Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533
สำคัญ ศังขวณิช"ผู้เติมช่องว่างตลาดอาคารสำนักงาน"             
 


   
search resources

สำคัญ ศังขวณิช
Construction




เพียงช่วงระยะเวลาจากต้นปี 2532 เมื่อโครงการสร้างถนนพระราม 9 ตัดผ่านถนนที่จัดได้ว่าเป็นเส้นเลือดสำคัญของการจราจรในกรุงเทพฯอย่างถนนรัชดาภิเษก และเป็นเส้นทางลัดตัดสู่ย่านสำคัญระหว่างถนนราคำแหงและอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประกอบกับพื้นที่ที่เคยเป็นที่ยอดนิยมอย่างถนนสีลมและราชประสงค์ได้กลายเป็นบริเวณที่จวนเจียนจะกลายเป็นอัมพาตทางการจราจรไปเสียแล้ว เงื่อนไขทั้งสองนี้ได้ทำให้พื้นที่บริเวณในซอยศูนย์วิจัยเป็นพื้นที่แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ที่นักลงทุนต่างให้ความสนใจเป็นพิเศษลงทุนสร้างโครงการเรียลเอสเตทกันหลายโครงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านโครงการสำนักงาน ที่นับวันจะมีการแข่งขันกันสูงขึ้นทุกที

หนึ่งในโครงการทั้งหลายนั้นมีโครงการสำนักงาน RAINTREE OFFICE GARDEN ของบริษัท เซ็นเตอร์ 9 ที่มีสำคัญ ศังขวณิช เป็นกรรมการผู้จัดการรวมอยู่ด้วย

ชื่อ "สำคัญ ศังขวณิช" อาจจะไม่คุ้นหูนักสำหรับวงการเรียลเอสเตท แต่ในวงการการตลาดในอุตสาหกรรมน้ำมันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมารู้จักเขาดีในฐานะลูกหม้อคนหนึ่งของเชลล์ซึ่งทำงานที่เชลล์ตั้งแต่งานด้านการเงิน , การตรวจสอบภายในและตำแหน่งสุดท้ายคือผู้จัดการฝ่ายโฆษณา ก่อนที่จะลาออกมาดำเนินธุรกิจอย่างจริงจังที่เซ็นเตอร์ 9

ความจริงในช่วงที่เขาทำงานให้กับเชลล์ โดยส่วนตัวเขาเองก็มีหุ้นส่วนอยู่กับกลุ่มเพื่อนๆในบริษัท OCTA ESTATE ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดการโครงการบ้านจัดสรร และมีกิจกรรมทางวิชาการการตลาด โดยการเป็นอาจารย์พิเศษในโครงการ MBA และ MIS ทางด้าน ADVANCE MARKETING ของธรรมศาสตร์นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาทางการตลาดให้กับบริษัท JSL และ STUDIO ACTIVE อีกด้วย

"การเปลี่ยนแปลงโยกย้ายแหล่งสำคัญทางด้านธุรกิจที่เรียกว่าเป็น PRIME AREA ในกรุงเทพฯนั้น จาการศึกษาของเราจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปประมาณทุกๆ 10-15 ปี จากเดิมเมื่อ 20-25 ปีที่แล้วเราจะนึกถึงที่วังบูรพา และก็มาถึงที่สีลมและราชประสงค์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ช่วงทศวรรษหน้านี้มีแนวโน้มของ PRIME AREA คือบริเวณรัชดาภิเษกและพระราม 9" สำคัญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นเตอร์ 9 กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปของบริเวณ PRIME ที่เขได้สังเกตมาในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่เลือกลงทุนในพื้นที่แห่งนี้

การที่ BUSINESS AREA มีแนวโน้มมาสู่ถนนพระราม 9 นี้เป็นส่วนหนึ่งของการประจวบเหมาะกับที่กลุ่มเพื่อนๆ ของสำคัญได้รู้จักและขอเช่าที่ดินระยะเวลา 17 ปี กับเจ้าของที่ดิน

ตรงกันข้ามกับโรงเรียนญี่ปุ่นอยู่ห่างจากถนนพระราม 9 800 เมตร พร้อมกับที่มีความคิดในการที่จะตั้งบริษัททางด้านคอนซัลแตนส์อยู่เดิม โอกาสนี้จึงผนวกรวมมาเป็นการตั้งบริษัทเซ็นเตอร์ 9 เพื่อจัดการพัฒนาโครงการปฐมฤกษ์บนที่ดิน 18 ไร่แห่งนี้

ถึงแม้ว่า สำคัญจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านตลาดเรียลเอสเตท แต่ MARKETING CONCEPT คือ CONSUMER IS A KING ซึ่งสำคัญนั้นเข้าใจและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เขาเริ่มศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อเรียลเอสเตทใกล้กับ PRIME AREA คำตอบชัดเจนก็คือ

โครงการสำนักงาน หลังจากนั้นการศึกษาจึงลงลึกถึงปัญหาที่ผู้บริโภคต้องประสบจากการมีสำนักงานใน OFFICE BUILDING และ HOME OFFICE หรือ MINI OFFICE

"จุดอ่อนและปัญหาที่ลูกค้าได้รับจากอาคารสำนักประเภทที่เป็นตึกสูงๆ คือความขาดแคลนที่จอดรถ ในขณะที่สำนักงานประเภท HOME OFFICE มีจุดอ่อนทางด้านบรรยากาศการทำงานที่ไม่ได้เป็นสำนักงานรองรับการทำงานเหมือนกับสำนักงานอื่นๆ และยูนิตรอบข้างบางครั้งก็ประกอบธุรกิจการค้าของชำต่างๆ ทำให้ความเหมาะสมบางอย่างต้องเสียไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่โครงการสำนักงานไม่มีให้กับลูกค้าก็คือความร่มรื่นของสถานที่รอบข้างในดครงการ" สำคัญ กล่าวถึงการวิเคราะห์ปัญหาของลูกค้าที่ไปใช้ที่ในโครงการประสบมาให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ด้วยจุดด้อย 2 ประการสำคัญของทั้ง 2 โครงการสำนักงาน จึงนำมาสู่การสรุปเป็นความคิดในการพัฒนาสินค้าและบริการแก่ลูกค้า ในลักษณะของการเป็น OFFICE GARDEN ที่จะมีที่จอดรถอย่างเพียงพอ, มีบรรยากาศของการเป็นสำนักงาน, มีความร่มรื่น รวมทั้งมีบริการทางด้านอื่นๆ เพื่อความสมบูรณ์ของโครงการ

"เราพยายามที่หาช่องว่างทางการตลาด เอาแนวคิดของโครงการสำนักงานที่ยังขาดอยู่ในตลาดมาใช้เพื่อที่เราจะได้ไม่มีคู่แข่งโดยตรง" สำคัญกล่าวเพิ่มเติมของความคิดทางด้านการสร้าง PRODUCT DIFFERENTIATION ให้กับโครงการแรกของบริษัท

โดยอาศัยข้อได้เปรียบของการมีเนื้อที่มากถึง 18 ไร่ การจัดสรรที่ดินเพื่อคอนเซ็ปท์ของการเป็น OFFICE GARDEN จึงเป็นไปได้ไม่ยาก พื้นที่ประมาณ 9 ไร่จะถูกนำมาจัดสรรเพื่อสร้างความร่มรื่นให้เกิดขึ้นในโครงการที่ดินเกือบ 1 ไร่คือบริเวณที่เป็นสวนพักผ่อนกลางโครงการ อีก 8 ไร่ที่เหลือ คือพื้นที่ที่จะนำมาสร้างสถานบริการต่างๆ ทั้งร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงยิมเนเซียม รวมทั้งที่จอดรถ ที่พร้อมจะทำเป็นอาคารที่จอดรถโดยเฉพาะสำหรับลูกค้าเมื่อปริมาณความต้องการที่จอดรถสูงขึ้น ในขณะที่อาคารสำนักงานต่างๆ จะถูกจัดสรรบริเวณและออกแบบ เพื่อความเหมาะสมทางการประกอบกิจการของลูกค้าโดยไม่ทำให้บรรยากาศของสำนักงานต้องเสียไปบนเนื้อที่อีก 9 ไร่ทีเหลือ

"ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราคือกลุ่มลูกค้าที่ดำเนินกิจการที่เรียกว่ามืออาชีพมีธุรกิจประเภทที่ต้องการบรรยากาศการทำงานที่ดี เพื่อการสร้างสรรค์งานอย่างบริษัทโฆษณาต่างๆ, สำนักงานทนายความ, คลินิก,หรือบริษัทที่ทำการค้าระหว่างประเทศ เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องการหน้าร้านติดถนนใหญ่" สำคัญแจกแจงกลุ่มเป้าหมายของโครงการแก่ "ผู้จัดการ" ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนำความรู้และประสบการณ์ทางการตลาดของสำคัญมาผสมผสานได้อย่างมีขั้นตอนต่อเนื่อง

ชัดเจน

บทสรุปของธุรกิจโครงการสำนักงานนั้นอยู่บนพื้นฐานของการเติบโตของเศรษฐกิจของบ้านเราที่บริษัทธุรกิจต่างพอใจกับความเติบโตนี้ สำนักงานจึงเป็นสิ่งที่ต้องการควบคู่กันขึ้นมา และโยกย้ายไปตามพื้นที่สำคัญของย่านธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากการย้ายที่ทำงานสำนักงานใหญ่หลายๆ แห่งเช่นของบริษัทประกันภัยใหญ่ๆ ที่มีแนวโน้มมาสู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก กันมากขึ้น หรือแม้กระทั่งบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการคอนซูเมอร์โพรดักส์อย่างลีเวอร์ บราเธอร์ ก็เลือกลงหลักปักฐานที่มั่นในบริเวณถนนศรีนครินทร์ ห่างจากถนนรามคำแหงไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

บนถนนรัชดาภิเษก เมื่อ 2 ปีก่อน วงการเรียลเอสเตทได้เคยฮือฮากับโครงการ "มินิออฟฟิศ รัชดาภิเษก"ของพงศกร ญาณเบญจวงศ์มาแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นการบัญญัติศัพท์

"มินิคอมเพล็กซ์" ขึ้นเป็นครั้งแรก มาคราวนี้ในปีแรกแห่งทศวรรษ1990 สำคัญ ศังขวณิช ได้นำโครงการ "OFFICE GARDEN" เข้าสู่วงการเรียลเอสเตทเมืองไทยด้วยการเลือกเข้าสู่ตลาดที่ว่างท่ามกลางแนวโน้มของการพัฒนาทัศนคติของผู้บริโภคทางด้าน HEALTH CARE ที่เริ่มเห็นความสำคัญของสุขภาพร่างกายและสภาพแวดล้อมกันมากขึ้น ถึงแม้ว่า "RAINTREE OFFICE GARDEN"จะเป็นโครงการแรกของบริษัทคอนซัลแตนซ์หน้าใหม่อย่างเซ็นเตอร์ 9 แต่น่าจะเป็นโครงการที่จะทำให้ชื่อ "สำคัญ ศังขวณิช" คนนี้ไม่ใช่ชื่อใหม่ที่ไม่คุ้นหูในวงการเรียลเอสเตทอีกต่อไป เมื่อเขาได้บุกเบิกธุรกิจอาคารสำนักงานแบบฉีกแนวจากความซ้ำซากจำเจ เหมือนกับที่ พงศกร ญาณเบญจวงศ์ ได้เคยทำมาแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us