลแกน "เบียร์ช้าง เบียร์เหรียญทองระดับโลกของไทย" เพื่อตอกย้ำความเป็น "เบียร์ไทย" ควบคู่ไปกับการสร้างมาตรฐานเบียร์ไทย ผ่านภาพยนตร์โฆษณาที่สื่อสารข้อความ ถึงความเป็นเบียร์คุณภาพที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดเบียร์นานาชาติที่ประเทศออสเตรเลียถึง 2 ปีซ้อน

สำหรับการต่อกรของเบียร์สิงห์ และเบียร์ช้าง ในเกมสปอร์ตมาร์เกตติ้ง ด้วยกีฬาฟุตบอล และมิวสิคมาร์เกตติ้ง เรียกว่า เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่จะสร้างแบรนด์อย่างมั่นคง สำหรับการต่อสู้ในสมรภูมิเบียร์ในปัจจุบันที่หมดยุคสงครามราคาหรือการอัดงบจัดกิจกรรมชิงโชค และทำได้เพียงการตลาดโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านอะโบฟเดอะไลน์และบีโลว์เดอะไลน์ ผ่านสื่อหลักไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ที่ยังมีข้อจำกัดจากกฎหมายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากภาครัฐ ซึ่งก็ปรากฏการณ์ที่ออกมาคือ การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดตลาดเบียร์ในตลาดระดับโลกนั่นเอง ซึ่งนับว่ามีผลพลอยได้ เมื่อมีการถ่ายทอดการแข่งขันเข้ามาในประเทศไทยทำให้แบรนด์ที่มีการสปอนเซอร์ทีมฟุตบอลชั้นนำในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ ผ่านสายตาและเข้าถึงบรรดาคอบอลที่จดจ่อในเกมนั้นอีกด้วยเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us