|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เอชเอสบีซีแนะนักลงทุนลดน้ำหนักหุ้น ถือเงินสดเพิ่ม โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่ซึ่งอัตราเงินเฟ้อพุ่งแซงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ชี้แม้หลายตลาดด้ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดมากแล้ว แต่ก็ยังถือว่ามีราคาแพง
รายงานของเอชเอสบีซีระบุว่า กำลังลดความเสี่ยงในการลงทุนหุ้นทั่วโลกประมาณ 5% เหลือ 54.5% และหันไปลงทุนหุ้นในตลาดที่พัฒนาแล้วในระดับปานกลาง เนื่องจากธนาคารกลางต่างๆเริ่มมีมุมมองเห็นพ้องถึงความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจมาก
เอชเอสบีซีแนะนำให้นักลงทุนเพิ่มสัดส่วนในการถือเงินสดจาก 6% เป็น 11% โดยระบุว่า เงินเฟ้อเป็นปัญหาที่สำคัญมากในเอเชีย และมีความเสี่ยงที่นักลงทุนหมดศรัทธาในสกุลเงินของภูมิภาค
รายงานของเอชเอสบีซีระบุด้วยว่า แม้ว่าตลาดต่างๆจะได้ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดมากแล้ว แต่ก็ยังถือว่ามีราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงต่ำสุดในรอบ 2 เดือน หลังจากที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นจนใกล้สถิติสูงสุดอีกครั้ง จากที่มีรายงานว่า ซัพพลายน้ำมันตึงตัวประมาณ 4 สัปดาห์ จึงยิ่งเพิ่มความิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ดัชนีหุ้นเอเชีย เอ็มเอสซีไอ ซึ่งไม่รวมญี่ปุ่น ได้ปรับตัวลงเกือบ 16% ในปีนี้ และลดลงจากช่วงที่พุ่งสูงสุดในเดือนพฤศจิกายนเกือบ 25% ส่วนดัชนีหุ้นโลกเอ็มเอสซีไอ ปรับตัวลง9.2% ในปีนี้
เอชเอสบีซีมองว่า นักลงทุนไม่ควรจะเสี่ยงต่อหุ้นในตลาดเกิดใหม่ของเอเชีย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ธนาคารเห็นว่านักลงทุนควรจะลงทุนในนตลาดหุ้นเกิดใหม่ของเอเชีย 25%
นอกจากนี้รายงานยังคาดการณ์ด้วยว่า ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียอาจขาดทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้น เงินเฟ้อถือเป็นปัญหาอย่างแท้จริงในเอเชีย และมีความเสี่ยงว่านักลงทุนจะสูญเสียความเชื่อมั่นต่อสกุลเงินของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของอินเดียพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 8.24% สูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเวียดนามอยู่ที่ 25.2% ในเดือนพ.ค. สูงสุดตั้งแต่ปี 2535 จนธนาคารกลางต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 14% จาก 12% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
ปัญหาเงินเฟ้อกำลังสร้างความปวดหัวให้กับธนาคารกลางในเอเชีย เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาธนาคารกลางอินเดียได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่าหนึ่งปี ขณะที่ธนาคารกลางในจีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ก็ได้เข้มงวดนโยบายเพื่อปราบเงินเฟ้อในสัปดาห์ที่ผ่านมา และที่เวียดนาม เงินเฟ้อได้พุ่งขึ้นมากกว่า 25% จนธนาคารกลางได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยและลดค่าเงินด่องลง ขณะที่ในสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็มีเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 26เดือน โดยอยู่ที่ 7.5% ในเดือนเมษายน
|
|
 |
|
|