|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ฟันธงเฟดคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% ในการประชุมวันที่ 24-25 มิถุนายนนี้ ระบุรอดูแนวโน้มเงินเฟ้อที่อาจชะลอลงตามราคาน้ำมันในช่วงถัดไป แต่ยีงมีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ในไตรมาสที่ 4 หากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังถดถอยลงอีก ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ยไทยยังต้องชั่งน้ำหนักระหว่างปัจจัยภายในประเทศที่กดดันเศรษฐกิจ กับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยธนาคาร กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ในวันที่ 24-25 มิถุนายน 2551 นี้ คาดว่าจะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 2.00% เพื่อรอดูทิศทางของเงินเฟ้อว่าจะปรับขึ้นในระดับที่แรงต่อเนื่องหรือไม่ เนื่องจากคาดการณ์ว่าการราคาน้ำมันอาจจะชะลอตัวลง อาทิ หลังจากเสร็จสิ้นกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีน ความต้องการใช้น้ำมันก็จะชะลอตัวลง รวมถึงการที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอีก จะทำให้ทิศทางราคาน้ำมันลดลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังมีโอกาสที่จะถดถอยลงอีก จากตัวเลขการว่างงานที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในแต่ละเดือนประกอบอีกรอบ
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยก็น่าจะอยู่ในทิศทางเดียวกัน คือ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป และยังมีโอกาสที่จะปรับลดได้ เนื่องจากเชื่อว่าในไตรมาสที่ 3 สถานการณ์ทางการเมืองจะมีความร้อนแรงขึ้น เพราะในช่วงดังกล่าวจะมีการตัดสินคดีความยุบพรรค 2 พรรค รวมถึงคดีความของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรก็จะเข้าสู่กระบวนการด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอีก
"การที่แบงก์ชาติเกริ่นว่าอาจจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อนั้น น่าจะเป็นการส่งสัญญาณเพื่อชะลอการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะพุ่งแรง ซึ่งจะทำให้เกิดการกักตุนสินค้าหรือเพิ่มราคาสินค้าต่างๆได้อีกมากกว่า แต่โดยรวมแล้วน่าจะคงดอกเบี้ยเพื่อรอดูทิศทางก่อน"นายบันลือศักดิ์กล่าว
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าเฟด คงจะมีมติให้ตรึงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ 2% และเฟดน่าที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำนี้ต่อเนื่องต่อไปอย่างน้อยก็ในช่วงไตรมาสข้างหน้า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจและภาคสถาบันการเงินของสหรัฐฯที่ยังมีความอ่อนแอ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังไม่ได้เร่งตัวขึ้นมากจนน่าวิตกกังวล โดยโอกาสที่เฟดจะเร่งรีบตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลาอันใกล้นี้ น่าจะมีจำกัด ถึงแม้ว่าเฟดจะออกมาแสดงความวิตกกังวลมากขึ้นต่อภาวะเงินเฟ้อ
ขณะที่การตัดสินใจทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการไทย คงจะขึ้นอยู่กับการให้น้ำหนักความเสี่ยงต่อปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก โดยท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กนง.ของไทยในที่สุดแล้วอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ธปท.ดูเงินเฟ้อก่อนชี้ขาดทิศทางดบ.
ด้านนางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่ ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยนโนบายในช่วงที่ผ่านมา เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างอ่อนแอ แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่นแล้วจะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.25% นั้นถือว่าต่ำมาก ดังนั้น นโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยจะไปทางไหนก็ต้องดูถึงความเหมาะสมกับเศรษฐกิจในอนาคตด้วยว่าจะเป็นอย่างไร
"ที่ผ่านมามีผู้รู้บอกว่าเงินเฟ้อสูงมาจากต้นทุนสินค้าจึงไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่อีกคนบอกว่าเงินเฟ้อสูงแล้วแต่ทำไม ธปท.ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยอีก โดยการจะคุมเงินเฟ้อนั้นคงไม่ได้ปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่องจนคุมไม่ได้แล้วให้ยาแรง แต่การให้ยาทีละน้อยและคอยจับจ้องดูแลและไม่ปล่อยจนคุมไม่ได้จะดีกว่า"
นอกจากนี้ ในเดือนกรกฎาคมนี้ทาง ธปท.จะมีการทบทวนตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) หลังจากที่ราคาน้ำมันได้มีการเพิ่มสูงขึ้นกว่าประมาณการที่ทาง ธปท.ได้ประเมินไว้ว่าจะอยู่ที่ 93-112 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
|
|
|
|
|