Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 มิถุนายน 2551
BBLเร่งแก้หนี้กลุ่มน้ำตาล กดเอ็นพีแอลสิ้นปีเหลือ6%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Banking and Finance




แบงก์กรุงเทพเร่งปรับโครงสร้างหนี้กลุ่มน้ำตาลมูลค่า 2 หมื่นล้าน หวังลดเอ็นพีแอลให้เหลือ 6%ตามเป้า เผยสัญญาณเอ็นพีแอลขณะนี้ยังปกติดี แต่ในระยะต่อไปจะต้องระมัดระวังมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองและราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารจะพยายามลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลงให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยคาดว่าในสิ้นปีนี้เอ็นพีแอลน่าจะลงมาเหลืออยู่ที่ 6%

นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า สัญญาณเอ็นพีแอลของธนาคารยังคงปกติดี โดยในขณะนี้เอ็นพีแอลอยู่ที่เกือบ 8%หรือประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับเอ็นพีแอล ณ สิ้นไตรมาส 1 ของปีนี้ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7% โดยเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากเอ็นพีแอลใหม่และเป็นส่วนที่เกิดจากลูกค้าที่เคยเป็นเอ็นพีแอลแล้วปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง

โดยในสิ้นปีจะพยายามลดเอ็นพีแอลให้อยู่ที่ต่ำกว่า 5% หรือ 50,000 ล้านบาท ซึ่งภายในปีนี้จะพยายามแก้หนี้ในส่วนของลูกค้ากลุ่มน้ำตาล ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่ม หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท ก็จะเป็นส่วนที่ช่วยลดเอ็นพีแอลได้ตามเป้าหมาย ส่วนนโยบายการบริหารเอ็นพีแอลของธนาคารนั้นจะทำด้วยตนเอง ไม่ได้ขายออกไป

สำหรับสถานการณ์โดยรวมในขณะนี้ถือว่าน่ากลัวมาก เนื่องจากในประเทศมีสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอยู่มาก เช่น การเดินขบวนของม็อบ หุ้นตก ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ในส่วนของเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นนั้นในขณะนี้ถือว่ายังไม่น่ากังวล เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) อยู่ที่ 6-7% ขณะที่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสูงถึง 16%

"เอ็นพีแอลของบัตรเครดิตตอนนี้ก็เริ่มขึ้นมา ส่วนครึ่งปีหลังการแก้หนี้เอ็นพีแอลก็คงยาก แต่ถ้าสามารถแก้หนี้กลุ่มน้ำตาลได้ก็คงจะช่วยให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่นี้ของแบงก์ก็นิ่งๆมีทั้งไหลเข้ามาและออกไป ส่วนเอ็นพีแอลงวดนี้ก็คงไม่ลดเท่าไหร่"

นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ ที่ปรึกษาด้านวิจัยเศรษฐกิจประจำฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังธุรกิจสถาบันการเงินน่าจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงจากเดิมที่คาดว่าทั้งปีจะมีการขยายตัวอยู่ที่ 11.5% เนื่องจากได้รับผลประทบจากปัจจัยลบในครึ่งปีแรก จากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ นอกจากการธุรกิจขนาดเล็กที่จะเข้ามาเป็นลูกค้านั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง โดยสถานบันการเงินจะต้องมีความเข้มงวดในการทำธุรกิจ ด้วยควบคุมความเสี่ยงโดยเฉพาะการควบคุมเอ็นพีแอลที่อาจเพิ่มขึ้น

"การทำธุรกิจของสถาบันการเงินระยะสั้นนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าจะมีความเสี่ยงสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนรายได้ต่อธนาคารในระดับสูงเช่นกัน เพราะปัจจุบันนี้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสามารถระดมทุนได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน หรือ ธนาคารพาณิชย์อีกต่อไป ดังนั้น ต้องจับตาดูว่าเอ็นพีแอลจะปรับเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วงหรือไม่อย่างไร เพราะช่วงที่ผ่านเริ่มเห็นตัวเลขปรับขึ้นบ้างแล้วแต่ยังไม่ผิดปกติ"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us