Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533
บางกอกอาร์ตแอนด์คราฟท์ "เรื่องเข้าตลาดหุ้นยังอีกไกล"             
 


   
search resources

บางกอกอาร์ตแอนด์คราฟท์
อานนท์ โปษะกฤษณะ




ใครจะรู้บ้างว่าวันดีคืนดีหุ้นของบริษัทที่อยู่ระหว่างการเสนอแผนนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะถูกนำมาทิ้งซื้อขายกันจ้าละหวั่นกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวของตลาดโอทีซีหรือตลาดนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ

จากราคาพาร์ที่กำหนดไว้ 10 บาทพุ่งขึ้นไปถึงเกือบ 30 บาท เป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์บางแห่งโกยกำไรได้หลายล้านบาท ส่วนนักลงทุนรายย่อยที่ชอบเล่นหุ้นนอกตลาดก็เจ็บตัวกันไปบ้าง "เล็ก ๆ น้อย ๆ "

แต่ของอย่างนี้ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะในแง่ของปัจจัยพื้นฐานนั้นบางกอกอาร์ตแอนด์คราฟท์ (บีเอซี) มีอนาคตสดใสรุ่งโรจน์อย่างมาก ๆ ในการผลิตช้อนส้อมมีออกจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและนอกประเทศ

อานนท์ โปษะกฤษณะ กรรมการรองผู้จัดการ ซึ่งทิ้งงานอินเวสเม้นท์แบงกิ้งจากธนาคารอินโดสุเอซมาดูแลบีเอซีแทบจะทุก ๆ ด้านกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "บริษัทนี้จริง ๆ แล้ว POTENTIAL มันดีมาก เพราะปัจจุบันผลิตไม่ทัน แล้วกำลังขยายโรงงานใหม่ด้วย มันเลยติดหลายเรื่องที่จะเข้าตลาดในทันที และการที่เราขยายโรงงานทำให้รายจ่ายมากงบการเงินก็จะไม่สวย"

บีเอซีก่อตั้งเมื่อปี 2527 ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท โดยพิมล อุทัยธัน คุณหญิงวรรณี วิทยะสิรินันท์และเพื่อน ๆ ร่วมกันลงขัน

สินค้าหลักของบีเอซีคือช้อนส้อมมีดหรือ CUTLERY WARE อีกอย่างคือสิ่งที่เป็นรูปทรง เช่น ถ้วย ชาม กาน้ำ เรียก HOLLOW-WARE และประเภทสุดท้ายคือรถเข็นเค้กส่วนของที่ระลึกนั้นก็ผลิตบ้างตามใบสั่งซื้อที่มีเข้ามา

ลูกค้าของบีเอซีเป็นพวกโรงแรมระดับ 5 ดาว สายการบิน เช่น การบินไทย, คาเธ่ยแปซิฟิค, ลุฟท์ฮันซ่า และลูกค้ารายสำคัญคือลูกค้าต่างประเทศซึ่งจะออกแบบผลิตภัณฑ์มาให้บีเอซีทำเช่น CATILLON แห่งฝรั่งเศส, BERNDORF จากสวิส และ DRIADE SPA แห่งอิตาลี โดยส่วนมากจะใช้วัสดุพวกสแตนเลส สตีล ซึ่งยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

สิ่งที่เป็นจุดเด่นของบีเอซีคือต้นทุนแรงงาน บีเอซีพยายามที่จะแหวกแนวตลาดออกไปโดยผลิตสินค้าที่มีลวดลาย ข้อต่อและการม้วนอย่างอ่อนช้อย ซึ่งสินค้าเหล่านี้จำเป็นต้องใช้แรงงานคนมานั่งดัดแต่งหรือเชื่อม แต่ถ้าเป็นสินค้าเรียบ ๆ ทางเกาหลีและไต้หวันจะได้เปรียบกว่ามาก

อย่างไรก็ดี แม้อนาคตของตลาดช้อนส้อมมีดจะสดใสอย่างมาก ๆ ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอป้อนตลาด ไม่ทันตามใบสั่งซื้อ แต่บีเอซีก็ไม่เว้นที่ต้องเจอปัญหาประสิทธิภาพในการจัดการ และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้บริษัทต้องประสบปัญหาการขาดทุน แม้จะมียอดขายเพิ่มขึ้น ณ สิ้นพฤศจิกายน 2532 เป็นจำนวน 52 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2531 ที่มียอดขายอยู่ 38 ล้านบาท

ในช่วงต้นปี 2531 นั่นเองบีเอซีใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มทุนและมีแผนว่าจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมอบหมายให้ธนาคารเชสแมนฮัตตันเขามาศึกษา

กิตติศักดิ์ เบญจฤทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายวาณิชธนกิจ ธนาคารเชสแมนฮัตตันกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าในจังหวะนั้นมีลูกค้าต่างประเทศสนใจที่จะมาตั้งโรงงานผลิตช้อนส้อมมีดในไทย เชสฯ จึงจับลูกค้ารายนี้คุยกับทางบีเอซี ซึ่งมีโรงงานอยู่แล้ว

เชสฯทำข้อเสนอให้บีเอซีเพิ่มทุนและขายหุ้นเพื่อนำมาขยายโรงงานอีก 70 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 100 ล้านบาท เชสฯทำตัวเลขโครงการและสรรหาผู้ร่วมทุนจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ ได้แก่ บงล.พาราไฟแนนซ์ บงล.พูนพิพัฒน์ไฟแนนซ์ บงล. ไทยฟูจิไฟแนนซ์ และบงล.สหธนกิจไทย ร่วมกับธนาคารกรุงเทพฯ โดยต่างร่วมซื้อหุ้นแห่งละ 10% ยกเว้นสหธนกิจไทยที่ซื้อไว้ถึง 30%

กิตติศักดิ์กล่าวว่า "ความตั้งใจเดิมคือให้คำปรึกษาเขาและเอาเข้าตลาดด้วย แต่ต่อมาเขาต้องการบริหารของเขาเอง เราก็ถอนตัวออกมา เรื่องของเชสฯ จบลงเมื่อต้นปี 2532%

แต่ในส่วนของอานนท์ ได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า โครงการเพิ่มทุนเริ่มขึ้นเมื่อต้นปี 2532 โดยมอบหมายให้บงล.พาราไฟแนนซ์ ศึกษาเรื่องราคาการยื่นขอจดทะเบียนในตลาดฯ การประกันและการรับประกันการจำหน่ายหุ้น

ครั้นต่อมาปรากฎว่า การยื่นขอจดทะเบียนถูกเลื่อนออกไปถึงสองครั้งสองครา ขณะที่บงล.ซึ่งซื้อหุ้นร่วมทุนไว้ก็มีการนำหุ้นออกขายในราคาค่อนข้างสูง นักลงทุนที่ซื้อหุ้นนอกตลาดจึงปั่นป่วนกังวลใจ ว่า บีเอซีจะสามารถเข้าไปจดทะเบียน เอาหุ้นออกซื้อขายในตลาดฯได้หรือไม่

เหตุที่ตลาดยังไม่อนุมัตินั้นเป็นเพราะการตรวจสอบบัญชียังไม่เรียบร้อยตามเงื่อนไขของตลาด ในเรื่องนี้ อานนท์ เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ทางบงล.พาราฯ กับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งนั่งเป้นกรรมการในชุดที่เสนอแผนเข้าตลาดต้องการให้จัดการปัญหาเรื่องบัญชีให้เรียบร้อยก่อน เนื่องจากผู้ตรวจสอบบัญชีใหม่คือสนง.เอสจีวีกับผู้ตรวจสอบบัญชีเก่ายังไม่เซ็นรับรองกัน

อานนท์ยอมรับว่า "ทางระบบบัญชีเก่าของเรายังไม่ได้มาตรฐานการลงบัญชีอะไรนี่ยังไม่มาตรฐาน"

มูลเหตุที่แท้จริงนั้นคือ บีเอซียื่นจดทะเบียนขอนำหุ้นเข้าไปซื้อขายในกระดานหนึ่ง แต่ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่พึงพอใจในตัวเลขกำไรขาดทุนที่ยื่นเข้ามา เสรี จินตนเสรี กรรมการผู้จัดการบงล. พาราฯ และกรรมการบริหารบีเอซีซึ่งจะพ้นจากตำแหน่งทั้งสองในสิ้นเดือนมกราคมเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "ตัวเลขที่เตรียมจะเข้ากระดานหนึ่งสับสนสะเปะสะปะมาก เอสจีวีต้องมาตีราคาอะไรต่าง ๆ ใหม่หมด"

นั่นหมายความว่าจะต้องมีการประเมินราคาของในสต๊อกใหม่ นับสต๊อก แม่พิมพ์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำก็จะต้องนำมาตีราคาใหม่

ฝ่ายเอสจีวีกล่าวว่า "หลักการตีราคาไม่ค่อยลงรอยกันระหว่างผู้ทำบัญชีเก่ากับใหม่จึงต้องมีการประเมินใหม่" ซึ่งเสรีให้ความเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหา

เสรีกล่าวว่าถ้าจัดการเคลียร์เรื่องบัญชี แก้ปัญหาประสิทธิภาพในการผลิตได้ อุตสาหกรรมนี้จะไปไกลทีเดียว ทั้งนี้บีเอซีไม่จำเป็นต้องพวงเรื่องตลาดที่จะมารองรับสิค้า โดยเฉพาะเมื่อบีเอซีตัดสินใจได้ว่าจะขายหุ้นส่วนใหญ่ให้กับบริษัทสวิสที่จะมาขอร่วมทุนด้วย 20%

อานนท์กล่าวว่า "บริษัทสวิสแห่งนี้มีชื่อเสียงมาก เป็นลูกค้าของเราอยู่ เขาไม่ต้องการราคาตลาด แต่ต้องการราคาพาร์บวกนิดหน่อย ราคาตลาดตอนช่วงที่เขาติดต่อมามันเกือบ 30 บาท ซื้งไม่ไหว แต่ปัญหาของเราคือผู้ถือหุ้นท่านใดจะยอมเสียสละสัดส่วนตัวเองขายให้เขา ถ้าบริษัทของสวิสรายนี้เขาเข้ามาร่วมทุนด้วยนี่โรงงานใหม่ที่เราสร้างที่วังน้อยอยุธยาแทบไม่ต้องหาตลาดเลยเขาทำมาร์เก็ตติ้งได้เลย"

ประเด็นเรื่องบีเอซีนั้น ถ้าไม่ปูดออกมาทางตลาดโอทีซี ป่านฉะนี้นักลงทุนรายย่อย ๆ คงจะเป็น "แมงเม่าบินเข้ากองไฟ" กันอีกเยอะทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us