Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533
ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย นักกฎหมายปิโตรเคมี             
 


   
search resources

ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย




"ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย" เอ่ยชื่อนี้ขึ้นมา คงไม่คุ้นหูคนทั่วไปนัก แม้แต่ในวงการปิโตรเคมีที่เขาทำงานอยู่ หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้จัก

ทว่า ในการอภิปรายเรื่อง "ภาษีสรรพสามิตที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี" หนึ่งในหัวข้อของการสัมมนาเกี่ยวกับประเด็นภาษีของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (พีทีไอที) เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมานี้นั้น เขาเป็นคนสะกิดประเด็นปัญหาภาษีสรรพสามิตอย่างที่ผู้ร่วมสัมมนายอมรับว่า "ตรงเป้าที่สุด"

เรื่องภาษี พูดได้ว่าเป็นปัญหาหนามยอกอกของคนทุกวงการซึ่งล้วนแต่ถูกสั่งสมทับถมกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอันเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศไปสู่โลกของอุตสาหกรรมใหม่ ก็เช่นเดียวกันไม่ได้หลุดพ้นจากวัฎจักรของปัญหาภาษีอันนี้

เมื่อก่อน ถ้าพูดถึงปิโตรเลียมเราจะเข้าใจกันว่าหมายถึงน้ำมันเท่านั้น และถูกจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้แล้วก้หมดไปเลยจึงมีการเก็บภาษีสรรพสามิตเช่นเดียวกับเหล้าและบุหรี่

แต่เมื่อไทยได้ค้นพบก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย นอกจากจะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้วก็ยังใช้ประโยชน์ได้อีก รัฐบาลจึงผลักดันโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเอาก๊าซอีเทนและโพรเพนจากโรงแยกก๊าซ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทธิลีนและโพรไพลีนของโรงโอเฟินส์ บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (ปคช.) ซึ่งจะส่งให้บริษัทกลุ่มดาวน์สตรีมไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติกต่าง ๆ อีกทอดหนึ่งจากนั้นก็จะนำไปผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทต่าง ๆ ได้อีกนับไม่ถ้วนชนิด

ดังนั้น เมื่อกฎหมายยังกำหนดเก็บภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ก็ทำให้เกิดปัญหาภาษีซ้ำซ้อน และแน่นอนละว่ามันได้กลายเป็นสิ่งกีดขวางการพัฒนาของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ทางคลังได้มองเห็นปัญหานี้ก็อยากแก้ไข โดยออกเป็นประกาศกระทรวง "ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 11)" เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 และให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนปีเดียวกัน

นั่นก็ด้วยความตั้งใจว่า จะช่วยลดภาระภาษีสรรพสามิตของโซลเว้นท์ (มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันก๊าด แต่ใช้เป็นตัวทำละลาย วัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมสี และยาปราบศัตรูพืชเป็นต้น) ลงหลังจากที่อยู่ ๆ ก็ถูกเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในพิกัดเดียวกับน้ำมันก๊าดซึ่งสูงถึง 34% จนธุรกิจที่เกี่ยวข้องพากันเดือดร้อนไปตาม ๆ กันและตอนหลังได้ลดลงเหลือ 15%

ขณะเดียวกัน คลังก็ใจดีประกาศยกเว้นภาษีสรรพสามิต "ก๊าซปิโตรเลียม (แอลพีจี) และก๊าซที่คล้ายกัน (ชนิดอีเทนและโพรเพน)" ด้วย

ก็หมายความว่า ปตท.ซึ่งเป็นผู้ผลิตก็ไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตอีเทนและโพรเพนเมื่อขายให้กับปคช.

เพราะตามประกาศกระทรวงการคลัง ได้ระบุว่า "สินค้าที่นำข้าไปในโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนสรรพสามิตแล้ว เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมตัวสารละลาย" จะยกเว้นภาษีให้

ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดว่าผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารายนั้นจะต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพสามติก่อน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วเราจะเรียกว่า "โรงงานจดทะเบียนสรรพสามิต" พร้อมกับสิทะในการยกเว้นภาษีดังกล่าวโดยได้ออกเป็นระเบียบออกมา

ธิติพันธุ์ ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายของปคช.ได้วิพากษ์ และตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาการบังคับใช้และแนวคิดของประกาศกระทรวงการคลังฉบับนี้อย่างชัดเจนตรงไปตรงมา

ปัญหาแรก ประกาศฉบับนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ใช้ในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เคมีปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมตัวสารละลาย ฟังแค่ชื่อ ก็เข้าใจยากชวนปวดหัว เพราะเกี่ยวข้องทั้งศัพท์เทคนิคด้านปิโตรเคมีและกฎหมาย

แต่ตัวที่เราพูดถึงกัน ก็คือก๊าซ ซึ่งเขาเห็นว่า ไม่ควรอยู่ใต้ระบบภาษีเชื้อเพลิง แต่ก็อาศัยกฎหมายยกเว้นภาษีให้

ลองมาดูถึงรูปธรรมกันให้ชัด ๆ

ปตท.เป็นโรงงานจดทะเบียนฯ ผลิตอีเทนและโพรเพน เมื่อขายให้ปคช. ปตท.จะได้รับยกเว้นภาษี เมื่อปคชงรับมา ก็จะผลิตเป็นเอทธิลีนและโพรไพลีนแล้วป้อนให้โรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

ก็มีคำถามว่า เอทธิลีนและโพรไพลีนจะถือว่าเป็นน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันหรือไม่....กลายเป็นโจทย์ต้องให้ตีความกันอีก

แต่ความจริง กรมสรรพสามิตเคยตีความว่า เอทธิลีนและโพรไพลีนไม่ใช่น้ำมันและผลิตภัรฑ์น้ำมัน ปคช.จึงจดทะเบียนไม่ได้ เลยไม่ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิต จะทำให้กลุ่มดาวน์สตรีมต้องซื้อในราคาสูง

เมื่อเป็นอย่างนี้ ปัจจุบันปคช.ก็จดทะเบียนสรรพสามิตในฐานผู้ผลิตผลผลิตพลอยได้เป็น BY-PRODUCT เช่น ก๊าซมีเทน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนน้อย เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีแม้จะช่วยได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นการส่งเสริมตามเป้าหมายหลักของปิโตรเคมี

อันที่จริง ประกาศกระทรวงการคลัง ต้องการยกเว้นภาษีสรรพสามิตแก่ปคช. ซึ่งจะป้อนเอทธิลีน และโพรไพลีนไปยังกลุ่มดาวน์สตรีมเพื่อส่งเสริมและอุหนุนด้านปิโตรเคมีของไทยที่เพิ่งจะเริ่มต้นและต้องการให้ต้นทุนต่ำ

แต่ก็ทำให้ปคช.หลุดจากระบบภาษีการผลิต ซึ่งต่อไปเมื่อโรงงานไทยโอเลฟินส์หรือโรงอะโรเมติกส์ หรือโรงอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันที่จะเกิดตามมา ก็จะเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งไม่ควรเป็นอย่างนั้น

ส่วนระยะแรกที่ต้องการอุดหนุนด้านราคาก็ยอมรับกันได้ รวมไปถึงอีเทนและโพรเพนก็หลุดจากระบบภาษีการผลิตด้วยเหมือนกัน

เขาจึงมีความเห็นว่า เมื่อภาษีสรรพสามิตมีปัญหาซ้ำซ้อนเรื่อยมา พร้อมกันนั้น เราก็ต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งระบบด้วย น่าจะมีกลไกที่จะช่วยควบคุมให้อยู่ในระบบเดิม ก็คือภาษีการค้า หรือที่กำลังจะปรับไปใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทางที่จะทำได้ เช่น ตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ใช้อำนาจการตีความของอธิบดีว่า โพรเพนอีเทนไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาาสรรพสามิต ถ้าใช้เพื่อผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

ถ้าเป็นอย่างนี้ อีเทนและโพรเพนซึ่งผลิตเอทธิลีนและโพรไพลีนจะไม่อยู่ใต้บังคับของภาษีสรรพสามิตเลย ก็จะทำให้ย้อนกลับเข้าไปสู่ภาษีการผลิตในรูปของภาษีการค้า ตามหลักโดยทั่วไปที่ว่า จะเสียภาษีการผลิตในรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งถ้าช่วงแรกรัฐบาลต้องการยกเว้นภาษีก็ให้ยกเว้นภายใต้ระบบภาษีการค้า โดยกรมสรรพากรดูแล

ทั้งนี้ควรจะตีความกันให้ชัดเจน เช่น เคมีปิโตรเลียมคืออะไร เพราะถ้ามีคดีต้องขึ้นศาล มีปัญหาแน่ เพราะไม่มีใครรู้เรื่อง ธิติพันธุ์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

แม้แต่ตัวเขาเองก็เถอะเขายอมรับว่า "4-5 ปีก่อน ช่วงที่เริ่มจะมีการประมูลงานซึ่งตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคนรู้ว่าปิโตรเคมีคืออะไร ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ผู้จัดการใหญ่ปคช. ได้ติดต่อขอให้ประสิทธิ์ โฆวิสัยกูลคณบดีคณะนิติฯจุฬาฯช่วยหานักกฎหมายจากนอกมาประจำเพื่อรองรับงานประมูล"

ช่วงนั้น ประสิทธิ์ได้เสนอชื่อของเขาคู่กับสุรเกียรติ เสถียรไทย โดยประสิทธิ์ได้แจ้งไปว่าถ้าจะให้ประจำคงลำบาก แต่ยินดีให้ช่วยงาน

ทางปตท.ก็ได้ทำหนังสือขอยืมตัวมาช่วยงานปคช.ในเครือปตท.เพราะปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

สำหรับตัวเขาจบจากโรงเรียนอัสสัมชัญที่อุบลฯ มาต่ออัสสัมชัญในกรุงเทพฯ 3 ปี แล้วสอบเข้าเรียนได้ในคณะนิติจุฬาฯ เป็นอาจารย์ที่นี่ได้ระยะหนึ่งก็สอบเนติบัณฑิตไทย จากนั้นสอบชิงทุนคว้าปริญญาโทนิติศาสตร์ในสาขากฎหมายธุรกิจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

กลับมาเมืองไทยเป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่คณะ แต่พลังใฝ่รู้ยังคุกรุ่น จึงข้ามรั้วข้ามถิ่นไปเรียนทางด้านบริหารธุรกิจภาคค่ำ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับว่าจะได้ช่วยเสริมความรู้และวิชาการของโลกธุรกิจให้แก่กล้าขึ้น

....พอดีเข้าล็อกตรงสเปกตามที่ประสิทธิ์และสิปปนนท์ค้นหา

ส่วนสุรเกียรติ เมื่อมาอยู่ได้พักหนึ่ง ก็พอดีถูกดึงตัวไปช่วยงายในตำแหน่งที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี

จึงเหลือเขาเพียงคนเดียวที่เข้ามาดูแลงานด้านสัญญา มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อกฎหมายในสัญญาก่อสร้างโรงโอเลฟินส์ซึ่งจะมีสำนักกฎหมายต่างประเทศคือ CHANDLER & THONGEK LAW OFFICE LTD. รับผิดชอบโดยตรง

เมื่อเขาเข้าไปคลุกคลีอยู่ในวงการปิโตรเคมี ก็พบว่ากฎหมายเป็นปัญหาใหญ่ที่เป็นลูกตุ่มถ่วงการพัฒนาของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ขณะที่โลกได้ผันไปสู่ยุคของไฮเทคโนโลยี แต่ตัวกฎหมายยังเป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปีอยู่เลย ไม่เพียงแต่เจอปัญหามากมายก่ายกองดังที ดร.สิปปนนท์ กล่าวว่า กว่าจะสร้างโรงงานโรงเดียว ต้องทำเรื่องผ่านถึงกระทรวง เพื่อขอใบอนุญาต 54 ในการสร้างโอเลฟินส์และท่าเทียบเรือขนถ่ายวัตถุดิบ ทั้งที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการสร้างแต่เขาบอกว่า แม้แต่ระยะเวลาในการตั้งโรงงานก็มีปัญหา

เพราะตามกฎหมายโรงงานได้กำหนด ใครจะลงมือก่อสร้างจะต้องได้ใบอนุญาตก่อสร้างเมื่อมี "การออกแบบ" เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งจะกินเวลาในการออกปีครึ่งถึงสองปี และจะทำให้โครงการล่าช้า ขณะที่วงเงินก่อสร้างมีความเสี่ยงสูงขนาดนี้ จะต้องรับภาระต้นทุนดอกเบี้ยเป็นพันล้านบาทต่อปี

โดยในกรณีของโรงโอเลฟินส์ ได้มีการขออนุมัติให้ออกแบบไป สร้างไป เพื่อให้คนทำงานเดินหน้าได้เต็มที่โดยไม่ต้องกระอักกระอ่วนใจ เพราะต้องการให้โรงโอเลฟินส์ของปคช. นั้นต้องการให้เป็นตัวอย่างมาตรฐานของการก่อสร้างโรงงานด้านปิโตรเคมีต่อไป ทั้งที่โดยทั่วไปก็ทำกันอย่างนี้อยู่แล้ว

เขาจึงมีความเห็นว่า ควรจะเป็นลักษณะออกแบบไป ก่อสร้างไป จะสอดคล้องกับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ โดยให้ทางวิศวกรรมสถานเป็นผู้ควบคุม ซึ่งเขาเชื่อว่า "จะทำให้ปัญหาคลี่คลายลง เหมือนกับกฎหมายภาษีที่ 10 ปีก่อน มีการหนีภาษีเยอะ แต่ระยะหลังมีการจัดระบบและตรวจสอบแข็งขึ้น คนก็อยากเสียให้ถูกต้องมากขึ้น" แม้จะยังไม่สมบูรณ์ที่สุดก็ตาม

ปัญหาของปิโตรเคมี...ยังมีอีก แม้แต่มาตรฐานก่อสร้างที่มีอยู่ ส่วนใหญ่จะอิงมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง ทำให้เจ้าของโครงการใช้มาตรฐานก่อสร้างจากฉบับอื่นไม่ได้ ทั้งที่ต่างก็มีมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเดียวกัน

ที่เป็นอย่างนี้ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ของเรารู้มาตรฐานเดียว

ขณะที่เขาเห็นว่า "มาตรฐานก่อสร้างน่าจะเป็นมาตรฐานใดก็ได้ แล้วแต่ผู้ลงทุนเห็นควรถ้าเป็นมาตรฐานที่จะไปสู่เป้าหมายหลัก คือ มาตรฐานความปลอดภัยและทรัพย์สินแล้วก็ควรอนุมัติ เพราะที่ผ่านมาส่วนมากเรามักใช้มาตรฐานของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมักจะติดรูปแบบที่เทอะทะ บางครั้งใช้วัสดุเกินความจำเป็นและทำให้ต้นทุนสูง" เขาสรุปปัญหาข้อกฎหมายกับ "ผู้จัดการ" จากสิ่งที่เขาได้สัมผัส

ประสบการณ์ที่เขาอยู่ที่ปคช.มา 4 ปี ทำให้เขาจากคนซึ่งไม่รู้เรื่องปิโตรเคมีกลายมาเป็นที่ปรึกษากฎหมายของปคช.และวิเคราะห์ปัญหาระบบภาษีของปิโตรเคมีได้ถึงแก่น ซึ่งได้กลายเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องไปทำการบ้านหาทางออกกันต่อ

ทำให้เราเริ่มมีนักกฎหมายด้านปิโตรเคมีขึ้นมา ตามผลพวงของการก้าวไปสู่ความเป็นนิกส์ที่ได้สร้างให้เกิดมิติใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us