Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533
มานิตย์ ลือประไพ กับเกมที่ต้องวิ่งไล่กวด             
 


   
search resources

สยามกีฬารายวัน
มานิตย์ ลือประไพ
Printing & Publishing




ใครจะคาดคิดบ้างว่าหนังสือพิมพ์ฉบับบาง ๆ ขายฉบับละ 5 บาท เสนอแต่ข่าวกีฬาเช่น หนังสือพิมพ์ "สยามกีฬารายวัน" จะอยู่มาได้กว่า 4 ปีแล้ว ทั้งยังมียอดขายที่สูงแทบไม่น่าเชื่อ จนอาจจะจัดได้ว่าสูงเป็นอันดับ 3 ในบรรดาหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นรองก็แค่ไทยรัฐ เดลินิวส์ก็ว่าได้

เบื้องหลังความสำเร็จของ "สยามกีฬารายวัน" นั้นมีคนชื่อ "มานิตย์ ลือประไพ" รวมอยู่ด้วย

ในอดีตที่ไม่นานนักมานิตย์เคยเป็นบรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์ "สยามกีฬารายวัน" ตั้งแต่ฉบับปฐมฤกษ์แต่มาวันนี้ มานิตย์ลาออกจากหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น แล้วกลับมาเป็นบรรณาธิการาบริหารของหนังสือพิมพ์ "สปอร์ตนิวส์" คู่แข่งโดยตรงของ "สยามกีฬารายวัน"

มานิตย์ ลือประไพ เป็นนักข่าวกีฬารุ่นอาวุโส เขาจะจบการศึกษาทั้งจากคณะรัฐศาสตร์และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มทำข่าวกีฬาที่เดลินิวส์ตั้งแต่ปี 2508 อีก 10 ปีต่อมาเขาขึ้นมาเป็นหัวหน้าข่าวกีฬาเดลินิวส์ พอปี 2522 มานิตย์ขยับมาเป็นหัวหน้าข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน แต่พอปี 2528 เขาก็ลาออกจากเดลินิวส์ เพื่อมาทุ่มเทกับ "สยามกีฬารายวัน" ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง

มานิตย์กล่าวย้อนไปถึงยุคเริ่มต้นว่า การเกิดของ "สยามกีฬารายวัน" ในช่วงนั้นเกิดขึ้นอย่างมั่นใจเต็มที่ เพราะจากประสบการณ์การทำหนังสือกีฬาของ ระวิ โหลทอง แห่งค่ายสยามสปอร์ตพริ้นติ้ง มองอะไร ไม่ค่อยพลาด ระวิเชื่อว่าตลาดของหนังสือกีฬาเช่นนี้มีอย่างกว้างขวาง เช่นที่เคยทดลองพิมพ์จำหน่ายต้อนรับเทศกาลฟุตบอลโลกที่สเปน "สยามกีฬารายวัน" ยุคลองเครื่องยังทำยอดพิมพ์ได้ถึงแสนกว่าฉบับต่อวันได้อย่างสบาย ๆ ดังนั้นระวิเจ้าของไอเดียและมานิตย์ ในฐานะแม่ทัพรวมไปถึงทีมงานจึงไม่เคยหวั่นไหวในอนาคตของ "สยามกีฬารายวัน" หนังสือพิมพ์กีฬารายวันฉบับแรกของเมืองไทยแม้แต่น้อย

มาถึงวันนี้ ไม่มีใครตั้งคำถามสำหรับความสำเร็จของ "สยามกีฬารายวัน" อีกแล้วนอกเสียจากว่า จะมีใครอีกไหมที่จะมาท้าทายความเป็นหนึ่งของ "สยามกีฬารายวัน"

"สยามกีฬารายวัน" โดดเด่นอยู่ฉบับเดียวเป็นเวลานาน จนกระทั่งปีที่แล้วค่าย "มติชน" ของขรรค์ชัย บุญปานก็ตัดสินใจลงมาแข่งในสนามแห่งนี้บ้าง ประจวบกับมานิตย์ลาออกจากบรรณาธิการบริหาร "สยามกีฬารายวัน" ด้วยเหตุผลที่เจ้าตัวไม่อยากอธิบายมากนักมานั่งแป้นเป็นบรรณาธิการบริหาร "สปอร์ตนิวส์" อย่างพอดิบพอดี

ในห้วงเวลาเดียวกันนอกจาก "สยามกีฬารายวัน" "สปอร์ตนิวส์" แล้วก็ยังมี "กีฬารายวัน" ของค่ายวัฎจักรแทรกแซมขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับ

มานิตย์ให้ความเห็นถึงสาเหตุที่ใครต่อใครต่างสนใจลงมาทำหนังสือพิมพ์กีฬารายวันกันมากเป็นเพราะ หนึ่ง - กีฬาช่วงนี้บูมมาก ๆ สถานีโทรทัศน์ถ่ายทอดสอกีฬานัดสำคัญแทบทุกอาทิตย์ ความตื่นตัวของผู้คนก็มีมากเป็นลำดับ

สอง - สปอน์เซอร์เริ่มให้การสนับสนุนกีฬาอย่างเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น การโปรโมทกีฬาประเภทต่าง ๆ จึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

สาม - โดยเนื้อแท้แล้วความต้องการข่าวสาร ข้อมูลของผู้สนใจกีฬามีมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติความสนใจใคร่รู้ของผู้คน นั่นก็คือตลาดคนอ่านหนังสือกีฬาย่อมกว้างขวางไม่สิ้นสุด ทุกระดับ ทุกวัย แต่ไม่มีใครสนใจลงมาตลาดนี้จริงจัง นอกจากกลุ่ม "สยามสปอร์ต" ของระวิ โหลทอง เพียงผู้เดียว "สยามสปอร์ต" สามารถสร้างตัวเองขึ้นมาได้ จนทุกคนยอมรับว่ากลุ่มนี้คือ "เจ้าพ่อ" แท้จริงในวงการหนังสือกีฬาในยุคปัจจุบัน

"เรื่องผลการแข่งขันกีฬาก็เป็นปัจจัยสำคัญมาก โดยเฉพาะฟุตบอล ยกตัวอย่างฟุตบอลดิวิชั่นหนึ่งของอังกฤษซึ่งคนสนใจมาก ทุกคืนวันเสาร์เราต้องจัดคนไว้สำหรับคอยรายงานผลการแข่งขันสำหรับคนที่โทร.เข้ามาที่สำนักงานเป็นการเฉพาะ เพราะมีจำนวนเป็นร้อยเป็นพันราย เรื่องแบบนี้นอกจากเป็นความสนใจและสนุกของคนทั่วไปแล้ว ก็ยังเรื่องการพนันขันต่อแบบหอมปากหอมคอปนอยู่ด้วย" มานิตย์กล่าวยกตัวอย่างหนึ่งแสดงความสนใจของผู้อ่านที่มีต่อสื่อข่าวสารกีฬา

เขากล่าวว่า รายงานข่าวทางโทรทัศน์ได้รายงานผลการแข่งขัน แต่หนังสือพิมพ์สามารถให้ข้อมูล รายละเอียด วิจารณ์และทำนายผลการแข่งขันล่วงหน้าได้ดีกว่า คนจึงให้ความสนใจมากขึ้น

"เดี๋ยวนี้ แม้แต่ฟุตบอลระดับนักเรียน ยังต้องวิจารณ์เลยคุณ" มานิตย์กล่าวอย่างสบายอารมณ์

ด้านเนื้อหาข่าว มานิตย์ กล่าวว่า อาจไม่แตกต่างจากหนังสือฉบับอื่นมากนัก แต่พวก "ลูกเล่น" หรือคอลัมน์ต่าง ๆ ก็คงจะแตกต่างพอสมควร แต่ที่ "สปอร์ตนิวส์" ล้ำหน้าไปก่อนก็คือ คุณภาพการพิมพ์ที่เพิ่มเติมด้วยหน้าสี่สีเป็นฉบับแรก

"จุดแข็งของเราก็คือระบบ ทั้งฝ่ายผลิต กองบรรณาธิการ ฝ่ายโฆษณา ฝ่ายจัดหาหน้า ล้วนทำกันเป็นทีม เป็นระบบ ไม่ใช่อยู่ใครคนเดียวอาจจะตัดสินใจช้าบ้าง แต่แน่นอน" มานิตย์กล่าว

แต่ในสายตาคนทั่วไปจุดแข็งของ "สปอร์ตนิวส์" ก็คือ ความเป็น "ขรรค์ชัย บุญปาน" และ "มติชน" ซึ่งเมื่อตัดสินใจลงมาแข่งด้วยแล้วย่อมไม่ถอย และไม่ยอมแพ้นั่นต่างหากคือ "จุดแข็ง" ที่แท้จริง

"เราอาจจะเหนื่อยมากกว่าเพราะเราเป็นผู้ตาม" มานิตย์กล่าวอย่างถ่อมตัว

สงครามเพิ่งจะเริ่มต้น การท้าทายเพิ่งปรากฏความเปลี่ยนแปลงทั้งจาก "สยามกีฬารายวัน" และ "สปอร์ตนิวส์" คงได้ให้เห็นเป็นระยะ ๆ

ไม่ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไรสำหรับมานิตย์ ลือประไพ วันนี้คือวันที่เขาต้องเริ่มต้นวิ่งไปข้างหน้าอีกครั้งให้เร็วที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us